5/05/2555

เคล็ดลับวิธีการหาเงินกู้มาจากธนาคาร เพื่อมาทำโครงการธุรกิจ SMEs

ปัจจุบันการเริ่มต้นธุรกิจของ เอสเอ็มอี โดยส่วนใหญ่ มีความจำเป็นที่ต้องการแสวงหาเงินมาลงทุนในธุรกิจ ซึ่งการหาทุนมาลงทุนในธุรกิจนั้น มีหลายวิธี แต่ วิธีที่ผู้ประกอบมักใ้ช้เป็นทางเลือกแรก ก็คือ การขอกู้เงินจากธนาคาร ซึ่งต่อไปนี้จะขออธิบายถึงวิธีการที่จะหาเงินกู้จากธนาคารมาทำโครงการธุรกิจ โดยมีหลักการพิจารณาในด้านสินเชื่อและการนำเสนอแผนธุรกิจ เพื่อให้ได้เงินกู้จากธนาคาร

ซึ่งหลักการพิจารณาสินเชื่อธนาคารส่วนใหญ่จะพิจารณาสินเชื่อหรือเงินกู้แก่โครงการธุรกิจใดหรือไม่นั้น เข้ามีหลักการที่ใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะกู้จากสถาบันการเงินไหนก็ตาม โดยส่วนใหญ่จะพิจารณาจากปัจจัยการดำเนินงานตามหลัก 6 C's อันประกอบไปด้วย

C1 หรือ Characteristic


พิจารณาคุณสมบัติของโครงการและตัวผู้กู้เงิน ว่ามีความน่าสนใจ รวมถึงโครงการธุรกิจมีความเป็นไปได้หรือไม่เพียงใด และมีเครดิตที่ดีพอหรือไม่

C2 หรือ Capacity


คือการวิเคราะห์ศักยภาพของธุรกิจว่ามีความสามารถที่จะหาเงินหรือรายได้จากการดำเนินโครงการธุรกิจ ได้มากน้อยเพียงใด มีความเหมาะสมกับความสามารถที่จะหาเงินมาชำระหนี้คืนธนาคารได้หรือไม่ เพียงใด

C3 หรือ Capital  


คือการวิเคราะห์เกี่ยวกับมูลค่าโครงการและการใช้เงินลงทุนในโครงการธุรกิจ จากแผนการใช้จ่ายเงินลงทุน รวมถึงเงินที่ใช้จ่ายหมุนเวียนในธุรกิจ ว่ามีสัดส่วนการใช้เงินลงทุนที่เป็นส่วนของเจ้าของ เมื่อเปรียบเทียบกับเงินกู้เป็นเท่าไหร่ ซึ่งหลักการนี้จะต้องมีสัดส่วนที่เหมาะสม

C4 หรือ Collateral  


คือหลักทรัพย์ที่ใช้ในการค้ำประกับเงินกู้ ว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งจะต้องมีการประเมินมูลค่าหลักทรัพย์หรือหลักประกันเท่าไหร่ ด้วยวิธีการของแต่ละธนาคาร ส่วนใหญ่จะใ้้ช้เกณฑ์ของธนาคารเป็นหลัก ซึ่งถ้าหากหลักประกันน้อยก็อาจจะส่งผลถึงเงินกู้ก็จะ้ต้องน้อยไปด้วยเช่นเดียวกัน เพราะธนาคารถือว่ามีความเสี่ยงสูง

C5 หรือ Condition  


ก็คือเงื่อนไขสำคัญต่างๆ ของโครงการธุรกิจ ที่มีผลกระทบต่อธุรกิจทางทางตรงและทางอ้อม ซึ่งธนาคารอาจจะพิจารณาจากภาพรวมธุรกิจ ตลาด และคู่แข่งขัน รวมถึงการเข้าทำตลาดว่ามีความเป็นไปได้หรือสอดคล้องกับสภาพธุรกิจในปัจจุบันหรือไม่ ทั้งนี้อาจจะรวมไปถึงเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ การใช้งาน การให้บริการ รวมถึงเงื่อนไขอื่นๆ ว่ามีความชัดเจนหรือไม่อย่างไร

C6 หรือ Country  


คือ ทำเล สถานที่ตั้งหรือภูมิศาสตร์ ว่าอยู่ในสถานที่หรือทำเลที่ดีหรือไม่ มีภูมิประเทศที่เหมาะสมกับการทำธุรกิจนี้หรือไม่อย่างไร รวมไปถึง ความหนาแน่น กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย คู่แข่งขัน สภาพเศรษฐกิจ สภาพแวดล้อมทางสังคม การเมือง รวมถึงไปวัฒนธรรมพื้นที่นั้นเป็นอย่างไร มีความสอดคล้องหรือเข้ากันได้กับโครงการธุรกิจหรือไม่อย่างไร
ซึ่งจากหลักการวิเคราะห์โอกาสการการพิจารณาปล่อยสินเชื่อให้กับโครงการธุรกิจ โดยธนาคารจะดูจากข้อมูลของแผนธุรกิจ หรือ Business Plan ของผู้ที่ยื่นกู้นั้นเอง หากผู้ที่ต้องการขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจหรือทำโครงการธุรกิจใหม่ ถ้าไม่มีแผนธุรกิจ ก็อย่าหวังว่าจะได้เงินกู้จากธนาคารได้อย่างแน่นอน เพราะธนาคารส่วนใหญ่ถือเกณฑ์การพิจารณาให้สินเชื่อโครงการธุรกิจตามแผนธุรกิจ เป็นหลัก ซึ่งถือเป็นนโยบายของธนาคารส่วนใหญ่ และมีการกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ดังนี้

