12/26/2558

นักวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดโผกลุ่มธุรกิจที่คาดว่าจะมาแรงในปี 2559 ได้แก่ เทคโนโลยีทางการเงิน สุขภาพและการแพทย์ และอาหาร

โดยให้เหตุผลว่า ปัจจุบันพฤติกรรมผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญในด้านความสะดวกสบาย ความทันสมัยในด้านเทคโนโลยี่ซึ่งปัจจุบันมีการเติบโตสูง ประกอบกับกำลังเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ทำให้ตลาดเปิดกว้างมากขึ้น โดยแนะทางรอดให้กับผู้ประกอบ ธุรกิจ SMEs ว่าจะต้องเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ ทันสมัย ตามกระแสเทคโนโลยี ไม่ตกเทรนด์ หรือ กลุ่ม “สตาร์ทอัพ” (Start UP) หากต้องการให้ธุรกิจอยู่รอดได้นั้น ผู้ประกอบการ SMEs จำเป็นต้องสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับธุรกิจ
ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยหลักสำคัญ 4 ประการ คือ ความมุ่งมั่น ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การวางแผนธุรกิจ และ ต้องมีความกล้า ในการตัดสินใจและเรื่องการลงทุน 


โดย อาจารย์กิตติชัย ราชมหา อาจารย์ประจำภาควิชาผู้ประกอบการและนวัตกรรม วิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน (AEC) ทำให้ภาคการค้าเปิดกว้างขึ้น จึงทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นจะต้องปรับตัวและเตรียมความพร้อมในด้านการแข่งขันทางธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจมาแรง คือ กลุ่มธุรกิจที่มีการประยุกต์โดยนำเทคโนโลยีและนวตกรรมเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาสินค้าและบริการ รวมถึงการสร้างความสะดวกสบายผ่านการพัฒนาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี่ เช่น การเพิ่มช่องทางทำการตลาดผ่านแอปพลิเคชั่น (Application) ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตผ่านโทรศัพท์มือถือในยุคที่การเข้าถึงเทคโนโลยี่เปิดกว้างและสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องเกิดจากนักธุรกิจหน้าใหม่ แต่เกิดจากการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์โดยการประยุกต์เข้ากับเทคโนโลยีและนวตกรรมใหม่ๆ เน้นที่ความแตกต่าง การคิดค้นและพัฒนาสินค้าและบริการอยู่ตลอดเวลา เพื่อสร้างความแตกต่างและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำให้เกิดความมั่นใจได้ว่าสินค้าและบริการที่สร้างสรรค์ขึ้น จะสามารถสนับสนุนให้ธุรกิจก้าวขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งของอุตสาหกรรมนั้นๆได้ ทั้งนี้ ได้คาดการณ์กลุ่มธุรกิจที่จะมาแรงเป็นพิเศษในปี 2559 นั้นมี 3 กลุ่มธุรกิจ ดังนี้ 

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทางการเงิน (Financial Technology)

เหตุเพราะการทำธุรกิจและการใช้ชีวิตทุกวันนี้ล้วนเกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางการเงิน ดังนั้น การนำเสนอสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อสนับสนุนการทำธุรกรรมทางการเงินให้ง่ายขึ้น ย่อมเป็นโอกาสและความน่าสนใจใหม่สำหรับสตาร์ทอัพเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ และเมื่อพิจารณาข้อมูลย้อนหลังไป 3 ปี พบว่ามูลค่ามวลรวมของธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีเทคโนโลยีฟินเทคเกี่ยวข้อง (FinTech StartUp) เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มอัตราเติบโตแบบก้าวกระโดดในอนาคตอย่างชัดเจน

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการแพทย์ (Healthcare and Wellness)

เป็นอีกกลุ่มที่น่าจับตามองในปี 2559 เนื่องจากมีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิต ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการแพทย์ เช่น ยารักษาโรค อุปกรณ์การแพทย์ เทคโนโลยีทางการแพทย์ นวัตกรรมด้านสุขภาพ ล้วนเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจหลักที่ภาครัฐให้การสนับสนุน และส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการให้บริการสุขภาพของภูมิภาค (Medical Hub) โดยในปี 2557 ที่ผ่านมามีชาวต่างชาติเข้ารับบริการสุขภาพในประเทศไทยถึง 1.2 ล้านครั้ง สร้างรายได้เข้าประเทศ 107,000 ล้านบาท (ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา) 

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร (Food Innovation)

เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีความน่าสนใจและมีกระแสของการเติบโตไม่น้อยในปี 2559 ที่ใกล้เข้ามา เหตุเพราะเป็นกลุ่มธุรกิจที่ถือว่า ประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการแข่งขันในตลาดอาเซียน ซึ่งหากมีการประยุกต์เอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาเสริมด้วยแล้ว จะยิ่งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า นอกจากนี้ ความเข้มแข็งและมุ่งเน้นผลักดันส่งเสริมจากภาครัฐในอุตสาหกรรมด้านอาหารและนวัตกรรมอาหาร เป็นปัจจัยสำคัญอีกประการที่มีส่วนส่งผลต่อความสำเร็จและโอกาสเติบโตของอุตสาหกรรมด้านอาหารในปีหน้า เช่น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่มีการสนับสนุนกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย ทั้งในด้านการให้ความรู้เพิ่มเติมในการวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการเปิดตลาดต่างประเทศ โดยในปี 2557 ที่ผ่านมาจำนวนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหารและเครื่องดื่มมีมากกว่า 370,000 ราย สร้างมูลค่ารวมกว่า 628 ล้านบาท (ที่มา : สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม)


นอกจากนั้น อาจารย์กิตติชัย ยังได้ให้แนวคิดสำคัญ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการยุคใหม่ ตระหนักในการดำเนินธุรกิจ 4 ประการ คือ

1.ความมุ่งมั่นตั้งใจ (Entrepreneurial Intention)
ความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำธุรกิจ พร้อมที่จะยืนหยัดต่อสู้และมีทั้งความตั้งใจและเข้าใจธุรกิจที่ทำ และมีตัวชี้วัดเป็นความมุ่งมั่นในการนำเงินมาเริ่มลงทุนทำธุรกิจ
2.ความคิดริเริ่มธุรกิจ (Business-Idea Initiate)
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในด้านการทำธุรกิจเป็นต้นกำเนิดที่สำคัญของจุดขายของธุรกิจ โดยเฉพาะการคิดแบบนวัตกร (Innovator) ที่จะใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นตัวส่งเสริมธุรกิจให้มีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ความต้องการของตลาดมากขึ้น
3.ความรู้ด้านการวางแผนและสร้างตัวแบบธุรกิจที่มีความเป็นไปได้จริงและมีมูลค่าเพิ่ม (Value-Added Business Model and Plan)
ผู้ประกอบการยุคใหม่จะเป็นต้องมีความรู้ด้านการทำธุรกิจและปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น รู้กลุ่มลูกค้า ผลิตภัณฑ์ ความต้องการของตลาด คู่แข่งในตลาด เป็นต้น เพื่อใช้ในการร่างแผนธุรกิจ ซึ่งในปัจจุบันมีหน่วยงานทั้งรัฐบาลและเอกชนให้ความรู้ในเรื่องเครื่องมือของผู้ประกอบธุรกิจ (Business Model) อย่างแพร่หลาย
4.ความเป็นคนรักที่จะเสี่ยงและเผชิญหน้ากับความท้าทายต่างๆ (Risk and Challenge Lover)
โดยหลังจากการศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว ความใจสู้และกล้าเสี่ยงถือเป็นหัวใจสำคัญของคนทำธุรกิจ และเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการที่ต้องการประสบความสำเร็จไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ โดยการใช้ความใจสู้และกล้าเสี่ยงนั้น ต้องมีการศึกษาข้อมูลจากงานวิจัยและสถิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ

ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ปรับตัวให้เข้ากับสภาวะปัจจุบันได้แล้ว น่าจะสามารถครองพื้นที่ส่วนมากของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ได้ไม่ยากนัก

และเมื่อพิจารณาจากข้อมูลรายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เรียบเรียงโดย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ที่ผ่านมา พบว่า แนวโน้มตั้งแต่ปี2555 จนถึงปี 2557 มูลค่า GDP ของเอสเอ็มอีเริ่มปรับตัวสูงขึ้น โดยในปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 37 และในปี 2556 สัดส่วนมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของเอสเอ็มอี ปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 37.4และมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะเดียวกันแนวโน้มที่ผ่านมาก็เป็นที่น่าสังเกตว่าอัตราการขยายตัวของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยังคงสูงกว่าอัตราการขยายตัวของประเทศซึ่งจุดนี้แสดงถึงการเป็นกลไกขับเคลื่อนการเจริญเติบโต (Engine of Growth) ที่สำคัญยิ่งให้แก่ระบบเศรษฐกิจของประเทศ อาจารย์กิตติชัยกล่าว

สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU)
โทรศัพท์ 02-206-2000 หรือเข้าไปที่ www.cmmu.mahidol.ac.th


โดย : BisnesCafe.com | คาเฟ่ของคนรักธุรกิจ

ม.มหิดล ชี้! 3 กลุ่มธุรกิจมาแรง ปี' 59 แข่งขัน AEC

นักวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดโผกลุ่มธุรกิจที่คาดว่าจะมาแรงในปี 2559 ได้แก่ เทคโนโลยีทางการเงิน สุขภาพและการแพทย์ และอาหาร

โดยให้เหตุผลว่า ปัจจุบันพฤติกรรมผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญในด้านความสะดวกสบาย ความทันสมัยในด้านเทคโนโลยี่ซึ่งปัจจุบันมีการเติบโตสูง ประกอบกับกำลังเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ทำให้ตลาดเปิดกว้างมากขึ้น โดยแนะทางรอดให้กับผู้ประกอบ ธุรกิจ SMEs ว่าจะต้องเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ ทันสมัย ตามกระแสเทคโนโลยี ไม่ตกเทรนด์ หรือ กลุ่ม “สตาร์ทอัพ” (Start UP) หากต้องการให้ธุรกิจอยู่รอดได้นั้น ผู้ประกอบการ SMEs จำเป็นต้องสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับธุรกิจ
ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยหลักสำคัญ 4 ประการ คือ ความมุ่งมั่น ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การวางแผนธุรกิจ และ ต้องมีความกล้า ในการตัดสินใจและเรื่องการลงทุน 


โดย อาจารย์กิตติชัย ราชมหา อาจารย์ประจำภาควิชาผู้ประกอบการและนวัตกรรม วิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน (AEC) ทำให้ภาคการค้าเปิดกว้างขึ้น จึงทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นจะต้องปรับตัวและเตรียมความพร้อมในด้านการแข่งขันทางธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจมาแรง คือ กลุ่มธุรกิจที่มีการประยุกต์โดยนำเทคโนโลยีและนวตกรรมเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาสินค้าและบริการ รวมถึงการสร้างความสะดวกสบายผ่านการพัฒนาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี่ เช่น การเพิ่มช่องทางทำการตลาดผ่านแอปพลิเคชั่น (Application) ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตผ่านโทรศัพท์มือถือในยุคที่การเข้าถึงเทคโนโลยี่เปิดกว้างและสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องเกิดจากนักธุรกิจหน้าใหม่ แต่เกิดจากการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์โดยการประยุกต์เข้ากับเทคโนโลยีและนวตกรรมใหม่ๆ เน้นที่ความแตกต่าง การคิดค้นและพัฒนาสินค้าและบริการอยู่ตลอดเวลา เพื่อสร้างความแตกต่างและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำให้เกิดความมั่นใจได้ว่าสินค้าและบริการที่สร้างสรรค์ขึ้น จะสามารถสนับสนุนให้ธุรกิจก้าวขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งของอุตสาหกรรมนั้นๆได้ ทั้งนี้ ได้คาดการณ์กลุ่มธุรกิจที่จะมาแรงเป็นพิเศษในปี 2559 นั้นมี 3 กลุ่มธุรกิจ ดังนี้ 

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทางการเงิน (Financial Technology)

เหตุเพราะการทำธุรกิจและการใช้ชีวิตทุกวันนี้ล้วนเกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางการเงิน ดังนั้น การนำเสนอสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อสนับสนุนการทำธุรกรรมทางการเงินให้ง่ายขึ้น ย่อมเป็นโอกาสและความน่าสนใจใหม่สำหรับสตาร์ทอัพเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ และเมื่อพิจารณาข้อมูลย้อนหลังไป 3 ปี พบว่ามูลค่ามวลรวมของธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีเทคโนโลยีฟินเทคเกี่ยวข้อง (FinTech StartUp) เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มอัตราเติบโตแบบก้าวกระโดดในอนาคตอย่างชัดเจน

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการแพทย์ (Healthcare and Wellness)

เป็นอีกกลุ่มที่น่าจับตามองในปี 2559 เนื่องจากมีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิต ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการแพทย์ เช่น ยารักษาโรค อุปกรณ์การแพทย์ เทคโนโลยีทางการแพทย์ นวัตกรรมด้านสุขภาพ ล้วนเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจหลักที่ภาครัฐให้การสนับสนุน และส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการให้บริการสุขภาพของภูมิภาค (Medical Hub) โดยในปี 2557 ที่ผ่านมามีชาวต่างชาติเข้ารับบริการสุขภาพในประเทศไทยถึง 1.2 ล้านครั้ง สร้างรายได้เข้าประเทศ 107,000 ล้านบาท (ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา) 

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร (Food Innovation)

เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีความน่าสนใจและมีกระแสของการเติบโตไม่น้อยในปี 2559 ที่ใกล้เข้ามา เหตุเพราะเป็นกลุ่มธุรกิจที่ถือว่า ประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการแข่งขันในตลาดอาเซียน ซึ่งหากมีการประยุกต์เอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาเสริมด้วยแล้ว จะยิ่งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า นอกจากนี้ ความเข้มแข็งและมุ่งเน้นผลักดันส่งเสริมจากภาครัฐในอุตสาหกรรมด้านอาหารและนวัตกรรมอาหาร เป็นปัจจัยสำคัญอีกประการที่มีส่วนส่งผลต่อความสำเร็จและโอกาสเติบโตของอุตสาหกรรมด้านอาหารในปีหน้า เช่น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่มีการสนับสนุนกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย ทั้งในด้านการให้ความรู้เพิ่มเติมในการวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการเปิดตลาดต่างประเทศ โดยในปี 2557 ที่ผ่านมาจำนวนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหารและเครื่องดื่มมีมากกว่า 370,000 ราย สร้างมูลค่ารวมกว่า 628 ล้านบาท (ที่มา : สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม)


นอกจากนั้น อาจารย์กิตติชัย ยังได้ให้แนวคิดสำคัญ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการยุคใหม่ ตระหนักในการดำเนินธุรกิจ 4 ประการ คือ

1.ความมุ่งมั่นตั้งใจ (Entrepreneurial Intention)
ความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำธุรกิจ พร้อมที่จะยืนหยัดต่อสู้และมีทั้งความตั้งใจและเข้าใจธุรกิจที่ทำ และมีตัวชี้วัดเป็นความมุ่งมั่นในการนำเงินมาเริ่มลงทุนทำธุรกิจ
2.ความคิดริเริ่มธุรกิจ (Business-Idea Initiate)
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในด้านการทำธุรกิจเป็นต้นกำเนิดที่สำคัญของจุดขายของธุรกิจ โดยเฉพาะการคิดแบบนวัตกร (Innovator) ที่จะใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นตัวส่งเสริมธุรกิจให้มีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ความต้องการของตลาดมากขึ้น
3.ความรู้ด้านการวางแผนและสร้างตัวแบบธุรกิจที่มีความเป็นไปได้จริงและมีมูลค่าเพิ่ม (Value-Added Business Model and Plan)
ผู้ประกอบการยุคใหม่จะเป็นต้องมีความรู้ด้านการทำธุรกิจและปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น รู้กลุ่มลูกค้า ผลิตภัณฑ์ ความต้องการของตลาด คู่แข่งในตลาด เป็นต้น เพื่อใช้ในการร่างแผนธุรกิจ ซึ่งในปัจจุบันมีหน่วยงานทั้งรัฐบาลและเอกชนให้ความรู้ในเรื่องเครื่องมือของผู้ประกอบธุรกิจ (Business Model) อย่างแพร่หลาย
4.ความเป็นคนรักที่จะเสี่ยงและเผชิญหน้ากับความท้าทายต่างๆ (Risk and Challenge Lover)
โดยหลังจากการศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว ความใจสู้และกล้าเสี่ยงถือเป็นหัวใจสำคัญของคนทำธุรกิจ และเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการที่ต้องการประสบความสำเร็จไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ โดยการใช้ความใจสู้และกล้าเสี่ยงนั้น ต้องมีการศึกษาข้อมูลจากงานวิจัยและสถิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ

ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ปรับตัวให้เข้ากับสภาวะปัจจุบันได้แล้ว น่าจะสามารถครองพื้นที่ส่วนมากของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ได้ไม่ยากนัก

และเมื่อพิจารณาจากข้อมูลรายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เรียบเรียงโดย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ที่ผ่านมา พบว่า แนวโน้มตั้งแต่ปี2555 จนถึงปี 2557 มูลค่า GDP ของเอสเอ็มอีเริ่มปรับตัวสูงขึ้น โดยในปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 37 และในปี 2556 สัดส่วนมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของเอสเอ็มอี ปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 37.4และมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะเดียวกันแนวโน้มที่ผ่านมาก็เป็นที่น่าสังเกตว่าอัตราการขยายตัวของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยังคงสูงกว่าอัตราการขยายตัวของประเทศซึ่งจุดนี้แสดงถึงการเป็นกลไกขับเคลื่อนการเจริญเติบโต (Engine of Growth) ที่สำคัญยิ่งให้แก่ระบบเศรษฐกิจของประเทศ อาจารย์กิตติชัยกล่าว

สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU)
โทรศัพท์ 02-206-2000 หรือเข้าไปที่ www.cmmu.mahidol.ac.th


โดย : BisnesCafe.com | คาเฟ่ของคนรักธุรกิจ

เปิดโผ 10 ธุรกิจดาวรุ่ง-ดาวร่วง ปี 2559 พร้อมแนะ SME ลุยตลาด AEC


โดยจากผลสำรวจของ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เผยผลสำรวจ 10 ธุรกิจ ดาวรุ่ง ดาวร่วง ในปี 2559 

จากการทำการสำรวจ 10 ธุรกิจ น่าสนใจ ดาวรุ่งและ 10 ธุรกิจ ดาวร่วง พบว่า  ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ , บูติคโฮเทล และสายการบินต้นทุนต่ำ คือ ธุรกิจดาวรุ่ง แต่สำหรับธุรกิจ รถทัวร์-รถไฟ , ร้านกาแฟสด รวมทั้ง ร้านบุฟเฟ่ต์ อย่างหมูกะทะ คือ ธุรกิจดาวร่วง ส่วนภาพรวมของธุรกิจ SMEs มองว่ายังไม่พร้อมที่จะเข้าสู่ AEC 
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เผยผลสำรวจความคิดเห็นทิศทางเศรษฐกิจ และการคาดการณ์ผลประกอบการปี 2559 โดยเก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการ SME กว่า 580 รายทั่วประเทศ พบว่า กลุ่มผู้ประกอบการที่มองแนวโน้มดีขึ้น คาดการณ์ว่ายอดขายโดยเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้น 16.3% ซึ่งกลุ่มนี้สามารถปรับตัวได้ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ส่วนกลุ่มที่ระบุว่าแนวโน้มจะแย่ลงนั้น มองว่ายอดขายเฉลี่ยจะลดลง 10.8%

โดยในปี 2558 ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการ 63.2% ระบุว่า ผลประกอบการต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ 14.4% ดีกว่าที่คาดหวังไว้ โดยขณะที่ 22.4% มองว่าผลประกอบการจะใกล้เคียงที่คาดการณ์

ส่วนแนวโน้มผลประกอบการในปี 2559 พบว่า 34.6% ระบุว่าดีขึ้น 52.5% ใกล้เคียงกับปี 2558 และ อีก 12.9% แย่ลง โดย ใน ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเริ่มปรับตัวรับสภาพเศรษฐกิจได้แล้ว และเชื่อว่าปีหน้าผลประกอบการของตัวเองจะดีขึ้น หรืออย่างน้อยสามารถประคองตัวให้ใกล้เคียงกับปีนี้ได้

สำหรับ 10 อันดับธุรกิจดาวรุ่ง ประจำปี 2559 จะเป็นธุรกิจที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนยุคปัจจุบันที่ต้องการความสะดวกสบายและดีต่อสุขภาพ โดยจะเน้นที่ไปที่ความคุ้มค่าในสินค้าหรือบริการ และเป็นมิตรกับต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนตลาดออนไลน์ถือเป็นช่องทางตลาดที่โดดเด่นในปี 2559 เนื่องจากการเปิดใช้เทคโนโลยี 4จึงทำให้การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสะดวกและเร็วยิ่งขึ้น แต่ในทางกลับกันก็จะส่งผลถึงการแข่งขันในตลาดออนไลน์สูงขึ้นเช่นกัน มาดูกันว่าธุรกิจดาวรุ่ง ประกอบไปด้วยธุรกิจไหนที่น่าสนใจกันบ้าง

โดยธุรกิจดาวรุ่ง 10 อันดับแรก ในปี 2559 ประกอบด้วย

1. อาหารเพื่อสุขภาพ
2. บูติกโฮเต็ลโฮมสเตย์โรงแรมราคาประหยัด
3. สายการบินต้นทุนต่ำ
4. ร้านขายอุปกรณ์กีฬาออนไลน์
5. การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
6. การสอนภาษาอังกฤษ
7. จักรยานและอุปกรณ์
8. การดูแลสุขภาพ
9. แอปพลิเคชันบนมือถือ และ
10. การขนส่งระยะสั้น / BTS / MRT

ส่วนธุรกิจดาวร่วง นั้นจากการประเมินธุรกิจแล้วส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากการที่ธุรกิจได้เกิดขึ้นมากแล้วและไม่ตรงกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มองว่าตลาดใกล้เต็ม หรือ มีผู้ประกอบเกิดขึ้นมากแล้ว จับกลุ่มลูกค้าระดับกลางทั่วไป ทำให้ความน่าสนใจลดลง ไม่มีแรงจูงใจ เท่าที่ควร มาดูกันว่าธุรกิจดาวร่วง มีธุรกิจอะไรบ้าง    

ธุรกิจที่เป็นดาวร่วง 10 อันดับ ในปี 2559 ได้แก่

1. รถทัวร์/รถไฟ
2. ร้านกาแฟสด
3. ร้านบุฟเฟต์ราคาถูก (เช่น หมูกระทะ)
4. ร้านอินเทอร์เน็ต
5. เสื้อผ้าแฟชั่นราคาถูก
6. ร้านโชวห่วย
7. อาหารทะเลแปรรูป
8. สายการบินทั่วไป
9. ร้านซ่อมคอมพิวเตอร์ และ
10. ร้านขายโทรศัพท์มือถือมือสอง

สำหรับธุรกิจดาวร่วงนั้น ควรที่จะทำตลาดโดยเน้นไปที่ตลาดเฉพาะกลุ่มแบบเจาะจง เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับรู้ถึงแนวทางการทำธุรกิจที่ชัดเจน เช่น การมุ่งเน้นไปที่ตลาดบน (ตลาดไฮเอนด์) หรือจับกลุ่มตลาดล่าง โดยเน้นไปที่สินค้าหรือบริการราคาถูก ซึ่งน่าจะทำให้ได้รับความนิยมมากกว่า


ทั้งนี้ กลุ่มผู้ประกอบการที่มองแนวโน้มดีขึ้น คาดการณ์ว่ายอดขายโดยเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้น 16.3% ซึ่งกลุ่มนี้สามารถปรับตัวได้ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ส่วนกลุ่มที่ระบุว่าแนวโน้มจะแย่ลงนั้น มองว่ายอดขายเฉลี่ยจะลดลง 10.8%

สำหรับปี 2558 ผู้ประกอบการ 63.2% ระบุว่า ผลประกอบการต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ 14.4% ดีกว่าที่คาดหวังไว้ ขณะที่ 22.4% มองว่าผลประกอบการจะใกล้เคียงที่คาดการณ์ นายเกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผู้ช่วยรองอธิการบดีสายงานวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ระบุว่า ผู้ประกอบการ คาดว่า แนวโน้มผลประกอบการในปี 2559 34.6% ระบุว่าดีขึ้น 52.5% ใกล้เคียงกับปี 2558 และ อีก 12.9% แย่ลง โดย ใน ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SMEs) เริ่มปรับตัวรับสภาพเศรษฐกิจได้แล้ว และเชื่อว่าปีหน้าผลประกอบการของตัวเองจะดีขึ้น หรืออย่างน้อยสามารถประคองตัวให้ใกล้เคียงกับปีนี้ได้

ในภาพรวมเศรษฐกิจในปี 2559 คาดว่าจะมีอัตราเติบโต GDP อยู่ที่ 3.14% ส่วน GDP SME ปี 2559 คาดว่าจะอยู่ที่ 2.84% โดยการเติบโตของ GDP SME ยังต่ำกว่า GDP ประเทศ เหตุผลเพราะการฟื้นตัวของผู้ประกอบการระดับกลางและเล็กมักจะช้ากว่ารายใหญ่ ทำให้จะเห็นการฟื้นตัวจริงๆ ของ เอสเอ็มอี (SMEs) ในช่วงไตรมาส ปี 2559 หรือไปถึงไตรมาส ปี 2560 เป็นต้นไป

ในด้านปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดสำหรับ เอสเอ็มอี (SMEs) ในปี 2559 คือ การขาดแรงงานฝีมือรุนแรงกว่าประเทศเพื่อนบ้านถึง เท่า นักศึกษาจบใหม่ที่ออกมาจากภาคการศึกษาไม่ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน เห็นได้จากภาษาอังกฤษที่ประเทศไทยด้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านมากไม่ว่าจะเป็น มาเลเซีย หรือฟิลิปปินส์

ส่วนความพร้อมของเอสเอ็มอีไทย (SMEs Thaiในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2559 พบว่ามีผู้ประกอบการเพียง 11.4% เท่านั้น ที่ระบุว่าพร้อมที่จะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผู้ที่ยังไม่พร้อมคิดเป็น 75.2% และอีก 13.4% ไม่สนใจจะเตรียมความพร้อม โดยคาดว่า ต้องใช้เวลาในการปรับตัว ถึง ปี เนื่องจาก การขาดความรู้เกี่ยวกับโอกาสทางการตลาดของอาเซียน ด้าน นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คาดการณ์ว่า

ธุรกิจดาวรุ่งในปี 2559 คือ

ธุรกิจที่เป็นดาวร่วง ปี 2559 คือ

2. ธุรกิจแปรรูปสินค้าการเกษตร จากราคาตกต่ำ และปัญหาภัยแล้ง ,
4. ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

โดยเน้นไปที่เทรนด์ธุรกิจความงามและสุขภาพสปา คือเทรนด์ธุรกิจที่ยังคงร้อนแรงต่อเนื่องจากนี้ไปอีก ปี และแนวโน้มธุรกิจโลจิสติกส์กำลังจะเป็นดาวรุ่ง

โดย : BisnesCafe.com | คาเฟ่ของคนรักธุรกิจ

เปิดโผ 10 ธุรกิจดาวรุ่ง-ดาวร่วง ปี 2559 พร้อมแนะ SME ลุยตลาด AEC

เปิดโผ 10 ธุรกิจดาวรุ่ง-ดาวร่วง ปี 2559 พร้อมแนะ SME ลุยตลาด AEC


โดยจากผลสำรวจของ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เผยผลสำรวจ 10 ธุรกิจ ดาวรุ่ง ดาวร่วง ในปี 2559 

จากการทำการสำรวจ 10 ธุรกิจ น่าสนใจ ดาวรุ่งและ 10 ธุรกิจ ดาวร่วง พบว่า  ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ , บูติคโฮเทล และสายการบินต้นทุนต่ำ คือ ธุรกิจดาวรุ่ง แต่สำหรับธุรกิจ รถทัวร์-รถไฟ , ร้านกาแฟสด รวมทั้ง ร้านบุฟเฟ่ต์ อย่างหมูกะทะ คือ ธุรกิจดาวร่วง ส่วนภาพรวมของธุรกิจ SMEs มองว่ายังไม่พร้อมที่จะเข้าสู่ AEC 
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เผยผลสำรวจความคิดเห็นทิศทางเศรษฐกิจ และการคาดการณ์ผลประกอบการปี 2559 โดยเก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการ SME กว่า 580 รายทั่วประเทศ พบว่า กลุ่มผู้ประกอบการที่มองแนวโน้มดีขึ้น คาดการณ์ว่ายอดขายโดยเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้น 16.3% ซึ่งกลุ่มนี้สามารถปรับตัวได้ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ส่วนกลุ่มที่ระบุว่าแนวโน้มจะแย่ลงนั้น มองว่ายอดขายเฉลี่ยจะลดลง 10.8%

โดยในปี 2558 ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการ 63.2% ระบุว่า ผลประกอบการต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ 14.4% ดีกว่าที่คาดหวังไว้ โดยขณะที่ 22.4% มองว่าผลประกอบการจะใกล้เคียงที่คาดการณ์

ส่วนแนวโน้มผลประกอบการในปี 2559 พบว่า 34.6% ระบุว่าดีขึ้น 52.5% ใกล้เคียงกับปี 2558 และ อีก 12.9% แย่ลง โดย ใน ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเริ่มปรับตัวรับสภาพเศรษฐกิจได้แล้ว และเชื่อว่าปีหน้าผลประกอบการของตัวเองจะดีขึ้น หรืออย่างน้อยสามารถประคองตัวให้ใกล้เคียงกับปีนี้ได้

สำหรับ 10 อันดับธุรกิจดาวรุ่ง ประจำปี 2559 จะเป็นธุรกิจที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนยุคปัจจุบันที่ต้องการความสะดวกสบายและดีต่อสุขภาพ โดยจะเน้นที่ไปที่ความคุ้มค่าในสินค้าหรือบริการ และเป็นมิตรกับต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนตลาดออนไลน์ถือเป็นช่องทางตลาดที่โดดเด่นในปี 2559 เนื่องจากการเปิดใช้เทคโนโลยี 4จึงทำให้การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสะดวกและเร็วยิ่งขึ้น แต่ในทางกลับกันก็จะส่งผลถึงการแข่งขันในตลาดออนไลน์สูงขึ้นเช่นกัน มาดูกันว่าธุรกิจดาวรุ่ง ประกอบไปด้วยธุรกิจไหนที่น่าสนใจกันบ้าง

โดยธุรกิจดาวรุ่ง 10 อันดับแรก ในปี 2559 ประกอบด้วย

1. อาหารเพื่อสุขภาพ
2. บูติกโฮเต็ลโฮมสเตย์โรงแรมราคาประหยัด
3. สายการบินต้นทุนต่ำ
4. ร้านขายอุปกรณ์กีฬาออนไลน์
5. การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
6. การสอนภาษาอังกฤษ
7. จักรยานและอุปกรณ์
8. การดูแลสุขภาพ
9. แอปพลิเคชันบนมือถือ และ
10. การขนส่งระยะสั้น / BTS / MRT

ส่วนธุรกิจดาวร่วง นั้นจากการประเมินธุรกิจแล้วส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากการที่ธุรกิจได้เกิดขึ้นมากแล้วและไม่ตรงกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มองว่าตลาดใกล้เต็ม หรือ มีผู้ประกอบเกิดขึ้นมากแล้ว จับกลุ่มลูกค้าระดับกลางทั่วไป ทำให้ความน่าสนใจลดลง ไม่มีแรงจูงใจ เท่าที่ควร มาดูกันว่าธุรกิจดาวร่วง มีธุรกิจอะไรบ้าง    

ธุรกิจที่เป็นดาวร่วง 10 อันดับ ในปี 2559 ได้แก่

1. รถทัวร์/รถไฟ
2. ร้านกาแฟสด
3. ร้านบุฟเฟต์ราคาถูก (เช่น หมูกระทะ)
4. ร้านอินเทอร์เน็ต
5. เสื้อผ้าแฟชั่นราคาถูก
6. ร้านโชวห่วย
7. อาหารทะเลแปรรูป
8. สายการบินทั่วไป
9. ร้านซ่อมคอมพิวเตอร์ และ
10. ร้านขายโทรศัพท์มือถือมือสอง

สำหรับธุรกิจดาวร่วงนั้น ควรที่จะทำตลาดโดยเน้นไปที่ตลาดเฉพาะกลุ่มแบบเจาะจง เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับรู้ถึงแนวทางการทำธุรกิจที่ชัดเจน เช่น การมุ่งเน้นไปที่ตลาดบน (ตลาดไฮเอนด์) หรือจับกลุ่มตลาดล่าง โดยเน้นไปที่สินค้าหรือบริการราคาถูก ซึ่งน่าจะทำให้ได้รับความนิยมมากกว่า


ทั้งนี้ กลุ่มผู้ประกอบการที่มองแนวโน้มดีขึ้น คาดการณ์ว่ายอดขายโดยเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้น 16.3% ซึ่งกลุ่มนี้สามารถปรับตัวได้ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ส่วนกลุ่มที่ระบุว่าแนวโน้มจะแย่ลงนั้น มองว่ายอดขายเฉลี่ยจะลดลง 10.8%

