3/28/2555

‘Spa at Terminal’ เปิดศึกธุรกิจสปาต้องแตกต่างเท่านั้นถึงอยู่รอด

ธุรกิจสปาเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างมากเมื่อหลายปีก่อน จนระยะหลังธุรกิจสปาเริ่มลดปริมาณลดลง เหลือแต่รายใหญ่ๆ ที่ยังคงสานต่อธุรกิจนี้ หรือไม่ก็ต้องเป็นธุรกิจสปาที่อยู่ตามโรงแรมเท่านั้นที่อยู่รอด ขณะที่ธุรกิจสปารายเล็กหรือกลางก็เริ่มหดหายกันไป เพราะสายป่านไม่ยาวพอ



เมื่อเร็วๆ นี้ “ผู้จัดการ 360 องศารายสัปดาห์” ได้พูดคุยกับสปา 2 แบรนด์ใหม่ในเครือ “ออนิกซ์ ฮอสพิทาลิตี้ กรุ๊ป” คือ แบรนด์ “บรีซ สปา” (Breeze Spa) และ “ไหม สปา” (Maai Spa) สปา 2 แบรนด์นี้ถือว่ามีฐานที่ดีกว่าสปารายอื่นๆ เพราะมี “ออนิกซ์ ฮอสพิทาลิตี้ กรุ๊ป” เป็นแบล็ก ซึ่ง “ออนิกซ์ ฮอสพิทาลิตี้ กรุ๊ป” มีแผนที่จะขยายสปา 2 แบรนด์นี้ออกไปยังนอกโรงแรมด้วย นับเป็นทิศทางการขยายธุรกิจที่น่าสนใจและยังเป็นการรองรับปัญหาการขยายโรงแรมที่อาจจะเพิ่มได้ยากกว่าการขยายธุรกิจสปา

“Spa at Terminal” เป็นธุรกิจสปารายใหม่ที่เข้ามาในตลาดสปา แม้จะเป็นน้องใหม่ในวงการแต่ก็ได้แบล็กดีอย่าง “สายการบินบิวซิเนสแอร์” สายการบินแบบชาร์ตเตอร์ไฟล์เป็นพันธมิตร

“Spa at Terminal” เกิดจากความชอบในการเข้าไปใช้บริการสปาของ “ศศิกานต์ ทัศนาธร” Managing Director ของ “Spa at Terminal” ด้วยการมองเห็นทิศทางว่าธุรกิจสปายังคงมีอัตราการเติบโตที่สูง เพราะกระแสการดูแลสุขภาพมีมากขึ้น และเป็นการดูแลลแบบทุกเพศ ทุกวัย

แต่การจะเปิดสปาใหม่ขึ้นมาจุดสำคัญ คือ ต้องมีความแตกต่างประกอบกับสามีมีหุ้นส่วนใน “สายการบินบิวซิเนสแอร์” จึงเกิดแนวคิดที่จะนำรายละเอียดเกี่ยวกับสายการบินมาใช้ในการตกแต่งสปา ไม่ว่าจะเป็นห้องที่เรียกแบบเลานจ์ การนำรถเข็นให้บริการบนเครื่องมาใช้เป็นที่วางอุปกรณ์ทำสปา การให้พนักงานแต่งตัวเหมือนกับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน การให้บริการที่เหมือนกับอยู่บนสายการบินเฟิร์สท์คลาส หรือแม้แต่ชื่อก็ยังคงกลิ่นอายให้นึกถึงสนามบิน

โดย “Spa at Terminal” เปิดให้บริการมาได้ 3 เดือนแล้วถือว่าผลตอบรับในช่วงที่ผ่านมาดีมาก โดยเฉพาะตลาดต่างชาติ ส่วนตลาดไทยก็เริ่มมีเข้ามา มีพื้นที่ 220 ตารางเมตรรองรับการบริการพร้อมกันได้ 26 ท่าน ใช้งบในการลงทุน “Spa at Terminal” 10 ล้านบาท เป็นงบการตลาดถึง 40% โดยการทำตลาดของ “Spa at Terminal” จะมุ่งเน้นลูกค้าที่มาใช้บริการในเซ็นทรัลพระราม 9 อนาคตจะบุกไปยังออฟฟิศบริเวณใกล้เคียง

กลุ่มเป้าหมายของ “Spa at Terminal” อาจจะแตกต่างจากสปาที่อื่นๆ คือ จับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มากับเอเยนซีที่เป็นพันธมิตรกับ “สายการบินบิวซิเนสแอร์” ซึ่งปัจจุบัน “สายการบินบิวซิเนสแอร์” มีเน้นทางบินอยู่ในประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ที่สำคัญการอยู่ในห้างเซ็นทรัลพระราม 9 ถือว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เพราะอยู่ในใกล้กับสถานฑูตจีน และนักท่องเที่ยวจีนซึ่งเป็นชาติที่นิยมการทำสปาก็มักมาพักใกล้ๆ บริเวณนี้

การที่ “Spa at Terminal” มีสายสัมพันธ์กับธุรกิจสายการบิน ลูกค้าอีกกลุ่มที่มองไว้ คือ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินทั้งของสายการบินตัวเอง และสายการบินอื่นๆ อย่าง สายการบินของรัสเซีย โดยมีการเสนอโปรโมชั่นดีๆ ให้กับสายการบินไปแล้ว

ปัจจุบัน “Spa at Terminal” เปิดให้บริการมาได้ 3 เดือนแล้วถือว่าผลตอบรับในช่วงที่ผ่านมาดีมาก โดยเฉพาะตลาดต่างชาติ ส่วนตลาดไทยก็เริ่มมีเข้ามาซึ่งตลาดไทยจะจับกลุ่มคนไทยที่รักการดูแลสุขภาพ หรือคุณพ่อคุณแม่ที่มารอรับลูกซึ่งมาพิเศษที่ห้างสรรพสินค้า อนาคตเตรียมขยายฐานลูกค้าคนไทยเพิ่มโดยจะมีการจับมือกับฟิตเนส เฟริ์ส ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจา ปัจจุบันสัดส่วนลูกค้าของ “Spa at Terminal” จะเป็นเอเชีย 40% ยุโรป 20% ไทย 40% ประมาณการณ์รายได้ปีแรกที่ 20 ล้านบาท

แม้ว่าสปาดังกล่าวจะมีจุดแตกต่างเรื่องดีไซน์แต่สิ่งที่ “Spa at Terminal” ไม่ทิ้ง คือ รูปแบบการนวดของไทย นอกจากนี้ การที่ทำธุรกิจด้านการบินทำให้มีโอกาสนำสินค้าจากประเทศต่างๆ เข้ามาให้บริการลูกค้าได้ด้วย ทำให้เกิดรูปแบบการนวดที่หลากหลายบขึ้น อย่าง การนวดแบบฝรั่งเศสก็จะใช้ครีมที่ผสมไวน์จากฝรั่งเศสมาใช้ในการนวด การนวดแบบเกาหลีจะนำโสมจากเกาหลีมาผสมรังนก

สำหรับราคาของการใช้บริการมีตั้งแต่ 250-5,000 บาท ที่ระดับราคามีตั้งแต่ถูกจนถึงแพงนั้น เนื่องจากต้องการให้ลูกค้าทุกระดับสามารถเข้ามาใช้บริการที่ “Spa at Terminal” ได้ ด้วยระดับราคาที่ไม่สูงจนเกินไปทำให้จับกลุ่มลูกค้าระดับซีและบีบวกได้

แนวทางการขยายสาขาในอนาคต “Spa at Terminal” จะขยายตัวไปยังเซ็นทรัลในต่างจังหวัด อย่าง ขอนแก่น อุบลราชธานี ฯลฯ คาดว่าปี 2556 น่าจะได้เห็น “Spa at Terminal” ในเซ็นทรัลสักแห่ง

แม้ว่าจะเป็นน้องใหม่ในวงการแต่ “ศศิกานต์” ก็ไม่มองว่าธุรกิจสปาจะต้องจบอยู่แต่ในประเทศไทย เธอพร้อมที่จะเข้าไปรับบริหารสปาให้กับเจ้าของสปาในต่างประเทศ โดยขณะนี้กำลังศึกษาการเข้าไปรับบริหารสปาที่ประเทศบาร์เรนอยู่คาดว่าปี 2556 น่าจะมีโอกาสได้เห็น โดยจะใช้ชื่อ “Spa at Terminal” เช่นเดียวกับในไทย

แหล่งที่มา : ASTVผู้จัดการรายสัปดาห์

3/24/2555

คิกออฟ 28 มี.ค. ขายประกันภัยน้ำท่วมแก่เอสเอ็มอี

กำหนด 28 มีนาคมนี้ คิกออฟโครงการประกันภัยพิบัติ เตรียมลงนามบริษัทประกัน 66 แห่ง พร้อมเปิดขายทันที เอสเอ็มอีทุนประกันสูงสุด 50 ล้าน คิดเบี้ย 1%

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ เปิดเผยว่า ในวันที่ 28 มี.ค.นี้ จะมีงานเปิดตัวกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติ ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยในงานจะลงนามกับตัวแทนประกันภัย 66 บริษัท เพื่อขายประกันภัยดังกล่าวทันที พร้อมเชิญสมาคมประกันวินาศภัยร่วมเซ็นสัญญาในครั้งนี้ด้วย

สำหรับประกันภัยพิบัติครอบคลุม 3 ประเภท ได้แก่ น้ำท่วม พายุ และแผ่นดินไหว โดยเบี้ยประกัน แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มบ้านอยู่อาศัยคิดเบี้ยประกัน 0.5% ต่อปีของทุนประกัน จะให้ความคุ้มครองไม่เกิน 1 แสนบาท หรือเสียค่าเบี้ย 500 บาท/ปี

กลุ่มเอสเอ็มอีที่มีทุนประกันไม่เกิน 50 ล้านบาท เบี้ยประกัน 1% ต่อปีให้ความคุ้มครองไม่เกิน 30% ของทุนประกัน หรือทุนประกัน 1 แสนบาทจ่ายค่าเบี้ย 1,000 บาท

ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่นั้นจะไม่จำกัดทุนประกัน อัตราเบี้ยประกัน 1.25% ต่อปี จำกัดความคุ้มครองไม่เกิน 30% ของทุนประกัน หรือทุนประกัน 1 แสนบาทจ่ายค่าเบี้ย 1,250 บาท ทุนประกัน 1 ล้านบาท จ่ายค่าเบี้ย 12,500 บาท โดยมีข้อแม้ว่าในส่วนของผู้ซื้อประกันในกลุ่มเอสเอ็มอีและรายใหญ่จะต้องมีกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย หรือกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (ไอเออาร์) ด้วย

3/22/2555

ธุรกิจล่าฝันบนสนามหญ้าเทียม

สนามฟุตบอลในร่ม ได้รับความนิยมในขณะนี้ ไม่เฉพาะในเมืองกรุงเท่านั้น แต่หัวเมืองอีสานอย่างขอนแก่น ก็นิยมไม่น้อย

สนามหญ้าเทียม หรือ "สนามฟุตบอลในร่ม" ได้รับความนิยมในขณะนี้ ไม่เฉพาะในเมืองกรุงเท่านั้น แต่หัวเมืองอีสานอย่างขอนแก่น ก็ได้รับความนิยมไม่น้อย

หลังจากกระแสความนิยมฟุตบอลในเมืองไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะฟุตบอลพรีเมียร์ลีกของไทย ที่แต่ละจังหวัดมีสโมสรฟุตบอลเป็นของตนเอง ทำให้แต่ละจังหวัด มีคนสนใจเล่นกีฬาประเภทนี้กันเพิ่มมากขึ้น จนกลายเป็นกระแส "ฟุตบอลฟีเว่อร์"

และเพราะกระแสฟีเว่อร์นี่เอง ทำให้ธุรกิจทำสนามฟุตบอลในร่มเพื่อให้เช่า ผุดขึ้นราวกับดอกเห็ด โดยเฉพาะในจังหวัดใหญ่ๆ เรียกได้ว่า มีเท่าไรก็ไม่พอกับความต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ทีมสโมสรขอนแก่นเอฟซี" หรือไดโนพิฆาต ก็เป็นอีกแรงผลักดันหนึ่ง ที่ทำให้คนสนใจเล่นกีฬาฟุตบอลในขอนแก่นเพิ่มมากขึ้น ทำให้สนามที่มีอยู่ไม่เพียงพอ แม้ว่าจะมีอยู่ไม่ต่ำกว่า 10 แห่งก็ตาม

และหนึ่งในนั้นที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ "SOCCER CUBE" สนามฟุตบอลในร่มแห่งแรกของเมืองนี้

"พารณ ธีรภานุ" หนุ่มวัย 31 ปี  เป็นหุ้นส่วนใหญ่ของ SOCCER CUBE และเป็นคนแรกที่นำเทรนด์นี้เข้ามาในจังหวัด และส่วนตัวเขาเองก็เป็นคนชอบเล่นกีฬาฟุตบอลอีกด้วย

"ตอนไปกรุงเทพฯ ผมได้ไปเจอสนามฟุตบอลหญ้าเทียมที่กรุงเทพฯ ซึ่งตอนนั้น ทำให้ค้นพบว่ากิจการนี้เป็นกิจการที่น่าสนใจมาก และผมรอมานาน น่าจะเป็นธุรกิจที่เหมาะกับเรา จึงได้ตัดสินใจมาชวนเพื่อนทำและมาเปิดที่ขอนแก่นเป็นครั้งแรก เมื่อปี 2552 ซึ่งก็ได้รับกระแสตอบรับจากชาวขอนแก่นมาก ทำให้ 2 ปีที่ผ่านมา เรามี 2 สาขาแล้ว" พารณ เล่าให้ฟังถึงแรงบันดาลใจที่ทำให้เขาหันมาจับธุรกิจนี้

เขาบอกว่าเริ่มต้น ได้ลงขันกับเพื่อนทั้งหมด 10 หุ้น ซึ่งเขาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ สร้างสนามขึ้นมาที่บริเวณใกล้กับมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยใช้เงินลงทุนกว่า 6 ล้านบาท โดยเงินส่วนใหญ่จะหมดไปกับการจัดแต่งสถานที่และการซื้อหญ้าเทียม ซึ่งราคาหญ้าเทียมที่นำมาใช้ตกประมาณ 1 ล้านบาทต่อการทำ 1 สนาม โดยสนามของเขานั้นทำขนาดเล่นได้ไม่เกินทีมละ 7 คน หรือ รวมแล้วประมาณ 14 คน

ซึ่งหลังจากเขาและเพื่อนได้ตัดสินใจทำสนามแล้วเสร็จ กระแสฟุตบอลฟีเว่อร์ก็เข้ามา ทำให้มีคนสนใจมาเช่าสนามและเล่นเพิ่มขึ้น โดยคนที่เคยเข้ามาใช้บริการเกิดติดใจ ก็จะชักชวนเพื่อนๆ มาลองใช้บริการ จนทำให้ทุกวันนี้ มีผู้มาใช้บริการอย่างคับคั่ง โดยเฉพาะนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และกลุ่มเยาวชนและประชาชนในจังหวัดขอนแก่น

สำหรับค่าบริการนั้น เบื้องต้นเขาไม่ได้กำหนดราคา เพราะไม่รู้ว่าน่าจะคิดค่าบริการเท่าไร แต่ใช้วิธีคุยกับผู้มาใช้บริการว่า ราคาเท่าไรจึงจะเหมาะสม และจ่ายได้ ซึ่งทุกคนบอกว่า ยอมรับได้ในราคาชั่วโมงละไม่เกิน 800-900 บาท โดยหากชวนเพื่อนมาเล่น 7 คน ก็จะตกคนละ 100 บาท หรือหากมามากกว่านั้นก็จะตกประมาณคนละ 40-50 บาทเท่านั้นเอง จากนั้นจึงได้ตกลงเอาราคานี้ แต่มีโปรโมชั่นพิเศษ หากมาก่อนเวลา "ไพร์มไทม์" ที่คนนิยมมาเล่น คือ ก่อนเวลา 17.00 น. ก็จะลดค่าสนามให้ โดยคิดเพียงชั่วโมงละ 500 บาทเท่านั้น