จากที่กล่าวมาทั้งหมด การที่ SMEs มีความประสงค์ที่จะเริ่มต้นธุรกิจโดยการลงทุนทำธุรกิจและต้องการขอรับการสนับสนุนด้านสินเชื่อ ผู้ประกอบการ SMEs จึงมีความจำเป็นจะ้ต้องทำความเข้าใจและเตรียมพร้อมในเรื่องของ หลัก 6 C's เป็นสำคัญ เพราะถือว่าเป็น Key Success หรือ กุญแจแห่งความสำเร็จที่จะทำให้ SMEs กู้เิงินจากธนาคารได้ และที่สำัคัญ ควรเริ่มที่จะต้องวางแผนธุรกิจโดยการตระเตรียมข้อมูลตามโครงสร้างแผนธุรกิจ การเน้นรายละเอียดและการเตรียมพร้อมในด้าน 6 C's เพื่อตอบโจทย์ให้กับธนาคาร ถ้าทำได้อย่างนี้แล้ว โอกาสของการเริ่มต้นธุรกิจ โดยมีเงินทุนสนับสนุนจากธนาคาร ก็คงไม่ไกลเกินฝัน สำหรับ SMEs มือใหม่

โดย : SMEssmart.com

 

 

5/02/2555

5 ธุรกิจเอสเอ็มอีไทย สร้างความแตกต่างในธุรกิจ ครองรางวัล “Bai Po Business Awards by Sasin” ครั้งที่ 6

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  มอบรางวัลเกียรติยศ “Bai Po Business Awards by Sasin” ครั้งที่ 6  ให้กับ  5 ธุรกิจเอสเอ็มอีไทย  ได้แก่  บริษัท เค ซี เมททอลชีท จำกัด  บริษัท ไทย แอ็กโกร เอ็กซเชนจ์ จำกัด  บริษัท ยูบิลลี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน)  บริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด  และบริษัท สยาม รีคอนดิชั่น อินดัสตรี้ จำกัด  สะท้อนศักยภาพและมาตรฐานที่โดดเด่นของผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีไทย  โดยมี นายอานันท์  ปันยารชุน  นายกกรรมการ ธนาคารไทยพาณิชย์  เป็นประธานมอบรางวัล  ณ  ธนาคาร ไทยพาณิชย์  สาขาตลาดน้อย

 นางองค์อร อาภากร ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส ธนาคารไทยพาณิชย์  กล่าวถึง โครงการ Bai Po Business Awards by Sasin ว่า “เป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารไทยพาณิชย์และสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ฯ  ที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี  เพื่อมอบรางวัลเกียรติยศยกย่องผู้ประกอบการไทยที่ประสบความสำเร็จและสามารถสร้างความแตกต่างให้ธุรกิจได้อย่างโดดเด่น  ธนาคารมุ่งหวังให้รางวัลนี้เป็นแรงบันดาลใจและแบบอย่างวิธีคิด วิธีปฏิบัติให้ผู้ประกอบการไทยรายอื่นๆ รุกพัฒนาศักยภาพธุรกิจอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งจะก่อให้เกิดมาตรฐานที่ดีและส่งผลให้เกิดการผลักดันระบบเศรษฐกิจให้เติบโตได้ยั่งยืน  ทั้งนี้ธนาคารเปิดกว้างให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วประเทศที่สนใจสามารถเข้าร่วมโครงการได้ โดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นลูกค้าของธนาคารไทยพาณิชย์เท่านั้น”