สำหรับปี 2558 ผู้ประกอบการ 63.2% ระบุว่า ผลประกอบการต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ 14.4% ดีกว่าที่คาดหวังไว้ ขณะที่ 22.4% มองว่าผลประกอบการจะใกล้เคียงที่คาดการณ์ นายเกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผู้ช่วยรองอธิการบดีสายงานวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ระบุว่า ผู้ประกอบการ คาดว่า แนวโน้มผลประกอบการในปี 2559 34.6% ระบุว่าดีขึ้น 52.5% ใกล้เคียงกับปี 2558 และ อีก 12.9% แย่ลง โดย ใน ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SMEs) เริ่มปรับตัวรับสภาพเศรษฐกิจได้แล้ว และเชื่อว่าปีหน้าผลประกอบการของตัวเองจะดีขึ้น หรืออย่างน้อยสามารถประคองตัวให้ใกล้เคียงกับปีนี้ได้

ในภาพรวมเศรษฐกิจในปี 2559 คาดว่าจะมีอัตราเติบโต GDP อยู่ที่ 3.14% ส่วน GDP SME ปี 2559 คาดว่าจะอยู่ที่ 2.84% โดยการเติบโตของ GDP SME ยังต่ำกว่า GDP ประเทศ เหตุผลเพราะการฟื้นตัวของผู้ประกอบการระดับกลางและเล็กมักจะช้ากว่ารายใหญ่ ทำให้จะเห็นการฟื้นตัวจริงๆ ของ เอสเอ็มอี (SMEs) ในช่วงไตรมาส ปี 2559 หรือไปถึงไตรมาส ปี 2560 เป็นต้นไป

ในด้านปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดสำหรับ เอสเอ็มอี (SMEs) ในปี 2559 คือ การขาดแรงงานฝีมือรุนแรงกว่าประเทศเพื่อนบ้านถึง เท่า นักศึกษาจบใหม่ที่ออกมาจากภาคการศึกษาไม่ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน เห็นได้จากภาษาอังกฤษที่ประเทศไทยด้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านมากไม่ว่าจะเป็น มาเลเซีย หรือฟิลิปปินส์

ส่วนความพร้อมของเอสเอ็มอีไทย (SMEs Thaiในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2559 พบว่ามีผู้ประกอบการเพียง 11.4% เท่านั้น ที่ระบุว่าพร้อมที่จะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผู้ที่ยังไม่พร้อมคิดเป็น 75.2% และอีก 13.4% ไม่สนใจจะเตรียมความพร้อม โดยคาดว่า ต้องใช้เวลาในการปรับตัว ถึง ปี เนื่องจาก การขาดความรู้เกี่ยวกับโอกาสทางการตลาดของอาเซียน ด้าน นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คาดการณ์ว่า

ธุรกิจดาวรุ่งในปี 2559 คือ

ธุรกิจที่เป็นดาวร่วง ปี 2559 คือ

2. ธุรกิจแปรรูปสินค้าการเกษตร จากราคาตกต่ำ และปัญหาภัยแล้ง ,
4. ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

โดยเน้นไปที่เทรนด์ธุรกิจความงามและสุขภาพสปา คือเทรนด์ธุรกิจที่ยังคงร้อนแรงต่อเนื่องจากนี้ไปอีก ปี และแนวโน้มธุรกิจโลจิสติกส์กำลังจะเป็นดาวรุ่ง

โดย : BisnesCafe.com | คาเฟ่ของคนรักธุรกิจ

10/11/2558



บิสเนสคาเฟ่ดอทคอม ศูนย์รวมธุรกิจ เอสเอ็มอี (SME) 
และ แฟรนไชส์ (Franchise) ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการบอกเล่าเรื่องราวธุรกิจที่มีเนื้อหา สาระและมีความน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ข่าวสาร บทความธุรกิจ เกร็ดความรู้ เคล็ดลับ ไอเดียธุรกิจ เพื่อนำเสนอในแง่มุมต่างๆ ที่หลากหลาย ให้แก่ 
ผู้ประกอบการธุรกิจ เอสเอ็มอี SMEs และ แฟรนไชส์ Franchise รวมทั้งผู้สนใจทั่วไป ได้นำความรู้ที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางในการเริ่มต้นธุรกิจ การลงทุนทำธุรกิจ หรือนำไปพัฒนาต่อยอดธุรกิจให้เกิดประโยชน์สูงสุด สามารถนำพาธุรกิจให้เจริญเติบโตและมั่นคงต่อไปได้ในอนาคต  
เรายังเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการแนะนำธุรกิจ ทำการประชาสัมพันธ์ธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเอสเอ็มอี (SME) ธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ไม่ว่าจะเป็นการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ นำเสนอบทความธุรกิจ บทความแนะนำธุรกิจ แนะนำผลิตภัณฑ์ การลงโฆษณาแบนเนอร์ (Banner) หรือลงข่าวประชาสัมพันธ์ธุรกิจ (PR) ข่าวกิจกรรม (Event) ข่าวส่งเสริมการขาย (Promotion) รวมทั้งภาพข่าว เพื่อให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างและสร้างให้เกิดกระแสตอบรับที่ดีต่อธุรกิจ การประชาสัมพันธ์ธุรกิจผ่านหน้า สารบัญธุรกิจ (Directory) ที่มีการแบ่งประเภทธุรกิจออกเป็น ธุรกิจ เอสเอ็มอี (SMEs) และ แฟรนไชส์ (Franchise) สามารถประชาสัมพันธ์ธุรกิจ ด้วยการแสดงรูปโลโก้บริษัท ชื่อบริษัท ลงรูปธุรกิจ เนื้อหาธุรกิจ ลงรายละเอียดของสินค้าและบริการ ข่าวสาร กิจกรรมต่างๆ ลง Link ธุรกิจ มีกล่องรับความคิดเห็น เพื่อใช้ในการโต้ตอบทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และเรายังเป็นเว็บสื่อกลางในการรับข่าวประชาสัมพันธ์ธุรกิจฟรี ผ่านช่องทางการสมัครสมาชิก โดยสามารถเข้าไปลงข่าวประชาสัมพันธ์ธุรกิจฟรี แบบไม่มีเงื่อนไข หรือสามารถส่งข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ แนะนำธุรกิจผ่านช่องทางอีเมล์ bisnescafe@gmail.com ได้อีกหนึ่งช่องทาง สามารถแนะนำ บทความ บทสัมภาษณ์  ข่าวสารธุรกิจ ภาพข่าว ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวกิจกรรม
เราเปิดโอกาสให้แก่ธุรกิจ หรือหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ไม่หวังผลกำไร สามารถส่งข่าวสารประชาสัมพันธ์ เข้ามาลงโฆษณาฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมงานกุศล กิจกรรมช่วยรณรงค์ กิจกรรมส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศ กิจกรรมช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ฯ และอื่นๆ อีกมากมาย สามารถแจ้งความประสงค์เข้ามาได้ที่ อีเมล์ , พร้อมบอกลายละเอียด กำหนดการ เพื่อให้ทำการประชาสัมพันธ์ต่อไป
"ในส่วนของประโยชน์ในแง่ด้านการตลาดและการขาย เราจะทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อเครือข่ายธุรกิจให้กลายเป็นกลุ่มการค้าระดับประเทศ เป็นแหล่งแนะนำธุรกิจ ประชาสัมพันธ์ธุรกิจ จับคู่ธุรกิจให้เกิดการรวมกลุ่มการค้าในประเทศ ทั้งภาคธุรกิจ SMEs และธุรกิจแฟรนไชส์ ในการที่จะเข้าไปแข่งขันในตลาดอาเซียน AEC ได้อย่างเข้มแข็ง สร้างอำนาจการต่อรองให้เกิดแก่กลุ่มเครือข่ายธุรกิจที่เป็นของคนไทย เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาประเทศที่เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป สมดังคำสโลแกนที่ว่า "คนไทย ไม่แพ้ใครในเวทีโลก"
ท้ายนี้ ทีมงาน Bisnescafe.com หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะเป็นอีกหนึ่งช่องทางเล็กๆ ที่จะได้มีโอกาสทำประโยชน์ให้แก่สังคม ได้บ้าง ไม่มากก็น้อย ถูกใจบ้าง ไม่ถูกใจบ้าง ทางทีมงานขอน้อมรับด้วยความเต็มใจ และหากผิดพลาดประการใด ขอได้โปรดให้อภัยแก่ทีมงานด้วย 
ขอขอบพระคุณทุกท่านที่สละเวลา แวะเวียนเข้ามาเยี่ยม เข้ามาอ่าน เข้ามาเขียน เข้ามาแนะนำก็ดี สิ่งละอันพันละน้อยนี้ จะเป็นกำลังใจแก่ทีมงาน เพื่อมุ่งพัฒนาและนำเสนอแต่สิ่งดีๆ ที่เป็นประโยชน์กับส่วนรวม ต่อไปในภาคหน้า …จนกว่าวันสุดท้ายจะมาถึง
ทีมงาน Bisnescafe.com
T. Tinthanakit
 

Bisnescafe.com | บิสเนสคาเฟ่ เว็บศูนย์รวม ธุรกิจ เอสเอ็มอี SMEs แฟรนไชส์ Franchise อันดับหนึ่งของเมืองไทย ที่ให้คุณได้มากกว่า



บิสเนสคาเฟ่ดอทคอม ศูนย์รวมธุรกิจ เอสเอ็มอี (SME) 
และ แฟรนไชส์ (Franchise) ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการบอกเล่าเรื่องราวธุรกิจที่มีเนื้อหา สาระและมีความน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ข่าวสาร บทความธุรกิจ เกร็ดความรู้ เคล็ดลับ ไอเดียธุรกิจ เพื่อนำเสนอในแง่มุมต่างๆ ที่หลากหลาย ให้แก่ 
ผู้ประกอบการธุรกิจ เอสเอ็มอี SMEs และ แฟรนไชส์ Franchise รวมทั้งผู้สนใจทั่วไป ได้นำความรู้ที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางในการเริ่มต้นธุรกิจ การลงทุนทำธุรกิจ หรือนำไปพัฒนาต่อยอดธุรกิจให้เกิดประโยชน์สูงสุด สามารถนำพาธุรกิจให้เจริญเติบโตและมั่นคงต่อไปได้ในอนาคต  
เรายังเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการแนะนำธุรกิจ ทำการประชาสัมพันธ์ธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเอสเอ็มอี (SME) ธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ไม่ว่าจะเป็นการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ นำเสนอบทความธุรกิจ บทความแนะนำธุรกิจ แนะนำผลิตภัณฑ์ การลงโฆษณาแบนเนอร์ (Banner) หรือลงข่าวประชาสัมพันธ์ธุรกิจ (PR) ข่าวกิจกรรม (Event) ข่าวส่งเสริมการขาย (Promotion) รวมทั้งภาพข่าว เพื่อให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างและสร้างให้เกิดกระแสตอบรับที่ดีต่อธุรกิจ การประชาสัมพันธ์ธุรกิจผ่านหน้า สารบัญธุรกิจ (Directory) ที่มีการแบ่งประเภทธุรกิจออกเป็น ธุรกิจ เอสเอ็มอี (SMEs) และ แฟรนไชส์ (Franchise) สามารถประชาสัมพันธ์ธุรกิจ ด้วยการแสดงรูปโลโก้บริษัท ชื่อบริษัท ลงรูปธุรกิจ เนื้อหาธุรกิจ ลงรายละเอียดของสินค้าและบริการ ข่าวสาร กิจกรรมต่างๆ ลง Link ธุรกิจ มีกล่องรับความคิดเห็น เพื่อใช้ในการโต้ตอบทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และเรายังเป็นเว็บสื่อกลางในการรับข่าวประชาสัมพันธ์ธุรกิจฟรี ผ่านช่องทางการสมัครสมาชิก โดยสามารถเข้าไปลงข่าวประชาสัมพันธ์ธุรกิจฟรี แบบไม่มีเงื่อนไข หรือสามารถส่งข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ แนะนำธุรกิจผ่านช่องทางอีเมล์ bisnescafe@gmail.com ได้อีกหนึ่งช่องทาง สามารถแนะนำ บทความ บทสัมภาษณ์  ข่าวสารธุรกิจ ภาพข่าว ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวกิจกรรม
เราเปิดโอกาสให้แก่ธุรกิจ หรือหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ไม่หวังผลกำไร สามารถส่งข่าวสารประชาสัมพันธ์ เข้ามาลงโฆษณาฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมงานกุศล กิจกรรมช่วยรณรงค์ กิจกรรมส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศ กิจกรรมช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ฯ และอื่นๆ อีกมากมาย สามารถแจ้งความประสงค์เข้ามาได้ที่ อีเมล์ , พร้อมบอกลายละเอียด กำหนดการ เพื่อให้ทำการประชาสัมพันธ์ต่อไป
"ในส่วนของประโยชน์ในแง่ด้านการตลาดและการขาย เราจะทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อเครือข่ายธุรกิจให้กลายเป็นกลุ่มการค้าระดับประเทศ เป็นแหล่งแนะนำธุรกิจ ประชาสัมพันธ์ธุรกิจ จับคู่ธุรกิจให้เกิดการรวมกลุ่มการค้าในประเทศ ทั้งภาคธุรกิจ SMEs และธุรกิจแฟรนไชส์ ในการที่จะเข้าไปแข่งขันในตลาดอาเซียน AEC ได้อย่างเข้มแข็ง สร้างอำนาจการต่อรองให้เกิดแก่กลุ่มเครือข่ายธุรกิจที่เป็นของคนไทย เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาประเทศที่เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป สมดังคำสโลแกนที่ว่า "คนไทย ไม่แพ้ใครในเวทีโลก"
ท้ายนี้ ทีมงาน Bisnescafe.com หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะเป็นอีกหนึ่งช่องทางเล็กๆ ที่จะได้มีโอกาสทำประโยชน์ให้แก่สังคม ได้บ้าง ไม่มากก็น้อย ถูกใจบ้าง ไม่ถูกใจบ้าง ทางทีมงานขอน้อมรับด้วยความเต็มใจ และหากผิดพลาดประการใด ขอได้โปรดให้อภัยแก่ทีมงานด้วย 
ขอขอบพระคุณทุกท่านที่สละเวลา แวะเวียนเข้ามาเยี่ยม เข้ามาอ่าน เข้ามาเขียน เข้ามาแนะนำก็ดี สิ่งละอันพันละน้อยนี้ จะเป็นกำลังใจแก่ทีมงาน เพื่อมุ่งพัฒนาและนำเสนอแต่สิ่งดีๆ ที่เป็นประโยชน์กับส่วนรวม ต่อไปในภาคหน้า …จนกว่าวันสุดท้ายจะมาถึง
ทีมงาน Bisnescafe.com
T. Tinthanakit
 