และเพราะการตั้งราคาตามใจคนเล่นนี่แหละ ที่ทำให้สนามของเขา มีรายได้ต่อวันไม่ต่ำกว่าวันละ 6,000-10,000 บาท ซึ่งรายได้ทั้งหมดจนถึงวันนี้ เขาบอกว่า คืนทุนแล้ว

"ในมุมมองของผมการทำธุรกิจนี้เป็นเพียงแค่เป็นธุรกิจที่ดังตามกระแส และพอหมดกระแสก็จะหายไป แต่เพราะใจรักในกีฬาฟุตบอล และอยากให้คนที่ชอบเล่นฟุตบอลใน จังหวัดขอนแก่น ได้เล่นฟุตบอลในสนามที่มาตรฐาน และได้สัมผัสกับสิ่งใหม่ๆ ในการเล่นฟุตบอลจึงตัดสินใจทำสนามขึ้นมา และในอนาคตจะสนามนี้จะได้รับความสนใจหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะอย่างน้อยผมกับเพื่อนก็เล่น และหากมีคนใจเดียวกับเรามาเล่นก็จะดีไม่น้อย" พารณบอก

สำหรับคู่แข่งทางธุรกิจนั้น พารณ บอกว่า ไม่มีปัญหาเพราะตอนนี้ที่ลงทุนไปได้คืนทุนกลับมา และหากมีรายอื่นเพิ่มขึ้นมาอีกเรื่อยๆ ก็ยิ่งดีเพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคเข้ามาใช้สนาม และเล่นกีฬา ออกกำลังกายมากขึ้น เพราะสนามฟุตบอลเทียมนั้น สามารถเล่นได้ทุกฤดู ทุกเวลา ฝนตก แดดออก ไม่ต้องกลัว เพราะสนามมีหลังคา มีร่มเอาไว้ป้องกันได้ทุกอย่าง และหากมีการแข่งขันสูงขึ้น เขาเองอาจจะใช้กลยุทธ์ "ลดราคาสู้" ก็ได้

แต่จุดเด่น  SOCCER CUBE ที่เขาทำอยู่นั้น เขาบอกว่า คือ หญ้าเทียมที่เป็นตัวเอกในสนามของเขา ที่ทำมาจากพลาสติก มีความนุ่มที่เสมือนจริง ดูแลความสะอาดง่าย ไม่ต้องรดน้ำให้เปียกนอกจากฝนจะตก เพียงแค่ใช้ไม้กวาดกวาดเศษขยะเท่านั้น ทั้งนี้ บริษัทที่เขาได้เซ็นสัญญานั้นจะนำรถมาทำความสะอาดให้ 6 เดือนต่อครั้งจนกว่าจะครบ 2 ปี หลังจากนั้น อาจจะต้องจ้างมาทำเป็นครั้งคราว

ในขณะที่เพื่อนร่วมหุ้นอีกคนของ  SOCCER CUBE อย่าง พุทธพงศ์  พุทธวิบูลย์  นักธุรกิจหนุ่มวัย 26 ปี ผู้บริหาร  SOCCER CUBE อีกคน บอกว่า ตอนแรกที่จะเปิดสนามหญ้าเทียมนี้ขึ้น เขาเพิ่งเรียนจบมาใหม่ๆ เมื่อเพื่อนสนใจจะทำก็มีความสนใจเช่นกัน เพราะเขาเองก็ชื่นชอบกีฬาฟุตบอลเป็นชีวิตจิตใจอยู่แล้ว จึงมาร่วมหุ้นกับเพื่อนเปิดสนามนี้ขึ้นมา โดยตอนนี้เขาทำหน้าที่เป็นผู้จัดการ ซึ่งจะทำหน้าที่จัดคิวในการเล่นของลูกค้าที่มาเล่น และจองคิวเอาไว้ ซึ่งตั้งแต่เปิดสนามมามีลูกค้าเข้ามาใช้บริการเกือบ 20 ชั่วโมงต่อวัน  โดยเวลาที่เป็นที่นิยมมากที่สุด ก็คงไม่พ้นเวลา 18.00-22.00 น.

"เชื่อมั่นว่ากระแสฟุตบอลในขอนแก่นจะไม่ตกลงมาง่ายๆ เพราะตอนนี้ขอนแก่นเอฟซีก็ยังอยู่ในกระแสของประชาชาวขอนแก่นอยู่  นอกจากนี้ ยังมีคนที่ชอบการเล่นสนามหญ้าเทียมอยู่อย่างต่อเนื่อง จึงไม่ได้กังวลในเรื่องนี้มากนัก" หุ้นส่วนหนุ่มบอก

ผลพวงจากกระแสฟุตบอลฟีเว่อร์ ทำให้ไม่เพียงแต่ SOCCER CUBE ได้รับอานิสงส์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงสนามฟุตบอลในร่มอีกหลายแห่ง ยังคงได้รับความนิยมตามไปด้วย

