7/11/2555

“สร้างแบรนด์” สร้างมูลค่า สู่ SMEs มืออาชีพ


การสร้างแบรนด์
การสร้างแบรนด์

“แบรนด์”ไม่ใช่เรื่องสงวนของธุรกิจขนาดใหญ่ แม้แต่กิจการพันธุ์เล็กก็ใช้พลังแบรนด์เป็นอาวุธสร้างแต้มต่อให้ธุรกิจได้ เพื่อปูทางกิจการสู่มืออาชีพ
“การสร้างแบรนด์ที่ดีจะทำให้คุณค่าของธุรกิจเพิ่มขึ้น อย่าง ของที่ขายในราคา 10 บาท สามารถขายในราคา 20 บาทได้ เพราะคุณค่าของแบรนด์ ลูกค้ามีความภักดีกับเรามากขึ้น เรียกว่าคุณค่าในใจคนทำให้ธุรกิจเจริญเติบโต แต่ขณะเดียวกัน ถ้าสร้างไม่ดีคุณค่าจากของ 10 บาท อาจกลายเป็นของ 5 บาทก็ได้ หรือเขาอาจไม่ต้องการแบรนด์นี้อีกแล้ว ฉะนั้นเรื่องของแบรนด์สำคัญ ไม่แค่ธุรกิจขนาดใหญ่แต่รวมถึงเอสเอ็มอีด้วย”
“ดลชัย บุณยะรัตเวช” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท Brandscape จำกัด บริษัทที่ปรึกษาด้านการสร้างแบรนด์ บอกความน่าสนใจของพลัง “แบรนด์” ที่เอสเอ็มอีก็มี “ส่วนได้”
ประสบการณ์ในวงการโฆษณาและการสร้างแบรนด์ ที่สั่งสมมาตลอดชีวิตการทำงานเกือบ 2 ทศวรรษ พิสูจน์ซ้ำด้วยการลุกมาเป็นผู้ประกอบธุรกิจของตัวเองเมื่อ 9 ปี ที่ผ่านมา กับบริษัทที่ปรึกษาด้านการสร้างแบรนด์ คิดและออกแบบการวางกลยุทธ์ให้กับเเบรนด์ต่างๆ ทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ต่อด้วยการจับพลัดจับผลูมาทำ “ณดล” รีสอร์ทเรือนไทยร่วมสมัยที่อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี เมื่อ 4 ปี ที่ผ่านมา
เขาจึงไม่ได้เป็นแค่คนรับสร้างแบรนด์ แต่คือผู้ประกอบการที่พิสูจน์ความสำเร็จด้วยตัวเองมาแล้ว !
“แบรนด์ เป็นเหมือนเข็มทิศ ช่วยให้องค์กรสร้างตัวเองอย่างมีสติ  มีทิศทางที่ถูกต้อง ช่วยขมวดทุกอย่างที่อยากจะพูด ให้แคบและกระจ่างที่สุด ก่อนถ่ายทอดออกไปสู่ภายนอก”
ดลชัยบอกกับเรา ก่อนขยายความเพิ่มถึงสิ่งที่หลายคนมัก “เข้าใจผิด” ในการสร้างแบรนด์  “มันไม่ใช่แค่การมาสร้างโลโก้ใหม่ หรือทำแคมเปญโฆษณาใหม่ แต่แบรนดิ้งสามารถช่วยองค์กรในทุกมิติ กระทั่งฝ่ายบุคคล ก็จะรู้ว่าควรเลือกคนแบบไหนเข้ามาทำงาน ควรสร้างวัฒนธรรมแบบไหน ฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ควรจะสร้างโปรดักส์แบบไหน เหมือนคุณเกิดมาเป็นคนไทย คนสิงคโปร์ คนฮ่องกง จุดยืนแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน แล้วเราจะถ่ายทอดชีวิตตัวเองต่อไปอย่างไร ซึ่งแบรนดิ้งเป็นตัวสร้างเข็มทิศที่ดีมาก”
สำหรับ ดลชัย เรื่องของแบรนดิ้งไม่ใช่การพูดกับ Need ของคน หรือสิ่งที่คนจำเป็นต้องมี แต่เป็นการพูดกับ Want หรือสิ่งที่ผู้คนปรารถนาที่จะมี
“แบรนด์ที่ดีต้องเป็นสัญลักษณ์แห่งความปรารถนา”
เขายกตัวอย่างหนึ่งในผลงาน "Ideo Condominium"  ของ บมจ.อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ ที่สามารถสร้างจุดยืน และเข็มทิศให้กับ แบรนด์ “ไอดีโอ” ว่าไม่ใช่แค่คอนโดมิเนียมติดรถไฟฟ้า แต่เป็นสัญชาตญาณใหม่ของคนเมือง สามารถให้อำนาจกับคนเมืองยุคใหม่ ที่วิถีชีวิตไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว เป็นการสร้างค่านิยมใหม่ ซึ่งสัมพันธ์กับค่านิยมในใจของผู้คน  โดยเฉพาะกลุ่มเจเนอเรชั่น Z
และนั่นก็นำพาให้ “ไอดีโอ” ชัดเจนและแตกต่าง จนประสบความสำเร็จอย่างดีในตลาดคอนโดวันนี้
“ไม่ใช่แค่แบรนด์ใหญ่ๆ แต่เอสเอ็มอีหลายรายก็มาหาเรา”
ดลชัยบอกกับเรา ก่อนยกตัวอย่าง “ไร่กำนันจุล” เอสเอ็มอีชื่อดังแห่งจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่มีผลิตภัณฑ์และบริการครอบคลุมทั้ง ฟาร์มสเตย์ ร้านค้า อาหาร ผ้าไหม เครื่องสำอาง หนึ่งในลูกค้าคนสำคัญของเขา...
การตัดสินใจปรับกลยุทธ์ด้านการสร้างแบรนด์ โดยเปลี่ยนวิธีการสื่อสาร การเล่าเรื่อง การระบุตัวตน และเอกลักษณ์ใหม่ ทำให้แบรนด์ “ไร่กำนันจุล” มีความชัดเจนในตัวตนมากขึ้น จากกิจการที่ก่อตั้งมายาวนาน นับจากปี พ.ศ. 2479  ถึงวันนี้พวกเขากลับไม่ได้ดูเป็นชายแก่ ที่เฉิ่มเชย แต่ยังเป็นแบรนด์ที่ทันสมัย มีความน่าสนใจและดึงดูดผู้คนให้ระลึกถึงอยู่เสมอ
“การทำงานให้กับเอสเอ็มอีมีความสนุก เพราะเราได้คุยกับเจ้าของโดยตรง ขณะที่แบรนด์ขนาดใหญ่ขั้นตอนจะเยอะกว่า เพราะผู้เกี่ยวข้องกับแบรนด์มีจำนวนมาก เราต้องทำความเข้าใจทุกกลุ่ม แล้วขมวดทุกอย่างเพื่อพัฒนาเป็นกลยุทธ์แบรนด์  แต่กับเอสเอ็มอีเขารู้อยู่แล้วว่าตัวตนเขาเป็นใคร core value ของสิ่งที่เขามีอยู่คืออะไร การทำงานก็ง่ายขึ้น”
การสร้างแบรนด์อาจไม่ใช่เพียงเพื่อสะท้อนภาพออกไปสู่ภายนอก ทว่ายังรวมถึงการสร้างวัฒนธรรมภายในของตัวเองให้มีความชัดเจนขึ้นด้วย
ดลชัย ยกตัวอย่าง งานที่เขาทำให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงก์ชาติ) ตามคำขอของ “ประสาร ไตรรัตน์วรกุล” ผู้ว่าการแบงก์ชาติ ที่ต้องการสร้างวัฒนธรรมภายใน ให้ทุกคนในแบงก์ชาติได้เข้าใจ “ตัวตน” และ “จุดยืน” ของพวกเขา ผ่าน core value แบงก์ชาติ ตามวิสัยทัศน์ของประสาร ที่บอกว่า “ยืนตรง มองไกล ยื่นมือ และติดดิน” 4 คำที่นักสร้างแบรนด์ต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ก่อนขมวดออกมาเป็น “แบรนด์แบงก์ชาติ”
ผลที่ตามมาคือการที่คนแบงก์ชาติสามารถทำงานประสานกัน เห็นภาพเดียวกันและไปด้วยกันได้ในทุกเรื่องตอบความสำคัญของแบรนด์ที่ไม่เพียงส่งพลังสู่ภายนอก ทว่ายังสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรภายในได้อีกด้วย
วิธีคิดในการทำงานของ Brandscape เอสเอ็มอีก็สามารถเก็บมาปรับใช้ได้
“เวลาทำอะไรเราต้องมอบให้เกิน 100  ลูกค้าคาดหวังแค่นี้ แต่เราต้องให้มากกว่าสิ่งที่เขาคาดหวัง”
ซีอีโอที่ปรึกษาด้านการสร้างแบรนด์บอกสูตร “มัดใจ” ลูกค้า ที่ทำให้ Brandscape ยังคงได้รับการตอบรับจากองค์กรธุรกิจอย่างดี และหลายรายที่ใช้บริการต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้
“การทำอะไรให้ลูกค้าไม่ใช่วัดจากจำนวนเงินที่เขามี ไม่ว่าจะมี 10 ล้านหรือ 10 บาท แต่เราก็ต้องมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับเขา ทุ่มเทใจให้เขา เหมือนการได้คู่แต่งงานที่รักกันจริง เราไม่มองเรื่องธุรกิจมาเป็นอันดับหนึ่ง แต่หวังในความสำเร็จของลูกค้าเป็นอันดับหนึ่ง เขาต้องพึงพอใจและธุรกิจเขาต้องดีขึ้น”
วิธีคิดเดียวกันนี้ดลชัยนำไปใช้กับทุกๆ เรื่อง ไม่ว่าจะการใช้พลังสร้างสรรค์ไปกับการทำงาน การให้คำปรึกษาแก่ลูกค้า ตลอดจนการบริการที่มอบให้ลูกค้าในรีสอร์ทของเขา ที่สรุปสั้นๆ ว่า “ทุกอย่างต้องเกิน 100”
การทำงานในยุคที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน แต่สำหรับดลชัยกลับบอกว่า การสร้างเพื่อนในวงการสำคัญที่สุด
“ผมคิดว่าเราอยู่คนเดียวไม่ได้ เราต้องมีเพื่อน ผมไม่ถือว่าเรามีคู่แข่งขัน แต่ทุกคนต่างก็เป็นเพื่อนกันได้หมด บางครั้งเราร่วมมือทำโปรเจคเดียวกัน เราคุยภาษาเดียวกัน คุณเก่งเรื่องนี้คุณไปทำ เราเก่งเรื่องนี้ ชำนาญเรื่องนี้ก็ให้เราทำ ทำแบบนี้ สนุก และมีความสุข ธุรกิจก็ต่อยอดไปได้ไกล”
ในวันนี้ ดลชัย ค่อยๆ ถ่ายทอดวิธีคิดและพัฒนาเครื่องมือให้กับทีมงาน เพื่อให้ Brandscape สามารถยืนได้ด้วยตัวเองแม้ไม่มีเขา ไม่มีชื่อของ “ดลชัย”  เพื่อที่จะเอาเวลามาสานเป้าหมายสำคัญในชีวิต นั่นคือ การให้ความรู้แก่ผู้คนเรื่องการสร้างแบรนด์ ทั้งในบทบาทของคอลัมนิสต์ นักเขียน และอาจารย์
เช่นเดียวกับการร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เปิดหลักสูตร Mini MBA  การบริหารจัดการแบรนด์ หลักสูตรเพื่อส่งเสริมการเป็นนักบริหารคิดนอกกรอบ อีกโอกาสของเอสเอ็มอีและนักบริหารที่จะได้ใช้พลังของแบรนด์ เป็นเครื่องมือในการแข่งขันทางธุรกิจ   (www.gmi.kmutt.ac.th
และเร็วๆ นี้เขาก็จะมีผลงานคอลัมนิสต์ที่คอลัมน์ Super SMEs ของ กรุงเทพธุรกิจ BizWeek เพื่อเปิดมิติของคำว่า “แบรนดิ้ง” ที่พร้อมนำพาเอสเอ็มอีไปสู่วิถี “มืออาชีพ” อย่างแท้จริง
..............................
Key to success
ทำธุรกิจให้สำเร็จแบบนักสร้างแบรนด์
๐ วางแผนก่อนทำ อย่าบุ่มบ่ามกระโดดไปทำโดยไม่มีแผน
๐ ทบทวนตัวเอง หาจุดเด่น หาความแตกต่าง
๐ สร้างแบรนด์ ก็คือ การเล่านิทานของธุรกิจ
๐ เลือกนิทานเรื่องไหน ก็ยึดเรื่องนั้นอย่าเปลี่ยน
๐ ตั้งสติ หาจุดยืน ถ้ายังไม่รู้ก็หาที่ปรึกษา
๐ ทำแบรนด์ให้คมที่สุด  แคบที่สุด ชัดที่สุด ก่อนกระจายสู่ภายนอก

อ้างอิง : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
แนะนำโดย www.smesplannet.com

เงินกู...หรือ...เงินกู้...!?