8/03/2558



ธุรกิจแฟรนไชส์ และ การทำธุรกิจแฟรนไชส์ ให้ประสบความสำเร็จ นั้น เพื่อให้สามารถมองเห็นภาพได้อย่างชัดเจน และเข้าใจธุรกิจแฟรนไชส์มากขึ้น จึงได้แยกคำศัพท์ออกมา เพราะมีอยู่หลายคำ ที่น่าสนใจและจำเป็นต้องรู้ ถ้าหากคิดที่จะเข้ามาทำธุรกิจแฟรนไชส์ รวมไปถึงค่าธรรมเนียมต่างๆที่ต้องจ่ายนั้น เขาเรียกว่าอะไรกันแน่ ที่สำคัญต้องทำความเข้าใจกับคำศัพท์ต่างๆ ก่อน
แฟรนไชส์ซิ่ง ( Franchising ) 
การที่เจ้าของสิทธิ ( Franchisor )  ตกลงอนุญาตให้ผู้รับสิทธิ ( Franchisee ) ดำเนินธุรกิจภายใต้ชื่อ การค้า การบริหาร และระบบธุรกิจ ซึ่งเจ้าของสิทธิเป็นผู้พัฒนาขึ้น ผู้รับสิทธิจะต้องดำเนินธุรกิจ ตามรูปแบบและระบบธุรกิจของเจ้าของสิทธิ และจ่ายค่าตอบแทนแก่เจ้าของสิทธิ
แฟรนไชส์ ( Franchise )
คือ ระบบธุรกิจที่ประกอบไปด้วยลักษณะสำคัญ 3 ประการคือ
  1. จะต้องมีเจ้าของสิทธิ ผู้ถ่ายทอดวิทยาการ การทำธุรกิจทุกอย่างให้กับผู้รับสิทธิ อย่างใกล้ชิด
  2. ผู้รับสิทธิจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการใช้ชื่อการค้า เป็นค่าธรรมเนียมเริ่มแรก (Franchise Fee)
  3. ผู้รับสิทธิจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเป็นเปอร์เซ็นต์ ( Royalty Fee )
แฟรนไชส์ซอร์ ( Franchisor )
เจ้าของสิทธิ ซึ่งเป็นผู้คิดค้นวิธีการทำธุรกิจ จนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ และเป็นผู้ขายสิทธิการดำเนินกิจการ ขายชื่อการค้าของตนเอง ให้แก่ผู้อื่น เช่น เชสเตอร์กริลล์ เป็นผู้คิดค้นร้านอาหารประเภท ไก่ย่าง และสูตรอาหาร มีรูปแบบ การจัดร้าน การจัดการเฉพาะตัว จนกระทั่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก แล้วขายระบบทั้งหมดให้แก่ผู้อื่น บริษัทของเชสเตอร์กริลล์ อยู่ในฐานะเป็นเจ้าของสิทธิ และเป็นผู้ขายแฟรนไชส์ให้ผู้อื่น เรียกว่า แฟรนไชส์ซอล หรือกรณีที่ 7-อีเลฟเว่น บริษัท ซีพี ซื้อแฟรนไชส์  มาจากต่างประเทศ แล้วมาพัฒนาขายแฟรนไชส์ให้แก่รายย่อยอีกต่อหนึ่ง บริษัท ซีพี 7- อีเลฟเว่น มีฐานะเป็นแฟรนไชส์ซอล พูดง่ายๆก็คือ แฟรนไชส์ซอล เป็นผู้ขายแฟรนไชส์ นั่นเอง
แฟรนไชส์ซี ( Franchisee )
ผู้รับสิทธิในการดำเนินธุรกิจตามระบบที่เจ้าของสิทธิได้จัดเตรียมไว้ รวมทั้งได้ใช้ชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้าเดียวกัน โดยที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนในการให้สิทธิอันนั้น รวมทั้งจ่ายค่าตอบแทนตามผลประกอบการด้วย ซึ่งก็คือผู้ซื้อแฟรนไชส์นั่นเอง
แฟรนไชส์ฟี ( Franchise Fee ) 
ค่าตอบแทนที่เป็นจำนวนเงินที่แน่นอน จะจ่ายก่อนเริ่มดำเนินงาน หรือเรียกว่า ค่าธรรมเนียมแรกเข้า ซึ่งถือว่าเป็นการจ่ายค่าสิทธิต่างๆ ให้แก่บริษัทแม่
รอยัลตี้ฟี ( Royalty Fee ) 
เป็นค่าตอบแทนที่ต้องจ่ายอย่างต่อเนื่อง ตามสัดส่วนของผลการดำเนินงาน อาจจะเรียกเป็นเปอร์เซ็นต์ ต่อเดือน หรือต่อปี จากยอดขาย หรือบางที ก็อาจจะเก็บจากยอดสั่งซื้อสินค้าก็มี
Advertising Fee
ค่าตอบแทนที่ต้องจ่ายอย่างต่อเนื่อง ตามสัดส่วนของการดำเนินงาน เพื่อนำไปใช้ในการโฆษณา ในส่วนนี้แฟรนไชส์ซอล อาจจะเรียกเก็บหรือไม่ก็ได้ แล้วแต่จะตกลงกัน
Franchise Package Fee
ค่าตอบแทนในระบบ หรือเทคนิคต่างๆ (เป็นคำศัพท์ที่ใช้เรียกรวมๆ ถ้าพูดเมื่อไหร่ ก็ให้เข้าใจว่าหมายถึง ค่าธรรมเนียมอื่นๆ เช่น ค่าโฆษณา ประชาสัมพันธ์  ค่าอบรม ฯลฯ รวมเบ็ดเสร็จอยู่ในคำๆ เดียว )
Sub – Franchise / Individual Franchise 
ผู้รับสิทธิรายย่อย แบบตัวต่อตัว จากผู้ที่ได้รับสิทธิ หรือผู้ที่เป็นเจ้าของสิทธิ ซึ่งอาจจะได้รับสิทธิในการเปิดกิจการแบบ
  • Single unit Franchise หมายถึง สิทธิในการเปิดดำเนินธุรกิจได้เพียง 1 แห่ง
  • Multi unit Franchise  หมายถึง สิทธิในการเปิดดำเนินธุรกิจ ได้หลายแห่ง
ขอยกตัวอย่างให้เห็นชัด เช่น แฟรนไชส์ซี คนที่1 ทำสัญญากับบริษัทแม่ เพื่อเปิดสาขา แฟรนไชส์ โดยในข้อตกลงกำหนดให้เปิดสาขาได้เพียง 1 แห่งเท่านั้น การให้สิทธิลักษณะนี้ คือ Single unit ในขณะที่แฟรนไชส์ซี คนที่ 2 ก็ซื้อแฟรนไชส์เหมือนกัน แต่ได้รับสิทธิในการเปิดสาขา ได้มากกว่า 1 แห่ง การให้สิทธิลักษณะนี้ คือ Multi unit แต่ยังไงๆทั้งคู่ก็ไม่มีสิทธิที่จะขายแฟรนไชส์ต่อให้กับคนอื่น ไปเปิดสาขาได้ นอกจากจะเปิดเองเท่านั้น
Sub – Area License / Development Franchise

สิทธิแฟรนไชส์แบบพัฒนาอาณาเขต แฟรนไชส์ซอล จะให้สิทธิในการขยายกิจการ แก่แฟรนไชส์ซี ภายในอาณาเขต และระยะเวลา ที่กำหนด เช่น ตันตราภัณฑ์  เป็น Sub – Area ของ 7-อีเลฟเว่น ที่มีสิทธิเปิดร้าน 7-อีเลฟเว่น ครอบคลุมในพื้นที่ภาคเหนือ ในเขตจังหวัดที่ตกลงกันไว้ หรือ เอเอ็ม/พีเอ็ม มีห้างแฟรี่แลนด์ เป็น Sub – Area  License  ที่จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งสามารถขยายกิจการได้มากถึง 10 สาขาในจังหวัดนครสวรรค์
Master Franchise
ผู้ที่ได้รับสิทธิ จากบริษัทแม่ให้ดำเนินธุรกิจเป็นรายแรกในประเทศหนึ่ง และมักจะเป็นรายใหญ่ ที่จะต้องทำการขยายสาขาออกไปให้ทั่วประเทศ ผู้ที่เป็นมาสเตอร์แฟรนไชส์ นี้ จะได้รับการถ่ายทอดในเรื่องการบริหารในระดับที่สูงขึ้น
เมื่อทราบถึงคำศัพท์ต่างๆ ของแฟรนไชส์พอสมควรแล้ว เราลองมาเรียนรู้กฏกติกามารยาทของ แฟรนไชส์ดูว่า  จะช่วยให้เข้าใจแฟรนช์ไชส์ได้อีกมากน้อยแค่ไหน
กฏข้อที่ 1  แฟรนไชส์เหมือนคู่สมรสกัน
กฏข้อนี้พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่าง FRANCHISOR ทั้งสองฝ่ายตกลงทำสัญญากันเพื่อร่วมกันทำธุรกิจภายใต้แผนงานของแฟรนไชส์  ซึ่ง FRANCHISEE จะตอบแทนในรูปของการชำระค่าสิทธิ คือ FRANCHISE FEE  และ ROYALTY  FEE ซึ่งดูเหมือนเป็นการแลกเปลี่ยนกันทางธุรกิจ   แต่ที่จริงแล้ว ความสัมพันธ์ของแฟรนไชส์ควรเป็นความสัมพันธ์ในรูปแบบของความเข้าใจกัน   ความเห็นใจซึ่งกันและกันมากกว่าจะคิดถึงผลประโยชน์ของกันและกัน เพราะความสัมพันธ์ที่มุ่งผลประโยชน์จะไม่ยืนนาน   พอขัดกันที่ผลประโยชน์  ความสัมพันธ์จะขาดสะบั้นลง   และติดตามมาด้วยการฟ้องร้องต่อศาลหรืออย่างน้อยๆ ก็จะไม่มองหน้ากัน  ดังนั้นแฟรนไชส์ควรคำนึงถึงความชอบพอกันก่อน   เวลาจะเลือกแฟรนไชส์อย่าเพิ่งพูดถึงผลประโยชน์  ให้เปิดใจคุยกันก่อนว่า  คุณเป็นใคร  มีความรู้ความสามารถแค่ไหน  มีเงินลงทุนหรือไม่  ทำไมจึงอยากทำธุรกิจของเรา  นิสัยเป็นอย่างไร  ทั้งสองฝ่ายต้องศึกษากันให้ดีก่อน  เมื่อเข้าใจกันแล้วจึงค่อยคุยกันเรื่องธุรกิจ  ทำอย่างนี้ความสัมพันธ์จึงจะยาวนานเหมือนทั้งสองฝ่ายเป็นหุ้นส่วนธุรกิจกัน  จึงจะทำให้แฟรนไชส์นั้นประสบความสำเร็จทั้งคู่เหมือนการเลือกคู่ที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องดูใจกันในระยะเวลาหนึ่งแล้วจึงตกลงปลงใจแต่งงานกัน  ไม่ใช่มองแต่เงินว่า  ใครมีเท่าไหร่  ใครจะจ่ายเท่าไหร่  ผลประโยชน์ข้างหน้าเอาแต่เงินทุกอย่าง  แฟรนไชส์แบบนี้จะอยู่ได้ไม่นานครับ
ผมเคยอ่านหนังสือเกี่ยวกับแฟรนไชส์ก๋วยเตี๋ยวเมืองไทยซึ่งเจ้าของขายลูกชิ้นอยู่  เมื่อมีคนมาขอซื้อลูกชิ้นไปทำก๋วยเตี๋ยวก็ให้  คิดเงินบ้างไม่คิดบ้างอาศัยช่วยๆ กันไปจนมีหลายร้อยสาขา   อย่างนี้จึงจะคบกันยืด  ไม่ใช่คุยแต่ผลประโยชน์  บางทีขายก๋วยเตี๋ยวแต่ทำในรูปแบบแชร์ลูกโซ่  เก็บเงินเท่านี้  ผลตอบแทนเท่านี้  ดูเปอร์เซ็นแล้วกว่า 300 เปอร์เซ็นต่อเดือน  พอคนแห่ลงทุนก็ปิดหนีไปเลย  อย่างนี้แหละครับ แฟรนไชส์ที่มองแต่ผลประโยชน์  มักไปไม่ค่อยไกล
กฏข้อที่ 2  แฟรนไชส์ต้องยุติธรรมทั้งสองฝ่าย
แฟรนไชส์ที่ดีต้องคำนวณผลได้ผลเสียให้เรียบร้อยในรูปแบบการแบ่งผลประโยชน์ให้ลงตัว
แฟรนไชส์ฟรีค่าธรรมเนียมรายเดือน  เมื่อคุยกันแล้ว Franchisee ตกลงใจที่จะทำ  ผลประโยชน์นั้นก็จะเกิดความยุติธรรมทุกฝ่าย  ดังนั้น ตัวเลขการลงทุนต้องแม่นยำมาก   Franchisor ควรมีสาขามากพอที่จะแน่ใจว่าแผนการตลาดทำรายได้เข้าเป้าทุกสาขา  และตัวเลขการลงทุนแม่นยำพอ   และระยะเวลาคืนทุนควรอยู่ในระยะเวลาของอายุสัญญาที่ทำกันก็จะทำให้ผู้ลงทุนไม่ผิดหวังกับการลงทุนเพราะการที่ Franchisee ซื้อแฟรนไชส์ก็เพราะต้องการลงทุน และมั่นใจกับธุรกิจที่ลงทุนว่าตัวเลขถูกต้อง  ก็จะประสบความสำเร็จทั้งสองฝ่าย  จำไว้เลยว่าผลงานของ Franchisor คือ ความสำเร็จของ Franchisee นั่นเอง
หลังจากรู้กฏไปเบื้องต้นแล้วลองมาดูข้อได้เปรียบเสียเปรียบของผู้ที่จะทำธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์บ้างว่าเป็นอย่างไรครับ  ฉบับนี้ขอเสนอด้านผู้ให้สิทธิก่อน คือ  Franchisor ครับ
ข้อได้เปรียบของผู้ให้สิทธิ์
  1. ช่องทางการทำรายได้ในเขตต่างๆมากขึ้น ซึ่งบริษัท Franchisor ไม่สามารถทำได้เอง  โดยไม่ต้องเปลืองทรัพยากรด้านการจัดการและการเงิน
  2. ไม่ต้องเผชิญปัญหาเรื่องคน สามารถมุ่งในด้านการจัดการอื่นๆเช่นวิจัยและออกแบบ(Research &Design) พัฒนาระบบ,การตลาด,การจัดหาสินค้า,การฝึกอบรม ฯลฯ รวมทั้งสามารถ  มุ่งความสนใจในการแก้ปัญหาในพื้นที่เฉพาะเขต
  3. สามารถกระจายสินค้าได้กว้างขวางขึ้นและมั่นใจได้ว่ามีร้านค้าสำหรับกระจายสินค้า และบริการสู่ตลาด
  4. โปรแกรมของ Franchise บางชนิดมีความสามารถในการรับผิดชอบลูกค้าในระดับประเทศได้
  5. ระบบ Franchiseสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจนั้นได้
  6. ระบบ  Franchise คืออีกวิธีหนึ่งในการขยายธุรกิจ โดยที่เอื้ออำนวยให้ธุรกิจนั้นเติบโตได้อย่างรวดเร็ว  มีผลกำไรที่พอสมควร
  7. มีโอกาสได้ผู้บริหารที่ดีในพื้นที่ห่างไกล ทำให้ธุรกิจแข็งแกร่ง
  8. องค์กรธุรกิจที่มีผู้เชี่ยวชาญระดับสูงในด้านต่างๆ เพียงจำนวนหนึ่ง  ก็สามารถจัดการและดำเนินธุรกิจในเครือข่าย  Franchise ได้แล้ว
  9. สามารถขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องเสี่ยงต่อการลงทุนมาก
  10. การให้ผู้รับสิทธิ์เป็นผู้ลงทุนในการทำธุรกิจมีส่วนช่วยจูงใจให้ผู้รับสิทธิ์สามารถทำธุรกิจนั้นๆ ให้ประสบความสำเร็จมากขึ้น และนั่นย่อมหมายถึงผลสำเร็จของระบบ   Franchise ด้วย
  11. ในขณะที่ Franchise  กำลังเติบโตยิ่งขึ้น   การรวมกลุ่มพลังในการจัดซื้อจะยิ่งอำนวยประโยชน์และกำลังในการจัดซื้อมากขึ้น
  12. Franchisee มักจะเป็นคนท้องถิ่น ซึ่งรู้จักสภาพตลาดท้องถิ่นดีกว่า
ข้อเสียเปรียบของผู้ให้สิทธิ์
  1. ผลเสียที่สำคัญอย่างมากอย่างหนึ่งคืออาจจะทำให้ผู้ให้สิทธิ์ไม่สามารถควบคุมการปฏิบัติงานในเครือข่ายได้
  2. ผู้ให้สิทธิ์จะต้องแน่ใจว่ามาตรฐานของสินค้าและบริการในระบบFranchiseจะคงความเป็นมาตรฐานเดียวกัน
  3. ความยากลำบากในการหา Franchisee ได้ตามคุณสมบัติที่ต้องการ
  4. หน่วยที่บริษัทเป็นเจ้าของสามารถเก็บเกี่ยวผลตอบแทนได้มากกว่าหน่วยที่เป็นFranchiseหรือในทางกลับกัน
  5. ผู้รับสิทธิ์อาจจะไม่เปิดเผยรายรับที่แท้จริง    ซึ่งเป็นพื้นฐานของค่าธรรมเนียมที่ต้องชำระให้แก่ผู้ให้สิทธิ์
  6. Franchise ที่เป็นระบบดี  เมื่อพบกับผู้ให้สิทธิ์ที่ไม่ดี  อาจพบกับการขัดแย้ง (ผู้รับสิทธิ์รวมหัวกันไม่จ่ายค่า  Fee )
  7. ปัญหาที่เกิดจากสัมพันธภาพในการทำงานกับผู้รับสิทธิ์