โดย : กรุงเทพธุรกิจ ไอเดีย & ดีไซน์
แนะนำโดย www.smesplannet.com

3/20/2555

การเขียนแผนธุรกิจ สำหรับธุรกิจ SME Franchise


การเขียนแผนธุรกิจ และ องค์ประกอบของแผนงานธุรกิจ
แผนงานธุรกิจเป็นการบอกเล่าถึงกระบวนการที่จะได้มาซึ่งกำไรจากการประกอบการ ซึ่งถ้าวิเคราะห์กำไรแล้วจะพบว่ากำไรมาจากรายได้หักลบด้วยค่าใช้จ่าย ดังนั้นจึงควรเริ่มเขียนแผนงานธุรกิจจากการนำเสนอข้อมูลจากการวิเคราะห์วิจัยตลาดเพื่อแสดงถึงโอกาสในการสร้างรายได้ก่อนรายการอื่น อันจะสามารถจูงใจผู้ให้กู้ร่วมลงทุนให้สนใจธุรกิจนี้ และเห็นพ้องต้องกันกับผู้ประกอบการว่าแผนงานธุรกิจนี้สามารถเป็นจริงได้ในทางปฏิบัติ และมีโอกาสประสบความสำเร็จได้
แผนงานธุรกิจโดยทั่วไปไม่ควรมีความยาวเกิน 100 หน้า เนื้อหาได้ใจความครบถ้วนแต่กระชับไม่เยิ่นเย้อจนเกิดความเบื่อหน่ายแก่ผู้อ่าน จัดทำขึ้นในรูปแบบที่เรียบร้อย อ่านง่าย เป็นระเบียบ และที่สำคัญที่สุดคือ แผนงานธุรกิจต้องมีองค์ประกอบที่สมบูรณ์ มีรายละเอียดเพียงพอให้เข้าใจและดึงดูดใจทุกฝ่ายที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการเริ่มต้นประกอบการธุรกิจขนาดย่อมครั้งนี้
1. ปกหน้าและสารบัญ
ปกหน้าเป็นสิ่งแรกที่ผู้อ่านแผนงานธุรกิจจะได้เห็น จึงควรมีชื่อของธุรกิจรวมทั้งที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขโทรสาร และที่อยู่ทาง E- Mail ( ถ้ามี ) อยู่ด้วย เพื่อความสวยงามควรมีตราหรือสัญลักษณ์ของธุรกิจประทับอยู่ให้สะดุดตาน่าสนใจ นอกจากนั้นอาจมีชื่อที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ประกอบการอยู่ด้วย เพื่อความสะดวกในการติดต่อกลับ ตลอดจนการแจ้งวันเวลาโดยประมาณที่คาดว่าธุรกิจนี้จะสามารถเริ่มต้นดำเนินการได้
ส่วนสารบัญมีไว้เพื่อความสะดวกในการค้นหารายละเอียดของแผนงานธุรกิจได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีประโยชน์มากในขั้นตอนการเจรจาต่อรองกับบุคคลภายนอก เพราะทั้งผู้ประกอบการและอีกฝ่ายหนึ่งสามารถยืนยันข้อมูลและซักถามในประเด็นต่าง ๆ โดยอ้างอิงเอกสารซึ่งกันและกันได้ง่ายขึ้น
2. บทสรุปของการบริหาร
บทสรุปของการบริหาร เป็นแผนงานธุรกิจทั้งหมดที่ถูกย่อให้เหลือแค่ 1-2 หน้า เพื่อให้เป็นภาพอันชัดเจนของธุรกิจที่จะถูกจัดตั้งขึ้น บทสรุปของผู้บริหารควรเขียนให้ดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน ซึ่งจะทำให้อยากอ่านรายละเอียดของแผนงานธุรกิจทั้งหมดที่เหลือ เนื้อหาของบทสรุปของการบริหารจะเกี่ยวข้องกับ
2.1 แนวคิดและขอบเขตของธุรกิจ โดยแสดงให้เห็นว่าสินค้าหรือบริการที่จะนำสนอแก่ลูกค้าสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าเหนือกว่าคู่แข่งขันอย่างไร คุณสมบัติพิเศษของสินค้าหรือบริการเป็นอย่างไรในด้านประโยชน์ใช้สอย รูปลักษณ์ คุณภาพ ความคงทน ฯลฯ ธุรกิจจะก่อตั้งเมื่อไรหรือก่อตั้งมาแล้วนานเพียงใด ขนาดของธุรกิจใหญ่เพียงใด และมีโอกาสในการก้าวหน้าพัฒนาตนเองอย่างไรบ้าง
2.2 โอกาสทางการตลาด โดยระบุถึงขนาดและอัตราการเจริญเติบโตของตลาดโดยประมาณ ส่วนแบ่งตลาดที่คาดว่าธุรกิจจะสามารถครองได้ สภาพของการแข่งขัน และแนวโน้มของอุตสาหกรรมนั้นทั้งหมด
2.3 กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย โดยมีนิยามกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอย่างชัดเจนเพื่อกำหนดกลุ่มลูกค้าหลักของธุรกิจ ขนาดและอัตราเติบโตของลูกค้ากลุ่มนี้ การวางตำแหน่งสินค้าและบริการในท้องตลาด
2.4 ความได้เปรียบเชิงแข่งขันของธุรกิจ ซึ่งเป็นจุดเด่นที่ธุรกิจมีเหนือกว่าคู่แข่งขันทั้งในด้านต้นทุน ความแตกต่างของสินค้าหรือบริการ และลักษณะเฉพาะตัวของสินค้าหรือบริการที่เป็นที่ชื่นชอบของลูกค้าเป้าหมายเฉพาะกลุ่ม
2.5 ข้อมูลทางการเงิน จะประกอบด้วยการพยากรณ์การขายใน 3 ปีแรกของการดำเนินงาน การลงทุนด้วยส่วนของเจ้าของและหนี้สินในระยะยาว ( ถ้ามี ) กำไรที่คาดหวัง ระยะเวลาในการคืนทุน อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน
2.6 ทีมงานบริหาร โดยชี้แจงโครงสร้างของบุคลากรทั้งหมด ซึ่งจะเน้นหนักในตัวผู้ประกอบการเป็นส่วนสำคัญ โดยสรุปความรู้ความชำนาญ ตลอดจนประสบการณ์ของผู้ประกอบการซึ่งจะเป็นผู้บริหารธุรกิจขนาดย่อมนี้ด้วย รวมไปถึงความสำเร็จในอดีตที่เคยทำได้
2.7 ข้อเสนอของธุรกิจ ระบุถึงเงินกู้หรือเงินลงทุนที่ต้องการเพิ่มพัฒนาธุรกิจและผลตอบแทนที่จะเสนอให้แก่ผู้สนใจให้สนใจให้กู้ยืมหรือร่วมลงทุน
3. องค์การธุรกิจและอุตสาหกรรม
3.1 การเกริ่นนำเกี่ยวกับปูมหลังของธุรกิจตั้งแต่แรกเริ่ม ในด้านรูปแบบของธุรกิจ แนวทางการดำเนินงานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งความสำเร็จและล้มเหลวที่ประสบมา
3.2 สภาพของอุตสาหกรรมโดยรวม โดยพิจารณาถึงประเภทของอุตสาหกรรมที่ธุรกิจนั้นเกี่ยวข้องอยู่ เช่น ธุรกิจการผลิตผ้าไหมจะเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสินค้าที่ระลึกและอุตสาหกกรมท่องเที่ยว นอกจากนั้นจะต้องคำนึงถึงโครงสร้างของอุตสาหกรรมนั้น ซึ่งประกอบด้วยธุรกิจและคู่แข่งขันอื่น ๆ ตลอดจนการระบุถึงอัตราแนวโน้มการเจริญเติบโต และปัจจัยแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลกระทบถึงอุตสาหกรรมโดยรวม เนื่องจากวิวัฒนาการของเทคโนโลยีอาจทำให้เกิดอุตสาหกรรมสินค้าหรือบริการใหม่ที่สามารถใช้ทดแทนกันได้ จึงควรกล่าวถึงไว้ด้วย
4. สินค้าและบริการ
4.1 รายละเอียดของสินค้าและบริการที่นำเสนอในแง่มุมประโยชน์ใช้สอย หน้าที่พิเศษหรือคุณสมบัติที่เหนือกว่าสินค้าและบริการของคู่แข่ง
4.2 ถ้ามีสินทรัพย์ทางปัญญาที่เกี่ยวข้อง เช่น สิทธิบัตร ควรระบุไว้ด้วย
4.3 โอกาสในการขยายสายผลิตภัณฑ์ ตลอดจนพัฒนาสินค้าหรือบริการให้หลากหลาย ครบถ้วนตามที่ลูกค้าต้องการ
4.4 ถ้าสินค้าที่นำเสนอเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ไม่เคยมีมาในท้องตลาด ควรมีรูปแสดงให้เห็นลักษณะของสินค้าหรือตัวต้นแบบด้วย
4.5 ประเมินศักยภาพของสินค้าและบริการในแต่ละช่วงของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์
4.5.1 ถ้าสินค้าอยู่ในช่วงแนะนำของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ หรือประดิษฐกรรมใหม่ต้องมีความโดดเด่นในประโยชน์ใช้สอย ช่วงนี้ศักยภาพทางการตลาดของผลิตภัณฑ์จะค่อนข้างต่ำ เพราะสินค้ายังไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย
4.5.2 ถ้าสินค้าอยู่ในช่วงเจริญเติบโตของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ ศักยภาพทางการตลาดของผลิตภัณฑ์จะสูง เพราะสินค้าเป็นที่รู้จักกันดีแล้ว แต่ต้องมีราคาที่ต่ำพอที่จะแข่งขันในตลาดได้ เนื่องจากเริ่มจะมีการแข่งขันภายในอุตสาหกรรมเดียวกันมากขึ้น
4.5.3 ถ้าสินค้าอยู่ในช่วงอิ่มตัวของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ ศักยภาพทางการตลาดของผลิตภัณฑ์จะอยู่ในระดับปานกลาง เพราะการแข่งขันจะสูงมาก แต่ถ้าสินค้ามีจุดเด่นที่จะเข้าสู่ตลาดแตกต่างจากผู้อื่น และเป็นจุดเด่นที่สนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่มที่มีขนาดกลุ่มใหญ่เพียงพอ ก็สามารถประคองตัวอยู่ในอุตสาหกรรมนั้นได้
4.5.4 ถ้าสินค้าอยู่ในช่วงลดลงของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ ศักยภาพทางการตลาดของผลิตภัณฑ์จะอยู่ในระดับต่ำ เพราะสินค้านั้นเริ่มถูกทดแทนได้ด้วยสินค้าอื่น ทำให้ยอดขายโดยรวมทั้งอุตสาหกรรมตกลง จึงไม่ควรนำสินค้าเข้าตลาดในช่วงนี้
5. การวิจัยตลาด
แม้ว่าการวิจัยตลาดจะอยู่ในระดับกลางของการเขียนแผนงานธุรกิจ แต่จะต้องเตรียมการเป็นลำดับต้นในการดำเนินการแสวงหาและเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่ง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ตัวผู้ประกอบการเองและบุคคลภายนอก เช่น ผู้ให้กู้ ว่าธุรกิจมีขนาดของตลาดใหญ่พอเพียง และสามารถทำกำไรให้ในระดับที่น่าพอใจ ข้อมูลจากการวิจัยตลาดนี้จะถูกใช้ในการเขียนแผนงานธุรกิจทั้งหมด ดังนั้นในการวิจัยตลาดจะต้องครอบคลุมข้อมูลต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
5.1 ลูกค้าในตลาดเป้าหมาย (Target Market Segment) ในด้านลักษณะพฤติกรรมการซื้อและการใช้ ข้อมูลทางประชากรศาสตร์ของลูกค้า ขั้นตอนการตัดสินใจซื้อ ตัวแปรที่ใช้ในการพิจารณาเลือกซื้อ ฯลฯ
5.2 ขนาดของตลาดในปัจจุบันและอนาคต ภายในช่วงระยะเวลา 5 ปี รวมทั้งการคาดหมายอัตราการเติบโตของตลาดโยรวมอย่างน้อย 3 ปี ภายใต้สภาวะแวดล้อมภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ เช่นเศรษฐกิจ นโยบายรัฐบาล ฯลฯ
5.3 การแข่งขันของธุรกิจในท้องตลาดทั้งที่เป็นสินค้าที่เหมือนกันและสินค้าทดแทนโดยพิจารณาลึกลงไปในรายละเอียดในด้านส่วนแบ่งตลาด ราคา คุณภาพ บริการเสริมสินค้า การรับประกัน การส่งมอบ ฯลฯ
5.4 ยอดขายประมาณการ โดยทำการพยากรณ์ยอดขายรวมของอุตสาหกรรม แล้วคำนวณตามร้อยละของส่วนแบ่งตลาดที่ธุรกิจคาดว่าจะครองได้
6. การประเมินศักยภาพทางการตลาด
หลังจากทำการวิจัยจนมีความเข้าใจอย่างชัดเจนถึง “ลูกค้าเป้าหมาย” “ขนาดของตลาด” และ “การแข่งขัน” ดีแล้วจะสามารถทำการประเมินศักยภาพทางการตลาดได้ ซึ่งศักยภาพทางการตลาดก็เป็ฯจุดเริ่มต้นของกระบวนการดำเนินงานทั้งหลาย เพราะการเริ่มต้นดำเนินธุรกิจต้องมีความมั่นใจในรายได้ที่จะรับเข้ามาในระดับหนึ่งที่พอเพียงให้ธุรกิจมีกำไรอยู่รอดได้ในขั้นต้น และมีกระแสเงินหมุนเวียนเข้ามาหล่อเลี้ยงสภาพคล่องของธุรกิจมิให้หยุดสดุดลงในขั้นต่อไปกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เป็นกลุ่มลูกค้าหลักส่วนใหญ่ของธุรกิจซึ่งสามารถระบุได้โยการจำแนกตามอายุ พฤติกรรมการซื้อการใช้ เขตพื้นที่ตามภูมิศาสตร์ ซึ่งกลุ่มลูกค้าเป็ษหมายมีความต้องการที่จะซื้อสินค้าและบริการที่ธุรกิจนำเสนอ เช่น กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของร้านซักรีดที่ซอยโชคชัย 4 ถนนลาดพร้าว เป็นกลุ่มคนที่อยู่คอนโดมิเนียมหรือแฟลตในซอยโชคชัย 4 ซอยเสนานิคม และซอยอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง
ขนาดของตลาด เป็นจำนวนยอดขายที่พยากรณ์คร่าว ๆ ซึ่งอาจจะนับเป็นจำนวนลูกค้าหรือจำนวนเงินก็ได้ ขนาดของตลาดควรใหญ่พอเพียงที่ธุรกิจจะลงทุน นอกจากนั้นผู้ประกอบการควรคำนึงถึงส่วนแบ่งตลาด ( Market share) ที่จะได้เมื่อเทียบกับทั้งอุตสาหกรรมว่าจะสามารถครองส่วนแบ่งตลาดได้สักกี่เปอร์เซนต์ถ้าทั้งอุตสาหกรรมคิดเป็น 100 %
การแข่งขัน เป็นการเปรียบเทียบธุรกิจที่ดำเนินการกับธุรกิจอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกันโดยใช้ SWOT Analysis ดังต่อไปนี้
S-Strength จุดแข็งของธุรกิจ เช่นผู้ประกอบการมีประสบการณ์การผลิตมานานคุณภาพสินค้าดีกว่าของคู่แข่ง
W-Weakness จุดอ่อนของธุรกิจ เช่นเงินทุนประกอบการมีน้อย ทำเลที่ตั้งไม่เหมาะสม ราคาสินค้าแพงกว่าคู่แข่ง
O-Opportunity โอกาสของธุรกิจ เช่นมีแหล่งวัตถุดิบราคาถูก รู้จักกับตัวแทนจำหน่ายมากมาย
T-Threat อุปสรรคของธุรกิจ เช่น ลูกค้ามีความจงรักภักดีต่อตรายี่ห้อของคู่แข่งมากเปลี่ยนทัศนคติยาก
7. แผนงานการตลาด
แนวคิดที่ใช้ในการวางแผนงานการตลาด หรือแนวทางการบริหารการตลาดเป็นวิถีทางที่ธุรกิจแต่ละแห่งจะใช้เป็นแม่บทในการวางแผนและดำเนินงานของธุรกิจทั้งหมด แนวทางต่าง ๆ มีอยู่ดังต่อไปนี้
7.1 แนวคิดที่เน้นการผลิต (Production ? oriented) การบริหารจะเน้นทางการผลิตและตัวผลิตภัณฑ์เองมากที่สุด การผลิตต้องมีการดำเนินงานที่ดีมีคุณภาพจะขายได้ กิจกรรมอื่น ๆ ของธุรกิจ เช่น การส่งเสริม การจำหน่าย การกระจายสินค้า จะถูกจำกัดบทบาท เพราะไม่มีความสำคัญเท่ากับการผลิต ผลิตภัณฑ์ให้ดีที่สุด
7.2 แนวคิดที่เน้นการขาย (Sales- oriented ) การบริหารที่เน้นการผลิตจะถูกลดบทบาทลง นโยบายการตลาดเน้นว่าต้องพยายามผลักดันให้ลูกค้าซื้อผลิตภัณฑ์ให้มากที่สุด การส่งเสริมการขาย การโฆษณาและการกระตุ้นการขายโดยวิธีอื่น ๆ จะมีความสำคัญมาก
7.3 แนวคิดที่เน้นผู้บริโภคเป็นหลัก หรือแนวคิดที่เน้นการตลาด (Consumer- oriented or Marketing-Oriented) กล่าวว่าการตลาดเริ่มและจบลงที่ลูกค้า ธุรกิจต้องนำเอาความต้องการของลูกค้ามาใช้เป็นแนวทางในการผลิต พร้อมทั้งการตั้งราคาที่เหมาะสม การส่งเสริมการขายที่ดึงดูดใจลูกค้าได้ การจัดจำหน่ายที่ทั่วถึง ฯลฯ เพื่อให้ลูกค้าซื้อผลิตภัณฑ์ในที่สุด
แนวคิดการบริหารการตลาดที่เหมาะสมกับธุรกิจขนาดย่อมมากที่สุด คือ แนวคิดที่เน้นผู้บริโภคเป็นหลัก ไม่ว่าลูกค้าจะมีความต้องการอย่างไร
ถ้าธุรกิจสามารถตอบสนองได้ก็จะถือได้ว่ามีการเกิดโอกาสทางธุรกิจขึ้น แม้ว่าตลาดที่ธุรกิจสามารถตอบสนองได้จะมีขนาดไม่ใหญ่โตมากนัก แต่ก็เป็นข้อดีที่ทำให้ไม่มีใครอยากเข้ามาแข่งขันมากมาย อย่างไรก็ดีต้องมั่นใจว่าขนาดของตลาดเพียงพอและคุ้มค่าต่อการลงทุน ส่วนอีกสองแนวคิดนั้นค่อนข้างจะต้องการเงินทุนจำนวนมากซึ่งไม่เหมาะกับธุรกิจขนาดย่อม และไม่เหมาะกับสภาวการณ์ของธุรกิจอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ล้วนมุ่งให้ลูกค้าเกิดการพึงพอใจสูงสุด ไม่ใช่มุ่งไปที่การผลิตหรือการขายที่เป็นกิจกรรมภายในองค์การธุรกิจเอง
ในแผนงานธุรกิจ การวางแผนงานการตลาดจะแบ่งออกเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้
1. การตั้งราคา ( Pricing) การกำหนดราคาที่ถูกต้องไม้ใช่เพียงแต่สามารถชดเชยต้นทุนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้ แต่ต้องเปรียบเทียบกับราคาของคู่แข่งขันในท้องตลาดด้วย ในการเริ่มต้นดำเนินการธุรกิจขนาดย่อมมักจะใช้วิธีเสนอราคาของคู่แข่งขันในท้องตลาด แต่ต้องไม่ลืมว่าถ้าจะตั้งราคา ควรมีต้นทุนรวมที่ต่ำด้วย
2. การส่งเสริมการจำหน่าย (Promotion) ถ้าเป็นสินค้าอุตสาหกรรมอาจใช้วิธีการโฆษณาตามนิตยสารเกี่ยวกับธุรกิจอุตสาหกรรมนั้น รวมทั้งการขายทางไปรษณีย์ หรือการแจกแผ่นพับ แต่ถ้าเป็นสินค้าอุปโภคทั่วไป อาจใช้วิธีโฆษณาและส่งเสริมการขายโดยบุคคลหรือผ่านร้านค้าตัวแทนจำหน่าย หรือการขายตรงด้วยวิธีต่าง ๆ รวมทั้งการโฆษณาขายบนอินเตอร์เนต
3. การกระจายสินค้า (Place) ธุรกิจขนาดย่อมมักใช้วิธีการกระจายสินค้าโดยส่งตัวแทนจำหน่ายอิสระมากกว่าที่จะตั้งทีมพนักงานขายขึ้นเอง เพราะแม้จะควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างของตัวแทนจำหน่ายอิสระไม่ได้ แต่ก็สามารถวางสินค้าให้แพร่หลายได้โดยมีต้นทุนที่ต่ำและขจัดปัญหาเกี่ยวกับการจัดการบุคลากรได้บ้างบางส่วน
4. นโยบายการบริการ (Service Policy) ธุรกิจขนาดย่อมต้องตัดสินใจว่าควรดำเนินการบริการหลังการขายเอง (ควบคุมได้แต่ต้นทุนสูง) หรือใช้บริการจากที่อื่นโดยทำสัญญากับบริษัทบริการ (ควบคุมไม่ได้แต่ต้นทุนต่ำ) หรือส่งคืนให้โรงงานผู้ผลิตรับผิดชอบ (ต้นทุนต่ำสุดแต่การบริการไม่ดีและใช้เวลานาน)
8. แผนงานการผลิต/ ปฎิบัติการ
แผนการผลิตและปฏิบัติการที่ดีต้องสะท้อนความสามารถขององค์กรใน “การจัดการกระบวนการผลิตและปฏิบัติการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล” เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับธุรกิจ โดยมุ่งเน้นประเด็นการจัดการไปยังกระบวนการแปลงสภาพวัตถุดิบและทรัพยากรในการผลิตในการวางแผนปฏิบัติการ ผู้ประกอบการต้องพิจารณาตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการผลิตตามประเด็นที่สำคัญ คือ 1. คุณภาพ
2. การออกแบบสินค้าและบริการ
3. การออกแบบกระบวนการผลิต และการตัดสินใจเรื่องกำลังการผลิต
4. การออกแบบผังของสถานประกอบ
5. การการออกแบบระบบงาน และวางแผนอัตรากำลังคนในกระบวนการผลิต
ในส่วนของการผลิตสินค้า การวางแผนงานการผลิตเป็นการดูแลควบคุมปัจจัยนำเข้าประเภทวัตถุดิบ ชิ้นส่วนอะไหล่ แรงงาน และพลังงานรูปแบบต่าง ๆ เพื่อป้อนเข้าสู่กระบวนการแปรสภาพให้กลายเป็นสินค้าสำเร็จรูปที่ต้องการในแต่ละขั้นตอน ตลอดจนการจัดการสินค้าคงคลังเพื่อการควบคุมปริมาณสินค้าให้สามารถบริการลูกค้าได้รวดเร็วทันใจที่สุดและมีต้นทุนที่ต่ำ ส่วนการผลิตการบริการ การวางแผนงานการผลิตต้องเน้นประสิทธิภาพของบุคลากร ระบบการจัดลำดับงาน และความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ
รายละเอียดในแผนงานการผลิตควรครอบคลุมถึง
8.1 รอบการผลิต โดยแยกรอบการผลิตในฤดูกาลกับนอกฤดูกาลให้เห็นชัดเจน เพื่อเป็นฐานข้อมูลของการจัดการวัตถุดิบและชิ้นส่วน รวมทั้งการว่าจ้างแรงงานเพิ่มเติมในช่วงที่ต้องการ