เรื่อง เงินกู้ ก่อนอื่นต้องขออภัยผู้อ่านทุกท่านหากมองว่าเป็นคำหยาบคาย ทว่าสองคำนี้ถือว่าเป็นหลักสำคัญในทฤษฎีทางการเงินสำหรับธุรกิจในส่วนของโครงสร้างเงินทุน เพราะเงินทุนสำหรับดำเนินธุรกิจนั้น ก็มาจากสองแหล่งนี้เท่านั้นเอง แล้วจะเลือกแบบไหนดีถึงจะเหมาะสมกับธุรกิจของเราล่ะ
ในการทำธุรกิจนั้นไม่ว่าจะอยู่ในช่วงเริ่มต้น หรือดำเนินการมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วก็ตาม ต่างก็จำเป็นต้องคำนึงถึงแหล่งเงินทุนที่ใช้ในการทำธุรกิจอยู่เสมอ เพียงแต่ว่าด้วยเงื่อนไขและข้อจำกัดของแต่ละบุคคลหรือแต่ละธุรกิจที่จะเป็นตัวกำหนดว่าจะเลือกใช้ เงินกู และ เงินกู้ ในสัดส่วนเท่าไหร่
ในทางทฤษฎีการเงิน เงินกู้ หมายถึง เงินที่กู้ยืมมาจากบุคคลภายนอก โดยเป็น เงินกู้ยืมระยะยาว (ไม่นับ เงินกู้ ระยะสั้น) ส่วนใหญ่แล้วก็มากู้ยืมจากธนาคารนั่นเอง เงินกู้ ถูกจัดให้เป็นแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำกว่าเพราะว่าดอกเบี้ยและเงินต้นที่ต้องจ่ายคืนได้ถูกกำหนดไว้แล้ว อีกทั้ง สรรพากรก็ยังใจดียอมให้ดอกเบี้ยเป็นค่าใช้จ่ายทำให้เสียภาษีน้อยลงได้สำหรับธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล
ขณะที่ เงินกู (เงินจากเจ้าของหรือจากผู้ถือหุ้น) นั้นถือว่าต้นทุนสูงกว่า เพราะเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นจะได้เงินคืนในลำดับสุดท้ายเสมอไม่ว่าตอนแบ่งกำไรจากการดำเนินธุรกิจหรือตอนเลิกกิจการ อีกทั้งยังไม่มีการกำหนดด้วยว่าจะต้องแบ่งกำไรให้ อาจจะเก็บกำไรเอาไว้ไม่แบ่งให้เลยก็ได้ ทำให้ถูกมองว่าความเสี่ยงในการได้รับผลตอบแทนและเงินคืนนั้นสูงกว่าจึงต้องได้ผลตอบแทนสูงขึ้นมาชดเชย ด้วยเหตุนี้ทำให้ในทางทฤษฎีส่งเสริมให้กู้เงินมาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากว่ายังไม่ทำให้ธุรกิจตกอยู่ในภาวะเสี่ยงมากขึ้นกับภาระหนี้ที่มีอยู่
แต่ในทางปฏิบัติแล้ว มีหลายปัจจัยที่เข้ามามีผลกระทบต่อการตัดสินใจว่าจะเลือกใช้เงินทุนจากทั้งสองแหล่งในสัดส่วนเท่าไหร่ดี บางครั้งก็ตัดสินใจยากบางครั้งก็ง่าย ปัจจัยต่างๆ นั้น ก็ประกอบด้วย ลักษณะเฉพาะของธุรกิจ ลักษณะนิสัยของเจ้าของหรือผู้บริหาร และโครงสร้างทางภาษี เป็นต้น ในที่นี้จะขออธิบายในส่วนที่สำคัญๆ ให้เป็นแนวทางพิจารณา
ลักษณะเฉพาะทางธุรกิจ หมายถึงลักษณะของทรัพย์สินที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจ โดยทั่วไปแล้วหากเป็นธุรกิจที่มีอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน อาคารโรงงาน อาคารโรงแรม จะสามารถใช้ เงินกู้ ได้มาก เนื่องจาก เงินกู้ ส่วนใหญ่จำเป็นต้องมีอสังหาริมทรัพย์เพื่อค้ำประกัน เงินกู้ แต่ถ้าเป็นธุรกิจที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์สินค้าหรือบริการจับต้องไม่ได้ แถมสำนักงานก็ยังต้องเช่า แบบนี้ก็มักจะหา เงินกู้ ได้ยากกว่า เพราะเจ้าของ เงินกู้ มองว่า ไม่มีทรัพย์สินใดๆ ที่จะมาใช้เป็นหลักประกันช่วยปกป้องเงินต้น หากเกิดปัญหาไม่สามารถจ่ายคืนได้
ลักษณะนิสัยของเจ้าของหรือผู้บริหาร ก็ถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญ สามารถแบ่งกว้างๆ ได้สองแบบ จากพฤติกรรมที่มีต่อความเสี่ยง แบบแรกเป็นคนกล้าเสี่ยง มักจะเชี่ยวชาญมองเกมธุรกิจทะลุปรุโปร่งคาดการณ์ได้แม่นยำ จึงกล้าตัดสินใจใช้ เงินกู้ เป็นสัดส่วนที่มากกว่า ส่วนลักษณะนิสัยอีกแบบมักเรียกว่าเป็นคนอนุรักษนิยม ก็คือเป็นคนที่กลัวความเสี่ยง ก็จะใช้ เงินกู้ จำนวนน้อยหรือไม่ใช้ เงินกู้ เลยแล้วแต่ระดับของความกลัว แบบนี้ก็สบายใจดี มีกำไรก็มาถึงเจ้าของรับไปเต็ม ๆ
ส่วนลักษณะโครงสร้างทางภาษีนั้น ก็มีภาษีอยู่หลายแบบที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ แต่ภาษีที่จะกล่าวถึงนั้นคือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ท่านผู้อ่านบางท่านคงจะงงว่าเหตุใดจึงเป็นภาษีตัวนี้ เรื่องมันก็คือว่า ธุรกิจระดับ SME ส่วนใหญ่ก็มักจะพยายามหลีกเลี่ยงภาษีกันอยู่แล้ว ทำให้ในการค้าขายจะไม่มีการออกเอกสารใบแจ้งหนี้หรือใบเสร็จรับเงินใดๆ เป็นหลักฐาน
ถ้าเป็นการซื้อ-ขายผ่านบริษัทหรือมีการออกเอกสารถูกต้องก็จะต้องมีภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ทำให้ยอดรายได้ที่เป็นการค้าขายที่มีการออกเอกสารและมีภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น จึงถือว่าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของรายได้ทั้งหมด ทำให้เจ้าของเงินกู้ไม่อาจทราบได้ว่าจริงๆ แล้ว ยอดรวมรายได้ทั้งหมดแล้วเป็นเท่าใดแน่ จึงเลือกให้กู้เงินโดยอิงกับข้อมูลเท่าที่จะสามารถตรวจสอบได้ นอกจากนี้ ธุรกิจบางประเภทที่กฎหมายกำหนดให้สินค้านั้นไม่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็มักจะถูกมองว่ามีช่องโหว่ให้หลีกเลี่ยงภาษีได้ง่ายกว่าอีก จึงมักจะไม่ค่อยได้รับการพิจารณาให้กู้เงินได้มาก
สัดส่วนของเงินกู้และเงินจากเจ้าของที่เหมาะสมนั้น ในทางทฤษฎีสามารถคำนวณได้ไม่ยาก โดยยึดหลักว่าเลือกสัดส่วนที่ทำให้ต้นทุนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของเงินทุนทั้งสองส่วนออกมาต่ำที่สุด แต่ในทางปฏิบัติแล้วธุรกิจที่เหมือนหรือคล้ายกันก็มีสัดส่วนที่แตกต่างกันออกไปด้วยปัจจัยดังที่ได้กล่าวไป ดังนั้น สัดส่วนของเงินกู้ที่เหมาะสมก็คือ
สัดส่วนที่สามารถจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นคืนได้โดยไม่รู้สึกอึดอัดนั่นเอง
นอกจากนี้ การที่มีส่วนเงินกู้ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับเงินทุนจากเจ้าของนั้น ยังทำให้เราสามารถกู้เงินเพิ่มเติมได้เมื่อมีโอกาสทางธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนน่าจูงใจหรือมีเหตุจำเป็นเกิดขึ้น ขณะที่ธุรกิจที่มีสัดส่วนเงินกู้เป็นสัดส่วนที่สูงอยู่แล้วจะทำให้โอกาสกู้เงินเพิ่มทำได้ยาก และมักจะถูกบังคับให้ต้องเพิ่มเงินทุนในส่วนของเจ้าของให้มากขึ้นด้วย
สุดท้ายนี้ ไม่ว่าจะทำธุรกิจอะไร ใช้เงินทุนจากแหล่งใดก็ตาม ขอเชิญชวนให้ดำเนินการให้ถูกต้องทางกฎหมายโดยเฉพาะเรื่องการเสียภาษี เพราะหากถูกตรวจสอบพบว่ามีความผิดจะทำให้ต้องเสียภาษีย้อนหลังและค่าปรับต่างๆ เป็นจำนวนมากได้ และการทำในสิ่งที่ถูกต้องก็มีส่วนช่วยให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้นด้วยเช่นกัน


อ้างอิง : www.smesplannet.com



6/07/2555

จัดมหกรรม SMEs Franchise สร้างโอกาสธุรกิจ



“โพสต์ทูเดย์” จับมือ “กสิกรไทย” จัดงาน Post Today-K SME & Franchise Expo 2012 ในวันที่ 23-24 มิถุนายนนี้ ณ ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ฯ ระบุช่วยสร้างโอกาสแก่ผู้อยากมีอาชีพและธุรกิจของตัวเอง 
       
       นายศุภกรณ์ เวชชาชีวะ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท โพสต์ พับลิชชิง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ร่วมมือกับธนาคารกสิกรไทยจัดงาน Post Today-K SME & Franchise Expo 2012 ในวันที่ 23-24 มิถุนายน 2555 นี้ ณ ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ เพื่อสร้างโอกาสให้แก่ผู้ที่ต้องการมีธุรกิจเป็นของตัวเอง หรือผู้ที่ต้องการจะต่อยอดธุรกิจให้ก้าวไปข้างหน้า คาดว่างานนี้จะมีผู้สนใจเข้าชมงานไม่ต่ำกว่า 5,000 คน
       
       ทั้งนี้ ภายในงานจะเป็นการรวบรวมสุดยอดเรื่องราวเกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์และเอสเอ็มอีแบบครบวงจร เพื่อตอบสนองความต้องการให้ครบในทุกธุรกิจและในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการออกบูทจากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและแฟรนไชส์หลากหลายประเภท รวมทั้งมีกิจกรรม Lifestyle Workshop สร้างอาชีพ การเปิดวิสัยทัศน์จากนักธุรกิจและดาราเจ้าของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ รวมทั้งศาสตร์ฮวงจุ้ยสำหรับเป็นแนวทางในการประกอบธุรกิจจากซินแสชื่อดัง
       
       ด้านนายพัชร สมะลาภา รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ภายในงานจะมีการออกบูทแฟรนไชส์ชื่อดังกว่า 48 รายที่เข้าร่วมโครงการกับธนาคาร การสร้างร้านค้าบนโลกออนไลน์โดย Google เปิดทำเว็บไซต์ฟรีให้ผู้ที่สนใจ
       
       นอกจากนี้ ธนาคารกสิกรไทยยังมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เหมาะสมมานำเสนอในงาน เช่น บริการ K-SME Start-up Solutions ซึ่งเป็นแพกเกจที่รวมทั้งเรื่องเงิน และองค์ความรู้ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่เริ่มต้นทำธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ K-SME Franchise Credit สินเชื่อสำหรับผู้ทำธุรกิจ แฟรนไชส์ที่ครบวงจร เป็นต้น นอกจากนั้น ทุกท่านที่มาในงานสามารถเข้ามาขอรับคำปรึกษาเกี่ยวกับธุรกิจได้ฟรีจากเจ้าหน้าที่ของธนาคารกสิกรไทย รวมทั้งจากผู้เชี่ยวชาญของหน่วยงานพันธมิตรของธนาคารทั้งภาครัฐ และเอกชน

5/05/2555

เคล็ดลับวิธีการหาเงินกู้มาจากธนาคาร เพื่อมาทำโครงการธุรกิจ SMEs

ปัจจุบันการเริ่มต้นธุรกิจของ เอสเอ็มอี โดยส่วนใหญ่ มีความจำเป็นที่ต้องการแสวงหาเงินมาลงทุนในธุรกิจ ซึ่งการหาทุนมาลงทุนในธุรกิจนั้น มีหลายวิธี แต่ วิธีที่ผู้ประกอบมักใ้ช้เป็นทางเลือกแรก ก็คือ การขอกู้เงินจากธนาคาร ซึ่งต่อไปนี้จะขออธิบายถึงวิธีการที่จะหาเงินกู้จากธนาคารมาทำโครงการธุรกิจ โดยมีหลักการพิจารณาในด้านสินเชื่อและการนำเสนอแผนธุรกิจ เพื่อให้ได้เงินกู้จากธนาคาร

ซึ่งหลักการพิจารณาสินเชื่อธนาคารส่วนใหญ่จะพิจารณาสินเชื่อหรือเงินกู้แก่โครงการธุรกิจใดหรือไม่นั้น เข้ามีหลักการที่ใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะกู้จากสถาบันการเงินไหนก็ตาม โดยส่วนใหญ่จะพิจารณาจากปัจจัยการดำเนินงานตามหลัก 6 C's อันประกอบไปด้วย

C1 หรือ Characteristic


พิจารณาคุณสมบัติของโครงการและตัวผู้กู้เงิน ว่ามีความน่าสนใจ รวมถึงโครงการธุรกิจมีความเป็นไปได้หรือไม่เพียงใด และมีเครดิตที่ดีพอหรือไม่

C2 หรือ Capacity


คือการวิเคราะห์ศักยภาพของธุรกิจว่ามีความสามารถที่จะหาเงินหรือรายได้จากการดำเนินโครงการธุรกิจ ได้มากน้อยเพียงใด มีความเหมาะสมกับความสามารถที่จะหาเงินมาชำระหนี้คืนธนาคารได้หรือไม่ เพียงใด

C3 หรือ Capital  


คือการวิเคราะห์เกี่ยวกับมูลค่าโครงการและการใช้เงินลงทุนในโครงการธุรกิจ จากแผนการใช้จ่ายเงินลงทุน รวมถึงเงินที่ใช้จ่ายหมุนเวียนในธุรกิจ ว่ามีสัดส่วนการใช้เงินลงทุนที่เป็นส่วนของเจ้าของ เมื่อเปรียบเทียบกับเงินกู้เป็นเท่าไหร่ ซึ่งหลักการนี้จะต้องมีสัดส่วนที่เหมาะสม

C4 หรือ Collateral  


คือหลักทรัพย์ที่ใช้ในการค้ำประกับเงินกู้ ว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งจะต้องมีการประเมินมูลค่าหลักทรัพย์หรือหลักประกันเท่าไหร่ ด้วยวิธีการของแต่ละธนาคาร ส่วนใหญ่จะใ้้ช้เกณฑ์ของธนาคารเป็นหลัก ซึ่งถ้าหากหลักประกันน้อยก็อาจจะส่งผลถึงเงินกู้ก็จะ้ต้องน้อยไปด้วยเช่นเดียวกัน เพราะธนาคารถือว่ามีความเสี่ยงสูง

C5 หรือ Condition  


ก็คือเงื่อนไขสำคัญต่างๆ ของโครงการธุรกิจ ที่มีผลกระทบต่อธุรกิจทางทางตรงและทางอ้อม ซึ่งธนาคารอาจจะพิจารณาจากภาพรวมธุรกิจ ตลาด และคู่แข่งขัน รวมถึงการเข้าทำตลาดว่ามีความเป็นไปได้หรือสอดคล้องกับสภาพธุรกิจในปัจจุบันหรือไม่ ทั้งนี้อาจจะรวมไปถึงเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ การใช้งาน การให้บริการ รวมถึงเงื่อนไขอื่นๆ ว่ามีความชัดเจนหรือไม่อย่างไร

C6 หรือ Country  


คือ ทำเล สถานที่ตั้งหรือภูมิศาสตร์ ว่าอยู่ในสถานที่หรือทำเลที่ดีหรือไม่ มีภูมิประเทศที่เหมาะสมกับการทำธุรกิจนี้หรือไม่อย่างไร รวมไปถึง ความหนาแน่น กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย คู่แข่งขัน สภาพเศรษฐกิจ สภาพแวดล้อมทางสังคม การเมือง รวมถึงไปวัฒนธรรมพื้นที่นั้นเป็นอย่างไร มีความสอดคล้องหรือเข้ากันได้กับโครงการธุรกิจหรือไม่อย่างไร
ซึ่งจากหลักการวิเคราะห์โอกาสการการพิจารณาปล่อยสินเชื่อให้กับโครงการธุรกิจ โดยธนาคารจะดูจากข้อมูลของแผนธุรกิจ หรือ Business Plan ของผู้ที่ยื่นกู้นั้นเอง หากผู้ที่ต้องการขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจหรือทำโครงการธุรกิจใหม่ ถ้าไม่มีแผนธุรกิจ ก็อย่าหวังว่าจะได้เงินกู้จากธนาคารได้อย่างแน่นอน เพราะธนาคารส่วนใหญ่ถือเกณฑ์การพิจารณาให้สินเชื่อโครงการธุรกิจตามแผนธุรกิจ เป็นหลัก ซึ่งถือเป็นนโยบายของธนาคารส่วนใหญ่ และมีการกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ดังนี้

จากที่กล่าวมาทั้งหมด การที่ SMEs มีความประสงค์ที่จะเริ่มต้นธุรกิจโดยการลงทุนทำธุรกิจและต้องการขอรับการสนับสนุนด้านสินเชื่อ ผู้ประกอบการ SMEs จึงมีความจำเป็นจะ้ต้องทำความเข้าใจและเตรียมพร้อมในเรื่องของ หลัก 6 C's เป็นสำคัญ เพราะถือว่าเป็น Key Success หรือ กุญแจแห่งความสำเร็จที่จะทำให้ SMEs กู้เิงินจากธนาคารได้ และที่สำัคัญ ควรเริ่มที่จะต้องวางแผนธุรกิจโดยการตระเตรียมข้อมูลตามโครงสร้างแผนธุรกิจ การเน้นรายละเอียดและการเตรียมพร้อมในด้าน 6 C's เพื่อตอบโจทย์ให้กับธนาคาร ถ้าทำได้อย่างนี้แล้ว โอกาสของการเริ่มต้นธุรกิจ โดยมีเงินทุนสนับสนุนจากธนาคาร ก็คงไม่ไกลเกินฝัน สำหรับ SMEs มือใหม่