เลือกทำแฟรนไชส์ ต้องรู้จักธุรกิจแฟรนไชส์ Franchise



ธุรกิจแฟรนไชส์ และ การทำธุรกิจแฟรนไชส์ ให้ประสบความสำเร็จ นั้น เพื่อให้สามารถมองเห็นภาพได้อย่างชัดเจน และเข้าใจธุรกิจแฟรนไชส์มากขึ้น จึงได้แยกคำศัพท์ออกมา เพราะมีอยู่หลายคำ ที่น่าสนใจและจำเป็นต้องรู้ ถ้าหากคิดที่จะเข้ามาทำธุรกิจแฟรนไชส์ รวมไปถึงค่าธรรมเนียมต่างๆที่ต้องจ่ายนั้น เขาเรียกว่าอะไรกันแน่ ที่สำคัญต้องทำความเข้าใจกับคำศัพท์ต่างๆ ก่อน
แฟรนไชส์ซิ่ง ( Franchising ) 
การที่เจ้าของสิทธิ ( Franchisor )  ตกลงอนุญาตให้ผู้รับสิทธิ ( Franchisee ) ดำเนินธุรกิจภายใต้ชื่อ การค้า การบริหาร และระบบธุรกิจ ซึ่งเจ้าของสิทธิเป็นผู้พัฒนาขึ้น ผู้รับสิทธิจะต้องดำเนินธุรกิจ ตามรูปแบบและระบบธุรกิจของเจ้าของสิทธิ และจ่ายค่าตอบแทนแก่เจ้าของสิทธิ
แฟรนไชส์ ( Franchise )
คือ ระบบธุรกิจที่ประกอบไปด้วยลักษณะสำคัญ 3 ประการคือ
  1. จะต้องมีเจ้าของสิทธิ ผู้ถ่ายทอดวิทยาการ การทำธุรกิจทุกอย่างให้กับผู้รับสิทธิ อย่างใกล้ชิด
  2. ผู้รับสิทธิจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการใช้ชื่อการค้า เป็นค่าธรรมเนียมเริ่มแรก (Franchise Fee)
  3. ผู้รับสิทธิจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเป็นเปอร์เซ็นต์ ( Royalty Fee )
แฟรนไชส์ซอร์ ( Franchisor )
เจ้าของสิทธิ ซึ่งเป็นผู้คิดค้นวิธีการทำธุรกิจ จนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ และเป็นผู้ขายสิทธิการดำเนินกิจการ ขายชื่อการค้าของตนเอง ให้แก่ผู้อื่น เช่น เชสเตอร์กริลล์ เป็นผู้คิดค้นร้านอาหารประเภท ไก่ย่าง และสูตรอาหาร มีรูปแบบ การจัดร้าน การจัดการเฉพาะตัว จนกระทั่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก แล้วขายระบบทั้งหมดให้แก่ผู้อื่น บริษัทของเชสเตอร์กริลล์ อยู่ในฐานะเป็นเจ้าของสิทธิ และเป็นผู้ขายแฟรนไชส์ให้ผู้อื่น เรียกว่า แฟรนไชส์ซอล หรือกรณีที่ 7-อีเลฟเว่น บริษัท ซีพี ซื้อแฟรนไชส์  มาจากต่างประเทศ แล้วมาพัฒนาขายแฟรนไชส์ให้แก่รายย่อยอีกต่อหนึ่ง บริษัท ซีพี 7- อีเลฟเว่น มีฐานะเป็นแฟรนไชส์ซอล พูดง่ายๆก็คือ แฟรนไชส์ซอล เป็นผู้ขายแฟรนไชส์ นั่นเอง
แฟรนไชส์ซี ( Franchisee )
ผู้รับสิทธิในการดำเนินธุรกิจตามระบบที่เจ้าของสิทธิได้จัดเตรียมไว้ รวมทั้งได้ใช้ชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้าเดียวกัน โดยที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนในการให้สิทธิอันนั้น รวมทั้งจ่ายค่าตอบแทนตามผลประกอบการด้วย ซึ่งก็คือผู้ซื้อแฟรนไชส์นั่นเอง
แฟรนไชส์ฟี ( Franchise Fee ) 
ค่าตอบแทนที่เป็นจำนวนเงินที่แน่นอน จะจ่ายก่อนเริ่มดำเนินงาน หรือเรียกว่า ค่าธรรมเนียมแรกเข้า ซึ่งถือว่าเป็นการจ่ายค่าสิทธิต่างๆ ให้แก่บริษัทแม่
รอยัลตี้ฟี ( Royalty Fee ) 
เป็นค่าตอบแทนที่ต้องจ่ายอย่างต่อเนื่อง ตามสัดส่วนของผลการดำเนินงาน อาจจะเรียกเป็นเปอร์เซ็นต์ ต่อเดือน หรือต่อปี จากยอดขาย หรือบางที ก็อาจจะเก็บจากยอดสั่งซื้อสินค้าก็มี
Advertising Fee
ค่าตอบแทนที่ต้องจ่ายอย่างต่อเนื่อง ตามสัดส่วนของการดำเนินงาน เพื่อนำไปใช้ในการโฆษณา ในส่วนนี้แฟรนไชส์ซอล อาจจะเรียกเก็บหรือไม่ก็ได้ แล้วแต่จะตกลงกัน
Franchise Package Fee
ค่าตอบแทนในระบบ หรือเทคนิคต่างๆ (เป็นคำศัพท์ที่ใช้เรียกรวมๆ ถ้าพูดเมื่อไหร่ ก็ให้เข้าใจว่าหมายถึง ค่าธรรมเนียมอื่นๆ เช่น ค่าโฆษณา ประชาสัมพันธ์  ค่าอบรม ฯลฯ รวมเบ็ดเสร็จอยู่ในคำๆ เดียว )
Sub – Franchise / Individual Franchise 
ผู้รับสิทธิรายย่อย แบบตัวต่อตัว จากผู้ที่ได้รับสิทธิ หรือผู้ที่เป็นเจ้าของสิทธิ ซึ่งอาจจะได้รับสิทธิในการเปิดกิจการแบบ
  • Single unit Franchise หมายถึง สิทธิในการเปิดดำเนินธุรกิจได้เพียง 1 แห่ง
  • Multi unit Franchise  หมายถึง สิทธิในการเปิดดำเนินธุรกิจ ได้หลายแห่ง
ขอยกตัวอย่างให้เห็นชัด เช่น แฟรนไชส์ซี คนที่1 ทำสัญญากับบริษัทแม่ เพื่อเปิดสาขา แฟรนไชส์ โดยในข้อตกลงกำหนดให้เปิดสาขาได้เพียง 1 แห่งเท่านั้น การให้สิทธิลักษณะนี้ คือ Single unit ในขณะที่แฟรนไชส์ซี คนที่ 2 ก็ซื้อแฟรนไชส์เหมือนกัน แต่ได้รับสิทธิในการเปิดสาขา ได้มากกว่า 1 แห่ง การให้สิทธิลักษณะนี้ คือ Multi unit แต่ยังไงๆทั้งคู่ก็ไม่มีสิทธิที่จะขายแฟรนไชส์ต่อให้กับคนอื่น ไปเปิดสาขาได้ นอกจากจะเปิดเองเท่านั้น
Sub – Area License / Development Franchise

สิทธิแฟรนไชส์แบบพัฒนาอาณาเขต แฟรนไชส์ซอล จะให้สิทธิในการขยายกิจการ แก่แฟรนไชส์ซี ภายในอาณาเขต และระยะเวลา ที่กำหนด เช่น ตันตราภัณฑ์  เป็น Sub – Area ของ 7-อีเลฟเว่น ที่มีสิทธิเปิดร้าน 7-อีเลฟเว่น ครอบคลุมในพื้นที่ภาคเหนือ ในเขตจังหวัดที่ตกลงกันไว้ หรือ เอเอ็ม/พีเอ็ม มีห้างแฟรี่แลนด์ เป็น Sub – Area  License  ที่จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งสามารถขยายกิจการได้มากถึง 10 สาขาในจังหวัดนครสวรรค์
Master Franchise
ผู้ที่ได้รับสิทธิ จากบริษัทแม่ให้ดำเนินธุรกิจเป็นรายแรกในประเทศหนึ่ง และมักจะเป็นรายใหญ่ ที่จะต้องทำการขยายสาขาออกไปให้ทั่วประเทศ ผู้ที่เป็นมาสเตอร์แฟรนไชส์ นี้ จะได้รับการถ่ายทอดในเรื่องการบริหารในระดับที่สูงขึ้น
เมื่อทราบถึงคำศัพท์ต่างๆ ของแฟรนไชส์พอสมควรแล้ว เราลองมาเรียนรู้กฏกติกามารยาทของ แฟรนไชส์ดูว่า  จะช่วยให้เข้าใจแฟรนช์ไชส์ได้อีกมากน้อยแค่ไหน
กฏข้อที่ 1  แฟรนไชส์เหมือนคู่สมรสกัน
กฏข้อนี้พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่าง FRANCHISOR ทั้งสองฝ่ายตกลงทำสัญญากันเพื่อร่วมกันทำธุรกิจภายใต้แผนงานของแฟรนไชส์  ซึ่ง FRANCHISEE จะตอบแทนในรูปของการชำระค่าสิทธิ คือ FRANCHISE FEE  และ ROYALTY  FEE ซึ่งดูเหมือนเป็นการแลกเปลี่ยนกันทางธุรกิจ   แต่ที่จริงแล้ว ความสัมพันธ์ของแฟรนไชส์ควรเป็นความสัมพันธ์ในรูปแบบของความเข้าใจกัน   ความเห็นใจซึ่งกันและกันมากกว่าจะคิดถึงผลประโยชน์ของกันและกัน เพราะความสัมพันธ์ที่มุ่งผลประโยชน์จะไม่ยืนนาน   พอขัดกันที่ผลประโยชน์  ความสัมพันธ์จะขาดสะบั้นลง   และติดตามมาด้วยการฟ้องร้องต่อศาลหรืออย่างน้อยๆ ก็จะไม่มองหน้ากัน  ดังนั้นแฟรนไชส์ควรคำนึงถึงความชอบพอกันก่อน   เวลาจะเลือกแฟรนไชส์อย่าเพิ่งพูดถึงผลประโยชน์  ให้เปิดใจคุยกันก่อนว่า  คุณเป็นใคร  มีความรู้ความสามารถแค่ไหน  มีเงินลงทุนหรือไม่  ทำไมจึงอยากทำธุรกิจของเรา  นิสัยเป็นอย่างไร  ทั้งสองฝ่ายต้องศึกษากันให้ดีก่อน  เมื่อเข้าใจกันแล้วจึงค่อยคุยกันเรื่องธุรกิจ  ทำอย่างนี้ความสัมพันธ์จึงจะยาวนานเหมือนทั้งสองฝ่ายเป็นหุ้นส่วนธุรกิจกัน  จึงจะทำให้แฟรนไชส์นั้นประสบความสำเร็จทั้งคู่เหมือนการเลือกคู่ที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องดูใจกันในระยะเวลาหนึ่งแล้วจึงตกลงปลงใจแต่งงานกัน  ไม่ใช่มองแต่เงินว่า  ใครมีเท่าไหร่  ใครจะจ่ายเท่าไหร่  ผลประโยชน์ข้างหน้าเอาแต่เงินทุกอย่าง  แฟรนไชส์แบบนี้จะอยู่ได้ไม่นานครับ
ผมเคยอ่านหนังสือเกี่ยวกับแฟรนไชส์ก๋วยเตี๋ยวเมืองไทยซึ่งเจ้าของขายลูกชิ้นอยู่  เมื่อมีคนมาขอซื้อลูกชิ้นไปทำก๋วยเตี๋ยวก็ให้  คิดเงินบ้างไม่คิดบ้างอาศัยช่วยๆ กันไปจนมีหลายร้อยสาขา   อย่างนี้จึงจะคบกันยืด  ไม่ใช่คุยแต่ผลประโยชน์  บางทีขายก๋วยเตี๋ยวแต่ทำในรูปแบบแชร์ลูกโซ่  เก็บเงินเท่านี้  ผลตอบแทนเท่านี้  ดูเปอร์เซ็นแล้วกว่า 300 เปอร์เซ็นต่อเดือน  พอคนแห่ลงทุนก็ปิดหนีไปเลย  อย่างนี้แหละครับ แฟรนไชส์ที่มองแต่ผลประโยชน์  มักไปไม่ค่อยไกล
กฏข้อที่ 2  แฟรนไชส์ต้องยุติธรรมทั้งสองฝ่าย
แฟรนไชส์ที่ดีต้องคำนวณผลได้ผลเสียให้เรียบร้อยในรูปแบบการแบ่งผลประโยชน์ให้ลงตัว
แฟรนไชส์ฟรีค่าธรรมเนียมรายเดือน  เมื่อคุยกันแล้ว Franchisee ตกลงใจที่จะทำ  ผลประโยชน์นั้นก็จะเกิดความยุติธรรมทุกฝ่าย  ดังนั้น ตัวเลขการลงทุนต้องแม่นยำมาก   Franchisor ควรมีสาขามากพอที่จะแน่ใจว่าแผนการตลาดทำรายได้เข้าเป้าทุกสาขา  และตัวเลขการลงทุนแม่นยำพอ   และระยะเวลาคืนทุนควรอยู่ในระยะเวลาของอายุสัญญาที่ทำกันก็จะทำให้ผู้ลงทุนไม่ผิดหวังกับการลงทุนเพราะการที่ Franchisee ซื้อแฟรนไชส์ก็เพราะต้องการลงทุน และมั่นใจกับธุรกิจที่ลงทุนว่าตัวเลขถูกต้อง  ก็จะประสบความสำเร็จทั้งสองฝ่าย  จำไว้เลยว่าผลงานของ Franchisor คือ ความสำเร็จของ Franchisee นั่นเอง
หลังจากรู้กฏไปเบื้องต้นแล้วลองมาดูข้อได้เปรียบเสียเปรียบของผู้ที่จะทำธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์บ้างว่าเป็นอย่างไรครับ  ฉบับนี้ขอเสนอด้านผู้ให้สิทธิก่อน คือ  Franchisor ครับ
ข้อได้เปรียบของผู้ให้สิทธิ์
  1. ช่องทางการทำรายได้ในเขตต่างๆมากขึ้น ซึ่งบริษัท Franchisor ไม่สามารถทำได้เอง  โดยไม่ต้องเปลืองทรัพยากรด้านการจัดการและการเงิน
  2. ไม่ต้องเผชิญปัญหาเรื่องคน สามารถมุ่งในด้านการจัดการอื่นๆเช่นวิจัยและออกแบบ(Research &Design) พัฒนาระบบ,การตลาด,การจัดหาสินค้า,การฝึกอบรม ฯลฯ รวมทั้งสามารถ  มุ่งความสนใจในการแก้ปัญหาในพื้นที่เฉพาะเขต
  3. สามารถกระจายสินค้าได้กว้างขวางขึ้นและมั่นใจได้ว่ามีร้านค้าสำหรับกระจายสินค้า และบริการสู่ตลาด
  4. โปรแกรมของ Franchise บางชนิดมีความสามารถในการรับผิดชอบลูกค้าในระดับประเทศได้
  5. ระบบ Franchiseสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจนั้นได้
  6. ระบบ  Franchise คืออีกวิธีหนึ่งในการขยายธุรกิจ โดยที่เอื้ออำนวยให้ธุรกิจนั้นเติบโตได้อย่างรวดเร็ว  มีผลกำไรที่พอสมควร
  7. มีโอกาสได้ผู้บริหารที่ดีในพื้นที่ห่างไกล ทำให้ธุรกิจแข็งแกร่ง
  8. องค์กรธุรกิจที่มีผู้เชี่ยวชาญระดับสูงในด้านต่างๆ เพียงจำนวนหนึ่ง  ก็สามารถจัดการและดำเนินธุรกิจในเครือข่าย  Franchise ได้แล้ว
  9. สามารถขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องเสี่ยงต่อการลงทุนมาก
  10. การให้ผู้รับสิทธิ์เป็นผู้ลงทุนในการทำธุรกิจมีส่วนช่วยจูงใจให้ผู้รับสิทธิ์สามารถทำธุรกิจนั้นๆ ให้ประสบความสำเร็จมากขึ้น และนั่นย่อมหมายถึงผลสำเร็จของระบบ   Franchise ด้วย
  11. ในขณะที่ Franchise  กำลังเติบโตยิ่งขึ้น   การรวมกลุ่มพลังในการจัดซื้อจะยิ่งอำนวยประโยชน์และกำลังในการจัดซื้อมากขึ้น
  12. Franchisee มักจะเป็นคนท้องถิ่น ซึ่งรู้จักสภาพตลาดท้องถิ่นดีกว่า
ข้อเสียเปรียบของผู้ให้สิทธิ์
  1. ผลเสียที่สำคัญอย่างมากอย่างหนึ่งคืออาจจะทำให้ผู้ให้สิทธิ์ไม่สามารถควบคุมการปฏิบัติงานในเครือข่ายได้
  2. ผู้ให้สิทธิ์จะต้องแน่ใจว่ามาตรฐานของสินค้าและบริการในระบบFranchiseจะคงความเป็นมาตรฐานเดียวกัน
  3. ความยากลำบากในการหา Franchisee ได้ตามคุณสมบัติที่ต้องการ
  4. หน่วยที่บริษัทเป็นเจ้าของสามารถเก็บเกี่ยวผลตอบแทนได้มากกว่าหน่วยที่เป็นFranchiseหรือในทางกลับกัน
  5. ผู้รับสิทธิ์อาจจะไม่เปิดเผยรายรับที่แท้จริง    ซึ่งเป็นพื้นฐานของค่าธรรมเนียมที่ต้องชำระให้แก่ผู้ให้สิทธิ์
  6. Franchise ที่เป็นระบบดี  เมื่อพบกับผู้ให้สิทธิ์ที่ไม่ดี  อาจพบกับการขัดแย้ง (ผู้รับสิทธิ์รวมหัวกันไม่จ่ายค่า  Fee )
  7. ปัญหาที่เกิดจากสัมพันธภาพในการทำงานกับผู้รับสิทธิ์
ธุรกิจเอสเอ็มอี (SME) การทำธุรกิจในปัจจุบัน สิ่งหนึ่งที่จะไม่กล่าวถึงไม่ได้เลยก็คือ การวางแผนธุรกิจ ซึ่งเกิดจากการระดมความคิด และวิเคราะห์ รวบรวมข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อสรุป นำมากำหนดเป็นแผนงานและเป้าหมายธุรกิจ ที่พร้อมจะนำพาธุรกิจไปสู่เป้าหมายในอนาคต 
แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง เส้นชัยนั้น มันไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ จึงต้องมีอุปสรรค ต่างก็จะเจอปัญหาที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบและความยากง่ายในการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ
เคยมีผู้กล่าวไว้ว่า " การปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นจริง และทันท่วงที คือหนทางแห่งชัยชนะที่แท้จริง " สิ่งหนึ่งที่ผู้บริหารต้องมี คือ ความมุ่งมั่น ทะเยอ ทะยาน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายให้เร็วที่สุด ไม่ว่าจะพบอุปสรรคใดๆ ก็จะต้องนำพาธุรกิจให้ประสบความสำเร็จให้ได้ แต่ถ้าขาดการปรับตัวที่ชาญฉลาด ก็อาจทำให้ธุรกิจประสบความล้มเหลวได้ทุกเมื่อ อย่างที่มักจะได้ยินคำกล่าวที่ว่า "พลาดครั้งเดียว มีสิทธิ์ล้มได้" ซึ่งคำนี้จะไม่เกิดขึ้น หากเรามีการวางแผนที่ดีและสามารถปรับแผนงานฯ ให้ทันต่อสถานการณ์ โดยไม่ปล่อยให้ลุกลาม บานปลายไปมากกว่านี้ หรือพูดอีกอย่างก็คือ "ปรับตัวทัน" ก่อนที่มันจะสาย
หลายคนยังมองไม่ออกเลยว่า จะเริ่มต้นปรับแผนตรงไหนดี ยังไม่รู้เลยว่าจุดไหนควรปรับ ไม่ควรปรับ ปรับแผนตรงไหนก่อน - หลัง ฯ เป็นต้น วิธีการหนึ่งที่จะขอนำมากล่าวในที่นี้ ก็คือ การนำหลักทฤษฎีวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค หรือ SWOT Analysis ของ อัลเบิร์ต ฮัมฟรี (Albert Humphrey) ผู้คิดค้นทฤษฎีนี้ 
การวิเคราะห์สวอต (SWOT Analysis) หรือมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่ง เช่น การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ หรือ การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม แล้วแต่ใครจะใช้คำเรียกอย่างไร ซึ่ง SWOT เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ สำหรับองค์กร หรือโครงการ ซึ่งช่วยผู้บริหารกำหนดจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน โอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนผลกระทบที่มีศักยภาพจากปัจจัยเหล่านี้ต่อการทำงานขององค์กร และการดำเนินธุรกิจ
เรามาดูกันว่า การนำ SWOT มาใช้ในการปรับแผนงานธุรกิจ เพื่อชัยชนะมีอะไรบ้าง โดยการใช้ทฤษฎี SWOT Analysis มาเป็นตัวชี้วัด ทิศทางการดำเนินแผนงานธุรกิจ ว่าจะปรับปรุงแผนไปในทิศทางใดและทำอย่างไรถึงจะประสบความสำเร็จได้ในที่สุด ซึ่งก่อนการจะนำมาวิเคราะห์ จะต้องเข้าใจความหมายของคำแต่ละคำเสียก่อน จึงจะสามารถนำมาวิเคราะห์ปรับใช้ในการปรับแผนงานธุรกิจได้ เริ่มจาก
S มาจาก Strengths คือ จุดเด่นหรือจุดแข็ง ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นข้อดีที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในบริษัท เช่น จุดแข็งด้านส่วนประสม จุดแข็งด้านการเงิน จุดแข็งด้านการผลิต จุดแข็งด้านทรัพยากรบุคคล เราสามารถใช้ประโยชน์จากจุดแข็งในการกำหนดกลยุทธ์การตลาด แผนงานธุรกิจได้
การปรับแผนโดยใช้ S ต้องดูว่าเรามีจุดแข็งอะไรบ้าง เพื่อให้เราสามารถปรับแผนสนับสนุนให้จุดแข็ง มีความเข้มแข็งหรือมีจุดเด่นมากยิ่งขึ้นและเหนือกว่าคู่แข่งขันอยู่ตลอดเวลา ต้องทำอะไรบ้าง ทำอย่างไร มีวิธีการอะไร เพื่อเสริมจุดแข็งให้กับธุรกิจ ซึ่งแผนงานธุรกิจที่ดี ควรเน้นไปที่จุดแข็งให้ได้มากที่สุด
W มาจาก Weaknesses คือ จุดด้อยหรือจุดอ่อน ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่างๆ ของบริษัท ซึ่งบริษัทจะต้องหาวิธีในการแก้ปัญหานั้นๆ ให้ได้เร็วที่สุด เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานและแผนงานธุรกิจ 
การปรับแผนโดยใช้ W เราต้องดูว่า เรามีจุดอ่อนที่ยังไม่ได้แก้ไข อะไรบ้าง รวมถึงจุดอ่อนที่เกิดขึ้นใหม่ ในระหว่างการดำเนินแผนงานธุรกิจ สามารถปรับจุดอ่อนให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อป้องกันการโจมตีจากคู่แข้งขัน หรือหากสามารถปรับจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็งได้ ก็ถือว่าเป็นแนวทางที่ดีที่สุด ควรวางแผนแนวทางธุรกิจเพื่อหลีกเลี่ยงจุดอ่อน อันจะนำมาซึ่งข้อได้เปรียบ เสียเปรียบของการดำเนินธุรกิจได้ในอนาคต
O มาจาก Opportunities คือ โอกาส ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัทเอื้อประโยชน์หรือส่งเสริมการดำเนินงานขององค์กร โอกาสแตกต่างจากจุดแข็งตรงที่โอกาสนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายนอก แต่จุดแข็งนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายใน ซึ่งนักบริหารที่ดีจะต้องเสาะแสวงหาโอกาสอยู่เสมอ และใช้ประโยชน์จากโอกาสนั้นให้ได้มากที่สุด
จากการปรับแผน โดยใช้ O มาวิเคราะห์ว่า โอกาสที่มีอยู่ สามารถวางแผนงานธุรกิจให้ไปสู่โอกาสทางธุรกิจได้อย่างไรและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในเชิงแผนงานอะไรได้บ้าง เพื่อให้ธุรกิจได้รับโอกาสทางธุรกิจ และสามารถสร้างผลประโยชน์ให้กับธุรกิจได้
T มาจาก Threats คือ อุปสรรค ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งธุรกิจจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องและพยายามขจัดอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้ได้จริง
การปรับแผน โดยใช้ T อุปสรรค มาเป็นแนวทางในการแก้ไข ข้อบกพร่อง ทำอย่างไร จะสามารถลดอุปสรรคให้เหลือน้อยที่สุดได้อย่างไร ด้วยวิธีการอะไร หรือแก้ไขอุปสรรคให้เป็น โอกาสธุรกิจได้อย่างไร ทั้งนี้ ก็เพื่่อให้แผนงานที่ดำเนินอยู่ เป็นไปในทิศทางที่ไม่ก่อให้เกิดอุปสรรคขึ้นได้ในอนาคต เปรียบเหมือนหนทางที่ดำเนินธุรกิจ หากหนทางนี้ไม่สะดวก เราก็ควรหาหนทางใหม่ ที่สะดวกมากว่า เพื่อเป็นแนวทางธุรกิจต่อไป 