8.2 ทำเลที่ตั้งที่สะดวกที่สุดในการผลิต ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตรวมต่ำที่สุดในระยะยาว
8.3 เครื่องจักรอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกและสาธารณูปโภค ซึ่งมีใช้อยู่ในปัจจุบันและที่ต้องการในอนาคตเพิ่มเติมขึ้นภายใน 3 ปี ข้างหน้า
8.4 กลยุทธ์การดำเนินงานด้วยเทคนิคการผลิต การควบคุมคุณภาพ การควบคุมสินค้าคงคลัง การควบคุมต้นทุนการผลิต การจัดตารางเวลาและลำดับงาน รวมทั้งการประสานงานให้ทุกกิจกรรมการผลิตดำเนินไปอย่างสอดคล้องกัน
9. ทีมงานบริหาร
ทีมงานผู้บริหารที่ดีเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจเป็นรูปร่างและประสบผลสำเร็จ ซึ่งประกอบด้วยผู้จัดการและพนักงานระดับหัวหน้ารองลงมาที่มีความรู้ความชำนาญด้านเทคนิคเฉพาะทางที่สำคัญต่อการดำเนินงาน พร้อมทั้งความสามารถในด้านการบริหารที่นำธุรกิจไปสู่ความสำเร็จ ทีมงานที่ดีควรมีผู้บริหารครบถ้วนในแต่ละด้าน แต่สำหรับธุรกิจขนาดย่อมที่เพิ่งเริ่มต้น ทีมงานผู้บริหารอาจประกอบไปด้วยคนจำนวนน้อย หรือเพียงผู้ประกอบการคนเดียวทำงานเกือบทุกหน้าที่ การเริ่มต้นธุรกิจขนาดย่อมผู้บริหารจะเน้นหนักในหน้าที่ด้านการตลาดหรือการผลิตซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญที่สุดในช่วงก่อร่างสร้างฐานะ
ทีมงานผู้บริหารในธุรกิจขนาดย่อมแบบห้างหุ้นส่วนซึ่งประกอบด้วยผู้ที่มีความสามารถแตกต่างกันแต่ละแขนง จะเป็นการสร้างทีมงานที่ดีได้เช่นเดียวกันหลายคน เช่น ผู้ชำนาญการด้านบัญชีอยู่ 2-3 คน ก็ควรจะใช้ความสามารถเฉพาะตัวของแต่ละคนให้ทำหน้าที่ที่ไม่ซ้ำซ้อนกัน เช่น คนหนึ่งควบคุมบัญชีรายรับ-รายจ่ายและทำงบการเงิน อีกคนควบคุมสต๊อกสินค้าคงคลังและทำการจัดซื้อ เป็นต้น
แม้ทีมงานผู้บริหารในระยะเริ่มต้นต้องทำงานหนักมากเพราะเป็นช่วงก่อร่างสร้างตัวของธุรกิจขนาดย่อม แต่ผลตอบแทนจะค่อนข้างน้อยกว่าที่ควรได้ เพราะธุรกิจในระยะเริ่มต้นไม่มีรายได้มากนัก แต่มีรายจ่ายในการลงทุนมากมาย ผู้บริหารในช่วงการเริ่มต้นธุรกิจขนาดย่อมจึงต้องเป็นผู้ที่มีความมานะพยายาม ขยันหมั่นเพียร และยินดีจะเสียสละผลประโยชน์ของตนเองเพื่อความเจริญก้าวหน้าของธุรกิจอีกด้วย
รายละเอียดทีมงานผู้บริหารควรจะระบุถึง
9.1 โครงสร้างองค์การและตำแหน่งบริหารหลักโดยระบุผู้รับผิดชอบงานแต่ละด้าน
9.2 ผลตอบแทนที่ให้แก่ผู้บริหารทั้งในรูปของเงินเดือน ส่วนแบ่งกำไร และสวัสดิการจากธุรกิจ
9.3 ผู้ร่วมลงทุนที่ไม่ใช่ผู้บริหารและผลตอบแทนที่ให้
9.4 ที่ปรึกษาและบริการด้านวิชาชีพที่ต้องการใช้
10. ตารางเวลาโดยรวมของธุรกิจ
ตารางเวลาจะแสดงถึงเวลาในการทำงานและความสัมพันธ์ของกิจกรรมต่าง ๆ ในการเริ่มต้นการประกอบการธุรกิจขนาดย่อม เพื่อให้ความสัมพันธ์ของงานในขั้นตอน ก่อน-หลัง และควรระมัดระวังกิจกรรมหรืองานที่จะส่งผลให้การทำงานทั้งหมดล่าช้าลงได้
11. ความเสี่ยงที่ต้องเผชิญและสมมติฐานต่าง ๆ
ผู้ประกอบการบางคนอาจมองโลกในแง่ดีเกินไปว่า การทำธุรกิจนั้นมีโอกาสประสบความสำเร็จและได้ผลตอบแทนทางการเงินเป็นจำนวนมากจึงอาจจะลืมคิดถึงความเสี่ยงที่ต้องเผชิญการประกอบธุรกิจต้องมีความเสี่ยงเข้ามาเกี่ยวข้องมากมายหลายประการ เช่น สภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำจะส่งผลกระทบในด้านลบแก่ธุรกิจ ประเภทของธุรกิจไม่เหมาะสมกับความต้องการของตลาดในปัจจุบันและอนาคต ฯลฯ ซึ่งเป็นความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจ นอกจากนั้นยังมีความเสี่ยงจากองค์ประกอบภายในของธุรกิจเองอีกเช่น เกิดปัญหาด้านบุคลากร หรือปัญหาด้านการเงิน เป็นต้น เราจึงควรระบุถึงความเสี่ยงธุรกิจที่อาจเกิดขึ้นและการเตรียมความพร้อมที่ควรระบุไว้ในแผนฉุกเฉิน ในกรณีต่างๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
11.1 การพยากรณ์การขายมีความเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด บางครั้งการพยากรณ์การขายที่เกินความจริง คือยอดขายต่ำกว่าที่พยากรณ์เอาไว้จะทำให้ธุรกิจประสบปัญหาด้านการเงิน แต่การพยากรณ์การขายที่ต่ำกว่าความเป็นจริงซึ่งมียอดขายจริงสูงกว่าที่พยากรณ์เอาไว้ก็อาจสร้างปัญหาการเร่งงานในระบบการผลิต การจัดหาวัตถุดิบมาป้อนกระบวนการผลิตได้ไม่เพียงพอการว่าจ้างพนักงานและการจัดงานให้แก่คนงานไม่พอดีกับปริมาณคน และลูกค้าอาจเกิดความไม่พอใจที่ต้องรอสินค้าหรือบริการนานเกินควร
11.2 ความสามารถของคู่แข่งขันที่จะตัดราคาหรือทำให้สินค้าของธุรกิจล้าสมัย ผู้นำตลาดโดยเฉพาะธุรกิจข้ามชาติที่มีเทคโนโลยีทันสมัยมักจะมีเงินทุนมากพอที่จะทุ่มตลาดทำลายระดับราคาตลาดของสินค้าชนิดนั้น และมีวิวัฒนาการในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์สูงมาก
11.3 แนวโน้มของอุตสาหกรรมที่ค่อนข้างจะตกต่ำลงในระยะยาว ดังเช่นผลิตภัณฑ์นั้นมีสินค้าใหม่ที่ใช้ทดแทนกันได้หรืออุปสงค์ของผลิตภัณฑ์นั้นลดลงเพราะความนิยมหมดไป
11.4 คนงานที่มีความเชี่ยวชาญหายากในระยะยาว เช่น งานหัตกรรมที่อาศัยความเชี่ยวชาญสูงมักขาดผู้สืบทอดฝีมือ เพราะคนรุ่นใหม่มักไม่ชอบทำงานลักษณะนี้
11.5 ความขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเนื่องจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรือสาเหตุอื่นๆ
ยอดขาย/เก็บเงินจากลูกหนี้ไม่ได้ตามคาดหมาย ทำให้เงินสดหมุนเวียนขาดสภาพคล่อง และธนาคาร ไม่ให้วงเงินกู้หรือลดวงเงินกู้
คู่แข่งตัดราคาหรือจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่องระยะยาว
มีคู่แข่งรายใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่า ทันสมัยกว่า มีสินค้าครบถ้วนกว่า ราคาถูกกว่า เข้าสู่อุตสาหกรรม
หรือมาตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียง
สินค้าถูกลอกเลียนแบบและขายในราคาที่ถูกต้อง
สินค้าผลิตไม่ทันตามคำสั่งซื้อเนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบ
สินค้าผลิตมากจนเกินไป ทำให้มีสินค้าในสต็อกเหลือมาก
ต้นทุนการผลิต/การจัดการสูงกว่าที่คาดไว้
เกิดการชะงักการเติบโตของทั้งอุตสาหกรรม
มีปัญหากับหุ้นส่วนจนไม่สามารถร่วมงานกันได้
12. ประโยชน์ต่อชุมชน
ธุรกิจขนาดย่อมที่มีอนาคตอันสดใส คือ ธุรกิจเอื้ออำนวยผลประโยชน์แก่ชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน เช่น ผู้ถือหุ้น ลูกจ้าง ผู้ขายวัตถุดิบ ผู้รับจ้างและให้บริการ ฯลฯ ประโยชน์ต่อชุมชนที่ธุรกิจขนาดย่อมสามารถสร้างขึ้นคือ
12.1 การพัฒนาเศรษฐกิจ ได้แก่ การว่าจ้างแรงงาน การซื้อวัตถุดิบจากแหล่งชุมชน ฯลฯ
12.2 การพัฒนาชุมชน ได้แก่ การนำเสนอสินค้าและบริการที่สามารถตองสนองความต้องการของผู้คนในระแวกนั้น การยกระดับมาตรฐานการครองชีพของชุมชน ฯลฯ
12.3 การพัฒนามนุษย์ ได้แก่ การสร้างทักษะและความชำนาญ โอกาสในการสร้างอาชีพงานที่ก้าวหน้า การสร้างทักษะความเป็นผู้บริหารหรือผู้นำ การเสนอรายได้ที่จูงใจคนให้มานะพยายามในการทำงาน ฯลฯ
นอกจากนั้น ธุรกิจขนาดย่อมควรดำเนินงานอยู่ภายในกรอบของขนบธรรมเนียมประเพณีและศิลธรรมอันดีงาม โดยมีจริยธรรมทางธุรกิจเป็นพื้นฐานด้วย
13. แผนงานการเงิน
เมื่อมีการกำหนดแผนการตลาด แผนการบริหารจัดการ และแผนการผลิตได้แล้ว ที่สำคัญที่สุดคือต้องมีแผนการเงินมารองรับ เนื่องจากในทุกกิจกรรมต้องใช้เงินทั้งนั้น ในท้ายที่สุดของแผนธุรกิจจะต้องมีแผนการเงินที่ดี โดยทั่วไปจะมีส่วนประกอบที่สำคัญ ดังนี้
สมมุติฐานทางการเงิน
เป็นการกำหนดปัจจัยหลัก ๆของการดำเนินงานเพื่อประมาณการทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไปมีดังนี้
1. ยอดขาย เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่มาจากแผนการตลาดที่วางไว้
2. ต้นทุนขาย ควรจะมาจากแผนการผลิตที่วางไว้
3. ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารมาจากแผนบุคลากร และกิจกรรมพัฒนาและส่งเสริมการขายต่าง ๆ
4. ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย ประเมินจากอัตราดอกเบี้ย และวงเงินกู้เดิมกับวงเงินกู้ที่จะขอเพิ่มมาใหม่
5. สินทรัพย์และค่าเสื่อม มาจากประมาณการที่จะลงทุนในอนาคต เพื่อขยายกิจการและวิธีการคิดค่าเสื่อม
6. สินค้าคงคลัง ประมาณการระดับสินค้าคงคลังที่เหมาะสม
7. ลูกหนี้การค้า ประมาณการระยะเวลาระหว่างการขายสินค้า และการเก็บเงินได้จากการขาย
8. เจ้าหนี้การค้า ประมาณการระยะเวลาสั่งซื้อของ และจ่ายเงินให้เจ้าหนี้
ประมาณการทางการเงิน เป็นการประมาณการงบการเงินและการวิเคราะห์อัตราส่วนตามสมมุติฐานที่วางไว้ ประกอบไปด้วย
งบกำไรขาดทุน คือ งบที่แสดงถึงผลการดำเนินงานของบริษัทตลอดงวดระยะเวลาบัญชโดยทั่วไป จะกำหนดให้เป็นรอบ 1 ปี หรือราย 6 เดือน งบกำไรขาดทุน ประกอบด้วย รายการหลัก 3 รายการ คือ
1) ยอดขายหรือรายได้
2) ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ หรือต้นทุน
3) ผลต่างของตัวเลขดังกล่าว ซึ่งก็คือ กำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ
งบดุล คือ งบที่แสดงถึงฐานะการเงิน ภาระผูกพันในการชำระหนี้ และจำนวนทุนของบริษัท ณ วันใดวันหนึ่งเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น ณ วันสิ้นงวดของรอบระยะเวลาบัญชี งบดุลประกอบด้วยรายการหลัก ๆ 3 รายการ คือ สินทรัพย์ หนี้สิน และทุน หรือส่วนของเจ้าของงบกระแสเงินสด (Cash Flow) คือ งบแสดงการเคลื่อนไหวของเงินสด โดยจะแสดงถึงรายการได้มาและ
ใช้ไปของเงินสดหรือสิ่งที่เทียบเท่าเงินสดใน 3 กิจกรรมหลัก ๆ คือ-
- เงินสดที่ได้จากการดำเนินงาน
- จากการจัดหาเงินทุน
- จากการลงทุน
ดังนั้นความสามารถในการบริหารเงินสดของบริษัท และสภาพคล่องทางการเงิน จะดูได้จากงบกระแสเงินสด โดยงบกระแสเงินสดที่ดีควรเป็นเงินสดที่ไหลเข้ามาจากการลงทุนมากที่สุดรองลงมาจากการดำเนินงานและจากการจัดหาเงินทุนน้อยที่สุด งบกระแสเงินสดควรจะทำเป็นรายเดือน รายไตรมาส รายปี และอาจจะทำล่วงหน้าไปหลายปี ทั้งนี้แล้วแต่ความเหมาะสมของกิจการเพื่อที่จะทำให้รู้ถึงสถานะปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตของกิจการนั้น ๆ
การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน แบ่งออกได้เป็น 4 ส่วนหลัก ดังนี้
1. สภาพคล่อง
1.1 อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio)
= สินทรัพย์หมุนเวียน /หนี้สินหมุนเวียน
1.2 อัตราส่วนสินทรัพย์คล่องตัว (Quick Ratio)
= สินทรัพย์หมุนเวียน – สินค้าคงเหลือ /หนี้สินหมุนเวียน
2. ประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์
2.1 อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้ (Receivable Turnover)
= ขายเชื่อสุทธิ /ลูกหนี้เฉลี่ย
2.2 อัตราหมุนเวียนของสินค้า (Inventory Turnover)
= ต้นทุนสินค้าขาย /สินค้าคงเหลือเฉลี่ย
2.3 ระยะเวลาเรียกเก็บหนี้ (Receivable Turnover Period)
= 365 x ลูกหนี้ /ยอดขาย
2.4 ระยะเวลาสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover Period)
= 365 x สินค้าคงเหลือ /ต้นทุนขาย
3. ความสามารถในการบริหารงาน
3.1 อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ทั้งหมด (Return On Assets : ROA )
= กำไรสุทธิ x 100 /สินทรัพย์ทั้งหมด
3.2 อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (Return On Equity : ROE)
= กำไรสุทธิ x 100 /ส่วนของผู้ถือหุ้นทั้งหมด
3.3 อัตรากำไรจากการดำเนินงาน (Operating Income Margin)
= กำไรจากการดำเนินงาน x 100 /ยอดขาย
3.4 อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin)
= กำไรขั้นต้น x 100 /ยอดขาย
4. ความสามารถในการชำระหนี้
4.1 อัตราส่วนแห่งหนี้ (Debt Ratio)
= หนี้สินรวม /สินทรัพย์รวม
4.2 อัตราส่วนแหล่งเงินทุน (Debt to Equity Ratio)
= หนี้สินทั้งหมด /ส่วนของผู้ถือหุ้น
4.3 อัตราส่วนความสามารถจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage Ratio)
= กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี /ดอกเบี้ยจ่าย
การประเมิณสถาณการณ์จำลอง
เมื่อจัดทำงบประมาณทางการเงินแล้ว ลำดับต่อไปจะทำการประเมินสถานการณ์จำลองเป็นการ
วิเคราะห์ความไวต่อสถานการณ์เมื่อเกิดมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นในอนาคต จะขอยกตัวอย่างการประเมิน
สถานการณ์อยู่ 3 ลักษณะ ดังนี้
กรณีที่ดี เช่น ยอดขายเพิ่ม 20 % ค่าใช้จ่ายลด 20 %
กรณีปกติ เช่น ยอดขายเพิ่ม 10 % ค่าใช้จ่ายลด 10 %
กรณีแย่ เช่น ยอดขายลด 20 % ค่าใช้จ่ายเพิ่ม 20 %
ซึ่งทำให้ทราบถึงผลกระทบของตัวแปรที่เปลี่ยนแปลงไปว่าจะมีผลต่อโครงการอย่างไร เช่น จะเกิดอะไรขึ้นถ้ายอดขายลด 20% และค่าใช้จ่ายเพิ่ม 20%
การวิเคราะห์ระยะเวลาคืนทุน บอกถึงสภาพคล่องของโครงการ หมายถึง ระยะเวลาทั้งหมดที่จะต้องใช้ไปในการที่จะเปลี่ยนสินทรัพย์ที่ลงทุนไปนั้นกลับมาเป็นเงินสดอีกครั้งหนึ่ง ระยะเวลาคืนทุนที่สั้นกว่าจะบอกถึงสภาพคล่องที่ดีกว่า และมีความเสี่ยงที่ต่ำกว่า แต่อย่างไรก็ตามเกณฑ์ระยะเวลาคืนทุนนี้ มีจุดอ่อนอยู่ที่การไม่คำนึงถึงค่าของเงินตามเวลาหรือกระแสเงินที่เกิดขึ้นต่างเวลากัน เกณฑ์นี้นำมารวมกันที่หาระยะเวลาคืนทุนโดยทันที และการไม่นำกระแสเงินสดทุกจำนวนที่เกิดจากโครงการมาพิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการ จะพิจารณาเฉพาะกระแสเงินสดที่จำเป็นสำหรับการได้คืนทุนเท่านั้น รวมทั้งเกณฑ์นี้จะไม่เป็นธรรมสำหรับโครงการระยะยาวที่มีผลกำไรหลายปี ในอนาคตจะให้น้ำหนักความสำคัญเป็นพิเศษกับโครงการระยะสั้นเป็นหลัก
ระยะเวลาคืนทุน หมายถึง ระยะเวลาทั้งหมดที่โครงการจะให้กระแสเงินสดสุทธิรวมเท่ากับเงินลงทุนที่จ่ายเริ่มแรกพอดี
การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน
การเริ่มต้นธุรกิจใหม่จะต้องทำการวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ในการลงทุน โดยการคำนวณหาจุดคุ้มทุนของธุรกิจก่อน ซึ่งการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนส่วนใหญ่จะใช้กำไรส่วนเกินเป็นหลักในการวิเคราะห์โดยพิจารณาจำนวนสินค้าที่ขายเป็นจำนวนเท่าใด จึงจะมีรายได้เท่ากับค่าใช้จ่าย
จำนวนหน่วยขาย ณ จุดคุ้มทุน
= ต้นทุนคงที่ / ราคาขายต่อหน่วย X  ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย
หมายเหตุ
ต้นทุนผันแปร หมายถึง ต้นทุนรวมที่ผันแปรตามจำนวนหน่วยที่ผลิตหรือขายได้
ต้นทุนคงที่ หมายถึง ต้นทุนรวมที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามจำนวนหน่วยที่ผลิตในระหว่างช่วงการผลิตหรือช่วงการขายช่วงหนึ่ง
การวิเคราะห์มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เป็นการประเมินโดยการนำความสำคัญของค่าของเงินตามเวลาเข้ามาคิดด้วย วิธีการนี้จะหามูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับที่เกิดจากโครงการในแต่ละงวดมารวมกัน แล้วเปรียบเทียบกับมูลค่าปัจจุบันของเงินลงทุนโดยกำหนดอัตราส่วนลดหรือผลตอบแทนที่ต้องการ หากมีค่าเท่ากันหรือมูลค่าปัจจุบันสุทธิเป็นศูนย์ แสดงว่าโครงการนั้นคุ้มทุนพอดี หากมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดเข้ารวมกัน มีมากกว่ามูลค่าปัจจุบันของเงินลงทุน ถือว่าโครงการนั้นให้ผลตอบแทนสูงกว่าที่เราต้องการหรือคาดหวังไว้ ควรจะลงทุนในโครงการนั้น หากไม่แล้ว ก็ควรปฏิเสธไม่ลงทุนในโครงการนั้น
มูลค่าปัจจุบันสุทธิ = มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับ  - มูลค่าปัจจุบันของเงินสดจ่าย
การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนของการลงทุน (Internal Rate of Return – IRR)
เป็นอัตราส่วนลด/หรืออัตราดอกเบี้ยที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันของเงินสดที่คาดว่าจะต้องจ่ายออกไปเท่ากับ
มูลค่าปัจจุบันของเงินสดที่คาดว่าจะได้รับเข้ามาตลอดอายุของโครงการ หรือคือการหาส่วนลดหรืออัตราดอกเบี้ยที่ทำ
ให้มูลค่าปัจจุบันสุทธิ NPV (Net Present Value) เท่ากับ 0
อัตราผลตอบแทนที่ได้จากโครงการ : เป็นอัตราผลตอบแทนที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการ = 0
14. ภาคผนวก
เป็นการรวบรวมข้อมูลหรือเอกสารที่มีรายละเอียดค่อนข้างมาก ถ้าใส่ในแผนงานธุรกิจจะทำให้ผู้อ่านสับสนและเบื่อหน่าย จึงควรนำมาใส่ไว้ในภาคผนวก เช่นรายละเอียดของผลการตรวจวิจัยเพื่อขออนุมัติจากหน่วยราชการเป็นต้น