โดย : SMEssmart.com

 

 

5/02/2555

5 ธุรกิจเอสเอ็มอีไทย สร้างความแตกต่างในธุรกิจ ครองรางวัล “Bai Po Business Awards by Sasin” ครั้งที่ 6

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  มอบรางวัลเกียรติยศ “Bai Po Business Awards by Sasin” ครั้งที่ 6  ให้กับ  5 ธุรกิจเอสเอ็มอีไทย  ได้แก่  บริษัท เค ซี เมททอลชีท จำกัด  บริษัท ไทย แอ็กโกร เอ็กซเชนจ์ จำกัด  บริษัท ยูบิลลี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน)  บริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด  และบริษัท สยาม รีคอนดิชั่น อินดัสตรี้ จำกัด  สะท้อนศักยภาพและมาตรฐานที่โดดเด่นของผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีไทย  โดยมี นายอานันท์  ปันยารชุน  นายกกรรมการ ธนาคารไทยพาณิชย์  เป็นประธานมอบรางวัล  ณ  ธนาคาร ไทยพาณิชย์  สาขาตลาดน้อย

 นางองค์อร อาภากร ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส ธนาคารไทยพาณิชย์  กล่าวถึง โครงการ Bai Po Business Awards by Sasin ว่า “เป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารไทยพาณิชย์และสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ฯ  ที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี  เพื่อมอบรางวัลเกียรติยศยกย่องผู้ประกอบการไทยที่ประสบความสำเร็จและสามารถสร้างความแตกต่างให้ธุรกิจได้อย่างโดดเด่น  ธนาคารมุ่งหวังให้รางวัลนี้เป็นแรงบันดาลใจและแบบอย่างวิธีคิด วิธีปฏิบัติให้ผู้ประกอบการไทยรายอื่นๆ รุกพัฒนาศักยภาพธุรกิจอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งจะก่อให้เกิดมาตรฐานที่ดีและส่งผลให้เกิดการผลักดันระบบเศรษฐกิจให้เติบโตได้ยั่งยืน  ทั้งนี้ธนาคารเปิดกว้างให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วประเทศที่สนใจสามารถเข้าร่วมโครงการได้ โดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นลูกค้าของธนาคารไทยพาณิชย์เท่านั้น”

นายธิติ  เวชแพศย์  รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ฯ  กล่าวถึง  หลักเกณฑ์การพิจารณาตัดสินว่า “ธุรกิจต้องผ่านเกณฑ์การคัดเลือกเบื้องต้นของโครงการ และมีความโดดเด่นในมิติที่สำคัญต่อศักยภาพในการแข่งขันของธุรกิจขนาดกลางและย่อมมิติใดมิติหนึ่งหรือหลายมิติ ประกอบด้วย 1.การให้ความสำคัญต่อลูกค้า (Customer Focus) 2.ความริเริ่มที่นำไปสู่การสร้างนวัตกรรม (Innovation)     3.การมีคุณภาพสูงของสินค้าและบริการ (Quality) 4.การตอบสนองและปรับตัวต่อโอกาสและปัญหา (Adaptability to Changes) 5.การสร้างมูลค่า (Value Creation) 6.การสร้างตราสินค้า (Branding) 7.การมีระบบงานที่มีประสิทธิภาพ (Efficiency) 8.ความเป็นผู้นำของผู้บริหารกิจการและการสร้างทีม (Leadership & Team Building) 9.การปฏิบัติดีต่อสังคม (Social Responsibility) และ 10.การสร้างธุรกิจด้วยพลังแห่งการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship)  ซึ่งเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเหล่านี้เป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจสามารถเติบโตก้าวหน้าและแข็งแกร่ง  ทั้งนี้  คณะกรรมการตัดสินจะพิจารณามอบรางวัลแก่ผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติเหมาะสม  โดยไม่มีการจัดอันดับ  และไม่จำกัดจำนวนผู้ได้รับรางวัลในแต่ละปี ”

 ดร.อาชว์ เตาลานนท์ ประธานกิตติมศักดิ์ หอการค้าไทย ในฐานะประธานกรรมการพิจารณาคัดเลือก กล่าวว่า “คณะกรรมการได้พิจารณาคัดเลือกบริษัทผู้ประกอบการที่สร้างธุรกิจให้มีความโดดเด่น ซึ่งสมควรได้รับรางวัล Bai Po Business Awards by Sasin ในครั้งที่ 6 รวม 5 บริษัท ได้แก่

บริษัท เค ซี เมททอลชีท จำกัด
บริษัทผลิตหลังคาเหล็กที่ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์และบริหารธุรกิจด้วยความยึด มั่นในความซื่อสัตย์ต่อลูกค้า ได้รับความรางวัลจากความโดดเด่นในมิติ การสร้างธุรกิจด้วยพลังแห่งการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) และการให้ความสำคัญต่อลูกค้า (Customer Focus)

 

 

 

บริษัท ไทย แอ็กโกร เอ็กซเชนจ์ จำกัด
บริษัทที่บริหารจัดการ “ตลาดไท”   ตลาดกลางซื้อขายสินค้าเกษตรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและในอาเซียน ทำให้ “ตลาดไท” โดดเด่นและเป็นที่รู้จักทั้งในด้านความครบครันและคุณภาพของสินค้า ได้รับรางวัลจากความโดดเด่นในมิติ ความคิดริเริ่มที่นำไปสู่การสร้างนวัตกรรม (Innovation) การสร้างมูลค่า (Value Creation) การสร้างตราสินค้า (Branding) และการปฏิบัติดีต่อสังคม (Social Responsibility)

 

 

บริษัท ยูบิลลี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) 
บริษัทซึ่งเปลี่ยนรูปแบบการจำหน่ายเพชรและเครื่องประดับเพชรจากรูปแบบเดิมมา จำหน่ายผ่านเคาน์เตอร์ห้างสรรพสินค้า โดยสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้าให้กับผู้ซื้อ ได้รับรางวัลจากความโดดเด่นในมิติความคิดริเริ่มที่นำไปสู่การสร้างนวัตกรรม (Innovation) การมีคุณภาพสูงในสินค้าและบริการ (Quality) และการสร้างตราสินค้า (Branding)

 

 

 

บริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด
บริษัทที่ให้บริการเรือโดยสารสาธารณะมานานกว่า 40 ปี ซึ่งพัฒนารูปแบบและการบริการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้โดยสารได้รับการ บริการที่ปลอดภัยรวดเร็วและทันสมัย ได้รับความรางวัลจากความโดดเด่นในมิติการให้ความสำคัญต่อลูกค้า (Customer Focus) การสร้างมูลค่า (Value Creation) ความเป็นผู้นำของผู้บริหารกิจการและการสร้างทีม (Leadership & Team Building) และการปฏิบัติดีต่อสังคม (Social Responsibility)

 

 

บริษัท สยาม รีคอนดิชั่น อินดัสตรี้ จำกัด
บริษัทที่นำเข้าเครื่องถ่ายเอกสารใช้แล้วจากต่างประเทศ มาผ่านกระบวนการ Recondition ดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิด Eco Copy ผสมผสานความรับผิดชอบต่อสังคมในด้านสิ่งแวดล้อมและความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ได้รับรางวัลจากความโดดเด่นในมิติการสร้างมูลค่า (Value Creation) และการปฏิบัติดีต่อสังคม (Social Responsibility)

 

 
ผู้ประกอบการที่ได้รับรางวัล “Bai Po Business Awards by Sasin” ในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงพลังแห่งความมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตภายใต้ความสามารถในการบริหารจัดการทีมงาน การริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรม การเพิ่มมูลค่าให้สินค้า การให้ความสำคัญและเข้าถึงความต้องการของลูกค้า และการปฏิบัติดีต่อสังคม”

ข่าวจาก : SCB

4/30/2555

'ดิโอโร่' สยายปีกแฟรนไชส์ ปักธง ขายวันละ 100 แก้ว ร้านฉลุย

นับเป็นเวลากว่า 12 ปีมาแล้วที่ “ดิโอโร่” (D’ Oro) ดำเนินธุรกิจกาแฟครบวงจร ตั้งแต่ปลูก คั่ว ขายเมล็ดกาแฟ จนถึงเปิดร้านของตัวเอง โดยในปีนี้ (2555) ได้ขยายธุรกิจเพิ่มเติมด้วยการขายแฟรนไชส์ร้านกาแฟ ลงทุน 1- 2.5 ล้านบาท กำหนดเป้า ขายอย่างต่ำ 100 แก้วต่อวัน ธุรกิจอยู่รอด


นริศ ศรีอุเทนชัย นริศ ศรีอุเทนชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท วีพีพี โปรเกรสชิฟ จำกัด เผยว่า ปัจจุบัน ร้านดิโอโร่มีสาขารวม 75 แห่ง เปิดโดยบริษัทเอง 73 แห่ง และร้านแฟรนไชส์ต้นแบบ 2 แห่ง ที่ผ่านมา บริษัทได้พัฒนาระบบแฟรนไชส์มาอย่างต่อเนื่อง จนปีนี้ มีความพร้อมที่จะเปิดรับผู้



โดยวิธีควบคุมคุณภาพแฟรนไชส์ที่พัฒนาขึ้น ได้นำระบบไอทีมาตรวจสอบและดูแลทุกๆ ด้านผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่จะออนไลน์ตลอดเวลา เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างแฟรนไชซอร์ และแฟรนไชส์ซีไว้ด้วยกัน ทั้งการสั่งวัตถุดิบ สต็อกสินค้า ยอดขาย ประวัติสมาชิก ฯลฯ ช่วยให้ทุกสาขามี



ผู้บริหารแฟรนไชส์ดิโอโร่ ระบุว่า หัวใจสำคัญของความสำเร็จในธุรกิจร้านกาแฟ คือ “ทำเล” ต้องอยู่ในย่านชุมชน สะดวกสบายเรื่องที่จอดรถ โดยเบื้องต้นผู้ลงทุนต้องหาทำเลมานำเสนอ จากนั้น บริษัทจะมีทีมสำรวจความเป็นไปได้ หากผ่านจะเข้าขั้นตอนทำสัญญาร่วมกัน



ด้านรูปแบบแฟรนไชส์เจาะจงต้องเปิดเป็นรูปแบบ “ร้าน” เท่านั้น พื้นที่ตั้งแต่ 16 - 100 ตารางเมตร โดยผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องใช้เงินลงทุนเบื้องต้นประมาณ 1-2.5 ล้านบาท (แล้วแต่ขนาดร้าน) แบ่งเป็นค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ 3.5 แสนบาท อายุสัญญา 5 ปี นอกจากนั้น เป็นค่าตกแต่งร้าน ระบบไอที และค่าอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น หลังเปิดร้านมีการเรียกเก็บค่าสิทธิ (Royalty) 4% ของยอดขาย/เดือน และค่าการตลาด 2% ของยอดขาย/เดือน



“หลักในการคัดกรองผู้มาร่วมธุรกิจกับเรา ต้องมีความพร้อมทั้งเรื่องทำเล เงินทุน และสิ่งสำคัญจะดูที่ “ทัศนคติ” ของเขาก่อน ถ้าเป็นคนที่เข้ามา แล้วตำหนิว่า ทำไมแฟรนไชส์แพงจัง? หรือไม่เข้าใจว่า ทำไมต้องจ่ายค่าการตลาด? ทำไมต้องหักส่วนแบ่งยอดขาย? หรือคิดแต่จะได้กำไรเป็นอันดับแรก คนกลุ่มนี้ไม่น่าจะใช่ผู้จะมาร่วมธุรกิจกับเราได้ แต่ถ้าเป็นคนที่เข้าใจในระบบแฟรนไชส์ที่ถูกต้อง เขาจะเข้าใจว่า เงินที่หักไปจะถูกนำไปให้คุ้มค่าได้อย่างไร ซึ่งเราจะทำตั้งแต่ศึกษาความเป็นไปได้ การต่อยอดจัดโปรโมชั่นต่างๆ ส่งเสริมการตลาด รวมถึง จัดอบรมพัฒนาผู้บริหารร้านแฟรนไชส์ ซึ่งวิธีการนี้ จะทำให้แฟรนไชส์ของดิโอโร่มีความแข็งแรงมั่นคง เพราะเราคิดถึงการเป็นคู่ค้ากันในระยะยาว ดังนั้น ทัศนคติของผู้ที่จะร่วม



นอกจากนั้น กำหนดให้แฟรนไชส์ซีต้องรับวัตถุดิบหลัก เช่น กาแฟ ชา โกโก้ ไซรัป แก้วกาแฟ และเบเกอรี่จากบริษัท หรือร้านค้าที่บริษัทอนุมัติเท่านั้น โดยกำไรที่ผู้ลงทุนจะได้รับ หักเฉพาะค่าวัตถุดิบอยู่ที่ประมาณ 50% ของยอดขาย ส่วนกำไรสุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้ว ประมาณ 15-35% ของยอดขาย ขึ้นอยู่กับความสามารถในการบริหารจัดการต้นทุนของแต่ละสาขา ซึ่งจากผลกำไรดังกล่าว หากขายได้วันละประมาณ 100 แก้ว แฟรนไชส์ซีจะคืนเงินลงทุนในได้เวลา 2-2.5 ปี ซึ่งจากค่าเฉลี่ยของร้านดิโอโร่ที่ผ่านมา แทบทุกสาขามียอดขายเกิน 100 แก้วต่อวัน ในขณะที่อัตราล้มเหลวของสาขาที่ผ่านมาอยู่ประมาณ 10% ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับสาขาที่ประสบความสำเร็จ



“ผมคงไม่สามารถการันตีได้ว่า ทุกสาขาแฟรนไชส์ที่จะมาร่วมลงทุนกับเราจะประสบความสำเร็จ แต่สิ่งที่เราทำได้ คือ นำข้อมูลจริงมานำเสนอเพื่อเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจของผู้ลงทุน ซึ่งจากการเปิดสาขาด้วยตัวบริษัทเอง ค่าเฉลี่ยสาขาของเราทุกแห่ง สามารถขายได้วันละ 100 แก้ว ดังนั้น สำหรับผู้มาเป็นแฟรนไชส์ถ้าทำในมาตรฐานและรูปแบบเดียวกันของร้านดิโอโร่ โอกาสที่ร้านจะประสบความสำเร็จจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน ส่วนร้านที่เราเปิดแล้วล้มเหลว ก็มีเช่นกันแต่อยู่ในสัดส่วนที่น้อยมาก ซึ่งปัจจัยสำคัญเกิดจากทำเลไม่เหมาะสม ฉะนั้น ผมจึงย้ำว่า สำหรับผู้มาลงทุนแฟรนไชส์ ควรต้องมีทำเลที่เหมาะสม ซึ่งเราจะทำการสำรวจร่วมกัน เพื่อให้ได้ทำเลที่เหมาะสมจริงๆ” ผู้บริหารดิโอโร่ กล่าว