เป็นยังงัยบ้างครับ หวังว่าคงเป็นประโยชน์ที่จะทำให้นักธุรกิจหรือผู้ประกอบการ SMEs ทุกท่าน สามารถนำไปปรับใช้กับแผนงานธุรกิจได้ และรู้หนทางในการเอาตัวรอดจากเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ที่มีความผันผวนอยู่ตลอดเวลา และนี่ก็เป็นอีกหนทางที่จะทำให้ท่านสามารถนำพาธุรกิจไปสู่เป้าหมายให้ตลอดรอดฝั่งได้ในที่สุด


.. ไม่มีการเริ่มต้น ก็จะไม่มีสิ้นสุด ..
.. T. Tinthanakit ..

credit : bisnescafe.com

ปรับแผน.... เพื่อชัยชนะ ด้วย SWOT Analysis

ธุรกิจเอสเอ็มอี (SME) การทำธุรกิจในปัจจุบัน สิ่งหนึ่งที่จะไม่กล่าวถึงไม่ได้เลยก็คือ การวางแผนธุรกิจ ซึ่งเกิดจากการระดมความคิด และวิเคราะห์ รวบรวมข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อสรุป นำมากำหนดเป็นแผนงานและเป้าหมายธุรกิจ ที่พร้อมจะนำพาธุรกิจไปสู่เป้าหมายในอนาคต 
แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง เส้นชัยนั้น มันไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ จึงต้องมีอุปสรรค ต่างก็จะเจอปัญหาที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบและความยากง่ายในการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ
เคยมีผู้กล่าวไว้ว่า " การปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นจริง และทันท่วงที คือหนทางแห่งชัยชนะที่แท้จริง " สิ่งหนึ่งที่ผู้บริหารต้องมี คือ ความมุ่งมั่น ทะเยอ ทะยาน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายให้เร็วที่สุด ไม่ว่าจะพบอุปสรรคใดๆ ก็จะต้องนำพาธุรกิจให้ประสบความสำเร็จให้ได้ แต่ถ้าขาดการปรับตัวที่ชาญฉลาด ก็อาจทำให้ธุรกิจประสบความล้มเหลวได้ทุกเมื่อ อย่างที่มักจะได้ยินคำกล่าวที่ว่า "พลาดครั้งเดียว มีสิทธิ์ล้มได้" ซึ่งคำนี้จะไม่เกิดขึ้น หากเรามีการวางแผนที่ดีและสามารถปรับแผนงานฯ ให้ทันต่อสถานการณ์ โดยไม่ปล่อยให้ลุกลาม บานปลายไปมากกว่านี้ หรือพูดอีกอย่างก็คือ "ปรับตัวทัน" ก่อนที่มันจะสาย
หลายคนยังมองไม่ออกเลยว่า จะเริ่มต้นปรับแผนตรงไหนดี ยังไม่รู้เลยว่าจุดไหนควรปรับ ไม่ควรปรับ ปรับแผนตรงไหนก่อน - หลัง ฯ เป็นต้น วิธีการหนึ่งที่จะขอนำมากล่าวในที่นี้ ก็คือ การนำหลักทฤษฎีวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค หรือ SWOT Analysis ของ อัลเบิร์ต ฮัมฟรี (Albert Humphrey) ผู้คิดค้นทฤษฎีนี้ 
การวิเคราะห์สวอต (SWOT Analysis) หรือมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่ง เช่น การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ หรือ การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม แล้วแต่ใครจะใช้คำเรียกอย่างไร ซึ่ง SWOT เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ สำหรับองค์กร หรือโครงการ ซึ่งช่วยผู้บริหารกำหนดจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน โอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนผลกระทบที่มีศักยภาพจากปัจจัยเหล่านี้ต่อการทำงานขององค์กร และการดำเนินธุรกิจ
เรามาดูกันว่า การนำ SWOT มาใช้ในการปรับแผนงานธุรกิจ เพื่อชัยชนะมีอะไรบ้าง โดยการใช้ทฤษฎี SWOT Analysis มาเป็นตัวชี้วัด ทิศทางการดำเนินแผนงานธุรกิจ ว่าจะปรับปรุงแผนไปในทิศทางใดและทำอย่างไรถึงจะประสบความสำเร็จได้ในที่สุด ซึ่งก่อนการจะนำมาวิเคราะห์ จะต้องเข้าใจความหมายของคำแต่ละคำเสียก่อน จึงจะสามารถนำมาวิเคราะห์ปรับใช้ในการปรับแผนงานธุรกิจได้ เริ่มจาก
S มาจาก Strengths คือ จุดเด่นหรือจุดแข็ง ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นข้อดีที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในบริษัท เช่น จุดแข็งด้านส่วนประสม จุดแข็งด้านการเงิน จุดแข็งด้านการผลิต จุดแข็งด้านทรัพยากรบุคคล เราสามารถใช้ประโยชน์จากจุดแข็งในการกำหนดกลยุทธ์การตลาด แผนงานธุรกิจได้
การปรับแผนโดยใช้ S ต้องดูว่าเรามีจุดแข็งอะไรบ้าง เพื่อให้เราสามารถปรับแผนสนับสนุนให้จุดแข็ง มีความเข้มแข็งหรือมีจุดเด่นมากยิ่งขึ้นและเหนือกว่าคู่แข่งขันอยู่ตลอดเวลา ต้องทำอะไรบ้าง ทำอย่างไร มีวิธีการอะไร เพื่อเสริมจุดแข็งให้กับธุรกิจ ซึ่งแผนงานธุรกิจที่ดี ควรเน้นไปที่จุดแข็งให้ได้มากที่สุด
W มาจาก Weaknesses คือ จุดด้อยหรือจุดอ่อน ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่างๆ ของบริษัท ซึ่งบริษัทจะต้องหาวิธีในการแก้ปัญหานั้นๆ ให้ได้เร็วที่สุด เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานและแผนงานธุรกิจ 
การปรับแผนโดยใช้ W เราต้องดูว่า เรามีจุดอ่อนที่ยังไม่ได้แก้ไข อะไรบ้าง รวมถึงจุดอ่อนที่เกิดขึ้นใหม่ ในระหว่างการดำเนินแผนงานธุรกิจ สามารถปรับจุดอ่อนให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อป้องกันการโจมตีจากคู่แข้งขัน หรือหากสามารถปรับจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็งได้ ก็ถือว่าเป็นแนวทางที่ดีที่สุด ควรวางแผนแนวทางธุรกิจเพื่อหลีกเลี่ยงจุดอ่อน อันจะนำมาซึ่งข้อได้เปรียบ เสียเปรียบของการดำเนินธุรกิจได้ในอนาคต
O มาจาก Opportunities คือ โอกาส ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัทเอื้อประโยชน์หรือส่งเสริมการดำเนินงานขององค์กร โอกาสแตกต่างจากจุดแข็งตรงที่โอกาสนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายนอก แต่จุดแข็งนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายใน ซึ่งนักบริหารที่ดีจะต้องเสาะแสวงหาโอกาสอยู่เสมอ และใช้ประโยชน์จากโอกาสนั้นให้ได้มากที่สุด
จากการปรับแผน โดยใช้ O มาวิเคราะห์ว่า โอกาสที่มีอยู่ สามารถวางแผนงานธุรกิจให้ไปสู่โอกาสทางธุรกิจได้อย่างไรและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในเชิงแผนงานอะไรได้บ้าง เพื่อให้ธุรกิจได้รับโอกาสทางธุรกิจ และสามารถสร้างผลประโยชน์ให้กับธุรกิจได้
T มาจาก Threats คือ อุปสรรค ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งธุรกิจจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องและพยายามขจัดอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้ได้จริง
การปรับแผน โดยใช้ T อุปสรรค มาเป็นแนวทางในการแก้ไข ข้อบกพร่อง ทำอย่างไร จะสามารถลดอุปสรรคให้เหลือน้อยที่สุดได้อย่างไร ด้วยวิธีการอะไร หรือแก้ไขอุปสรรคให้เป็น โอกาสธุรกิจได้อย่างไร ทั้งนี้ ก็เพื่่อให้แผนงานที่ดำเนินอยู่ เป็นไปในทิศทางที่ไม่ก่อให้เกิดอุปสรรคขึ้นได้ในอนาคต เปรียบเหมือนหนทางที่ดำเนินธุรกิจ หากหนทางนี้ไม่สะดวก เราก็ควรหาหนทางใหม่ ที่สะดวกมากว่า เพื่อเป็นแนวทางธุรกิจต่อไป 

เป็นยังงัยบ้างครับ หวังว่าคงเป็นประโยชน์ที่จะทำให้นักธุรกิจหรือผู้ประกอบการ SMEs ทุกท่าน สามารถนำไปปรับใช้กับแผนงานธุรกิจได้ และรู้หนทางในการเอาตัวรอดจากเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ที่มีความผันผวนอยู่ตลอดเวลา และนี่ก็เป็นอีกหนทางที่จะทำให้ท่านสามารถนำพาธุรกิจไปสู่เป้าหมายให้ตลอดรอดฝั่งได้ในที่สุด


.. ไม่มีการเริ่มต้น ก็จะไม่มีสิ้นสุด ..
.. T. Tinthanakit ..