โดย SMEssmart.com

3/11/2555

SME ThailandผนึกTCDCกระตุ้นไอเดียผู้ประกอบการสร้างสรรค์

นิตยสาร SME Thailand ร่วมกับ TCDC จัดสัมมนา “การสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าด้วยดีไซน์” บ่มเพาะผู้ประกอบการไอเดียสร้างสรรค์

นางสุจิตรา บุณยขจร บรรณาธิการอำนวยการนิตยสารSME Thailand กล่าวว่า จากแนวโน้มของปัญหาภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลกและกับประเทศไทยที่เริ่มจะคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น ประกอบกับจากนโยบายของรัฐบาลยุคปัจจุบันที่มุ่งเน้นพัฒนาผู้ประกอบการ โดยนำนโยบายของไทยเศรษฐกิจสร้างสรรค์มาใช้ จึงทำให้เห็นว่า ในอนาคตต่อไปข้างหน้าการแข่งขันจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการไทยจะต้องนำเอาความคิดสร้างสรรค์มาใช้ในการพัฒนาสินค้าหรือปรับปรุงรูปแบบการดำเนินธุรกิจของตนเอง
ดังนั้นทางนิตยสาร SME Thailand  ร่วมกับ ทางศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ TCDC จัดสัมมนาใน หัวข้อ “ การสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าด้วยดีไซน์“  โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านประสบการณ์ทางด้านการออกแบบมาร่วมพูดคุย ไม่ว่าจะเป็น พิชิต วีรังคบุตร ผู้อำนวยการฝ่ายนิทรรศการและกิจกรรมสัมพันธ์ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ  ซึ่งเป็นผู้ที่มากด้วยประสบการณ์ทางด้านการออกแบบและการบรรยายให้ความรู้ทางด้านการออกแบบมานานนับหลายปี

นอกจากนั้นยังมีวิทยากรที่เป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จด้วยการนำดีไซน์มาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จนประสบความสำเร็จ เป็นที่ยอมรับอย่างมากในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น พูลพัฒน์ โลหชิตรานนท์ ผู้อำนวยการเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทบอทานิค จำกัด ในแบรนด์ “บอทานิค”  ผู้ที่นำเอาเศษวัสดุธรรมชาติ เศษวัชชพืช มาสร้างผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายจนสร้างรายได้หลักร้อยล้านบาทต่อปี อีกทั้งยังได้รับรางวัลมากมายอย่างนับไม่ถ้วนอีกด้วย
จิรพรรณ  กิตติศศิกุลธร  Design Director  บริษัท  Able  Interior  Workshop จำกัด ในแบรนด์  “Touch Able” ผู้ที่นำเอาเยื่อไม้เหลือทิ้งจากโรงงาน นำมาแปลงเป็นโคมไฟดีไซน์ จนสามารถคว้ารางวัลต่างๆมาได้มากมายเช่นกัน  และแม้ว่าภาวะเศรษฐกิจจะตกเพียงใดก็ตาม แต่ยอดขายของเธอก็มิได้ตกตามแต่อย่างใด

สำหรับสัมมนาในครั้งนี้จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม นี้ เวลา 13.30 – 16.30 น. ณ ห้อง ออดิทอเรียม ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ TCDC ชั้น 6 ดิ เอ็มโพเรียม ช้อปปิ้ง คอมเพล็กซ์

ทางรอด - ทางรวย ของธุรกิจ ร้านเสริมสวย

การทำธุรกิจ ร้านเสริมสวย เป็นอีกหนึ่งช่องทางธุรกิจแบบอาชีพอิสระ ที่ช่วยให้คนไทยทุกฐานะอาชีพมีสิทธิเลือกที่จะเป็น...ตัวของตัวเอง

แต่ภายใต้ความมีอิสระ มีทางเลือกของตัวเอง ก็ยังคงต้องใช้ความพยายามและหาแนวทางในการทำธุรกิจ เสริมสวย ให้ประสบความสำเร็จ เพราะ ร้านเสริมสวย ก็เป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันกันสูงพอสมควรทีเดียว

ในปัจจุบันนี้ มี ร้านเสริมสวย เกิดขึ้นจำนวนมาก ตามสัดส่วนของผู้ที่เข้ามา อบรมเรียนเสริมสวย ปีหนึ่งจำนวนนับหมื่นคน และมีแนวโน้มที่จะมีผู้เข้ามาเรียน อาชีพเสริมสวย เพิ่มขึ้นทุกปี

เนื่องจากเป็น ธุรกิจขนาดกลาง และขนาดเล็ก มีการลงทุนด้วยจำนวนเงินไม่ค่อยสูงมากนัก เป็นธุรกิจเงินสด มีรายได้ทุกวัน ต้นทุนส่วนใหญ่จะเป็นการขายฝีมือ มากกว่าการลงทุนด้านวัตถุดิบ ซึ่งต่างจากอาชีพอื่นที่ต้นทุนมักมาจาก วัตถุดิบมากกว่า การใช้ฝีมือ

เช่นเดียวกับธุรกิจอื่นๆ ร้านเสริมสวย มีทั้งที่ประสบความสำเร็จ และไม่ประสบความสำเร็จ บางรายเปิดไม่นานก็สามารถตั้งตัว และยึดเอาเป็นอาชีพที่มีรายได้ดี สามารถให้คนในครอบครัวมาประกอบอาชีพช่วยเหลือกันในการทำธุรกิจได้

แต่บางรายก็ประสบความล้มเหลวตั้งแต่เริ่มเปิดร้านได้ไม่นาน จนสุดท้ายต้องเลิกกิจการ เซ้ง หรือขายร้านให้คนอื่นต่อไป

หากจะย้อนให้ดูถึงปัญหาของธุรกิจเสริมสวย ที่ผู้ไม่ประสบความสำเร็จเจอ เกือบทั้งหมด มักเกิดจากผู้ทำธุรกิจเสริมสวยส่วนใหญ่ มักจะยึดติดความคิดในรูปแบบที่เรียกว่า "Me Too"

แปลเป็นไทยง่ายๆก็คือ ใครทำอะไรดี ฉันเอาด้วย...!!

คนส่วนใหญ่เหล่านี้มักคิดแต่ว่า  คนอื่นขายอะไรดี ทำอะไรดี ก็ทำออกมาขายบ้าง เอาอย่างเขาบ้าง

แม้แนวความคิด Me Too จะดี เป็นรูปแบบเริ่มต้นของการค้าขายก็จริง แต่ส่วนมากก็มักพิสูจน์ให้เห็นบ่อยครั้งว่า การทำอะไรตามอย่างคนอื่น ก็มักจะล้มเหลว สู้คนอื่นไม่ได้ โอกาสรอดทางธุรกิจมีน้อย โอกาสล้มเหลวมีสูง เพราะคนที่เก่งจริงๆเท่านั้นที่จะรอด

หรือไม่ก็เป็นคนที่ คิดอะไรต่างจากคนอื่น แม้ทำธุรกิจเดียวกัน แต่ทำไม่เหมือนกัน มีจุดขายที่แตกต่างก็สามารถเอาชนะอุปสรรคจนประสบความสำเร็จก็มีให้เห็นมากมาย

ยกตัวอย่างง่าย ใครที่เคยเดินทางไปเที่ยวแถวเพชรบุรี ชะอำ สินค้าขึ้นชื่อของเพชรบุรีก็คือ ขนมหม้อแกง ของฝากเมืองเพชร ที่เมื่อก่อนมีอยู่เพียงไม่กี่ราย ขายกันจนร่ำรวยไป จนกระทั่งรายใหม่มองเห็นรายเก่ามีรายได้ดี ขายดี ก็ใช้รูปแบบMe Too

ไม่คิดอะไรมาก ทำขนมหม้อแกงออกมาขายแข่งกัน จนถึงวันนี้เราแทบไม่รู้แล้วว่า ใครคือตัวจริงเจ้าเก่าตัวปลอมเจ้าใหม่ กันแน่

แม้ความคิดแบบ Me Too จะช่วยให้ผู้ประกอบการได้รู้จักเริ่มต้นการค้าขาย แต่ก็พิสูจน์ให้เห็นแล้ว่า ผู้ทำธุรกิจจะจะเติบโตได้อย่างแท้จริง ต้องเปลี่ยนจากการเดินตามคนอื่น มาเป็นการพัฒนาความคิด ความสามารถ

แล้วปรับเปลี่ยนมุมมองจาก "นักขาย" ไปเป็น " นักธุรกิจ".... 

การทำธูรกิจเสริมสวยก็เช่นกัน ต้องปรับเปลี่ยนความคิดจาก "ช่างเสริมสวย" ไปเป็น "แฮร์ดีไซเนอร์" หรือ "นักออกแบบทรงผม" "ผู้เชี่ยวชาญด้านความงาม"

ความแตกต่างระหว่าง "นักขาย" กับ "นักธุรกิจ" ประเด็นใหญ่ที่สำคัญ คือ การปรับเปลี่ยน "วิธีคิด" ด้วยการเพิ่มหลักความคิดทางการตลาดเข้ามาเสริม

หลักการตลาดยอดนิยมที่ถูกวางมาเป็นสูตรเข้าใจง่ายๆเลยก็คือ หลักการตลาด แบบ 4P และ 4C

โดย หลักการตลาด เดิมเริ่มแรกเลยคือ 4P อันได้แก่

1.Product กลยุทธ์ด้าน ผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวสินค้า
2.Price กลยุทธ์ด้าน ราคา
3.Place กลยุทธ์ด้าน การเลือกกลุ่มเป้าหมาย หรือ ลูกค้า
4.Promotion กลยุทธ์ด้าน การกระตุ้นการซื้อของ ลูกค้า


ปัจจุบันนี้การแข่งขันมีสูง หลักการตลาด 4P ไม่เพียงพอต่อการแข่งขันให้ประสบความสำเร็จอีกต่อไป จึงต้องเพิ่ม หลักการตลาด แบบ 4C เข้ามาอีก นั่นคือ

1.Consumer ต้องมองว่า ผู้บริโภคหรือ ลูกค้า ต้องการอะไร เพื่อจะได้นำสิ่งนั้นมาขายแก่ลูกค้า  ซึ่งมากกว่าแค่ขายของที่เรามีอยู่
2.Cost กลยุทธ์ด้านการจัดการบริหารต้นทุน ให้ดีที่สุด เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ทำให้ต้นทุนต่ำสามารถทำราคาให้ถูก กำไรสูงขึ้น
3.Convenience กลยุทธ์ด้านการเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ลูกค้า
4.Communication กลยุทธ์ด้านการสื่อสาร การนำเสนอข้อมูลของธุรกิจสู่ลูกค้า ให้เข้าใจง่ายสร้างความน่าสนใจด้วยสื่อนั่นเอง


เอาละ...ผมกล่าวถึงเรื่องนี้ในเชิงวิชาการมามากพอแล้ว ตอนนี้มาพูดกันแบบชาวบ้านสู่ชาวบ้าน เว้ากันซื่อๆ พูดกันง่ายๆ เข้าใจแบบคนทั่วไปว่ากันดีกว่า

ธุรกิจร้านเสริมสวย นั้น ส่วนใหญ่มักยึดติดกับหลัก Me Too  ซึ่งต่อไปผมจะเรียก การเอาอย่าง ทำตามคนอื่น ก็แล้วกัน กล่าวคือ พอเห็น ร้านเสริมสวย เจ้าหนึ่งเปิดขึ้นมา มีลูกค้าเข้าร้านมาก ก็อยากเปิด ร้านเสริมสวย กับเขาด้วย เพราะคิดว่าทำง่าย ลงทุนน้อย

แถมเปิดแล้ว ยังไปเปิดติดกันหรือใกล้กับเจ้าเดิมอีกด้วย เรียกว่า ลูกค้าก็ไม่คิดหา หวังแบ่งลูกค้าเขามาเลย ว่างั้นเหอะ  ความคิดแบบเดินตามคนอื่น โดยไม่คิดพัฒนาความสามารถใช้หลักการตลาดที่ดีมาช่วย

บอกตรงๆอยู่ได้ไม่นานก็เจ๊ง หรือไม่ก็ทำกำไรจากธุรกิจนี้ไม่ได้ อย่างเก่งก็แค่เสมอตัว หาเงินเลี้ยงลูกน้องเท่านั้น

ในการปรับเปลี่ยนวิธีคิด จาก "ช่างเสริมสวย" มาเป็น "ผู้บริหารธูกิจเสริมสวย" หรือ "ผู้เชี่ยวชาญด้านความงาม"นับว่าจะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จมากขึ้น โอกาสอยู่รอดใน ธุรกิจร้านเสริมสวย ก็มีมากขึ้นด้วย เริ่มจาก...