นริศ เผยด้วยว่า ความน่าสนใจต่อการลงทุนแฟรนไชส์ดิโอโร่ มาจากแบรนด์ที่คนทั่วไปรู้จักเป็นอย่างดีแล้ว ในฐานะกาแฟของไทยที่มีรสชาติและคุณภาพไม่เป็นรองต่างชาติ อีกทั้ง ราคาไม่สูงเกินไป นอกจากนั้น ดิโอโร่มีจำนวนลูกค้าสมัครเป็นสมาชิกกว่าแสนราย ซึ่งคนกลุ่มนี้ชื่นชอบและดื่มกาแฟดิโอโร่เป็นประจำอยู่แล้ว จึงเป็นประโยชน์แก่แฟรนไชส์ซีที่มีฐานลูกค้าเบื้องต้นค่อนข้างแน่นอน รวมถึง ข้อมูลสมาชิกเหล่านี้ ยังสามารถนำไปต่อยอดจัดกิจกรรมกระตุ้นตลาดได้ต่อเนื่อง



สำหรับเป้าในการขยายแฟรนไชส์ในปีนี้ กำหนดไว้ที่ 20-25 สาขา กระจายทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ควบคู่กับขยายด้วยบริษัทเองในอัตราใกล้เคียงกัน และตั้งเป้าภายในอีก 5 ปีข้างหน้า จะมีร้านแฟรนไชส์ดิโอโร่กระจายอยู่กว่า 100 สาขาทั่วประเทศ “ทุกวันนี้ มีธุรกิจร้านกาแฟ เกิดขึ้นใหม่จำนวนมาก ทั้งรายใหญ่ และรายเล็ก แต่ตลาดของกาแฟสดยังเติบโตไปได้อีกมาก มูลค่าตลาดต่อปีกว่าหมื่นล้านบาท และมีอัตราโตขึ้น 10-20% ทุกๆ ปี เพราะคนรุ่นใหม่ นิยมดื่มกาแฟสดกันมาก รวมถึง ทุกวันนี้ การดื่มกาแฟสดกลายเป็นอีกกิจวัตรของคนไทยไปแล้ว ดังนั้น ผมมั่นใจว่า ตลาดกาแฟสดยังไม่เต็ม แม้จะมีคู่แข่งจำนวนมาก แต่ในที่สุดแล้ว ผู้บริโภคจะเป็นผู้คัดกรองคุณภาพเองว่า ผู้ผลิตเจ้าใดจะอยู่รอดได้บ้าง” นริศ




แหล่งที่มา : ASTV ผู้จัดการออนไลน์

4/26/2555

รวยด้วย Alibaba กับ ธรุกิจซื้อมาขายไป

ถ้าจะพูดถึงการเริ่มต้นทำธุรกิจหรือกิจการ ดูเหมือนว่าการซื้อมาขายไป เป็นธุรกิจที่มีความนิยมมากที่สุด ไม่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้นแต่มีความนิยมกันทั่วโลกเลยทีเดียว อาจจะมาจากเหตุที่มันง่ายสามารถเริ่มได้ทันที มีความเสี่ยงน้อยหรือแทบไม่มีเลย แต่สิ่งนึงที่หลายคนไม่ประสบความสำเร็จในธุรกิจนี้ก็คือ สัดส่วนของกำไรที่น้อยมาก สาเหตุก็คงจะมาจากต้นทุนที่สูง แถมยังมีคู่แข่งเยอะทำให้เกิดการลดราคาเพื่อแข่งขัน หรือไม่ก็ผู้ผลิตลงมาแข่งขันซะเอง

แล้วจะหาสินค้าที่ไหนหล่ะถึงจะทำกำไรได้? สินค้าจีนเป็นสินค้าที่อยู่คู่สังคมไทยมานานมาก และถูกพูดถึงในแง่ลบอยู่เรื่องเดียวก็คือเรื่องคุณภาพ เพราะสินค้าที่มาจากเมืองจีนส่วนใหญ่คุณภาพต่ำ แต่นั่นเป็นอดีตไปแล้ว จะเห็นได้จากบริษัทใหญ่ๆ แบรนด์ดังๆ ก็ย้ายฐานการผลิตมาที่นี่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น iPhone และ  Xbox ของ Microsoft ก็ Made in China ทั้งนั้น แล้วเราจะหาสินค้าจีนได้จากไหนหลล่ะ?

วันนี้ผมอยากจะแนะนำเว็บไซต์ Alibaba.com ซึ่งเป็นแหล่งที่เราสามารถหาสินค้า เพื่อซื้อแล้วก็นำมาขายต่อ หรือจะนำสินค้าเราไปวางขายก็ย่อมได้ และวิดีโอด้านล่างเป็นการใช้งานเบื้องต้นของเว็บไซต์ Alibaba.com

พอจะเห็นแนวทางการสร้างรายได้จากสินค้าจินกันแล้วนะครับ ครั้งหน้าเราจะพูดถึงกระบวนการสร้างรายได้ของ SME ไทยผ่านเว็บไซต์ alibaba.com กันนะครับ

[youtube http://www.youtube.com/watch?v=FSx-HBA0QEw&version=3&hl=th_TH]


ไม่สามารถรับชมได้ ดูที่ YouTube.com Click!


บทความโดย คุณไพร บุญนอก จากเว็บไซต์ ThaiRiches.com

4/05/2555

ผลกระทบปรับค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท

จากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ใน 7 จังหวัดนำร่องที่เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา ทำให้เกิดผลกระทบตามมาหลายอย่างทั้งในตัวแรงงานเอง ที่ได้รับค่าแรงเพิ่มขึ้น แต่ก็ต้องถูกปรับลดค่าโอที และสวัสดิการลง โดยที่ผู้ประกอบการใช้เป็นข้ออ้างเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ ขณะที่มีนำไปเพิ่มราคาสินค้าขึ้นตามไปด้วย

ภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรม ได้รับผลกระทบจากการปรับค่าจ้างวันละ 300 บาท ซึ่งเป็นการปรับแบบก้าวกระโดดถึงร้อยละ 40 ทำให้โรงงานต่างๆ อยู่ระหว่างการพิจารณา ปรับลดสวัสดิการที่เคยให้แก่ลูกจ้าง เพื่อลดต้นทุนที่ปรับตัวสูง ขณะเดียวกันการปรับค่าจ้างในปีนี้ ก็อาจทำให้เกิดปัญหาระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง โดยเฉพาะการเรียกร้อง ขอขึ้นค่าจ้างสำหรับ กลุ่มลูกจ้างที่อยู่มานาน เพื่อให้ค่าจ้างห่างจากแรงงานใหม่ รวมถึงค่าโอที สวัสดิการ และโบนัส

นอกจากนี้ หลังจากปรับขึ้นค่าจ้างเป็น 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศ ในวันที่ 1 มกราคม 2556 แล้ว อาจมีการเคลื่อนย้ายแรงงาน และการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะกระทบการจ้างงานในท้องถิ่นโดยตรง เพราะผู้ประกอบการโรงงานต่างๆ จะย้ายฐานผลิตมาอยู่ใกล้ๆ กรุงเทพฯ มากขึ้น เพื่อประหยัดต้นทุนค่าขนส่ง

นอกจากนี้ การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำยังกระทบกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่มีการจ้างแรงงานตั้งแต่ 1-25 คน มีอยู่ร้อยละ 98 ของผู้ประกอบการทั้งประเทศจะได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยนายภูมินทร์ หะรินสุต รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่ามีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกว่าร้อยละ 60 ที่ไม่อยู่ในระบบมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาล ที่จะมีการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 23 ในปีนี้ และเหลือร้อยละ 20 ในปีหน้าหรือปี 2556 ทำให้เอสเอ็มอีร้อยละ 5.6 หรือ ประมาณ 100,000 ราย ทั่วประเทศอาจต้องปิดกิจการ เพราะไม่สามารถรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นได้

ส่วนการลงทุนจากต่างประเทศอาจลดลงร้อยละ 25 หากรัฐบาลไม่มีมาตรการรองรับสำหรับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบชัดเจน เช่นธุรกิจดูแลรักษาความปลอดภัย และธุรกิจก่อสร้าง เพราะมีการทำสัญญากับผู้ว่าจ้าง โดยคำนวณค่าแรงงาน ค่าบริการจัดการไว้เรียบร้อย แต่เมื่อปรับค่าแรงงานขั้นต่ำ ก็ไม่สามารถแก้ไขสัญญาการว่าจ้างได้ จึงต้องรับภาระค่าใช้จ่ายค่าแรงงานที่เพิ่มขึ้น โดยที่ไม่สามารถผลักภาระไปให้ผู้ว่าจ้างได้

ขณะเดียวกัน การปรับขึ้นค่าจ้างยังส่งผลกระทบ ต่อนักลงทุนเอสเอ็มอีต่างประเทศที่อยู่ในไทย ซึ่งอาจพิจารณาย้ายฐานการผลิตบางส่วน ไปประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา, ลาว, เวียดนาม และพม่า ซึ่งมีโครงสร้างค่าจ้าง ที่ต่ำกว่าไทยมาก

รวมถึงยังพบว่า มีหลายบริษัทที่มีพื้นที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านเริ่มมีการฝึกอบรมแรงงาน เนื่องจากมีการให้ค่าจ้างในกลุ่มฝีมือแรงงานเฉลี่ยเดือนละ 4,000-5,000 บาท ต่างจากเมืองไทยที่กลุ่มฝีมือแรงงานเฉลี่ยที่ 400-700 บาทต่อวัน ทำให้อนาคตแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านอาจเข้ามาทำงานในไทยน้อยลง

ด้านธุรกิจโรงแรม อาจต้องลดจำนวนแรงงาน เพื่อควบคุมต้นทุน ซึ่งจะเห็นผลกระทบชัดเจน ในกลุ่มโรงแรมในภาคเหนือ อย่างจังหวัดน่าน และพะเยา ที่ปัจจุบันจ่ายค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ประมาณ 160 บาท รวมถึงโรงแรมในกรุงเทพฯ ก็จะได้รับผลกระทบ เพราะค่าแรงอยู่ที่ร้อยละ 20-30 ทั้งนี้ โรงแรมที่มีผลประกอบการต่ำ อาจตัดสินใจปิดกิจการ หรือขายธุรกิจ ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้ประกอบการโรงแรมจำนวนราว 3,000-4,000 แห่ง ทั่วประเทศ ขณะที่แรงงานโดยรวมของอุตสาหกรรมโรงแรมทั้งระบบมีประมาณกว่า 500,000 คน

ส่วนข้อสรุปเซอร์วิสชาร์จ นายสัมพันธ์ แป้นพัฒน์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาคมโรงแรมไทย เปิดเผยว่ากระทรวงแรงงานได้สรุปความชัดเจน เรื่องการคำนวณค่าแรงขั้นต่ำแล้วซึ่งมี 2 วิธีที่โรงแรมเลือกบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในด้านแรงงานคือ การแยกเซอร์วิสชาร์จ ไม่นำไปเสียภาษี ก็จะไม่สามารถนำไปคำนวณเป็นค่าแรงขั้นต่ำได้ หรือการนำเซอร์วิสชาร์จเข้ามารวมเป็นรายได้ มีการกำหนดอัตราที่แน่นอน เช่นรับประกันเดือนละ 3,000 บาท และนำไปเสียภาษี วิธีนี้จะสามารถนำไปคำนวณรวมเป็นค่าแรงขั้นต่ำได้

3/28/2555

‘Spa at Terminal’ เปิดศึกธุรกิจสปาต้องแตกต่างเท่านั้นถึงอยู่รอด

ธุรกิจสปาเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างมากเมื่อหลายปีก่อน จนระยะหลังธุรกิจสปาเริ่มลดปริมาณลดลง เหลือแต่รายใหญ่ๆ ที่ยังคงสานต่อธุรกิจนี้ หรือไม่ก็ต้องเป็นธุรกิจสปาที่อยู่ตามโรงแรมเท่านั้นที่อยู่รอด ขณะที่ธุรกิจสปารายเล็กหรือกลางก็เริ่มหดหายกันไป เพราะสายป่านไม่ยาวพอ



เมื่อเร็วๆ นี้ “ผู้จัดการ 360 องศารายสัปดาห์” ได้พูดคุยกับสปา 2 แบรนด์ใหม่ในเครือ “ออนิกซ์ ฮอสพิทาลิตี้ กรุ๊ป” คือ แบรนด์ “บรีซ สปา” (Breeze Spa) และ “ไหม สปา” (Maai Spa) สปา 2 แบรนด์นี้ถือว่ามีฐานที่ดีกว่าสปารายอื่นๆ เพราะมี “ออนิกซ์ ฮอสพิทาลิตี้ กรุ๊ป” เป็นแบล็ก ซึ่ง “ออนิกซ์ ฮอสพิทาลิตี้ กรุ๊ป” มีแผนที่จะขยายสปา 2 แบรนด์นี้ออกไปยังนอกโรงแรมด้วย นับเป็นทิศทางการขยายธุรกิจที่น่าสนใจและยังเป็นการรองรับปัญหาการขยายโรงแรมที่อาจจะเพิ่มได้ยากกว่าการขยายธุรกิจสปา

“Spa at Terminal” เป็นธุรกิจสปารายใหม่ที่เข้ามาในตลาดสปา แม้จะเป็นน้องใหม่ในวงการแต่ก็ได้แบล็กดีอย่าง “สายการบินบิวซิเนสแอร์” สายการบินแบบชาร์ตเตอร์ไฟล์เป็นพันธมิตร

“Spa at Terminal” เกิดจากความชอบในการเข้าไปใช้บริการสปาของ “ศศิกานต์ ทัศนาธร” Managing Director ของ “Spa at Terminal” ด้วยการมองเห็นทิศทางว่าธุรกิจสปายังคงมีอัตราการเติบโตที่สูง เพราะกระแสการดูแลสุขภาพมีมากขึ้น และเป็นการดูแลลแบบทุกเพศ ทุกวัย

แต่การจะเปิดสปาใหม่ขึ้นมาจุดสำคัญ คือ ต้องมีความแตกต่างประกอบกับสามีมีหุ้นส่วนใน “สายการบินบิวซิเนสแอร์” จึงเกิดแนวคิดที่จะนำรายละเอียดเกี่ยวกับสายการบินมาใช้ในการตกแต่งสปา ไม่ว่าจะเป็นห้องที่เรียกแบบเลานจ์ การนำรถเข็นให้บริการบนเครื่องมาใช้เป็นที่วางอุปกรณ์ทำสปา การให้พนักงานแต่งตัวเหมือนกับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน การให้บริการที่เหมือนกับอยู่บนสายการบินเฟิร์สท์คลาส หรือแม้แต่ชื่อก็ยังคงกลิ่นอายให้นึกถึงสนามบิน

โดย “Spa at Terminal” เปิดให้บริการมาได้ 3 เดือนแล้วถือว่าผลตอบรับในช่วงที่ผ่านมาดีมาก โดยเฉพาะตลาดต่างชาติ ส่วนตลาดไทยก็เริ่มมีเข้ามา มีพื้นที่ 220 ตารางเมตรรองรับการบริการพร้อมกันได้ 26 ท่าน ใช้งบในการลงทุน “Spa at Terminal” 10 ล้านบาท เป็นงบการตลาดถึง 40% โดยการทำตลาดของ “Spa at Terminal” จะมุ่งเน้นลูกค้าที่มาใช้บริการในเซ็นทรัลพระราม 9 อนาคตจะบุกไปยังออฟฟิศบริเวณใกล้เคียง

กลุ่มเป้าหมายของ “Spa at Terminal” อาจจะแตกต่างจากสปาที่อื่นๆ คือ จับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มากับเอเยนซีที่เป็นพันธมิตรกับ “สายการบินบิวซิเนสแอร์” ซึ่งปัจจุบัน “สายการบินบิวซิเนสแอร์” มีเน้นทางบินอยู่ในประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ที่สำคัญการอยู่ในห้างเซ็นทรัลพระราม 9 ถือว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เพราะอยู่ในใกล้กับสถานฑูตจีน และนักท่องเที่ยวจีนซึ่งเป็นชาติที่นิยมการทำสปาก็มักมาพักใกล้ๆ บริเวณนี้