credit : bisnescafe.com
คนจะรวยช่วยไม่ได้ เตรียมรวยซะให้เข็ด จงกล้าที่จะบ้าและซ่าส์ให้ถึงที่สุด เพราะต่อจากนี้ไปจะรวยไม่รู้เรื่อง 
เขาทำเงินได้หลายแสนเหรียญต่อชั่วโมงในตอน­กลางวัน เขาผลาญมันเร็วยิ่งกว่าในตอนกลางคืน... เรื่องราวการขึ้นสู่จุดสูงสุดและลงสู่จุดต่ำสุดของโบรคเกอร์หนุ่มที่ถูกทุกคนในวงการ­เรียกว่า "หมาป่าแห่งวอลล์สตรีท" 
The Wolf of Wall Street : “คนจะรวย ช่วยไม่ได้”  ภาพยนตร์ฮอลลิวู้ด ปี 2556 ที่สร้างจากเรื่องจริงของประธานบริษัทโบรกเกอร์ชื่อดัง “จอร์แดน เบลฟอร์” การดำเนินเรื่อง โดยเริ่มตั้งแต่สมัยทำงานเป็นโบรกเกอร์วันแรก จนทำเงินมหาศาล แล้วก็ผลาญเงินไปกับอบายมุขทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นปาร์ตี้เหล้า ยา หรือแม้แต่เซ็กส์ จนกระทั่งในปี 1998 เขาถูกตั้งข้อหาฉ้อโกงตลาดหลักทรัพย์และติดคุกในเรือนจำของรัฐ
และถูกแบนจากตลาดหุ้นไปตลอดชีวิต ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นผลงานการแสดงของ ลีโอนาโด ดิคาปริโอ และผลงานการกำกับโดยสุดยอดผู้กำกับ มาร์ติน สกอเซซี่ย์
ซึ่งหลังจากชมภาพยนตร์เรื่องนี้ ก็ทำให้ได้เรียนรู้ถึงเรื่องราวการใช้ชีวิตหลายแง่มุม โดยเฉพาะด้านการเงิน ที่ต้องมีหลักการบริหารจัดการที่ดี เพื่อให้สามารถบริหารจัดการเงินได้อย่างมีความสุขและสนุกไปกับการลงทุน ซึ่งแง่คิดหนึ่งที่น่าสนใจมาจากประโยคที่ว่า “ไม่มีใครรู้ว่าหุ้นจะขึ้นหรือลง” ... บทเรียนอันเป็นหัวใจสำคัญที่ได้รับจากภาพยนตร์เรื่องนี้ ที่คุณผู้อ่านสามารถนำข้อคิดจากภาพยนตร์มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น ด้วยเทคนิคเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง "การพึ่งพามืออาชีพ" "การสร้างความมุ่งมั่นและตั้งใจ" "การมองเห็นอนาคตได้" ที่จะสามารถคาดการณ์เหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นได้อย่างแม่นยำ "การสร้างเครือข่ายธุรกิจเพื่อเพิ่ม Connection" "การเรียนรู้รสนิยมด้านการลงทุนของตนเอง" "การให้ความสำคัญกับความล้มเหลว เพื่อสร้างเป็นแรงขับ" และสุดท้าย "คือการรอบรู้ในสิ่งที่ตนเองกำลังให้ความสนใจ" เพราะสิ่งนี้จะทำให้คุณรวยได้แบบไม่รู้เรื่อง รวยซะให้เข็ด...
คอนักลงทุนหรือคอหุ้นไม่ควรพลาด เพราะมันจะเป็นแรงบันดาลใจในแง่ของการลงทุนที่คุณเองอาจจะไม่รู้ตัวว่า แท้ที่จริงแล้ว มันมีอยู่ในตัวตนของคุณทุกคน หากแต่ว่าคุณจะใช้มันอย่างไรให้เกิดเป็นผลสำเร็จขึ้นมาได้.. เหมือนคำกล่าวที่ว่า "ดูละครแล้วย้อนดูตัวเอง" 
ท้ายที่สุดนี้ คุณต้อง “ไม่ลืมเรื่องการบริหารความเสี่ยง” ดังเช่นสถาบันการเงินหลายแห่งได้กล่าวไว้ “การลงทุนมีความเสี่ยง” จึงควร “กระจายความเสี่ยงในแง่ของการลงทุน” ซึ่งนั่นก็คือแนวทางของหมาป่า แห่งวอลสตรีท ผู้กระหายความร่ำรวย ได้กล่าวทิ้งท้ายเอาไว้

เตรียมพบกับภาคเนื้อหาฉบับเต็ม พร้อม Inforgrafic ประกอบเรื่อง เร็วๆ 

ขอได้รับความขอบคุณ
จาก ฺWeb Admin
ภาพประกอบจาก Internet, MoviesMpictures

คนจะรวยช่วยไม่ได้ เตรียมรวยซะให้เข็ด

คนจะรวยช่วยไม่ได้ เตรียมรวยซะให้เข็ด จงกล้าที่จะบ้าและซ่าส์ให้ถึงที่สุด เพราะต่อจากนี้ไปจะรวยไม่รู้เรื่อง 
เขาทำเงินได้หลายแสนเหรียญต่อชั่วโมงในตอน­กลางวัน เขาผลาญมันเร็วยิ่งกว่าในตอนกลางคืน... เรื่องราวการขึ้นสู่จุดสูงสุดและลงสู่จุดต่ำสุดของโบรคเกอร์หนุ่มที่ถูกทุกคนในวงการ­เรียกว่า "หมาป่าแห่งวอลล์สตรีท" 
The Wolf of Wall Street : “คนจะรวย ช่วยไม่ได้”  ภาพยนตร์ฮอลลิวู้ด ปี 2556 ที่สร้างจากเรื่องจริงของประธานบริษัทโบรกเกอร์ชื่อดัง “จอร์แดน เบลฟอร์” การดำเนินเรื่อง โดยเริ่มตั้งแต่สมัยทำงานเป็นโบรกเกอร์วันแรก จนทำเงินมหาศาล แล้วก็ผลาญเงินไปกับอบายมุขทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นปาร์ตี้เหล้า ยา หรือแม้แต่เซ็กส์ จนกระทั่งในปี 1998 เขาถูกตั้งข้อหาฉ้อโกงตลาดหลักทรัพย์และติดคุกในเรือนจำของรัฐ
และถูกแบนจากตลาดหุ้นไปตลอดชีวิต ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นผลงานการแสดงของ ลีโอนาโด ดิคาปริโอ และผลงานการกำกับโดยสุดยอดผู้กำกับ มาร์ติน สกอเซซี่ย์
ซึ่งหลังจากชมภาพยนตร์เรื่องนี้ ก็ทำให้ได้เรียนรู้ถึงเรื่องราวการใช้ชีวิตหลายแง่มุม โดยเฉพาะด้านการเงิน ที่ต้องมีหลักการบริหารจัดการที่ดี เพื่อให้สามารถบริหารจัดการเงินได้อย่างมีความสุขและสนุกไปกับการลงทุน ซึ่งแง่คิดหนึ่งที่น่าสนใจมาจากประโยคที่ว่า “ไม่มีใครรู้ว่าหุ้นจะขึ้นหรือลง” ... บทเรียนอันเป็นหัวใจสำคัญที่ได้รับจากภาพยนตร์เรื่องนี้ ที่คุณผู้อ่านสามารถนำข้อคิดจากภาพยนตร์มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น ด้วยเทคนิคเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง "การพึ่งพามืออาชีพ" "การสร้างความมุ่งมั่นและตั้งใจ" "การมองเห็นอนาคตได้" ที่จะสามารถคาดการณ์เหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นได้อย่างแม่นยำ "การสร้างเครือข่ายธุรกิจเพื่อเพิ่ม Connection" "การเรียนรู้รสนิยมด้านการลงทุนของตนเอง" "การให้ความสำคัญกับความล้มเหลว เพื่อสร้างเป็นแรงขับ" และสุดท้าย "คือการรอบรู้ในสิ่งที่ตนเองกำลังให้ความสนใจ" เพราะสิ่งนี้จะทำให้คุณรวยได้แบบไม่รู้เรื่อง รวยซะให้เข็ด...
คอนักลงทุนหรือคอหุ้นไม่ควรพลาด เพราะมันจะเป็นแรงบันดาลใจในแง่ของการลงทุนที่คุณเองอาจจะไม่รู้ตัวว่า แท้ที่จริงแล้ว มันมีอยู่ในตัวตนของคุณทุกคน หากแต่ว่าคุณจะใช้มันอย่างไรให้เกิดเป็นผลสำเร็จขึ้นมาได้.. เหมือนคำกล่าวที่ว่า "ดูละครแล้วย้อนดูตัวเอง" 
ท้ายที่สุดนี้ คุณต้อง “ไม่ลืมเรื่องการบริหารความเสี่ยง” ดังเช่นสถาบันการเงินหลายแห่งได้กล่าวไว้ “การลงทุนมีความเสี่ยง” จึงควร “กระจายความเสี่ยงในแง่ของการลงทุน” ซึ่งนั่นก็คือแนวทางของหมาป่า แห่งวอลสตรีท ผู้กระหายความร่ำรวย ได้กล่าวทิ้งท้ายเอาไว้

เตรียมพบกับภาคเนื้อหาฉบับเต็ม พร้อม Inforgrafic ประกอบเรื่อง เร็วๆ 

ขอได้รับความขอบคุณ
จาก ฺWeb Admin
ภาพประกอบจาก Internet, MoviesMpictures

9/04/2557

ธุรกิจ รับจัดงานแต่งงาน ในยุคนี้ ต้องยกให้ทีมงาน สิริ ออร์แกไนซ์ ผู้ให้บริการ รับจัดงานแต่งงาน ที่มีความพร้อมครบทุกด้าน ผ่านประสบการณ์มากว่า 7 ปี เป็นผู้อยู่เบื้องหลังของความประทับใจให้แก่คู่บ่าวมากมาย โดยเฉพาะ ใครสนใจจัดงานแต่งงานบ้านเรือนไทย ต้องยกนิ้วให้กับทีมงาน สิริออร์แกไนซ์ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดงานแต่งงานที่เป็นแบบพิธีไทย ผสมผสานวัฒนธรรมสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว วันนี้ สิริ ออร์แกไนซ์ ได้รับเกียรติลงสัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์ "ธุรกิจจัดงานแต่งแบบไทยแท้" เรามาฟังวิสัยทัศน์และแนวคิดการทำงานของ สิริออร์แกไนซ์ กันครับ ว่าน่าสนใจเพียงไร


หากใครได้อ่านบทสัมภาษณ์แล้ว สนใจใช้บริการ สามารถติดต่อได้ที่ 08888-52500 คุณปุญ ได้เลยนะค่ะ เขาบอกว่าติดต่อ สิริออร์แกไนซ์ ไม่ผิดหวังแน่นอน สนใจเข้าชมผลงานได้ที่เว็บไซต์ www.siri-organize.com หรือทาง Facebook. ได้ที่ https://www.facebook.com/Siri.organizeFanpage








    

ธุรกิจ รับจัดงานแต่งงาน สิริออร์แกไนซ์ (Siri Organize)

ธุรกิจ รับจัดงานแต่งงาน ในยุคนี้ ต้องยกให้ทีมงาน สิริ ออร์แกไนซ์ ผู้ให้บริการ รับจัดงานแต่งงาน ที่มีความพร้อมครบทุกด้าน ผ่านประสบการณ์มากว่า 7 ปี เป็นผู้อยู่เบื้องหลังของความประทับใจให้แก่คู่บ่าวมากมาย โดยเฉพาะ ใครสนใจจัดงานแต่งงานบ้านเรือนไทย ต้องยกนิ้วให้กับทีมงาน สิริออร์แกไนซ์ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดงานแต่งงานที่เป็นแบบพิธีไทย ผสมผสานวัฒนธรรมสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว วันนี้ สิริ ออร์แกไนซ์ ได้รับเกียรติลงสัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์ "ธุรกิจจัดงานแต่งแบบไทยแท้" เรามาฟังวิสัยทัศน์และแนวคิดการทำงานของ สิริออร์แกไนซ์ กันครับ ว่าน่าสนใจเพียงไร


หากใครได้อ่านบทสัมภาษณ์แล้ว สนใจใช้บริการ สามารถติดต่อได้ที่ 08888-52500 คุณปุญ ได้เลยนะค่ะ เขาบอกว่าติดต่อ สิริออร์แกไนซ์ ไม่ผิดหวังแน่นอน สนใจเข้าชมผลงานได้ที่เว็บไซต์ www.siri-organize.com หรือทาง Facebook. ได้ที่ https://www.facebook.com/Siri.organizeFanpage








    

7/17/2557



สิริ ฟอร์เร้นท์ บริการให้เช่าโดยมีสินค้าไว้คอยบริการมากมาย อาทิเช่น โต๊ะ เก้าอี้ เต็นท์ พัดลมไอน้ำ อุปกรณ์จัดงาน อุปกรณ์จัดเลี้ยง อุปกรณ์เสริม เช่นผ้าคลุมโต๊ะ ผ้าคลุมเก้าอี้สีขาว โบว์ผูกเก้าอี้สีต่างๆ บริการจับระบาย จับจีบ ผูกผ้า โยงผ้าตกแต่งสถานที่ โยงผ้าเต็นท์ อุปกรณ์จัดงาน เรามีอุปกรณ์ตกแต่งานต่างๆ

ไม่ว่าจะเป็นงานแต่งงาน wedding งานบวช งานพิธี งานมงคล งานเปิดตัว งานเลี้ยงรับรอง งานเลี้ยงสังสรรค์ งานจัดประชุมสัมนา จัดงานอีเว้นท์ Event พร้อมมีบริการเสริม งานจัดตกแต่งสถานที่ งานจัดดอกไม้ จัดกระถาง จัดแจกัน จัดหน้าเวที จัดสแตนด์ ด้วยบริการแบบมืออาชีพ รวด ว่องไว ตรงเวลา ราคายุติธรรม และเป็นกันเอง สินค้าทุกชิ้นรับรองไม่ผิดหวัง สภาพใหม่ทุกชิ้น บริการ ให้เช่า เช่าโต๊ะ เช่าเก้าอี้ เช่าเต็นท์ อุปกรณ์จัดงาน อุปกรณ์จัดเลี้ยง ชุดพิธีต่างๆ พร้อมตกแต่งบรรยากาศ จัดพื้นที่ ตกแต่งดอกไม้ ซุ้ม เวที ไฟแสงสี เสียง ครบวงจร

  1. เต้นท์ทรงโค้งแบบครึ่งวงกลม-สีขาว ขนาด 3 x 6 / เสาสูง 2.50 เมตร
  2. เต้นท์ทรงโค้งแบบครึ่งวงกลม-สีขาว ขนาด 4 x 8 / เสาสูง 2.50 เมตร
  3. เต็นท์ทรงโค้งแบบครึ่งวงกลม-สีขาว ขนาด 5 x 12 เมตร / เสาสูง 2.50 เมตร
  4. เต็นท์ทรงปิรามิด-สีขาว (ไม่ติดโลโก้) ขนาด 3 x 3 เมตร
  5. เต็นท์ทรงปิรามิด-สีขาว (ไม่ติดโลโก้) ขนาด 4 x 4 เมตร
  6. เต็นท์ทรงปิรามิด-สีขาว (ไม่ติดโลโก้) ขนาด 5 x 5 เมตร
  7. เต็นท์ทรงสูงสไตล์เซนจูรี่-สีขาว ขนาด 3 x 3 เมตร / เสาสูง 2.0 เมตร
  8. เต็นท์ทรงสูงสไตล์เซนจูรี่-สีขาว ขนาด 4 x 4 เมตร / เสาสูง 2.50 – 3.00 เมตร
  9. เต็นท์ทรงสูงสไตล์เซนจูรี่-สีขาว ขนาด 5 x 5 เมตร / เสาสูง 2.50 – 3.00 เมตร
  10. เต็นท์ทรงสูงสไตล์เซนจูรี-สีขาว ขนาด 6 x 6 เมตร / เสาสูง 2.50 – 3.00 เมตร
  11. เต็นท์ขนาดใหญ่ทรงโค้ง-สีขาว ขนาด 10 x 20 เมตร / เสาสูง 3.0 – 3.50 เมตร
  12. เต็นท์ทรงจั่ว-สีขาว ขนาด 3 x 6 เมตร / เสาสูง 2.50 เมตร
  13. เต็นท์ทรงจั่ว-สีขาว ขนาด 4 x 8 เมตร / เสาสูง 2.50 เมตร
  14. เต็นท์ทรงจั่ว-สีขาว ขนาด 5 x 12 เมตร / เสาสูง 2.50 เมตร
  15. เต็นท์อื่น ๆ ฯลฯ .....
หมายเหตุการสั่งจองเต็นท์ : ให้ทำการวัดขนาดพื้นที่สำหรับจะตั้งเต็นท์ กว้าง x ยาว แล้วเลือกรูปแบบเต็นท์โค้ง, จั่ว, ปิรามิด ขนาดที่เหมาะสมกับพื้นที่ โทรสั่งจองเต็นท์หรือแฟกซ์รายละเอียดการสั่งจอง พร้อมแผนที่ ที่เบอร์ 02-5098575 หรือส่ง e-mail: siriforrent@gmail.com
โดยระบุ :- รูปแบบเต็นท์โค้ง, จั่ว, ปิรามิด ขนาดที่ต้องการ จำนวนเต็นท์ วันที่ใช้งาน วันที่ติดตั้ง (ปกติจะติดตั้งก่อนวันงาน 1 วัน) ชื่อผู้สั่งจอง เบอร์โทร.ผู้สั่งจอง เมื่อได้รับการติดต่อกลับแล้ว ก็จะต้องมีการโอนชำระเงินมัดจำค่าเช่า 50% พร้อมค่าขนส่งเต็มจำนวน(สำหรับต่างจังหวัด) เมื่อชำระเข้ามาแล้วให้แจ้งการชำระเงินที่เบอร์ 087-039-7278