นายธิติ  เวชแพศย์  รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ฯ  กล่าวถึง  หลักเกณฑ์การพิจารณาตัดสินว่า “ธุรกิจต้องผ่านเกณฑ์การคัดเลือกเบื้องต้นของโครงการ และมีความโดดเด่นในมิติที่สำคัญต่อศักยภาพในการแข่งขันของธุรกิจขนาดกลางและย่อมมิติใดมิติหนึ่งหรือหลายมิติ ประกอบด้วย 1.การให้ความสำคัญต่อลูกค้า (Customer Focus) 2.ความริเริ่มที่นำไปสู่การสร้างนวัตกรรม (Innovation)     3.การมีคุณภาพสูงของสินค้าและบริการ (Quality) 4.การตอบสนองและปรับตัวต่อโอกาสและปัญหา (Adaptability to Changes) 5.การสร้างมูลค่า (Value Creation) 6.การสร้างตราสินค้า (Branding) 7.การมีระบบงานที่มีประสิทธิภาพ (Efficiency) 8.ความเป็นผู้นำของผู้บริหารกิจการและการสร้างทีม (Leadership & Team Building) 9.การปฏิบัติดีต่อสังคม (Social Responsibility) และ 10.การสร้างธุรกิจด้วยพลังแห่งการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship)  ซึ่งเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเหล่านี้เป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจสามารถเติบโตก้าวหน้าและแข็งแกร่ง  ทั้งนี้  คณะกรรมการตัดสินจะพิจารณามอบรางวัลแก่ผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติเหมาะสม  โดยไม่มีการจัดอันดับ  และไม่จำกัดจำนวนผู้ได้รับรางวัลในแต่ละปี ”

 ดร.อาชว์ เตาลานนท์ ประธานกิตติมศักดิ์ หอการค้าไทย ในฐานะประธานกรรมการพิจารณาคัดเลือก กล่าวว่า “คณะกรรมการได้พิจารณาคัดเลือกบริษัทผู้ประกอบการที่สร้างธุรกิจให้มีความโดดเด่น ซึ่งสมควรได้รับรางวัล Bai Po Business Awards by Sasin ในครั้งที่ 6 รวม 5 บริษัท ได้แก่

บริษัท เค ซี เมททอลชีท จำกัด
บริษัทผลิตหลังคาเหล็กที่ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์และบริหารธุรกิจด้วยความยึด มั่นในความซื่อสัตย์ต่อลูกค้า ได้รับความรางวัลจากความโดดเด่นในมิติ การสร้างธุรกิจด้วยพลังแห่งการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) และการให้ความสำคัญต่อลูกค้า (Customer Focus)

 

 

 

บริษัท ไทย แอ็กโกร เอ็กซเชนจ์ จำกัด
บริษัทที่บริหารจัดการ “ตลาดไท”   ตลาดกลางซื้อขายสินค้าเกษตรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและในอาเซียน ทำให้ “ตลาดไท” โดดเด่นและเป็นที่รู้จักทั้งในด้านความครบครันและคุณภาพของสินค้า ได้รับรางวัลจากความโดดเด่นในมิติ ความคิดริเริ่มที่นำไปสู่การสร้างนวัตกรรม (Innovation) การสร้างมูลค่า (Value Creation) การสร้างตราสินค้า (Branding) และการปฏิบัติดีต่อสังคม (Social Responsibility)

 

 

บริษัท ยูบิลลี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) 
บริษัทซึ่งเปลี่ยนรูปแบบการจำหน่ายเพชรและเครื่องประดับเพชรจากรูปแบบเดิมมา จำหน่ายผ่านเคาน์เตอร์ห้างสรรพสินค้า โดยสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้าให้กับผู้ซื้อ ได้รับรางวัลจากความโดดเด่นในมิติความคิดริเริ่มที่นำไปสู่การสร้างนวัตกรรม (Innovation) การมีคุณภาพสูงในสินค้าและบริการ (Quality) และการสร้างตราสินค้า (Branding)

 

 

 

บริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด
บริษัทที่ให้บริการเรือโดยสารสาธารณะมานานกว่า 40 ปี ซึ่งพัฒนารูปแบบและการบริการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้โดยสารได้รับการ บริการที่ปลอดภัยรวดเร็วและทันสมัย ได้รับความรางวัลจากความโดดเด่นในมิติการให้ความสำคัญต่อลูกค้า (Customer Focus) การสร้างมูลค่า (Value Creation) ความเป็นผู้นำของผู้บริหารกิจการและการสร้างทีม (Leadership & Team Building) และการปฏิบัติดีต่อสังคม (Social Responsibility)

 

 

บริษัท สยาม รีคอนดิชั่น อินดัสตรี้ จำกัด
บริษัทที่นำเข้าเครื่องถ่ายเอกสารใช้แล้วจากต่างประเทศ มาผ่านกระบวนการ Recondition ดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิด Eco Copy ผสมผสานความรับผิดชอบต่อสังคมในด้านสิ่งแวดล้อมและความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ได้รับรางวัลจากความโดดเด่นในมิติการสร้างมูลค่า (Value Creation) และการปฏิบัติดีต่อสังคม (Social Responsibility)

 

 
ผู้ประกอบการที่ได้รับรางวัล “Bai Po Business Awards by Sasin” ในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงพลังแห่งความมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตภายใต้ความสามารถในการบริหารจัดการทีมงาน การริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรม การเพิ่มมูลค่าให้สินค้า การให้ความสำคัญและเข้าถึงความต้องการของลูกค้า และการปฏิบัติดีต่อสังคม”

ข่าวจาก : SCB