การที่ “Spa at Terminal” มีสายสัมพันธ์กับธุรกิจสายการบิน ลูกค้าอีกกลุ่มที่มองไว้ คือ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินทั้งของสายการบินตัวเอง และสายการบินอื่นๆ อย่าง สายการบินของรัสเซีย โดยมีการเสนอโปรโมชั่นดีๆ ให้กับสายการบินไปแล้ว

ปัจจุบัน “Spa at Terminal” เปิดให้บริการมาได้ 3 เดือนแล้วถือว่าผลตอบรับในช่วงที่ผ่านมาดีมาก โดยเฉพาะตลาดต่างชาติ ส่วนตลาดไทยก็เริ่มมีเข้ามาซึ่งตลาดไทยจะจับกลุ่มคนไทยที่รักการดูแลสุขภาพ หรือคุณพ่อคุณแม่ที่มารอรับลูกซึ่งมาพิเศษที่ห้างสรรพสินค้า อนาคตเตรียมขยายฐานลูกค้าคนไทยเพิ่มโดยจะมีการจับมือกับฟิตเนส เฟริ์ส ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจา ปัจจุบันสัดส่วนลูกค้าของ “Spa at Terminal” จะเป็นเอเชีย 40% ยุโรป 20% ไทย 40% ประมาณการณ์รายได้ปีแรกที่ 20 ล้านบาท

แม้ว่าสปาดังกล่าวจะมีจุดแตกต่างเรื่องดีไซน์แต่สิ่งที่ “Spa at Terminal” ไม่ทิ้ง คือ รูปแบบการนวดของไทย นอกจากนี้ การที่ทำธุรกิจด้านการบินทำให้มีโอกาสนำสินค้าจากประเทศต่างๆ เข้ามาให้บริการลูกค้าได้ด้วย ทำให้เกิดรูปแบบการนวดที่หลากหลายบขึ้น อย่าง การนวดแบบฝรั่งเศสก็จะใช้ครีมที่ผสมไวน์จากฝรั่งเศสมาใช้ในการนวด การนวดแบบเกาหลีจะนำโสมจากเกาหลีมาผสมรังนก

สำหรับราคาของการใช้บริการมีตั้งแต่ 250-5,000 บาท ที่ระดับราคามีตั้งแต่ถูกจนถึงแพงนั้น เนื่องจากต้องการให้ลูกค้าทุกระดับสามารถเข้ามาใช้บริการที่ “Spa at Terminal” ได้ ด้วยระดับราคาที่ไม่สูงจนเกินไปทำให้จับกลุ่มลูกค้าระดับซีและบีบวกได้

แนวทางการขยายสาขาในอนาคต “Spa at Terminal” จะขยายตัวไปยังเซ็นทรัลในต่างจังหวัด อย่าง ขอนแก่น อุบลราชธานี ฯลฯ คาดว่าปี 2556 น่าจะได้เห็น “Spa at Terminal” ในเซ็นทรัลสักแห่ง

แม้ว่าจะเป็นน้องใหม่ในวงการแต่ “ศศิกานต์” ก็ไม่มองว่าธุรกิจสปาจะต้องจบอยู่แต่ในประเทศไทย เธอพร้อมที่จะเข้าไปรับบริหารสปาให้กับเจ้าของสปาในต่างประเทศ โดยขณะนี้กำลังศึกษาการเข้าไปรับบริหารสปาที่ประเทศบาร์เรนอยู่คาดว่าปี 2556 น่าจะมีโอกาสได้เห็น โดยจะใช้ชื่อ “Spa at Terminal” เช่นเดียวกับในไทย

แหล่งที่มา : ASTVผู้จัดการรายสัปดาห์

3/24/2555

คิกออฟ 28 มี.ค. ขายประกันภัยน้ำท่วมแก่เอสเอ็มอี

กำหนด 28 มีนาคมนี้ คิกออฟโครงการประกันภัยพิบัติ เตรียมลงนามบริษัทประกัน 66 แห่ง พร้อมเปิดขายทันที เอสเอ็มอีทุนประกันสูงสุด 50 ล้าน คิดเบี้ย 1%

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ เปิดเผยว่า ในวันที่ 28 มี.ค.นี้ จะมีงานเปิดตัวกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติ ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยในงานจะลงนามกับตัวแทนประกันภัย 66 บริษัท เพื่อขายประกันภัยดังกล่าวทันที พร้อมเชิญสมาคมประกันวินาศภัยร่วมเซ็นสัญญาในครั้งนี้ด้วย

สำหรับประกันภัยพิบัติครอบคลุม 3 ประเภท ได้แก่ น้ำท่วม พายุ และแผ่นดินไหว โดยเบี้ยประกัน แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มบ้านอยู่อาศัยคิดเบี้ยประกัน 0.5% ต่อปีของทุนประกัน จะให้ความคุ้มครองไม่เกิน 1 แสนบาท หรือเสียค่าเบี้ย 500 บาท/ปี

กลุ่มเอสเอ็มอีที่มีทุนประกันไม่เกิน 50 ล้านบาท เบี้ยประกัน 1% ต่อปีให้ความคุ้มครองไม่เกิน 30% ของทุนประกัน หรือทุนประกัน 1 แสนบาทจ่ายค่าเบี้ย 1,000 บาท

ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่นั้นจะไม่จำกัดทุนประกัน อัตราเบี้ยประกัน 1.25% ต่อปี จำกัดความคุ้มครองไม่เกิน 30% ของทุนประกัน หรือทุนประกัน 1 แสนบาทจ่ายค่าเบี้ย 1,250 บาท ทุนประกัน 1 ล้านบาท จ่ายค่าเบี้ย 12,500 บาท โดยมีข้อแม้ว่าในส่วนของผู้ซื้อประกันในกลุ่มเอสเอ็มอีและรายใหญ่จะต้องมีกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย หรือกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (ไอเออาร์) ด้วย

3/22/2555

ธุรกิจล่าฝันบนสนามหญ้าเทียม

สนามฟุตบอลในร่ม ได้รับความนิยมในขณะนี้ ไม่เฉพาะในเมืองกรุงเท่านั้น แต่หัวเมืองอีสานอย่างขอนแก่น ก็นิยมไม่น้อย

สนามหญ้าเทียม หรือ "สนามฟุตบอลในร่ม" ได้รับความนิยมในขณะนี้ ไม่เฉพาะในเมืองกรุงเท่านั้น แต่หัวเมืองอีสานอย่างขอนแก่น ก็ได้รับความนิยมไม่น้อย

หลังจากกระแสความนิยมฟุตบอลในเมืองไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะฟุตบอลพรีเมียร์ลีกของไทย ที่แต่ละจังหวัดมีสโมสรฟุตบอลเป็นของตนเอง ทำให้แต่ละจังหวัด มีคนสนใจเล่นกีฬาประเภทนี้กันเพิ่มมากขึ้น จนกลายเป็นกระแส "ฟุตบอลฟีเว่อร์"

และเพราะกระแสฟีเว่อร์นี่เอง ทำให้ธุรกิจทำสนามฟุตบอลในร่มเพื่อให้เช่า ผุดขึ้นราวกับดอกเห็ด โดยเฉพาะในจังหวัดใหญ่ๆ เรียกได้ว่า มีเท่าไรก็ไม่พอกับความต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ทีมสโมสรขอนแก่นเอฟซี" หรือไดโนพิฆาต ก็เป็นอีกแรงผลักดันหนึ่ง ที่ทำให้คนสนใจเล่นกีฬาฟุตบอลในขอนแก่นเพิ่มมากขึ้น ทำให้สนามที่มีอยู่ไม่เพียงพอ แม้ว่าจะมีอยู่ไม่ต่ำกว่า 10 แห่งก็ตาม

และหนึ่งในนั้นที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ "SOCCER CUBE" สนามฟุตบอลในร่มแห่งแรกของเมืองนี้

"พารณ ธีรภานุ" หนุ่มวัย 31 ปี  เป็นหุ้นส่วนใหญ่ของ SOCCER CUBE และเป็นคนแรกที่นำเทรนด์นี้เข้ามาในจังหวัด และส่วนตัวเขาเองก็เป็นคนชอบเล่นกีฬาฟุตบอลอีกด้วย

"ตอนไปกรุงเทพฯ ผมได้ไปเจอสนามฟุตบอลหญ้าเทียมที่กรุงเทพฯ ซึ่งตอนนั้น ทำให้ค้นพบว่ากิจการนี้เป็นกิจการที่น่าสนใจมาก และผมรอมานาน น่าจะเป็นธุรกิจที่เหมาะกับเรา จึงได้ตัดสินใจมาชวนเพื่อนทำและมาเปิดที่ขอนแก่นเป็นครั้งแรก เมื่อปี 2552 ซึ่งก็ได้รับกระแสตอบรับจากชาวขอนแก่นมาก ทำให้ 2 ปีที่ผ่านมา เรามี 2 สาขาแล้ว" พารณ เล่าให้ฟังถึงแรงบันดาลใจที่ทำให้เขาหันมาจับธุรกิจนี้

เขาบอกว่าเริ่มต้น ได้ลงขันกับเพื่อนทั้งหมด 10 หุ้น ซึ่งเขาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ สร้างสนามขึ้นมาที่บริเวณใกล้กับมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยใช้เงินลงทุนกว่า 6 ล้านบาท โดยเงินส่วนใหญ่จะหมดไปกับการจัดแต่งสถานที่และการซื้อหญ้าเทียม ซึ่งราคาหญ้าเทียมที่นำมาใช้ตกประมาณ 1 ล้านบาทต่อการทำ 1 สนาม โดยสนามของเขานั้นทำขนาดเล่นได้ไม่เกินทีมละ 7 คน หรือ รวมแล้วประมาณ 14 คน

ซึ่งหลังจากเขาและเพื่อนได้ตัดสินใจทำสนามแล้วเสร็จ กระแสฟุตบอลฟีเว่อร์ก็เข้ามา ทำให้มีคนสนใจมาเช่าสนามและเล่นเพิ่มขึ้น โดยคนที่เคยเข้ามาใช้บริการเกิดติดใจ ก็จะชักชวนเพื่อนๆ มาลองใช้บริการ จนทำให้ทุกวันนี้ มีผู้มาใช้บริการอย่างคับคั่ง โดยเฉพาะนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และกลุ่มเยาวชนและประชาชนในจังหวัดขอนแก่น

สำหรับค่าบริการนั้น เบื้องต้นเขาไม่ได้กำหนดราคา เพราะไม่รู้ว่าน่าจะคิดค่าบริการเท่าไร แต่ใช้วิธีคุยกับผู้มาใช้บริการว่า ราคาเท่าไรจึงจะเหมาะสม และจ่ายได้ ซึ่งทุกคนบอกว่า ยอมรับได้ในราคาชั่วโมงละไม่เกิน 800-900 บาท โดยหากชวนเพื่อนมาเล่น 7 คน ก็จะตกคนละ 100 บาท หรือหากมามากกว่านั้นก็จะตกประมาณคนละ 40-50 บาทเท่านั้นเอง จากนั้นจึงได้ตกลงเอาราคานี้ แต่มีโปรโมชั่นพิเศษ หากมาก่อนเวลา "ไพร์มไทม์" ที่คนนิยมมาเล่น คือ ก่อนเวลา 17.00 น. ก็จะลดค่าสนามให้ โดยคิดเพียงชั่วโมงละ 500 บาทเท่านั้น

และเพราะการตั้งราคาตามใจคนเล่นนี่แหละ ที่ทำให้สนามของเขา มีรายได้ต่อวันไม่ต่ำกว่าวันละ 6,000-10,000 บาท ซึ่งรายได้ทั้งหมดจนถึงวันนี้ เขาบอกว่า คืนทุนแล้ว

"ในมุมมองของผมการทำธุรกิจนี้เป็นเพียงแค่เป็นธุรกิจที่ดังตามกระแส และพอหมดกระแสก็จะหายไป แต่เพราะใจรักในกีฬาฟุตบอล และอยากให้คนที่ชอบเล่นฟุตบอลใน จังหวัดขอนแก่น ได้เล่นฟุตบอลในสนามที่มาตรฐาน และได้สัมผัสกับสิ่งใหม่ๆ ในการเล่นฟุตบอลจึงตัดสินใจทำสนามขึ้นมา และในอนาคตจะสนามนี้จะได้รับความสนใจหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะอย่างน้อยผมกับเพื่อนก็เล่น และหากมีคนใจเดียวกับเรามาเล่นก็จะดีไม่น้อย" พารณบอก

สำหรับคู่แข่งทางธุรกิจนั้น พารณ บอกว่า ไม่มีปัญหาเพราะตอนนี้ที่ลงทุนไปได้คืนทุนกลับมา และหากมีรายอื่นเพิ่มขึ้นมาอีกเรื่อยๆ ก็ยิ่งดีเพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคเข้ามาใช้สนาม และเล่นกีฬา ออกกำลังกายมากขึ้น เพราะสนามฟุตบอลเทียมนั้น สามารถเล่นได้ทุกฤดู ทุกเวลา ฝนตก แดดออก ไม่ต้องกลัว เพราะสนามมีหลังคา มีร่มเอาไว้ป้องกันได้ทุกอย่าง และหากมีการแข่งขันสูงขึ้น เขาเองอาจจะใช้กลยุทธ์ "ลดราคาสู้" ก็ได้

แต่จุดเด่น  SOCCER CUBE ที่เขาทำอยู่นั้น เขาบอกว่า คือ หญ้าเทียมที่เป็นตัวเอกในสนามของเขา ที่ทำมาจากพลาสติก มีความนุ่มที่เสมือนจริง ดูแลความสะอาดง่าย ไม่ต้องรดน้ำให้เปียกนอกจากฝนจะตก เพียงแค่ใช้ไม้กวาดกวาดเศษขยะเท่านั้น ทั้งนี้ บริษัทที่เขาได้เซ็นสัญญานั้นจะนำรถมาทำความสะอาดให้ 6 เดือนต่อครั้งจนกว่าจะครบ 2 ปี หลังจากนั้น อาจจะต้องจ้างมาทำเป็นครั้งคราว

ในขณะที่เพื่อนร่วมหุ้นอีกคนของ  SOCCER CUBE อย่าง พุทธพงศ์  พุทธวิบูลย์  นักธุรกิจหนุ่มวัย 26 ปี ผู้บริหาร  SOCCER CUBE อีกคน บอกว่า ตอนแรกที่จะเปิดสนามหญ้าเทียมนี้ขึ้น เขาเพิ่งเรียนจบมาใหม่ๆ เมื่อเพื่อนสนใจจะทำก็มีความสนใจเช่นกัน เพราะเขาเองก็ชื่นชอบกีฬาฟุตบอลเป็นชีวิตจิตใจอยู่แล้ว จึงมาร่วมหุ้นกับเพื่อนเปิดสนามนี้ขึ้นมา โดยตอนนี้เขาทำหน้าที่เป็นผู้จัดการ ซึ่งจะทำหน้าที่จัดคิวในการเล่นของลูกค้าที่มาเล่น และจองคิวเอาไว้ ซึ่งตั้งแต่เปิดสนามมามีลูกค้าเข้ามาใช้บริการเกือบ 20 ชั่วโมงต่อวัน  โดยเวลาที่เป็นที่นิยมมากที่สุด ก็คงไม่พ้นเวลา 18.00-22.00 น.