1.วางแผนด้านตัวสินค้า ร้านเราขายอะไร ขายบริการเป็นช่างตัดผม ขายสินค้าด้านความงามเกี่ยวกับเส้นผม ใช่หรือไม่...? ตัวสินค้าของเราคืองานบริการ ดังนั้น ชื่อร้านน่าสนใจมั้ย

แทนที่จะชื่อ "บุญมีเสริมสวย" ลองใช้ชื่อที่ติดหู ติดปากลูกค้าขึ้นมาหน่อย เช่น ร้าน 24 Hair salon เป็นการสร้างจุดขายของร้านว่าทำอะไร ขายอะไร ขายแบบไหน

สินค้าคือ ช่างเสริมสวย ที่เปิดบริการให้คุณตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยบริการที่คุ้มค่า คุ้มราคา ฝีมือดี บริการลูกค้าได้ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะ ดีด ทำสี ยืด ตัดผมชาย ตัดผมหญิง เป็นต้น

รวมถึง การตกแต่งร้าน ให้ดูสวยงาม เหมาะสม มีจุดเด่น เห็นง่าย น่าเข้าไปใช้บริการ หาจุดเด่นของเราให้เจอ จนลูกค้าเห็น แล้วสนใจ เช่นบางร้านตกแต่งร้านแบบ ร้านเสริมสวย ย่านสยามแสควร์ แล้วติดป้ายบอกเลยว่า ร้านนี้ ตัดผมวัยรุ่นสไตล์เกาหลี ญี่ปุ่น เพื่อดึงลูกค้าระดับวับรุ่นเข้าร้าน ส่วนลูกค้าวัยอื่น หากสนใจเข้ามาใช้บริการถือเป็นกำไร

ร้านอื่นเก่ง ทำสี เราก็ขายจุดเด่นเราเก่ง ยืดผม ร้านอื่นเก่ง ตัดผม ด้วยกรรไกร เราก็เด่นด้านการ ตัดผม สวยด้วย มีดโกน ร้านอื่นเขาเด่นที่ราคาถูกลูกค้าเป็นนักศึกษาเงินน้อย เราก็เด่นที่ลูกค้าเป็นระดับอื่นวัยทำงานหรือวัยกลางคนแทน ด้วยราคาที่เท่ากันหรือสูงกว่าเล็กน้อย เนื่องจากลูกค้าเรามีกำลังซื้อสูงกว่านักศึกษา เป็นต้น

2.วางแผนตัวสินค้า คือ ร้านเราไปแล้ว ก็ต้องมาวางแผนด้านราคา กลยุทธ์ ตัดผม บริการ เสริมสวย ราคารถูกไม่ใช่ข้อได้เปรียบเสมอไป ราคาบริการถูกอาจเป็นแค่การดึงดูดจุดสนใจของร้านแก่ลูกค้า แต่ในความเป็นจริงเราต้องคิดอยู่เสมอว่า ทัศนคติของลูกค้าก็มักคิดเสมอว่า "ของดีไม่ถูก ของถูกไม่ดี" หากเลือกได้ลูกค้าย่อมเลือกของดี มากกว่าของถูกแน่นอน อยู่ที่คุณผู้เป็นเจ้าของร้านจะต้องแสดงออกให้ลูกค้าเห็นได้ชัดว่า ร้านเราเป็นของดี ราคาสูงกว่าร้านข้างๆนิดหน่อย แต่ฝีมือและบริการเราดีกว่า

แต่ว่าบอกไปแบบนี้ เดี๋ยวมีบางคนบอกมาว่า ร้านข้างๆราคาถูกกว่าลูกค้ายังเยอะกว่าอยู่ดี ร้านหนูราคาสูงนั่งตบยุงทุกวัน พอไปดูร้านเข้าจริงๆ ก็สมควรนั่งตบยุง เพราะร้านของหนูตกแต่งสภาพแย่กว่าร้านราคาถูกอีก แถมตั้งราคาเสียสูง ไม่เจ๊งไปเลยก็บุญเท่าไหร่แล้ว ดังนั้นราคาย่อมอยู่ที่การลงทุนด้วยนะจ๊ะหนู...สภาพร้านโทรมๆไปหวังตั้งราคาสูงลูกค้าที่ไหนจะเข้าร้านล่ะทูนหัว ถึงแม้ร้านเราจะเป็นห้องแถวเหมือนคู่แข่ง แต่หากตกแต่งร้านดีสวย น่าเข้าไปใช้บริการ ฝีมือดี บริการถูกใจ ราคาไม่ใช่เรื่องสำคัญแน่นอน

3.จงวางแผนเรื่องทำเล ที่ตั้งร้านเสริมสวย ให้ละเอียดรอบคอบ ไม่ใช่นึกอยากจะเปิดร้านเสริมสวย เห็นตึกเช่าราคาถูก รีบคว้าหมับจองจ่ายล่วงหน้า 3 เดือน แต่ตึกเพิ่งสร้างใหม่อยู่ในซอยเปลี่ยว มีบ้านคนอยู่ไม่กี่หลังคาเรือน

หรือเช่าชั้นล่างอพาร์ทเมนท์ สร้างใหม่อยู่ลึกมีลูกค้าแค่บนตึกหวังลูกค้าในตึกมาใช้บริการปรากฏลูกค้าเป็นพวกทำงานออกเช้ากลับดึก ตบยุงอีกแล้วครับท่าน เพราะวางแผนทำเลที่ตั้ง เลือกกลุ่มเป้าหมาย หรือเลือกกลุ่มลูกค้าผิดนั่นเอง...

การทำ ร้านเสริมสวย ไม่ใช่แค่คิดจะขายที่ไหน แต่ยังต้องคิดว่าจะขายใคร ขายแบบไหน ทำอย่างไรให้ร้านเราอยู่ใกล้ลูกค้าจริงๆ (ลูกค้าที่ต้องการตัดผม) ทำเลต้องสะดุดตา ใครผ่านไปผ่านมาก็เห็น ร้านตกแต่งดี บ่งบอกการบริการมีอะไรบ้างชัดเจน ร้านสะอาด สวยงาม น่าใช้บริการแบบนี้เป็นต้น

4.เอ้า...ลองทำตามแผนมาทุกอย่างแล้ว ทั้ง 3 ข้อ สุดท้ายของหลักการตลาดชุดแรก คือ โปรโมชั่น ซึ่งไม่ใช่แค่สื่อให้กลุ่มลูกค้ารู้จักร้านเราเท่านั้น  แต่ต้องกระตุ้นให้ลูกค้าอยากเข้ามาใช้บริการที่ร้านเสริมสวยของเราด้วย การโปรโมชั่น สร้างจุดขาย ลดแหลก แจกแถม ต้องมีการวางแผนกันล่วงหน้า รู้จุดต้นทุน รู้จุดกำไร บริหารการเงินระยะยาว มีสายป่านพอสู้กับธุรกิจนานๆ

การโปรโมชั่น คือ การกระตุ้นให้ลูกค้าเข้าร้านได้ดีที่สุด ง่ายที่สุด และเร็วที่สุด เช่น ช่วงเปิดร้านใหม่ ตัดผม 1 คน ฟรี 1 คน (การตัดผมฟรีเป็นการลงทุนน้อยที่สุด เพราะใช้ฝีมือหรือแรงงาน ความสามารถของเราเอง แต่หากใช้ลูกน้องตัดต้องมีต้นทุนค่าแรงลูกน้องรวมอยู่ด้วย)

หรือช่วงเทศกาลเข้าพรรษาลูกค้าน้อย จัดโปรโมชั่น ทำสีผม ดัดผม ยืดผม แถมผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมฟรี หรืออบไอน้ำฟรี ทรีทเมนต์ฟรี เป็นต้น (พยายามเลือกโปรโมชั่นที่ลูกค้าต้องการ หรืออยากทำมาก เอาไว้)

หรือ เจ้าของร้านเสริมสวย เป็นคนชอบเที่ยวต่างประเทศ ไปเจอของแปลกๆ ที่เมืองไทยไม่มี น่าใช้ราคาถูก ซื้อติดมือกลับมาทำเป็นของโปรโมชั่นก็น่าสนใจ เรียกลูกค้าที่เห่อของใหม่ ของแปลก ได้ไม่น้อยเลยทีเดียว โดยไม่ต้องไปลดราคาอย่างเดียว เดี๋ยวจะแข่งกันเจ๊งหมด

นี่เป็นจุดแรกของการรู้จักปรับเปลี่ยนแนวคิด วิธีการคิด เพื่อดำเนิน ธุรกิจเสริมสวย ในยุคใหม่ การแข่งขันมีสูง การลงทุนก็สูงขึ้น ผิดจากอดีตที่ขายฝีมือ ลงแรงอย่างเดียวก็อยู่ได้ ปัจจุบันไหนจะค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าแรงลูกน้อง ไม่ใช่ถูกๆ สินค้าที่ใช้ในร้านแต่ละตัว ยิ่งใช้ของดี ราคารต้นทุนยิ่งแพง ซึ่งหลักการตลาดแบบ 4P นี้ยังเป็นมุมมองแบบ "นักขาย" อยู่

หากอยากพัฒนาตัวเองให้ก้าวขึ้นไปอีกระดับ เพิ่มขีดความสามารถใน การบริหารร้านเสริมสวย ให้ดียิ่งขึ้น ท่านต้องเอาหลักการบริหารแบบ "นักธุรกิจ"  4C เข้ามาประยุกต์ในการทำงานเพิ่มขึ้น นั่นคือ

1.เริ่มจาก Consumer คือกลุ่มลูกค้า ไม่ใช่แค่มองดูว่า เปิดร้านตรงนี้ มีลูกค้าแน่นอน แต่ต้องมองให้ลึกลงไปเลยว่า กลุ่มลูกค้าของร้านท่าน คือใคร เด็ก ผู้ใหญ่ ผู้หญิง ผู้ชาย และ ลูกค้ากลุ่มที่คุณหวังให้เข้ามาใช้บริการในร้านน่ะ...ต้องการอะไร ?

เพื่อที่จะได้นำสินค้าที่ลูกค้าต้องการมาขาย ซึ่งมากกว่าการขายของที่เรามีมาขายเพียงอย่างเดียว เช่น เราเปิด ร้านเสริมสวย สำหรับวัยรุ่น ลูกค้าไม่ได้ต้องการแค่การตัดผมทรงมาตรฐาน แต่ต้องการ ช่างทำผม ที่ ตัดผม ทรงสมัยนิยม ทำสียอดฮิต ทำผมแนวดาราได้ สินค้าที่ใช้ก็ต้องปรับเปลี่ยนไปตามกลุ่มลูกค้า

เช่น อุปกรณ์ในการตัดต้องดูน่าตื่นตา ตื่นใจ กรรไกรยาว 7 นิ้ว ทรงโค้ง ท่าตัดของ ช่างเสริมสวย ต้องดูหวือหวา แต่งตัวตามสมัยนิยม ไม่ใช่ลูกค้าเป็นวัยรุ่น แต่ช่างแต่งตัวเชยๆ ลูกค้าที่ไหนจะกล้าเข้ามาให้ตัด เซ็ตติ้ง พวก โฟม มูส เจล ต้องดูมีสีสัน ทันสมัย หยิบจับออกมาใช้ต้องมีมาด ลูกค้ามองด้วยความทึ่ง

เปิดเพลงในร้าน ให้ถูกใจลูกค้า ไม่ใช่ถูกใจ ช่างตดผม ลูกค้าฟัง โฟร์-มด , แกลอรี่ บลา บลา แต่ในร้านช่างชอบฟัง จินตหรา เพลงลูกกรุง ขืนเปิดตามใจช่าง ตามใจเจ้าของร้าน...ก็จบกัน แมวที่ไหนจะเข้าร้านนอกจากคนคอเดียวกันจริงมั้ย ของเล็กๆน้อยพวกนี้ต้องไม่มองข้าม พยายามเอามาเป็นข้อมูลเพื่อศึกษาความต้องการของลูกค้าให้ดี

2.จบจากเอาใจลูกค้า ดูความต้องการของลูกค้าให้ได้แล้ว ก็มาดูที่เรื่องของต้นทุน Cost ซึ่งหมายถึงวิธีการบริหารต้นทุนการผลิตทั้งหมด ให้ต่ำหรือดีที่สุด เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันเชิงลึก การเลือกใช้สินค้า ค่าแรง เงินเดือน ค่าเช่า ผลกำไร เวลาในการทำงานแต่ละงาน ความสิ้นเปลืองต่างๆ ค่าน้ำ ค่าไฟ ล้วนเป็นต้นทุนผันแปรทั้งสิ้น

ต้นทุนแรกสินค้า อุปกรณ์ที่ใช้ในร้าน หากซื้อมาในราคาไม่แพงย่อมทำให้ต้นทุนเราต่ำ กำไรสูง การคำนวนจำนวนสินค้าที่จะใช้ในแต่ละสัปดาห์ แต่ละเดือน หากซื้อทีละชิ้นราคาสูง แต่ถ้าเดือนหนึ่งใช้แน่นอนประมาณ 2 โหล ซื้อเป็นโหลถูกกว่า 15-20% ยังไงทุกเดือนต้องใช้หมดแน่นอน แบบนี้ซื้อเหมาโหลย่อมได้ต้นทุนต่ำกว่า แต่อย่าไปเผลอซื้อมาโดยไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะใช้หมดนะ แบบนั้นมีแต่เจ๊งเพราะซื้อไม่เป็น ใช้ไม่คุ้ม ต้นทุนบานปลายหมด

เงินเดือนลูกน้อง เปอร์เซนต์ที่จะแบ่ง บางรายรับลูกน้องเข้ามา ด้วยความอยากได้ช่างคนนี้มาก เรียกค่าตัวแพงแค่ไหนก็เอา แต่ปรากฏรายได้ หรือลูกค้าไม่มากพอ เก่งแค่ไหนก็ไม่คุ้มเพราะ ทว่าเราก็ต้องเลือกช่าง และเงินเดือน ให้เหมาะสม เราอยู่ได้ ช่างที่เป็นลูกน้องอยู่ได้ ลูกค้าก็ชอบช่าง และฝีมือ ราคาค่าบริการของเรา ทุกอย่างก็แฮปปี้

อีกจุดที่ช่วยให้เรา บริหารต้นทุน ได้ดี ก็คือเรื่องเวลา ลูกค้าหนึ่งคน ควรวางแผนการทำงานให้เหมาะสม ว่าตั้งแต่เข้าร้านมาควรใช้เวลาบริการลูกค้าคนนี้กี่นาที หากมีลูกค้าเข้ามาเยอะๆ จะจัดระเบียบการให้บริการแบบไหน โดยลูกค้าไม่ต้องรอนาน จนเบื่อรำคาญเดินหนีออกจากร้านไม่กลับมาอีกเลย