โต๊ะ เก้าอี้ / ผ้าคลุมโต๊ะเก้าอี้ / แชร์โบว์ (ชุด) ให้เช่า
  1. ชุดโต๊ะกลม พร้อมผ้าคลุมโต๊ะ + เก้าอี้พลาสติกมีพนักพิง 10 ตัว ขนาดหน้ากว้าง 1.20 เมตร
  2. ชุดโต๊ะกลม พร้อมผ้าคลุมหน้าโต๊ะ + เก้าอี้พลาสติกมีพนักพิงพร้อมผ้าคลุมเก้าอี้ 10 ตัว ขนาดหน้ากว้าง 1.20 เมตร
  3. ชุดโต๊ะกลม พร้อมผ้าคลุมหน้าโต๊ะ + เก้าอี้พลาสติกมีพนักพิงพร้อมผ้าคลุมเก้าอี้ + แชร์โบว์ 10 ตัว ขนาดหน้ากว้าง 1.20 เมตร 
  4. ชุดโต๊ะกลม พร้อมผ้าคลุมหน้าโต๊ะ + เก้าอี้เบาะนามมีพนักพิง 10 ตัว ขนาดหน้ากว้าง 1.20 เมตร
  5. ชุดโต๊ะกลม พร้อมผ้าคลุมหน้าโต๊ะ + เก้าอี้เบาะนามมีพนักพิง 8 ตัว ขนาดหน้ากว้าง 1.20 เมตร


โต๊ะ เก้าอี้ / ผ้าคลุมโต๊ะเก้าอี้ / แชร์โบว์ (ตัว) ให้เช่า
  1. โต๊ะโฟเมก้าทรงเหลี่ยมหน้าขาว คลุมผ้าสเกิร์ต ขนาด 1.80 x 0.75 เมตร
  2. โต๊ะโฟเมก้าทรงเหลี่ยมหน้าขาว คลุมผ้าสเกิร์ต ขนาด 1.20 x 0.60 เมตร
  3. เก้าอี้พลาสติก-สีขาว
  4. เก้าอี้พลาสติก-สีขาว + ผ้าคลุมเก้าอี้-สีขาว
  5. เก้าอี้เบาะนวม
  6. ผ้าแชร์โบว์ผูกเก้าอี้พลาสติก
  7. ผ้าแชร์โบว์ผูกเก้าอี้เบาะนวม

ร่มจัดงาน ให้เช่า
  1. ร่มเมืองเหนือ ผ้าดิบ-สีขาว
  2. ร่มฝรั่ง-สีขาว


พัดลม แอร์ ให้เช่า
  1. พัดลมไอน้ำ (แบบเติมน้ำ) มีถังน้ำในตัว
  2. พัดลมธรรมดา ขนาดใหญ่ 24 นิ้ว
  3. แอร์เคลื่อนที่ (ตั้งพื้น)


โซฟารับแขก / โต๊ะกลาง
  1. ชุดโซฟา รับแขก พร้อมโต๊ะกลางฃ


ชุดอุปกรณ์พิธีสงฆ์ ให้เช่า
  1. อาสนะพระสงฆ์มีพนักพิง 9 ชุด
  2. ผ้าเบาะปูอาสนะ
  3. ชุดโต๊ะหมู่บูชาสีครีมทอง
  4. พระพุทธรูป เชิงเทียน แจกัน
  5. กระถางธูป ชุดน้ำ-น้ำชา
  6. ที่จุดเทียนชนวน ที่กรวดน้ำ กระโถน
  7. ขันน้ำมนต์ ธูป เทียน ตลับแป้งเจิมพร้อมแป้งเจิม


พรมเปอร์เซีย
  1. พรมเปอร์เซีย  หลายสีหลายขนาด


ชุดตั่งรดน้ำสังข์ (ชุดพิธีหลักน้ำพระพุทธมนต์)
  1. ชุดตั่งรดน้ำสงข์
  2. ชุดกะไหล่ทองเหลืองชุบทอง ครบเซท


ชุดอุปกรณ์จัดงาน
  1. สแตนด์เหล็กจัดดอกไม้ ปรับได้     ขนาดสูง  1  เมตร ปรับได้ 1.35 เมตร
  2. กระถางจัดดอกไม้ มีหลายขนาด เล็ก กลาง ใหญ่
  3. ซุ้มโค้งจัดดอกไม้
  4. จักรยานจัดดอกไม้เหล็กดัด
  5. รถเข็นจัดดอกไม้เหล็กดัด
  6. สแตนแขวนกรงนกพร้อมกรงนกหลายขนาด เล็ก กลาง ใหญ่ 
  7. ฟลาวเวอร์บอล
  8. ฯลฯ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม


 เรามีอุปกรณ์อื่นๆ อีกมากมาย ครบทุกความต้องการ เรามีสำนักงานพร้อมโกดังสินค้าเป็นของเราเอง สามารถเข้าเลือกชมสินค้าก่อนตัดสินใจ ของสภาพใหม่ พร้อมใช้งาน ส่งตรงถึงที่ ตรงเวลา บริการประทับใจ พนักงานน่ารักทุกคน ถ้าถูกใจ มีทั้งลดแลกแจกแถมมากมาย  


ข้อมูลติดต่อ ติดต่อ : คุณพร : ผู้จัดการ โทรศัพท์ : 087-039-7278
ที่ตั้ง : Siriforrent : เลขที่ 56 แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ 10510
Twitter : twitter.com/siriforrent

ธุรกิจ บริการให้เช่า เช่าโต๊ะ เช่าเก้าอี้ เช่าเต็นท์ อุปกรณ์จัดงานครบวงจร



สิริ ฟอร์เร้นท์ บริการให้เช่าโดยมีสินค้าไว้คอยบริการมากมาย อาทิเช่น โต๊ะ เก้าอี้ เต็นท์ พัดลมไอน้ำ อุปกรณ์จัดงาน อุปกรณ์จัดเลี้ยง อุปกรณ์เสริม เช่นผ้าคลุมโต๊ะ ผ้าคลุมเก้าอี้สีขาว โบว์ผูกเก้าอี้สีต่างๆ บริการจับระบาย จับจีบ ผูกผ้า โยงผ้าตกแต่งสถานที่ โยงผ้าเต็นท์ อุปกรณ์จัดงาน เรามีอุปกรณ์ตกแต่งานต่างๆ

ไม่ว่าจะเป็นงานแต่งงาน wedding งานบวช งานพิธี งานมงคล งานเปิดตัว งานเลี้ยงรับรอง งานเลี้ยงสังสรรค์ งานจัดประชุมสัมนา จัดงานอีเว้นท์ Event พร้อมมีบริการเสริม งานจัดตกแต่งสถานที่ งานจัดดอกไม้ จัดกระถาง จัดแจกัน จัดหน้าเวที จัดสแตนด์ ด้วยบริการแบบมืออาชีพ รวด ว่องไว ตรงเวลา ราคายุติธรรม และเป็นกันเอง สินค้าทุกชิ้นรับรองไม่ผิดหวัง สภาพใหม่ทุกชิ้น บริการ ให้เช่า เช่าโต๊ะ เช่าเก้าอี้ เช่าเต็นท์ อุปกรณ์จัดงาน อุปกรณ์จัดเลี้ยง ชุดพิธีต่างๆ พร้อมตกแต่งบรรยากาศ จัดพื้นที่ ตกแต่งดอกไม้ ซุ้ม เวที ไฟแสงสี เสียง ครบวงจร

  1. เต้นท์ทรงโค้งแบบครึ่งวงกลม-สีขาว ขนาด 3 x 6 / เสาสูง 2.50 เมตร
  2. เต้นท์ทรงโค้งแบบครึ่งวงกลม-สีขาว ขนาด 4 x 8 / เสาสูง 2.50 เมตร
  3. เต็นท์ทรงโค้งแบบครึ่งวงกลม-สีขาว ขนาด 5 x 12 เมตร / เสาสูง 2.50 เมตร
  4. เต็นท์ทรงปิรามิด-สีขาว (ไม่ติดโลโก้) ขนาด 3 x 3 เมตร
  5. เต็นท์ทรงปิรามิด-สีขาว (ไม่ติดโลโก้) ขนาด 4 x 4 เมตร
  6. เต็นท์ทรงปิรามิด-สีขาว (ไม่ติดโลโก้) ขนาด 5 x 5 เมตร
  7. เต็นท์ทรงสูงสไตล์เซนจูรี่-สีขาว ขนาด 3 x 3 เมตร / เสาสูง 2.0 เมตร
  8. เต็นท์ทรงสูงสไตล์เซนจูรี่-สีขาว ขนาด 4 x 4 เมตร / เสาสูง 2.50 – 3.00 เมตร
  9. เต็นท์ทรงสูงสไตล์เซนจูรี่-สีขาว ขนาด 5 x 5 เมตร / เสาสูง 2.50 – 3.00 เมตร
  10. เต็นท์ทรงสูงสไตล์เซนจูรี-สีขาว ขนาด 6 x 6 เมตร / เสาสูง 2.50 – 3.00 เมตร
  11. เต็นท์ขนาดใหญ่ทรงโค้ง-สีขาว ขนาด 10 x 20 เมตร / เสาสูง 3.0 – 3.50 เมตร
  12. เต็นท์ทรงจั่ว-สีขาว ขนาด 3 x 6 เมตร / เสาสูง 2.50 เมตร
  13. เต็นท์ทรงจั่ว-สีขาว ขนาด 4 x 8 เมตร / เสาสูง 2.50 เมตร
  14. เต็นท์ทรงจั่ว-สีขาว ขนาด 5 x 12 เมตร / เสาสูง 2.50 เมตร
  15. เต็นท์อื่น ๆ ฯลฯ .....
หมายเหตุการสั่งจองเต็นท์ : ให้ทำการวัดขนาดพื้นที่สำหรับจะตั้งเต็นท์ กว้าง x ยาว แล้วเลือกรูปแบบเต็นท์โค้ง, จั่ว, ปิรามิด ขนาดที่เหมาะสมกับพื้นที่ โทรสั่งจองเต็นท์หรือแฟกซ์รายละเอียดการสั่งจอง พร้อมแผนที่ ที่เบอร์ 02-5098575 หรือส่ง e-mail: siriforrent@gmail.com
โดยระบุ :- รูปแบบเต็นท์โค้ง, จั่ว, ปิรามิด ขนาดที่ต้องการ จำนวนเต็นท์ วันที่ใช้งาน วันที่ติดตั้ง (ปกติจะติดตั้งก่อนวันงาน 1 วัน) ชื่อผู้สั่งจอง เบอร์โทร.ผู้สั่งจอง เมื่อได้รับการติดต่อกลับแล้ว ก็จะต้องมีการโอนชำระเงินมัดจำค่าเช่า 50% พร้อมค่าขนส่งเต็มจำนวน(สำหรับต่างจังหวัด) เมื่อชำระเข้ามาแล้วให้แจ้งการชำระเงินที่เบอร์ 087-039-7278

โต๊ะ เก้าอี้ / ผ้าคลุมโต๊ะเก้าอี้ / แชร์โบว์ (ชุด) ให้เช่า
  1. ชุดโต๊ะกลม พร้อมผ้าคลุมโต๊ะ + เก้าอี้พลาสติกมีพนักพิง 10 ตัว ขนาดหน้ากว้าง 1.20 เมตร
  2. ชุดโต๊ะกลม พร้อมผ้าคลุมหน้าโต๊ะ + เก้าอี้พลาสติกมีพนักพิงพร้อมผ้าคลุมเก้าอี้ 10 ตัว ขนาดหน้ากว้าง 1.20 เมตร
  3. ชุดโต๊ะกลม พร้อมผ้าคลุมหน้าโต๊ะ + เก้าอี้พลาสติกมีพนักพิงพร้อมผ้าคลุมเก้าอี้ + แชร์โบว์ 10 ตัว ขนาดหน้ากว้าง 1.20 เมตร 
  4. ชุดโต๊ะกลม พร้อมผ้าคลุมหน้าโต๊ะ + เก้าอี้เบาะนามมีพนักพิง 10 ตัว ขนาดหน้ากว้าง 1.20 เมตร
  5. ชุดโต๊ะกลม พร้อมผ้าคลุมหน้าโต๊ะ + เก้าอี้เบาะนามมีพนักพิง 8 ตัว ขนาดหน้ากว้าง 1.20 เมตร


โต๊ะ เก้าอี้ / ผ้าคลุมโต๊ะเก้าอี้ / แชร์โบว์ (ตัว) ให้เช่า
  1. โต๊ะโฟเมก้าทรงเหลี่ยมหน้าขาว คลุมผ้าสเกิร์ต ขนาด 1.80 x 0.75 เมตร
  2. โต๊ะโฟเมก้าทรงเหลี่ยมหน้าขาว คลุมผ้าสเกิร์ต ขนาด 1.20 x 0.60 เมตร
  3. เก้าอี้พลาสติก-สีขาว
  4. เก้าอี้พลาสติก-สีขาว + ผ้าคลุมเก้าอี้-สีขาว
  5. เก้าอี้เบาะนวม
  6. ผ้าแชร์โบว์ผูกเก้าอี้พลาสติก
  7. ผ้าแชร์โบว์ผูกเก้าอี้เบาะนวม

ร่มจัดงาน ให้เช่า
  1. ร่มเมืองเหนือ ผ้าดิบ-สีขาว
  2. ร่มฝรั่ง-สีขาว


พัดลม แอร์ ให้เช่า
  1. พัดลมไอน้ำ (แบบเติมน้ำ) มีถังน้ำในตัว
  2. พัดลมธรรมดา ขนาดใหญ่ 24 นิ้ว
  3. แอร์เคลื่อนที่ (ตั้งพื้น)


โซฟารับแขก / โต๊ะกลาง
  1. ชุดโซฟา รับแขก พร้อมโต๊ะกลางฃ


ชุดอุปกรณ์พิธีสงฆ์ ให้เช่า
  1. อาสนะพระสงฆ์มีพนักพิง 9 ชุด
  2. ผ้าเบาะปูอาสนะ
  3. ชุดโต๊ะหมู่บูชาสีครีมทอง
  4. พระพุทธรูป เชิงเทียน แจกัน
  5. กระถางธูป ชุดน้ำ-น้ำชา
  6. ที่จุดเทียนชนวน ที่กรวดน้ำ กระโถน
  7. ขันน้ำมนต์ ธูป เทียน ตลับแป้งเจิมพร้อมแป้งเจิม


พรมเปอร์เซีย
  1. พรมเปอร์เซีย  หลายสีหลายขนาด


ชุดตั่งรดน้ำสังข์ (ชุดพิธีหลักน้ำพระพุทธมนต์)
  1. ชุดตั่งรดน้ำสงข์
  2. ชุดกะไหล่ทองเหลืองชุบทอง ครบเซท


ชุดอุปกรณ์จัดงาน
  1. สแตนด์เหล็กจัดดอกไม้ ปรับได้     ขนาดสูง  1  เมตร ปรับได้ 1.35 เมตร
  2. กระถางจัดดอกไม้ มีหลายขนาด เล็ก กลาง ใหญ่
  3. ซุ้มโค้งจัดดอกไม้
  4. จักรยานจัดดอกไม้เหล็กดัด
  5. รถเข็นจัดดอกไม้เหล็กดัด
  6. สแตนแขวนกรงนกพร้อมกรงนกหลายขนาด เล็ก กลาง ใหญ่ 
  7. ฟลาวเวอร์บอล
  8. ฯลฯ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม


 เรามีอุปกรณ์อื่นๆ อีกมากมาย ครบทุกความต้องการ เรามีสำนักงานพร้อมโกดังสินค้าเป็นของเราเอง สามารถเข้าเลือกชมสินค้าก่อนตัดสินใจ ของสภาพใหม่ พร้อมใช้งาน ส่งตรงถึงที่ ตรงเวลา บริการประทับใจ พนักงานน่ารักทุกคน ถ้าถูกใจ มีทั้งลดแลกแจกแถมมากมาย  


ข้อมูลติดต่อ ติดต่อ : คุณพร : ผู้จัดการ โทรศัพท์ : 087-039-7278
ที่ตั้ง : Siriforrent : เลขที่ 56 แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ 10510
Twitter : twitter.com/siriforrent