"เชื่อมั่นว่ากระแสฟุตบอลในขอนแก่นจะไม่ตกลงมาง่ายๆ เพราะตอนนี้ขอนแก่นเอฟซีก็ยังอยู่ในกระแสของประชาชาวขอนแก่นอยู่  นอกจากนี้ ยังมีคนที่ชอบการเล่นสนามหญ้าเทียมอยู่อย่างต่อเนื่อง จึงไม่ได้กังวลในเรื่องนี้มากนัก" หุ้นส่วนหนุ่มบอก

ผลพวงจากกระแสฟุตบอลฟีเว่อร์ ทำให้ไม่เพียงแต่ SOCCER CUBE ได้รับอานิสงส์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงสนามฟุตบอลในร่มอีกหลายแห่ง ยังคงได้รับความนิยมตามไปด้วย

โดย : กรุงเทพธุรกิจ ไอเดีย & ดีไซน์
แนะนำโดย www.smesplannet.com

3/20/2555

การเขียนแผนธุรกิจ สำหรับธุรกิจ SME Franchise


การเขียนแผนธุรกิจ และ องค์ประกอบของแผนงานธุรกิจ
แผนงานธุรกิจเป็นการบอกเล่าถึงกระบวนการที่จะได้มาซึ่งกำไรจากการประกอบการ ซึ่งถ้าวิเคราะห์กำไรแล้วจะพบว่ากำไรมาจากรายได้หักลบด้วยค่าใช้จ่าย ดังนั้นจึงควรเริ่มเขียนแผนงานธุรกิจจากการนำเสนอข้อมูลจากการวิเคราะห์วิจัยตลาดเพื่อแสดงถึงโอกาสในการสร้างรายได้ก่อนรายการอื่น อันจะสามารถจูงใจผู้ให้กู้ร่วมลงทุนให้สนใจธุรกิจนี้ และเห็นพ้องต้องกันกับผู้ประกอบการว่าแผนงานธุรกิจนี้สามารถเป็นจริงได้ในทางปฏิบัติ และมีโอกาสประสบความสำเร็จได้
แผนงานธุรกิจโดยทั่วไปไม่ควรมีความยาวเกิน 100 หน้า เนื้อหาได้ใจความครบถ้วนแต่กระชับไม่เยิ่นเย้อจนเกิดความเบื่อหน่ายแก่ผู้อ่าน จัดทำขึ้นในรูปแบบที่เรียบร้อย อ่านง่าย เป็นระเบียบ และที่สำคัญที่สุดคือ แผนงานธุรกิจต้องมีองค์ประกอบที่สมบูรณ์ มีรายละเอียดเพียงพอให้เข้าใจและดึงดูดใจทุกฝ่ายที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการเริ่มต้นประกอบการธุรกิจขนาดย่อมครั้งนี้
1. ปกหน้าและสารบัญ
ปกหน้าเป็นสิ่งแรกที่ผู้อ่านแผนงานธุรกิจจะได้เห็น จึงควรมีชื่อของธุรกิจรวมทั้งที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขโทรสาร และที่อยู่ทาง E- Mail ( ถ้ามี ) อยู่ด้วย เพื่อความสวยงามควรมีตราหรือสัญลักษณ์ของธุรกิจประทับอยู่ให้สะดุดตาน่าสนใจ นอกจากนั้นอาจมีชื่อที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ประกอบการอยู่ด้วย เพื่อความสะดวกในการติดต่อกลับ ตลอดจนการแจ้งวันเวลาโดยประมาณที่คาดว่าธุรกิจนี้จะสามารถเริ่มต้นดำเนินการได้
ส่วนสารบัญมีไว้เพื่อความสะดวกในการค้นหารายละเอียดของแผนงานธุรกิจได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีประโยชน์มากในขั้นตอนการเจรจาต่อรองกับบุคคลภายนอก เพราะทั้งผู้ประกอบการและอีกฝ่ายหนึ่งสามารถยืนยันข้อมูลและซักถามในประเด็นต่าง ๆ โดยอ้างอิงเอกสารซึ่งกันและกันได้ง่ายขึ้น
2. บทสรุปของการบริหาร
บทสรุปของการบริหาร เป็นแผนงานธุรกิจทั้งหมดที่ถูกย่อให้เหลือแค่ 1-2 หน้า เพื่อให้เป็นภาพอันชัดเจนของธุรกิจที่จะถูกจัดตั้งขึ้น บทสรุปของผู้บริหารควรเขียนให้ดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน ซึ่งจะทำให้อยากอ่านรายละเอียดของแผนงานธุรกิจทั้งหมดที่เหลือ เนื้อหาของบทสรุปของการบริหารจะเกี่ยวข้องกับ
2.1 แนวคิดและขอบเขตของธุรกิจ โดยแสดงให้เห็นว่าสินค้าหรือบริการที่จะนำสนอแก่ลูกค้าสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าเหนือกว่าคู่แข่งขันอย่างไร คุณสมบัติพิเศษของสินค้าหรือบริการเป็นอย่างไรในด้านประโยชน์ใช้สอย รูปลักษณ์ คุณภาพ ความคงทน ฯลฯ ธุรกิจจะก่อตั้งเมื่อไรหรือก่อตั้งมาแล้วนานเพียงใด ขนาดของธุรกิจใหญ่เพียงใด และมีโอกาสในการก้าวหน้าพัฒนาตนเองอย่างไรบ้าง
2.2 โอกาสทางการตลาด โดยระบุถึงขนาดและอัตราการเจริญเติบโตของตลาดโดยประมาณ ส่วนแบ่งตลาดที่คาดว่าธุรกิจจะสามารถครองได้ สภาพของการแข่งขัน และแนวโน้มของอุตสาหกรรมนั้นทั้งหมด
2.3 กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย โดยมีนิยามกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอย่างชัดเจนเพื่อกำหนดกลุ่มลูกค้าหลักของธุรกิจ ขนาดและอัตราเติบโตของลูกค้ากลุ่มนี้ การวางตำแหน่งสินค้าและบริการในท้องตลาด
2.4 ความได้เปรียบเชิงแข่งขันของธุรกิจ ซึ่งเป็นจุดเด่นที่ธุรกิจมีเหนือกว่าคู่แข่งขันทั้งในด้านต้นทุน ความแตกต่างของสินค้าหรือบริการ และลักษณะเฉพาะตัวของสินค้าหรือบริการที่เป็นที่ชื่นชอบของลูกค้าเป้าหมายเฉพาะกลุ่ม
2.5 ข้อมูลทางการเงิน จะประกอบด้วยการพยากรณ์การขายใน 3 ปีแรกของการดำเนินงาน การลงทุนด้วยส่วนของเจ้าของและหนี้สินในระยะยาว ( ถ้ามี ) กำไรที่คาดหวัง ระยะเวลาในการคืนทุน อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน
2.6 ทีมงานบริหาร โดยชี้แจงโครงสร้างของบุคลากรทั้งหมด ซึ่งจะเน้นหนักในตัวผู้ประกอบการเป็นส่วนสำคัญ โดยสรุปความรู้ความชำนาญ ตลอดจนประสบการณ์ของผู้ประกอบการซึ่งจะเป็นผู้บริหารธุรกิจขนาดย่อมนี้ด้วย รวมไปถึงความสำเร็จในอดีตที่เคยทำได้
2.7 ข้อเสนอของธุรกิจ ระบุถึงเงินกู้หรือเงินลงทุนที่ต้องการเพิ่มพัฒนาธุรกิจและผลตอบแทนที่จะเสนอให้แก่ผู้สนใจให้สนใจให้กู้ยืมหรือร่วมลงทุน
3. องค์การธุรกิจและอุตสาหกรรม
3.1 การเกริ่นนำเกี่ยวกับปูมหลังของธุรกิจตั้งแต่แรกเริ่ม ในด้านรูปแบบของธุรกิจ แนวทางการดำเนินงานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งความสำเร็จและล้มเหลวที่ประสบมา
3.2 สภาพของอุตสาหกรรมโดยรวม โดยพิจารณาถึงประเภทของอุตสาหกรรมที่ธุรกิจนั้นเกี่ยวข้องอยู่ เช่น ธุรกิจการผลิตผ้าไหมจะเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสินค้าที่ระลึกและอุตสาหกกรมท่องเที่ยว นอกจากนั้นจะต้องคำนึงถึงโครงสร้างของอุตสาหกรรมนั้น ซึ่งประกอบด้วยธุรกิจและคู่แข่งขันอื่น ๆ ตลอดจนการระบุถึงอัตราแนวโน้มการเจริญเติบโต และปัจจัยแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลกระทบถึงอุตสาหกรรมโดยรวม เนื่องจากวิวัฒนาการของเทคโนโลยีอาจทำให้เกิดอุตสาหกรรมสินค้าหรือบริการใหม่ที่สามารถใช้ทดแทนกันได้ จึงควรกล่าวถึงไว้ด้วย
4. สินค้าและบริการ
4.1 รายละเอียดของสินค้าและบริการที่นำเสนอในแง่มุมประโยชน์ใช้สอย หน้าที่พิเศษหรือคุณสมบัติที่เหนือกว่าสินค้าและบริการของคู่แข่ง
4.2 ถ้ามีสินทรัพย์ทางปัญญาที่เกี่ยวข้อง เช่น สิทธิบัตร ควรระบุไว้ด้วย
4.3 โอกาสในการขยายสายผลิตภัณฑ์ ตลอดจนพัฒนาสินค้าหรือบริการให้หลากหลาย ครบถ้วนตามที่ลูกค้าต้องการ
4.4 ถ้าสินค้าที่นำเสนอเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ไม่เคยมีมาในท้องตลาด ควรมีรูปแสดงให้เห็นลักษณะของสินค้าหรือตัวต้นแบบด้วย
4.5 ประเมินศักยภาพของสินค้าและบริการในแต่ละช่วงของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์
4.5.1 ถ้าสินค้าอยู่ในช่วงแนะนำของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ หรือประดิษฐกรรมใหม่ต้องมีความโดดเด่นในประโยชน์ใช้สอย ช่วงนี้ศักยภาพทางการตลาดของผลิตภัณฑ์จะค่อนข้างต่ำ เพราะสินค้ายังไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย
4.5.2 ถ้าสินค้าอยู่ในช่วงเจริญเติบโตของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ ศักยภาพทางการตลาดของผลิตภัณฑ์จะสูง เพราะสินค้าเป็นที่รู้จักกันดีแล้ว แต่ต้องมีราคาที่ต่ำพอที่จะแข่งขันในตลาดได้ เนื่องจากเริ่มจะมีการแข่งขันภายในอุตสาหกรรมเดียวกันมากขึ้น
4.5.3 ถ้าสินค้าอยู่ในช่วงอิ่มตัวของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ ศักยภาพทางการตลาดของผลิตภัณฑ์จะอยู่ในระดับปานกลาง เพราะการแข่งขันจะสูงมาก แต่ถ้าสินค้ามีจุดเด่นที่จะเข้าสู่ตลาดแตกต่างจากผู้อื่น และเป็นจุดเด่นที่สนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่มที่มีขนาดกลุ่มใหญ่เพียงพอ ก็สามารถประคองตัวอยู่ในอุตสาหกรรมนั้นได้
4.5.4 ถ้าสินค้าอยู่ในช่วงลดลงของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ ศักยภาพทางการตลาดของผลิตภัณฑ์จะอยู่ในระดับต่ำ เพราะสินค้านั้นเริ่มถูกทดแทนได้ด้วยสินค้าอื่น ทำให้ยอดขายโดยรวมทั้งอุตสาหกรรมตกลง จึงไม่ควรนำสินค้าเข้าตลาดในช่วงนี้
5. การวิจัยตลาด
แม้ว่าการวิจัยตลาดจะอยู่ในระดับกลางของการเขียนแผนงานธุรกิจ แต่จะต้องเตรียมการเป็นลำดับต้นในการดำเนินการแสวงหาและเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่ง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ตัวผู้ประกอบการเองและบุคคลภายนอก เช่น ผู้ให้กู้ ว่าธุรกิจมีขนาดของตลาดใหญ่พอเพียง และสามารถทำกำไรให้ในระดับที่น่าพอใจ ข้อมูลจากการวิจัยตลาดนี้จะถูกใช้ในการเขียนแผนงานธุรกิจทั้งหมด ดังนั้นในการวิจัยตลาดจะต้องครอบคลุมข้อมูลต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
5.1 ลูกค้าในตลาดเป้าหมาย (Target Market Segment) ในด้านลักษณะพฤติกรรมการซื้อและการใช้ ข้อมูลทางประชากรศาสตร์ของลูกค้า ขั้นตอนการตัดสินใจซื้อ ตัวแปรที่ใช้ในการพิจารณาเลือกซื้อ ฯลฯ
5.2 ขนาดของตลาดในปัจจุบันและอนาคต ภายในช่วงระยะเวลา 5 ปี รวมทั้งการคาดหมายอัตราการเติบโตของตลาดโยรวมอย่างน้อย 3 ปี ภายใต้สภาวะแวดล้อมภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ เช่นเศรษฐกิจ นโยบายรัฐบาล ฯลฯ
5.3 การแข่งขันของธุรกิจในท้องตลาดทั้งที่เป็นสินค้าที่เหมือนกันและสินค้าทดแทนโดยพิจารณาลึกลงไปในรายละเอียดในด้านส่วนแบ่งตลาด ราคา คุณภาพ บริการเสริมสินค้า การรับประกัน การส่งมอบ ฯลฯ
5.4 ยอดขายประมาณการ โดยทำการพยากรณ์ยอดขายรวมของอุตสาหกรรม แล้วคำนวณตามร้อยละของส่วนแบ่งตลาดที่ธุรกิจคาดว่าจะครองได้
6. การประเมินศักยภาพทางการตลาด
หลังจากทำการวิจัยจนมีความเข้าใจอย่างชัดเจนถึง “ลูกค้าเป้าหมาย” “ขนาดของตลาด” และ “การแข่งขัน” ดีแล้วจะสามารถทำการประเมินศักยภาพทางการตลาดได้ ซึ่งศักยภาพทางการตลาดก็เป็ฯจุดเริ่มต้นของกระบวนการดำเนินงานทั้งหลาย เพราะการเริ่มต้นดำเนินธุรกิจต้องมีความมั่นใจในรายได้ที่จะรับเข้ามาในระดับหนึ่งที่พอเพียงให้ธุรกิจมีกำไรอยู่รอดได้ในขั้นต้น และมีกระแสเงินหมุนเวียนเข้ามาหล่อเลี้ยงสภาพคล่องของธุรกิจมิให้หยุดสดุดลงในขั้นต่อไปกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เป็นกลุ่มลูกค้าหลักส่วนใหญ่ของธุรกิจซึ่งสามารถระบุได้โยการจำแนกตามอายุ พฤติกรรมการซื้อการใช้ เขตพื้นที่ตามภูมิศาสตร์ ซึ่งกลุ่มลูกค้าเป็ษหมายมีความต้องการที่จะซื้อสินค้าและบริการที่ธุรกิจนำเสนอ เช่น กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของร้านซักรีดที่ซอยโชคชัย 4 ถนนลาดพร้าว เป็นกลุ่มคนที่อยู่คอนโดมิเนียมหรือแฟลตในซอยโชคชัย 4 ซอยเสนานิคม และซอยอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง
ขนาดของตลาด เป็นจำนวนยอดขายที่พยากรณ์คร่าว ๆ ซึ่งอาจจะนับเป็นจำนวนลูกค้าหรือจำนวนเงินก็ได้ ขนาดของตลาดควรใหญ่พอเพียงที่ธุรกิจจะลงทุน นอกจากนั้นผู้ประกอบการควรคำนึงถึงส่วนแบ่งตลาด ( Market share) ที่จะได้เมื่อเทียบกับทั้งอุตสาหกรรมว่าจะสามารถครองส่วนแบ่งตลาดได้สักกี่เปอร์เซนต์ถ้าทั้งอุตสาหกรรมคิดเป็น 100 %
การแข่งขัน เป็นการเปรียบเทียบธุรกิจที่ดำเนินการกับธุรกิจอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกันโดยใช้ SWOT Analysis ดังต่อไปนี้