มีบางร้านทำงานละเอียดมาก ฝีมือดี บริการเยี่ยม แต่ใช้เวลานานมากๆๆๆ กว่าจะเสร็จหัวหนึ่งเป็นชั่วโมง ร้านแบบนี้ลูกค้ามักจะมองเข้ามาในร้านก่อนหากมีคนใช้บริการอยู่จะไม่กล้าเข้าร้านเรา เพราะไม่อยากรอ ดังนั้นเราต้อง บริหารเวลาให้ดี ลูกค้าเข้าร้าน เชิญไปสระผมเลยดีมั้ย แบ่งช่างทำงานให้ดี สระผมลูกค้าลวกๆไม่ถึง 5 นาทีเสร็จ ลูกค้าก็มาใช้บริการครั้งเดียว เพราะเสียตังค์ไม่คุ้ม แต่หากสระนานเกินไป ไหนจะเปลืองค่าน้ำ เปลืองค่าไฟ ค่าแอร์ แถมเปลืองเงินเดือนลูกน้อง ทำงานไม่กี่หัวหมดเวลาไปวันหนึ่งแล้ว แบบนี้ไม่คุ้ม ต้องกำหนดเวลาในการทำงานให้ดี เหมาะกับเรา และเหมาะกับลูกค้าด้วย

ทั้งหมดนี้ยังรวมถึงการใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆด้วย ไม่ว่า แชมพู ครีมนวดผม สีย้อมผม น้ำยายืด น้ำยาดัด เจล โฟม มูส สเปรย์ อุปกรณ์ต่างๆ ที่สิ้นเปลืองได้ ต้องรู้จักใช้ให้คุ้มค่า และคุ้มกับลูกค้าที่เสียเงินให้แก่เราด้วย

3.ข้อต่อไปสืบเนื่องมาจากข้อที่แล้ว คือ Convenience หรือ บริการ หรือสินค้าที่ให้ความสะดวกสบายแก่ลูกค้า เรียกว่าเป็นการสนองตอบ ต่อความต้องการของลูกค้า เท่าที่เราจะทำให้แก่ลูกค้าได้ ยกตัวอย่าง เจ้าของร้านเสริมสวยรายหนึ่ง เปิดให้บริการแก่ลูกค้าเป็นพิเศษ ด้วยการให้ช่างเดินทางไปทำผม เสริมสวยให้ลูกค้าถึงบ้าน โดยคิดค่าบริการเพิ่มเล็กน้อย แต่ได้ลูกค้าแบบนี้เพิ่มขึ้นมามากมาย สร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ ไหนจะค่าบริการ ไหนจะค่าทิป จนเปิดสายออนไลน์ให้ลูกค้าโทรตามได้ตลอด 24 ชม.

ลูกค้าของเราส่วนมากหรือเกือบทั้งหมด ต้องการความสะดวกสบาย สะดวกซื้อ สะดวกใช้ สะดวกมาใช้บริการ และสามารถเลือกใช้บริการกับเราได้ง่าย เกือบทั้งหมด อยาก ทำสีผม ก็ได้ ยืดผม ก็ได้ ดัดผม ก็ไม่เกี่ยง นวดหน้า อบไอน้ำ ทำเล็บ แต่งหน้า เกล้าผม อยากได้อะไรมีหมด แถมยังมีสินค้าหายากแบบที่ลูกค้าต้องการโดยไม่ต้องถ่อไปซื้อที่ห้างฯ หรือเดินทางไปซื้อถึงต่างประเทศได้ยิ่งดี ร้านเรามีบริการให้หมด แบบนี้โอกาสประสบความสำเร็จของร้านเรามีสูง ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ รวยกันมาเยอะแล้ว

4.ข้อสุดท้าย ร้านเราดี สวย สะอาด บริการเด่น ราคาไม่แพง ช่างพูดเก่ง เอาใจเก่ง มีสินค้าให้บริการครบวงจร มีโปรโมชั่นดีๆมาเสนออยู่เป็นประจำ แต่หากเราไม่สามารถนำสิ่งดีเหล่านี้ออกไปบอกให้ลูกค้ารู้จักเราได้ ทั้งหมดที่กล่าวมาย่อมไม่เกิดประโยชน์ใดๆเลย ดังนั้น หลักการ Communication  หรือ การสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ สื่อให้ลูกค้ารู้จักเราเป็นเรื่องสำคัญ สำหรับการทำธุรกิจเสริมสวยในยุคปัจจุบันมาก

หากคุณต้องการลูกค้าแค่แถบทำเลในย่าน ร้านเสริมสวย ของเรา คุณก็ต้องทำการสื่อสารให้ลูกค้า รู้จักเรา เห็นร้านเรา หรือรู้จักบริการ รู้จักสินค้า รู้จักโปรโมชั่นของร้านเราให้มากที่สุด ไวที่สุดด้วย  การติดป้ายหน้าร้าน การแจกใบปลิว การส่งจดหมาย การมีเวบไซต์ การมีอีเมล์แจ้งข่าวแก่ลูกค้า ทำกิจกรรมหน้าร้านดึงดูดความสนใจของลูกค้า

การออกทีวี ออกวิทยุ ลงนิตยสาร ลงเวบไซต์ (หากลูกค้าเป็นวัยรุ่น หรือคนรุ่นใหม่ คนวัยทำงาน จะได้ผลดีมาก) ล้วนจำเป็นต้องทำทั้งสิ้น  การแสวงหาทุกช่องทางที่ประหยัด และมีประโยชน์กับตัวเองย่อมได้ผลดี รู้จักการให้ข่าว กับสื่อต่างๆ ที่มีอยู่มากมายหลายช่องทาง

เพราะบางคนทิ้งโอกาสดีๆเหล่านั้นไป ไม่ได้สร้างจุดเด่นของสินค้า ไม่ได้สร้างจุดเด่นของร้านให้เป็นที่รู้จัก หรือนำเสนอสินค้า นำเสนอร้านเราให้ลูกค้า และผู้บริโภคได้รู้จัก ได้เข้าใจในตัวสินค้าของเราขณะที่ ร้านเสริมสวย อื่นนำเสนอขายสินค้าของร้านได้ดีกว่าร้านเรา เขาย่อมประสบความสำเร็จสูงกว่าร้านเราแน่นอน

สุดท้าย สำหรับผู้ที่คิดก้าวเข้ามาทำ ธุรกิจเสริมสวย ใหม่ๆ และผู้ที่ทำธุรกิจ เสริมสวย แบบไม่เคยใช้ หลักการตลาดมาก่อน ลองเอาข้อคิดเหล่านี้ไปทดลองใช้กันดู แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การลงทุนจะต้องคุ้มค่า อย่าสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ ต้องรู้จนลึกแล้วว่าจ่ายไปเท่านี้ได้ผลตอบแทนกลับมาแค่ไหน ลงทุนไปแล้วโอกาสคุ้มทุนมากน้อยอย่างไร

เราต้องปรับวิธีคิด คิดให้ตัวเองเป็น "นักธุรกิจ" รู้จักวางแผน บริหารงานก่อนทำ ไม่ใช่แค่นักขาย ที่มีสินค้าอะไรมาก็ขายอย่างเดียว สมรภูมิทางการค้า ด้าน ธุรกิจเสริมสวย ยังคงเปิดรับผู้ที่พร้อมเสมอ....

ทางรอด...ทางรวย...อยู่ที่ตัวท่าน ไม่ใช่คนอื่น

โดย สุรศักดิ์ นัยสุดใจ

ขอบคุณแหล่งที่มา :  www.hifulla.com
รูปจาก : www.redkensaloon.com 

3/09/2555

จับตา ธุรกิจ SMEs ดาวเด่นปี 2555

สถานการณ์เศรษฐกิจภาพรวมปี 2555 คาดว่า กำลังซื้อของประชาชนจะได้รับผลกระทบจากปัญหา อุทกภัยครั้งใหญ่ปลายปี 2554 ที่ส่งผลทำให้ในปีนี้ ภาคครัวเรือนต้องหันมาระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น

เนื่องจากต้องใช้เงินไปกับการซ่อมแซมและฟื้นฟูบ้านเรือนที่พักอาศัยที่ได้รับความเสียหายภายหลังน้ำลด ซึ่งถือได้ว่าเป็นโจทย์ที่ท้าทายสำหรับผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่ ตลอดจนถึงธุรกิจเอสเอ็มอีต่างๆ ในภาคธุรกิจที่จะต้องทำการบ้านอย่างหนัก เพื่อเรียกกำลังซื้อให้กลับมาเข้าสู่ช่วงปกติให้เร็วที่สุด

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีธุรกิจดาวรุ่งอีกจำนวนมาก ที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องในปี 2555 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูหลังน้ำท่วม อาทิ ธุรกิจก่อสร้างและซ่อมแซมอาคารที่พักอาศัยและสาธารณูปโภค (อาทิ สินค้าที่ใช้ในการซ่อมแซมบ้านเฟอร์นิเจอร์) ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมและปรับปรุงรถยนต์ ตลอดจน ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีด้านการสื่อสารไร้สาย (อาทิ ธุรกิจอีคอมเมิร์ช ธุรกิจผลิตแอปพลิเคชั่นบนแท็บเล็ต) ทั้งนี้ สำหรับแนวทางการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs ในปีนี้ ควรจะต้องปรับตัวให้สอดรับกับบรรยากาศทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง ดังกล่าวอย่างทันท่วงที เพื่อผลประกอบการที่ดี ในขณะเดียวกัน ควรมีการติดตามพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไป ที่จะกลายมาเป็นตัวกำหนดทิศทางการเปลี่ยนแปลงด้านการค้าและตลาดในอนาคต

ที่เนื้อหาจาก : ksmestartup
ภาพประกอบ : homedecortha

 

3/08/2555

'เพลินวาน' แตกยอดร้านกาแฟ จัดเต็มแฟรนไชส์ดีไซน์ย้อนยุค































 ร้านกาแฟ “เพลินวาน” เป็นผลผลิตที่เกิดขึ้นจากการต่อยอดความสำเร็จของ “เพลินวาน” แหล่งท่องเที่ยวยอดฮิตประจำ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ด้วยการเปิดหาพันธมิตรร่วมธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ โดยคงเอกลักษณ์ตกแต่งบรรยากาศย้อนยุคเช่นเดิม มีเมนูหลากหลายรองรับลูกค้าคนรุ่นใหม่ ภายใต้สโลแกน “นางสาวเพลินวาน เดินทางเข้ากรุงเทพฯ” 




















สายสิริ ศิวะสกุล


แหล่งท่องเที่ยว “เพลินวาน” ปัจจุบันอายุครบ 2 ปีแล้ว ภายในตกแต่งเป็นบรรยากาศย้อนยุคไปเมื่อ 30-40 ปีที่แล้ว อีกทั้ง รวบรวมร้านอาหารและเครื่องดื่มโบราณไว้บริการหลากหลาย โดยเฉพาะร้านกาแฟ “เพลินวาน” นับว่าได้รับความนิยมติดอันดับต้นๆ จากทั้งรสชาติและรูปแบบ จนเป็นที่มาของการหยิบมาต่อยอดขายแฟรนไชส์

 




















ภายในตกแต่งสไตล์ย้อนยุค


สายสิริ ศิวะสกุล ผู้จัดการแฟรนไชส์ เล่าแนวคิดการขยายแฟรนไชส์ เกิดจากที่ผ่านมามีผู้สนใจติดต่อขอซื้อธุรกิจร้านกาแฟจำนวนมาก ประกอบกับ “คุณภัทรา สหวัฒน์” เจ้าของ “เพลินวาน” อยากนำแบรนด์ ซึ่งมีเอกลักษณ์จำลองบรรยากาศย้อนยุคมาให้ชาวกรุงเทพฯ ได้สัมผัสใกล้ชิดยิ่งขึ้น นอกเหนือจากที่ต้องเดินทางไปเที่ยวหัวหินเท่านั้น โดยอาศัยร้านกาแฟโบราณเป็นสื่อเชื่อมธุรกิจ จากที่เคยอยู่เฉพาะในแหล่งท่องเที่ยวจุดเดียว สู่การกระจายสาขาตามแหล่งชุมชนต่างๆ ในเมือง 

ร้านกาแฟเพลินวาน มีคำขวัญว่า “นางสาวเพลินวาน เดินทางเข้ากรุงเทพฯ” หมายถึง การนำเสน่ห์แห่งเพลินวาน ที่ อ.หัวหิน มาให้ลูกค้าชาวกรุงฯได้สัมผัส ไม่ว่าจะเป็นตกแต่งร้านบรรยากาศสไตล์ย้อนยุค โดยสิ่งของต่างๆ มีทั้งเป็นของเก่าแท้ๆ และของใหม่ทำเลียนแบบ ขณะที่เครื่องดื่มต่างๆ ปรับรสชาติให้เหมาะกับคนรุ่นใหม่ โดยเป็นสูตรที่คิดพัฒนาขึ้นเอง มีทั้งแบบกาแฟโบราณ และกาแฟสดต่างประเทศ เช่นเดียวกับวิธีการชง มีให้เลือกทั้งแบบโบราณชงในถุง หรือชงด้วยเครื่องทันสมัย

 




















หน้าร้าน "เพลินวาน" สาขาต้นแบบที่ "แมนชั่น7"


นอกจากนั้น ยังมีเมนูผสมผสานระหว่างยุคเก่าและยุคใหม่เข้าไว้ด้วยกัน เช่น ไข่กระทะใส่ชีส น้ำผลไม้ผสมโซดา และขนมต่างๆ ไว้คอยบริการ ตลอดจนในร้านยังสินค้าที่ระลึกขายจำนวนมาก เช่น ตุ๊กตา เสื้อยืด อมยิ้ม ฯลฯ ช่วยเสริมรายได้ และโฆษณาแบรนด์ไปพร้อมกัน

สำหรับการลงทุนแฟรนไชส์ สายสิริ เผยว่า ต้องเปิดในลักษณะร้านเท่านั้น เนื้อที่ 60-100 ตารางเมตร สามารถรองรับลูกค้าได้ประมาณ 30 ที่นั่ง มูลค่าเงินลงทุนเบื้องต้นอยู่ที่ 1-3 ล้านบาท (ขึ้นอยู่กับขนาดร้าน) แบ่งเป็นค่าลิขสิทธิ์แฟรนไชส์ 3.5แสนบาท อายุสัญญา 3 ปี ที่เหลือเป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ตกแต่งร้าน ค่าอุปกรณ์ และค่าวัตถุดิบพร้อมเปิดร้าน เป็นต้น

 











ทั้งนี้ เงื่อนไขสำคัญในการร่วมธุรกิจ ผู้ลงทุนแฟรนไชส์จะต้องรับวัตถุดิบหลักจากส่วนกลางเท่านั้น เช่น เมล็ดกาแฟคั่ว ภาชนะติดแบรนด์เพลินวาน เป็นต้น ขณะที่ส่วนกลางจะสนับสนุนด้านการฝึกอบรมพนักงานโดยเฉพาะคนชงกาแฟ และเตรียมพร้อมก่อนเปิดร้าน ทั้งตกแต่งร้าน และวางระบบต่างๆ รวมถึง ให้คำปรึกษาต่อเนื่องระหว่างเป็นหุ้นส่วนธุรกิจกัน นอกจากนั้น ในภาพใหญ่จะช่วยทำตลาดสร้างแบรนด์กาแฟเพลินวานให้รู้จักแพร่หลาย เช่น ลงโฆษณาบนสื่อสิ่งพิมพ์ เว็บไซต์ และออกงานแสดงสินค้า เป็นต้น