S-Strength จุดแข็งของธุรกิจ เช่นผู้ประกอบการมีประสบการณ์การผลิตมานานคุณภาพสินค้าดีกว่าของคู่แข่ง
W-Weakness จุดอ่อนของธุรกิจ เช่นเงินทุนประกอบการมีน้อย ทำเลที่ตั้งไม่เหมาะสม ราคาสินค้าแพงกว่าคู่แข่ง
O-Opportunity โอกาสของธุรกิจ เช่นมีแหล่งวัตถุดิบราคาถูก รู้จักกับตัวแทนจำหน่ายมากมาย
T-Threat อุปสรรคของธุรกิจ เช่น ลูกค้ามีความจงรักภักดีต่อตรายี่ห้อของคู่แข่งมากเปลี่ยนทัศนคติยาก
7. แผนงานการตลาด
แนวคิดที่ใช้ในการวางแผนงานการตลาด หรือแนวทางการบริหารการตลาดเป็นวิถีทางที่ธุรกิจแต่ละแห่งจะใช้เป็นแม่บทในการวางแผนและดำเนินงานของธุรกิจทั้งหมด แนวทางต่าง ๆ มีอยู่ดังต่อไปนี้
7.1 แนวคิดที่เน้นการผลิต (Production ? oriented) การบริหารจะเน้นทางการผลิตและตัวผลิตภัณฑ์เองมากที่สุด การผลิตต้องมีการดำเนินงานที่ดีมีคุณภาพจะขายได้ กิจกรรมอื่น ๆ ของธุรกิจ เช่น การส่งเสริม การจำหน่าย การกระจายสินค้า จะถูกจำกัดบทบาท เพราะไม่มีความสำคัญเท่ากับการผลิต ผลิตภัณฑ์ให้ดีที่สุด
7.2 แนวคิดที่เน้นการขาย (Sales- oriented ) การบริหารที่เน้นการผลิตจะถูกลดบทบาทลง นโยบายการตลาดเน้นว่าต้องพยายามผลักดันให้ลูกค้าซื้อผลิตภัณฑ์ให้มากที่สุด การส่งเสริมการขาย การโฆษณาและการกระตุ้นการขายโดยวิธีอื่น ๆ จะมีความสำคัญมาก
7.3 แนวคิดที่เน้นผู้บริโภคเป็นหลัก หรือแนวคิดที่เน้นการตลาด (Consumer- oriented or Marketing-Oriented) กล่าวว่าการตลาดเริ่มและจบลงที่ลูกค้า ธุรกิจต้องนำเอาความต้องการของลูกค้ามาใช้เป็นแนวทางในการผลิต พร้อมทั้งการตั้งราคาที่เหมาะสม การส่งเสริมการขายที่ดึงดูดใจลูกค้าได้ การจัดจำหน่ายที่ทั่วถึง ฯลฯ เพื่อให้ลูกค้าซื้อผลิตภัณฑ์ในที่สุด
แนวคิดการบริหารการตลาดที่เหมาะสมกับธุรกิจขนาดย่อมมากที่สุด คือ แนวคิดที่เน้นผู้บริโภคเป็นหลัก ไม่ว่าลูกค้าจะมีความต้องการอย่างไร
ถ้าธุรกิจสามารถตอบสนองได้ก็จะถือได้ว่ามีการเกิดโอกาสทางธุรกิจขึ้น แม้ว่าตลาดที่ธุรกิจสามารถตอบสนองได้จะมีขนาดไม่ใหญ่โตมากนัก แต่ก็เป็นข้อดีที่ทำให้ไม่มีใครอยากเข้ามาแข่งขันมากมาย อย่างไรก็ดีต้องมั่นใจว่าขนาดของตลาดเพียงพอและคุ้มค่าต่อการลงทุน ส่วนอีกสองแนวคิดนั้นค่อนข้างจะต้องการเงินทุนจำนวนมากซึ่งไม่เหมาะกับธุรกิจขนาดย่อม และไม่เหมาะกับสภาวการณ์ของธุรกิจอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ล้วนมุ่งให้ลูกค้าเกิดการพึงพอใจสูงสุด ไม่ใช่มุ่งไปที่การผลิตหรือการขายที่เป็นกิจกรรมภายในองค์การธุรกิจเอง
ในแผนงานธุรกิจ การวางแผนงานการตลาดจะแบ่งออกเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้
1. การตั้งราคา ( Pricing) การกำหนดราคาที่ถูกต้องไม้ใช่เพียงแต่สามารถชดเชยต้นทุนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้ แต่ต้องเปรียบเทียบกับราคาของคู่แข่งขันในท้องตลาดด้วย ในการเริ่มต้นดำเนินการธุรกิจขนาดย่อมมักจะใช้วิธีเสนอราคาของคู่แข่งขันในท้องตลาด แต่ต้องไม่ลืมว่าถ้าจะตั้งราคา ควรมีต้นทุนรวมที่ต่ำด้วย
2. การส่งเสริมการจำหน่าย (Promotion) ถ้าเป็นสินค้าอุตสาหกรรมอาจใช้วิธีการโฆษณาตามนิตยสารเกี่ยวกับธุรกิจอุตสาหกรรมนั้น รวมทั้งการขายทางไปรษณีย์ หรือการแจกแผ่นพับ แต่ถ้าเป็นสินค้าอุปโภคทั่วไป อาจใช้วิธีโฆษณาและส่งเสริมการขายโดยบุคคลหรือผ่านร้านค้าตัวแทนจำหน่าย หรือการขายตรงด้วยวิธีต่าง ๆ รวมทั้งการโฆษณาขายบนอินเตอร์เนต
3. การกระจายสินค้า (Place) ธุรกิจขนาดย่อมมักใช้วิธีการกระจายสินค้าโดยส่งตัวแทนจำหน่ายอิสระมากกว่าที่จะตั้งทีมพนักงานขายขึ้นเอง เพราะแม้จะควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างของตัวแทนจำหน่ายอิสระไม่ได้ แต่ก็สามารถวางสินค้าให้แพร่หลายได้โดยมีต้นทุนที่ต่ำและขจัดปัญหาเกี่ยวกับการจัดการบุคลากรได้บ้างบางส่วน
4. นโยบายการบริการ (Service Policy) ธุรกิจขนาดย่อมต้องตัดสินใจว่าควรดำเนินการบริการหลังการขายเอง (ควบคุมได้แต่ต้นทุนสูง) หรือใช้บริการจากที่อื่นโดยทำสัญญากับบริษัทบริการ (ควบคุมไม่ได้แต่ต้นทุนต่ำ) หรือส่งคืนให้โรงงานผู้ผลิตรับผิดชอบ (ต้นทุนต่ำสุดแต่การบริการไม่ดีและใช้เวลานาน)
8. แผนงานการผลิต/ ปฎิบัติการ
แผนการผลิตและปฏิบัติการที่ดีต้องสะท้อนความสามารถขององค์กรใน “การจัดการกระบวนการผลิตและปฏิบัติการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล” เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับธุรกิจ โดยมุ่งเน้นประเด็นการจัดการไปยังกระบวนการแปลงสภาพวัตถุดิบและทรัพยากรในการผลิตในการวางแผนปฏิบัติการ ผู้ประกอบการต้องพิจารณาตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการผลิตตามประเด็นที่สำคัญ คือ 1. คุณภาพ
2. การออกแบบสินค้าและบริการ
3. การออกแบบกระบวนการผลิต และการตัดสินใจเรื่องกำลังการผลิต
4. การออกแบบผังของสถานประกอบ
5. การการออกแบบระบบงาน และวางแผนอัตรากำลังคนในกระบวนการผลิต
ในส่วนของการผลิตสินค้า การวางแผนงานการผลิตเป็นการดูแลควบคุมปัจจัยนำเข้าประเภทวัตถุดิบ ชิ้นส่วนอะไหล่ แรงงาน และพลังงานรูปแบบต่าง ๆ เพื่อป้อนเข้าสู่กระบวนการแปรสภาพให้กลายเป็นสินค้าสำเร็จรูปที่ต้องการในแต่ละขั้นตอน ตลอดจนการจัดการสินค้าคงคลังเพื่อการควบคุมปริมาณสินค้าให้สามารถบริการลูกค้าได้รวดเร็วทันใจที่สุดและมีต้นทุนที่ต่ำ ส่วนการผลิตการบริการ การวางแผนงานการผลิตต้องเน้นประสิทธิภาพของบุคลากร ระบบการจัดลำดับงาน และความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ
รายละเอียดในแผนงานการผลิตควรครอบคลุมถึง
8.1 รอบการผลิต โดยแยกรอบการผลิตในฤดูกาลกับนอกฤดูกาลให้เห็นชัดเจน เพื่อเป็นฐานข้อมูลของการจัดการวัตถุดิบและชิ้นส่วน รวมทั้งการว่าจ้างแรงงานเพิ่มเติมในช่วงที่ต้องการ
8.2 ทำเลที่ตั้งที่สะดวกที่สุดในการผลิต ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตรวมต่ำที่สุดในระยะยาว
8.3 เครื่องจักรอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกและสาธารณูปโภค ซึ่งมีใช้อยู่ในปัจจุบันและที่ต้องการในอนาคตเพิ่มเติมขึ้นภายใน 3 ปี ข้างหน้า
8.4 กลยุทธ์การดำเนินงานด้วยเทคนิคการผลิต การควบคุมคุณภาพ การควบคุมสินค้าคงคลัง การควบคุมต้นทุนการผลิต การจัดตารางเวลาและลำดับงาน รวมทั้งการประสานงานให้ทุกกิจกรรมการผลิตดำเนินไปอย่างสอดคล้องกัน
9. ทีมงานบริหาร
ทีมงานผู้บริหารที่ดีเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจเป็นรูปร่างและประสบผลสำเร็จ ซึ่งประกอบด้วยผู้จัดการและพนักงานระดับหัวหน้ารองลงมาที่มีความรู้ความชำนาญด้านเทคนิคเฉพาะทางที่สำคัญต่อการดำเนินงาน พร้อมทั้งความสามารถในด้านการบริหารที่นำธุรกิจไปสู่ความสำเร็จ ทีมงานที่ดีควรมีผู้บริหารครบถ้วนในแต่ละด้าน แต่สำหรับธุรกิจขนาดย่อมที่เพิ่งเริ่มต้น ทีมงานผู้บริหารอาจประกอบไปด้วยคนจำนวนน้อย หรือเพียงผู้ประกอบการคนเดียวทำงานเกือบทุกหน้าที่ การเริ่มต้นธุรกิจขนาดย่อมผู้บริหารจะเน้นหนักในหน้าที่ด้านการตลาดหรือการผลิตซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญที่สุดในช่วงก่อร่างสร้างฐานะ
ทีมงานผู้บริหารในธุรกิจขนาดย่อมแบบห้างหุ้นส่วนซึ่งประกอบด้วยผู้ที่มีความสามารถแตกต่างกันแต่ละแขนง จะเป็นการสร้างทีมงานที่ดีได้เช่นเดียวกันหลายคน เช่น ผู้ชำนาญการด้านบัญชีอยู่ 2-3 คน ก็ควรจะใช้ความสามารถเฉพาะตัวของแต่ละคนให้ทำหน้าที่ที่ไม่ซ้ำซ้อนกัน เช่น คนหนึ่งควบคุมบัญชีรายรับ-รายจ่ายและทำงบการเงิน อีกคนควบคุมสต๊อกสินค้าคงคลังและทำการจัดซื้อ เป็นต้น
แม้ทีมงานผู้บริหารในระยะเริ่มต้นต้องทำงานหนักมากเพราะเป็นช่วงก่อร่างสร้างตัวของธุรกิจขนาดย่อม แต่ผลตอบแทนจะค่อนข้างน้อยกว่าที่ควรได้ เพราะธุรกิจในระยะเริ่มต้นไม่มีรายได้มากนัก แต่มีรายจ่ายในการลงทุนมากมาย ผู้บริหารในช่วงการเริ่มต้นธุรกิจขนาดย่อมจึงต้องเป็นผู้ที่มีความมานะพยายาม ขยันหมั่นเพียร และยินดีจะเสียสละผลประโยชน์ของตนเองเพื่อความเจริญก้าวหน้าของธุรกิจอีกด้วย
รายละเอียดทีมงานผู้บริหารควรจะระบุถึง
9.1 โครงสร้างองค์การและตำแหน่งบริหารหลักโดยระบุผู้รับผิดชอบงานแต่ละด้าน
9.2 ผลตอบแทนที่ให้แก่ผู้บริหารทั้งในรูปของเงินเดือน ส่วนแบ่งกำไร และสวัสดิการจากธุรกิจ
9.3 ผู้ร่วมลงทุนที่ไม่ใช่ผู้บริหารและผลตอบแทนที่ให้
9.4 ที่ปรึกษาและบริการด้านวิชาชีพที่ต้องการใช้
10. ตารางเวลาโดยรวมของธุรกิจ
ตารางเวลาจะแสดงถึงเวลาในการทำงานและความสัมพันธ์ของกิจกรรมต่าง ๆ ในการเริ่มต้นการประกอบการธุรกิจขนาดย่อม เพื่อให้ความสัมพันธ์ของงานในขั้นตอน ก่อน-หลัง และควรระมัดระวังกิจกรรมหรืองานที่จะส่งผลให้การทำงานทั้งหมดล่าช้าลงได้
11. ความเสี่ยงที่ต้องเผชิญและสมมติฐานต่าง ๆ
ผู้ประกอบการบางคนอาจมองโลกในแง่ดีเกินไปว่า การทำธุรกิจนั้นมีโอกาสประสบความสำเร็จและได้ผลตอบแทนทางการเงินเป็นจำนวนมากจึงอาจจะลืมคิดถึงความเสี่ยงที่ต้องเผชิญการประกอบธุรกิจต้องมีความเสี่ยงเข้ามาเกี่ยวข้องมากมายหลายประการ เช่น สภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำจะส่งผลกระทบในด้านลบแก่ธุรกิจ ประเภทของธุรกิจไม่เหมาะสมกับความต้องการของตลาดในปัจจุบันและอนาคต ฯลฯ ซึ่งเป็นความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจ นอกจากนั้นยังมีความเสี่ยงจากองค์ประกอบภายในของธุรกิจเองอีกเช่น เกิดปัญหาด้านบุคลากร หรือปัญหาด้านการเงิน เป็นต้น เราจึงควรระบุถึงความเสี่ยงธุรกิจที่อาจเกิดขึ้นและการเตรียมความพร้อมที่ควรระบุไว้ในแผนฉุกเฉิน ในกรณีต่างๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
11.1 การพยากรณ์การขายมีความเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด บางครั้งการพยากรณ์การขายที่เกินความจริง คือยอดขายต่ำกว่าที่พยากรณ์เอาไว้จะทำให้ธุรกิจประสบปัญหาด้านการเงิน แต่การพยากรณ์การขายที่ต่ำกว่าความเป็นจริงซึ่งมียอดขายจริงสูงกว่าที่พยากรณ์เอาไว้ก็อาจสร้างปัญหาการเร่งงานในระบบการผลิต การจัดหาวัตถุดิบมาป้อนกระบวนการผลิตได้ไม่เพียงพอการว่าจ้างพนักงานและการจัดงานให้แก่คนงานไม่พอดีกับปริมาณคน และลูกค้าอาจเกิดความไม่พอใจที่ต้องรอสินค้าหรือบริการนานเกินควร
11.2 ความสามารถของคู่แข่งขันที่จะตัดราคาหรือทำให้สินค้าของธุรกิจล้าสมัย ผู้นำตลาดโดยเฉพาะธุรกิจข้ามชาติที่มีเทคโนโลยีทันสมัยมักจะมีเงินทุนมากพอที่จะทุ่มตลาดทำลายระดับราคาตลาดของสินค้าชนิดนั้น และมีวิวัฒนาการในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์สูงมาก
11.3 แนวโน้มของอุตสาหกรรมที่ค่อนข้างจะตกต่ำลงในระยะยาว ดังเช่นผลิตภัณฑ์นั้นมีสินค้าใหม่ที่ใช้ทดแทนกันได้หรืออุปสงค์ของผลิตภัณฑ์นั้นลดลงเพราะความนิยมหมดไป
11.4 คนงานที่มีความเชี่ยวชาญหายากในระยะยาว เช่น งานหัตกรรมที่อาศัยความเชี่ยวชาญสูงมักขาดผู้สืบทอดฝีมือ เพราะคนรุ่นใหม่มักไม่ชอบทำงานลักษณะนี้
11.5 ความขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเนื่องจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรือสาเหตุอื่นๆ
ยอดขาย/เก็บเงินจากลูกหนี้ไม่ได้ตามคาดหมาย ทำให้เงินสดหมุนเวียนขาดสภาพคล่อง และธนาคาร ไม่ให้วงเงินกู้หรือลดวงเงินกู้
คู่แข่งตัดราคาหรือจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่องระยะยาว
มีคู่แข่งรายใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่า ทันสมัยกว่า มีสินค้าครบถ้วนกว่า ราคาถูกกว่า เข้าสู่อุตสาหกรรม
หรือมาตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียง
สินค้าถูกลอกเลียนแบบและขายในราคาที่ถูกต้อง
สินค้าผลิตไม่ทันตามคำสั่งซื้อเนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบ
สินค้าผลิตมากจนเกินไป ทำให้มีสินค้าในสต็อกเหลือมาก
ต้นทุนการผลิต/การจัดการสูงกว่าที่คาดไว้
เกิดการชะงักการเติบโตของทั้งอุตสาหกรรม
มีปัญหากับหุ้นส่วนจนไม่สามารถร่วมงานกันได้
12. ประโยชน์ต่อชุมชน
ธุรกิจขนาดย่อมที่มีอนาคตอันสดใส คือ ธุรกิจเอื้ออำนวยผลประโยชน์แก่ชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน เช่น ผู้ถือหุ้น ลูกจ้าง ผู้ขายวัตถุดิบ ผู้รับจ้างและให้บริการ ฯลฯ ประโยชน์ต่อชุมชนที่ธุรกิจขนาดย่อมสามารถสร้างขึ้นคือ
12.1 การพัฒนาเศรษฐกิจ ได้แก่ การว่าจ้างแรงงาน การซื้อวัตถุดิบจากแหล่งชุมชน ฯลฯ
12.2 การพัฒนาชุมชน ได้แก่ การนำเสนอสินค้าและบริการที่สามารถตองสนองความต้องการของผู้คนในระแวกนั้น การยกระดับมาตรฐานการครองชีพของชุมชน ฯลฯ
12.3 การพัฒนามนุษย์ ได้แก่ การสร้างทักษะและความชำนาญ โอกาสในการสร้างอาชีพงานที่ก้าวหน้า การสร้างทักษะความเป็นผู้บริหารหรือผู้นำ การเสนอรายได้ที่จูงใจคนให้มานะพยายามในการทำงาน ฯลฯ
นอกจากนั้น ธุรกิจขนาดย่อมควรดำเนินงานอยู่ภายในกรอบของขนบธรรมเนียมประเพณีและศิลธรรมอันดีงาม โดยมีจริยธรรมทางธุรกิจเป็นพื้นฐานด้วย
13. แผนงานการเงิน
เมื่อมีการกำหนดแผนการตลาด แผนการบริหารจัดการ และแผนการผลิตได้แล้ว ที่สำคัญที่สุดคือต้องมีแผนการเงินมารองรับ เนื่องจากในทุกกิจกรรมต้องใช้เงินทั้งนั้น ในท้ายที่สุดของแผนธุรกิจจะต้องมีแผนการเงินที่ดี โดยทั่วไปจะมีส่วนประกอบที่สำคัญ ดังนี้
สมมุติฐานทางการเงิน
เป็นการกำหนดปัจจัยหลัก ๆของการดำเนินงานเพื่อประมาณการทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไปมีดังนี้
1. ยอดขาย เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่มาจากแผนการตลาดที่วางไว้
2. ต้นทุนขาย ควรจะมาจากแผนการผลิตที่วางไว้
3. ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารมาจากแผนบุคลากร และกิจกรรมพัฒนาและส่งเสริมการขายต่าง ๆ
4. ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย ประเมินจากอัตราดอกเบี้ย และวงเงินกู้เดิมกับวงเงินกู้ที่จะขอเพิ่มมาใหม่
5. สินทรัพย์และค่าเสื่อม มาจากประมาณการที่จะลงทุนในอนาคต เพื่อขยายกิจการและวิธีการคิดค่าเสื่อม
6. สินค้าคงคลัง ประมาณการระดับสินค้าคงคลังที่เหมาะสม
7. ลูกหนี้การค้า ประมาณการระยะเวลาระหว่างการขายสินค้า และการเก็บเงินได้จากการขาย
8. เจ้าหนี้การค้า ประมาณการระยะเวลาสั่งซื้อของ และจ่ายเงินให้เจ้าหนี้
ประมาณการทางการเงิน เป็นการประมาณการงบการเงินและการวิเคราะห์อัตราส่วนตามสมมุติฐานที่วางไว้ ประกอบไปด้วย
งบกำไรขาดทุน คือ งบที่แสดงถึงผลการดำเนินงานของบริษัทตลอดงวดระยะเวลาบัญชโดยทั่วไป จะกำหนดให้เป็นรอบ 1 ปี หรือราย 6 เดือน งบกำไรขาดทุน ประกอบด้วย รายการหลัก 3 รายการ คือ
1) ยอดขายหรือรายได้
2) ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ หรือต้นทุน
3) ผลต่างของตัวเลขดังกล่าว ซึ่งก็คือ กำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ
งบดุล คือ งบที่แสดงถึงฐานะการเงิน ภาระผูกพันในการชำระหนี้ และจำนวนทุนของบริษัท ณ วันใดวันหนึ่งเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น ณ วันสิ้นงวดของรอบระยะเวลาบัญชี งบดุลประกอบด้วยรายการหลัก ๆ 3 รายการ คือ สินทรัพย์ หนี้สิน และทุน หรือส่วนของเจ้าของงบกระแสเงินสด (Cash Flow) คือ งบแสดงการเคลื่อนไหวของเงินสด โดยจะแสดงถึงรายการได้มาและ
ใช้ไปของเงินสดหรือสิ่งที่เทียบเท่าเงินสดใน 3 กิจกรรมหลัก ๆ คือ-
- เงินสดที่ได้จากการดำเนินงาน
- จากการจัดหาเงินทุน
- จากการลงทุน
ดังนั้นความสามารถในการบริหารเงินสดของบริษัท และสภาพคล่องทางการเงิน จะดูได้จากงบกระแสเงินสด โดยงบกระแสเงินสดที่ดีควรเป็นเงินสดที่ไหลเข้ามาจากการลงทุนมากที่สุดรองลงมาจากการดำเนินงานและจากการจัดหาเงินทุนน้อยที่สุด งบกระแสเงินสดควรจะทำเป็นรายเดือน รายไตรมาส รายปี และอาจจะทำล่วงหน้าไปหลายปี ทั้งนี้แล้วแต่ความเหมาะสมของกิจการเพื่อที่จะทำให้รู้ถึงสถานะปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตของกิจการนั้น ๆ
การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน แบ่งออกได้เป็น 4 ส่วนหลัก ดังนี้
1. สภาพคล่อง
1.1 อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio)
= สินทรัพย์หมุนเวียน /หนี้สินหมุนเวียน
1.2 อัตราส่วนสินทรัพย์คล่องตัว (Quick Ratio)
= สินทรัพย์หมุนเวียน – สินค้าคงเหลือ /หนี้สินหมุนเวียน
2. ประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์
2.1 อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้ (Receivable Turnover)
= ขายเชื่อสุทธิ /ลูกหนี้เฉลี่ย
2.2 อัตราหมุนเวียนของสินค้า (Inventory Turnover)
= ต้นทุนสินค้าขาย /สินค้าคงเหลือเฉลี่ย
2.3 ระยะเวลาเรียกเก็บหนี้ (Receivable Turnover Period)
= 365 x ลูกหนี้ /ยอดขาย
2.4 ระยะเวลาสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover Period)
= 365 x สินค้าคงเหลือ /ต้นทุนขาย
3. ความสามารถในการบริหารงาน
3.1 อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ทั้งหมด (Return On Assets : ROA )
= กำไรสุทธิ x 100 /สินทรัพย์ทั้งหมด
3.2 อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (Return On Equity : ROE)
= กำไรสุทธิ x 100 /ส่วนของผู้ถือหุ้นทั้งหมด
3.3 อัตรากำไรจากการดำเนินงาน (Operating Income Margin)
= กำไรจากการดำเนินงาน x 100 /ยอดขาย
3.4 อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin)
= กำไรขั้นต้น x 100 /ยอดขาย
4. ความสามารถในการชำระหนี้
4.1 อัตราส่วนแห่งหนี้ (Debt Ratio)
= หนี้สินรวม /สินทรัพย์รวม
4.2 อัตราส่วนแหล่งเงินทุน (Debt to Equity Ratio)
= หนี้สินทั้งหมด /ส่วนของผู้ถือหุ้น
4.3 อัตราส่วนความสามารถจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage Ratio)
= กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี /ดอกเบี้ยจ่าย
การประเมิณสถาณการณ์จำลอง
เมื่อจัดทำงบประมาณทางการเงินแล้ว ลำดับต่อไปจะทำการประเมินสถานการณ์จำลองเป็นการ
วิเคราะห์ความไวต่อสถานการณ์เมื่อเกิดมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นในอนาคต จะขอยกตัวอย่างการประเมิน
สถานการณ์อยู่ 3 ลักษณะ ดังนี้
กรณีที่ดี เช่น ยอดขายเพิ่ม 20 % ค่าใช้จ่ายลด 20 %
กรณีปกติ เช่น ยอดขายเพิ่ม 10 % ค่าใช้จ่ายลด 10 %
กรณีแย่ เช่น ยอดขายลด 20 % ค่าใช้จ่ายเพิ่ม 20 %
ซึ่งทำให้ทราบถึงผลกระทบของตัวแปรที่เปลี่ยนแปลงไปว่าจะมีผลต่อโครงการอย่างไร เช่น จะเกิดอะไรขึ้นถ้ายอดขายลด 20% และค่าใช้จ่ายเพิ่ม 20%
การวิเคราะห์ระยะเวลาคืนทุน บอกถึงสภาพคล่องของโครงการ หมายถึง ระยะเวลาทั้งหมดที่จะต้องใช้ไปในการที่จะเปลี่ยนสินทรัพย์ที่ลงทุนไปนั้นกลับมาเป็นเงินสดอีกครั้งหนึ่ง ระยะเวลาคืนทุนที่สั้นกว่าจะบอกถึงสภาพคล่องที่ดีกว่า และมีความเสี่ยงที่ต่ำกว่า แต่อย่างไรก็ตามเกณฑ์ระยะเวลาคืนทุนนี้ มีจุดอ่อนอยู่ที่การไม่คำนึงถึงค่าของเงินตามเวลาหรือกระแสเงินที่เกิดขึ้นต่างเวลากัน เกณฑ์นี้นำมารวมกันที่หาระยะเวลาคืนทุนโดยทันที และการไม่นำกระแสเงินสดทุกจำนวนที่เกิดจากโครงการมาพิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการ จะพิจารณาเฉพาะกระแสเงินสดที่จำเป็นสำหรับการได้คืนทุนเท่านั้น รวมทั้งเกณฑ์นี้จะไม่เป็นธรรมสำหรับโครงการระยะยาวที่มีผลกำไรหลายปี ในอนาคตจะให้น้ำหนักความสำคัญเป็นพิเศษกับโครงการระยะสั้นเป็นหลัก
ระยะเวลาคืนทุน หมายถึง ระยะเวลาทั้งหมดที่โครงการจะให้กระแสเงินสดสุทธิรวมเท่ากับเงินลงทุนที่จ่ายเริ่มแรกพอดี
การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน
การเริ่มต้นธุรกิจใหม่จะต้องทำการวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ในการลงทุน โดยการคำนวณหาจุดคุ้มทุนของธุรกิจก่อน ซึ่งการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนส่วนใหญ่จะใช้กำไรส่วนเกินเป็นหลักในการวิเคราะห์โดยพิจารณาจำนวนสินค้าที่ขายเป็นจำนวนเท่าใด จึงจะมีรายได้เท่ากับค่าใช้จ่าย
จำนวนหน่วยขาย ณ จุดคุ้มทุน
= ต้นทุนคงที่ / ราคาขายต่อหน่วย X  ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย
หมายเหตุ
ต้นทุนผันแปร หมายถึง ต้นทุนรวมที่ผันแปรตามจำนวนหน่วยที่ผลิตหรือขายได้
ต้นทุนคงที่ หมายถึง ต้นทุนรวมที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามจำนวนหน่วยที่ผลิตในระหว่างช่วงการผลิตหรือช่วงการขายช่วงหนึ่ง
การวิเคราะห์มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เป็นการประเมินโดยการนำความสำคัญของค่าของเงินตามเวลาเข้ามาคิดด้วย วิธีการนี้จะหามูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับที่เกิดจากโครงการในแต่ละงวดมารวมกัน แล้วเปรียบเทียบกับมูลค่าปัจจุบันของเงินลงทุนโดยกำหนดอัตราส่วนลดหรือผลตอบแทนที่ต้องการ หากมีค่าเท่ากันหรือมูลค่าปัจจุบันสุทธิเป็นศูนย์ แสดงว่าโครงการนั้นคุ้มทุนพอดี หากมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดเข้ารวมกัน มีมากกว่ามูลค่าปัจจุบันของเงินลงทุน ถือว่าโครงการนั้นให้ผลตอบแทนสูงกว่าที่เราต้องการหรือคาดหวังไว้ ควรจะลงทุนในโครงการนั้น หากไม่แล้ว ก็ควรปฏิเสธไม่ลงทุนในโครงการนั้น
มูลค่าปัจจุบันสุทธิ = มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับ  - มูลค่าปัจจุบันของเงินสดจ่าย
การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนของการลงทุน (Internal Rate of Return – IRR)
เป็นอัตราส่วนลด/หรืออัตราดอกเบี้ยที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันของเงินสดที่คาดว่าจะต้องจ่ายออกไปเท่ากับ
มูลค่าปัจจุบันของเงินสดที่คาดว่าจะได้รับเข้ามาตลอดอายุของโครงการ หรือคือการหาส่วนลดหรืออัตราดอกเบี้ยที่ทำ
ให้มูลค่าปัจจุบันสุทธิ NPV (Net Present Value) เท่ากับ 0
อัตราผลตอบแทนที่ได้จากโครงการ : เป็นอัตราผลตอบแทนที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการ = 0
14. ภาคผนวก
เป็นการรวบรวมข้อมูลหรือเอกสารที่มีรายละเอียดค่อนข้างมาก ถ้าใส่ในแผนงานธุรกิจจะทำให้ผู้อ่านสับสนและเบื่อหน่าย จึงควรนำมาใส่ไว้ในภาคผนวก เช่นรายละเอียดของผลการตรวจวิจัยเพื่อขออนุมัติจากหน่วยราชการเป็นต้น

โดย SMEssmart.com