“สำหรับรายละเอียดต่างๆ ในการร่วมเป็นหุ้นส่วนแฟรนไชส์ของแต่ละรายจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมของแต่ละบุคคล เช่น ศักยภาพของทำเลที่ผู้ลงทุนมาเสนอ ความพร้อมด้านเงินลงทุน ทีมงาน เป็นต้น ซึ่งเราจะพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญการคัดสรรผู้มาร่วมธุรกิจ ควรจะเป็นผู้ที่มีความชื่นชอบ หรือมีอารมณ์ร่วมในบรรยากาศย้อนยุค ซึ่งจะทำให้พูดคุย และร่วมธุรกิจกันไปได้ด้วยดี” สายสิริ เสริม


ผู้จัดการแฟรนไชส์ เผยด้วยว่า ปัจจุบัน ร้านกาแฟเพลินวาน มีสาขาต้นแบบ คือ ร้านที่เพลินวาน อ.หัวหิน มียอดขายในช่วงสุดสัปดาห์ประมาณหลักแสนบาทต่อวัน และร้านที่ตั้งอยู่ที่ “แมนชั่น7” ถ.รัชดาภิเษก มียอดขายประมาณ 300 แก้วต่อวัน โดยเฉลี่ยราคาเครื่องดื่มจะอยู่ที่ 50-60 บาทต่อแก้ว หลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้ว เหลือกำไรสุทธิประมาณ 50% จากยอดขาย ซึ่งจากข้อมูลของร้านต้นแบบดังกล่าว ผู้ลงทุนแฟรนไชส์จะคืนเงินลงทุนได้ในเวลาประมาณ 1 ปี


ทั้งนี้ วางลูกค้าเป้าหมาย คือ กลุ่มวัยรุ่นไปจนถึงคนทำงาน และกลุ่มครอบครัวที่เคยไปเที่ยว “เพลินวาน” ที่ อ.หัวหิน แล้วเกิดความประทับใจ จนอยากกลับมาสัมผัสบรรยากาศของเพลินวานอีกครั้ง

สำหรับทำเลเปิดสาขาที่เหมาะนั้น สายสิริ ระบุว่า ควรจะเป็นย่านชุมชน มีคนสัญจรผ่านสม่ำเสมอ ย่านใกล้แหล่งธุรกิจ และสำนักงานต่างๆ โดยปีนี้ (2555) วางแผนขยายสาขา ควบคู่กันไประหว่างเปิดด้วยตัวเอง และปล่อยแฟรนไชส์ เฉลี่ย 1 สาขาต่อเดือน เริ่มตั้งแต่ช่วงกลางปีนี้เป็นต้นไป ซึ่งจากชื่อเสียงของ “เพลินวาน” ที่คนทั่วไปรู้จักดีอยู่แล้ว เชื่อว่า จะสามารถบรรจุเป้าที่วางไว้ได้









ตารางลงทุนเบื้องต้น “กาแฟเพลินวาน”




  • ต้องมีพื้นที่เปิดร้าน เนื้อที่ประมาณ 60-100 ตารางเมตร

  • เงินลงทุนเบื้องต้นอยู่ที่ 1-3 ล้านบาท (ขึ้นอยู่กับขนาดร้าน)




    1. แบ่งเป็นค่าลิขสิทธิ์แฟรนไชส์ 3.5แสนบาท อายุสัญญา 3 ปี

    2. ที่เหลือเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าตกแต่ง ค่าวัตถุดิบ ฯลฯ




  • ต้องรับวัตถุดิบหลักจากส่วนกลางเท่านั้น

  • กำไรสุทธิประมาณ 50% จากยอดขาย

  • ควรขายได้วันละประมาณ 300 แก้ว

  • แฟรนไชซอร์สนับสนุนด้านเตรียมพร้อมก่อนเปิดร้าน วัตถุดิบ และการตลาด

  • คาดการณ์คืนเงินลงทุนได้ในเวลาประมาณ 1 ปี




ที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์

กสอ.ดึง นักลงทุนญี่ปุ่น เพิ่มศักยภาพSMEs แม่พิมพ์ไทย

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย ดึงนักลงทุนญีปุ่น ร่วมเจรจาธุรกิจกับผู้ประกอบการไทย รองรับแผนการขยายการลงทุน เอสเอ็มอีไทย ในการก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาหน่วยบริการอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากการที่อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ได้มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิต และแม่พิมพ์ที่ดีจะส่งผลให้สามารถผลิตชิ้นส่วนได้อย่างรวดเร็วเป็นจำนวนมาก มีรูปร่างและขนาดได้มาตรฐาน รวมทั้ง ลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต

ดังนั้น ทาง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เล็งเห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริม และพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ในประเทศ รวมทั้งเป็นการสร้างความมั่นใจถึงศักยภาพและความพร้อมของไทยต่อการเป็นผู้นำในด้านแม่พิมพ์ในภูมิภาค จึงร่วมกับ สมาคมอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย จัดกิจกรรมจับคู่เจรจาธุรกิจ “Japan - Thailand Die & Mold Business Matching Meeting”

โดยได้เชิญนักลงทุนญี่ปุ่นมาเข้าร่วมเจรจาธุรกิจกับผู้ประกอบการไทยในครั้งนี้ จุดประสงค์ เพื่อเดินหน้าขยายการลงทุนในประเทศอย่างต่อเนื่อง และเพื่อรองรับกับการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในอนาคต
ปัจจัยที่ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs กู้เงินจากธนาคารไม่ได้ อันประกอบด้วยปัจจัยจำนวน 5 ปัจจัย ซึ่งเรียกปัจจัยดังกล่าวว่า “4ไม่ 1 มี” อันประกอบด้วย

  1. ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน 

  2. ไม่มีประสบการณ์แต่เล็งผลเลิศ 

  3. ไม่มีรายได้ให้ปรากฏ 

  4. ไม่มี Business Plan หรือแผนธุรกิจ และ 

  5. มีประวัติหนี้ NPL 


ซึ่งบทความดังกล่าวก็ได้ถูกนำไปเผยแพร่ ดัดแปลง แก้ไขในรายละเอียดบางส่วนจากหลายหน่วยงานเพื่อเผยแพร่ต่อผู้ประกอบการ ซึ่งจากเวลาที่ผ่านมาผู้เขียนเห็นว่าในข้อเท็จจริงแล้วยังมีปัจจัยอื่นๆที่จะส่งผลให้ผู้ประกอบการ SMEs ไม่สามารถที่จะกู้เงินจากธนาคารได้อื่นๆอีก ซึ่งอาจไม่ถูกกล่าวถึงไว้แต่เดิม ดังนั้นผู้เขียนจึงเห็นสมควรปรับปรุงเนื้อหาและรายละเอียดต่างๆของบทความ ให้เหมาะสมและทันสมัยยิ่งขึ้นตรงกับสภาวะปัจจุบัน โดยนำรายละเอียดเดิมที่เขียนขึ้นมาเรียบเรียงและปรับปรุง รวมถึงเพิ่มเติมรายละเอียดของปัจจัยอื่นๆอีก 5 ปัจจัยซึ่งก็เป็นอีกปัจจัย “4ไม่ 1 มี” เช่นเดียวกัน โดยใช้หัวข้อบทความ 10 ปัจจัยที่ทำให้ผู้ประกอบการกู้เงินจากธนาคารไม่ได้ โดยตัด SMEs ออกเพราะเป็นปัจจัยที่ผู้ประกอบการไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ก็อาจมีอยู่ เพื่อให้ผู้ประกอบการพิจารณาดูว่าผู้ประกอบการหรือธุรกิจของผู้ประกอบการมีปัจจัยหนึ่งปัจจัยใดอยู่บ้างหรือไม่ หรือมีทั้งหมดทุกปัจจัย จะได้ทราบว่าท่านซึ่งเป็นผู้ประกอบการจะมีโอกาสที่จะได้รับคำปฏิเสธ หรือต้องได้รับคำปฏิเสธจากธนาคารอย่างแน่นอนในการขอกู้เงิน เพื่อที่จะได้จัดการแก้ไขไม่ให้มีปัจจัยดังกล่าวอยู่ในตัวของท่านหรือธุรกิจก่อนที่ไปขอกู้เงินจากทางธนาคาร โดยปัจจัยดังกล่าวทั้ง 10 ประการประกอบด้วย
1. ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน

ถือเป็นปัจจัยส่วนใหญ่หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นปัจจัยมาตราฐานของการขอสินเชื่อไม่ได้ของผู้ประกอบการ เนื่องจากในระบบธนาคารหรือสถาบันการเงินใดก็ตามจำเป็นต้องมีการเรียกหลักประกันสำหรับค้ำประกันสินเชื่อทั้งสิ้น เพียงแต่หลักประกันที่ธนาคารเรียกเพื่อการค้ำประกันสินเชื่อนั้นจะอยู่ในรูปแบบใดเท่านั้นเอง) ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ที่มักเป็นรายเล็กๆซึ่งกำลังจะเริ่มดำเนินธุรกิจใหม่ หรือถ้าเริ่มดำเนินธุรกิจก็มักจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก ทำให้ยังไม่มีฐานะการเงินที่มั่นคงเพียงพอที่จะมีหลักทรัพย์มาค้ำประกันสินเชื่อในการดำเนินธุรกิจได้กับธนาคาร เช่น โฉนดที่ดิน, บ้าน, ห้องชุด หรือถ้าผู้ประกอบการมีอยู่แล้วซึ่งก็มักจะเป็นบ้านพักอาศัยก็มักจะติดจำนองกับธนาคารในลักษณะของสินเชื่อเคหะ ซึ่งไม่สามารถนำมาจำนองเพิ่มเติมได้ แม้ว่าจะมีธนาคารบางแห่ง เช่น ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.-SME Bank) หรือ ธนาคารออมสิน จะจัดโครงการสินเชื่อที่ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน เช่น โครงการสินเชื่อ Fast Track หรือ โครงการสินเชื่อห้องแถว โดยเป็นการใช้บุคคลค้ำประกันแทนการใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งจะมีวงเงินตั้งแต่ 50,000 – 300,000 บาท โดยการใช้ข้าราชการระดับตั้งแต่ C6-C8 หรือพนักงานผู้มีรายได้ประจำเป็นผู้ค้ำประกันสำหรับโครงการสินเชื่อ Fast Track แต่ในความเป็นจริงแล้วการที่ผู้ประกอบการจะหาผู้ค้ำประกันในคุณสมบัติตามที่กำหนดนั้นถือว่าไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะได้ตามเกณฑ์ดังกล่าว หรือในกรณีที่ต้องการขอวงเงินสินเชื่อถึง 500,000 บาท โดยไม่ใช้หลักทรัพย์มาค้ำประกัน ก็ต้องให้นิติบุคคลซึ่งก็ต้องมีคุณสมบัติตามที่ธนาคารกำหนดเช่นเดียวกันซึ่งอาจเป็นเรื่องยากกว่าการใช้บุคคลค้ำประกันเสียอีก โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับวงเงินสินเชื่อที่ผู้ประกอบการต้องการซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ระหว่าง 200,000-300,000 บาทขึ้นไปจนถึง 1,000,000 บาท ทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นจะต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันเกือบทั้งสิ้น (สำหรับธนาคารพาณิชย์โดยทั่วไปแม้ว่าจะมีโครงการสินเชื่อเพื่อ SMEs แต่ทั้งหมดจำเป็นต้องมีการใช้หลักทรัพย์รูปแบบหนึ่งรูปแบบใดในการค้ำประกัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วหลักประกันจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ อันได้แก่ ที่ดิน อาคาร สิ่งปลูกสร้าง รองลงมาก็อาจจะเป็นเครื่องจักร อุปกรณ์ เป็นต้น สำหรับการใช้บุคคลค้ำประกันก็นับเป็นหลักประกันชนิดหนึ่งเพราะถ้าเกิดกรณีผู้กู้ไม่สามารถชำระเงินกู้ได้ ผู้ค้ำประกันก็มีหน้าที่ที่จะต้องชำระเงินกู้แทนผู้กู้หรือชำระหนี้แทน ซึ่งก็จะมีสภาพเดียวกันกับการขายทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันเพื่อชำระหนี้นั่นเอง) นอกจากนี้แล้วในปัจจุบันโครงการการให้กู้สำหรับผู้ประกอบการโดยใช้บุคคลค้ำประกันมักพบว่า ผู้ประกอบการไม่สามารถผ่อนชำระหรือผิดนัดชำระในสัดส่วนค่อนข้างมาก ซึ่งทำให้เกิดกรณีที่ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชอบในภาระหนี้แทนผู้กู้ และเป็นภาระเกี่ยวกับเรื่องหนี้เสียของธนาคารผู้ปล่อยกู้ จึงปรากฏว่าในปัจจุบันมักจะไม่มีการอนุมัติสินเชื่อในรูปแบบดังกล่าวนัก และการหาผู้ค้ำประกันก็เป็นเรื่องลำบาก เนื่องจากการเกิดการผิดนัดชำระจนทำให้ผู้ค้ำประกันต้องมารับภาระหนี้ดังกล่าว นอกจากนี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย และระยะเวลาการกู้เงินสำหรับสินเชื่อที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน โดยมักจะเข้าใจว่าสามารถผ่อนได้ระยะยาวและอัตราดอกเบี้ยอยู่ในเกณฑ์ต่ำเหมือนสินเชื่อเคหะ ตามที่ได้รับทราบจากการแข่งขันของสินเชื่อเคหะหรือสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยจากธนาคารพาณิชย์ในตลาดที่โฆษณาผ่านหน้าหนังสือพิมพ์หรือทางวิทยุหรือสื่อต่างๆ คือผ่อนได้ 10-15 ปี หรือดอกเบี้ยประมาณ 4-5% ต่อปี เป็นต้น ทำให้เมื่อผู้ประกอบการทำการติดต่อขอสินเชื่อกับทางธนาคาร ในกรณีที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เช่น โครงการสินเชื่อ Fast Track ที่มีกำหนดระยะเวลาการให้กู้ 3 ปี และอัตราดอกเบี้ย 10% ต่อปี ก็มักจะบ่นว่าให้กู้ในระยะเวลาสั้นเกินไป และดอกเบี้ยแพงเกินไป เป็นต้น ทั้งที่ลักษณะของสินเชื่อในการดำเนินธุรกิจ กับสินเชื่อเคหะนั้นมีความแตกต่างกันในโครงสร้างของลักษณะการใช้วงเงินสินเชื่ออยู่แล้ว นอกจากนี้ในกรณีที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันนั้น ผู้ประกอบการมักจะคิดว่าธนาคารจะปล่อยกู้ 100% ของมูลค่าตลาดหรือราคาทรัพย์สินซึ่งก็มาจากความเข้าใจเช่นเดียวกันกับสินเชื่อเคหะ ในขณะที่ธนาคารจะต้องมีการให้ทำการประเมินราคาทรัพย์สินซึ่งอาจทำการประเมินราคาโดยหน่วยงานภายในของธนาคาร หรือโดยบริษัทประเมินราคาอิสระ ซึ่งราคาประเมินที่ได้อาจมีความแตกต่างจากความคาดหวังของผู้ประกอบการ เช่น ราคาประเมินทรัพย์สินที่ได้ทำการประเมินราคาคือ 1,500,000 บาท ในขณะที่ผู้ประกอบการบอกว่าสมัยที่ตนซื้อทรัพย์สินหรือราคาของทรัพย์สินนั้น คือ 2,000,000 บาท เป็นต้น ราคาที่แตกต่างกันนี้เกิดมาจากการลดลงของระดับราคาอสังหาริมทรัพย์ในช่วงภาวะเศรษฐกิจที่ผ่านมา แม้ว่าในปัจจุบันภาวะของตลาดอสังหาริมทรัพย์จะเติบโตและมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าราคาของอสังหาริมทรัพย์ในทุกๆแห่งหรือทุกๆทำเลจะกลับมามีราคาเช่นเดิม นอกจากนี้วงเงินสินเชื่อที่ให้ก็ไม่ได้ให้ 100% ของราคาประเมินทรัพย์สิน โดยอาจอยู่ระหว่าง 70-80% ของราคาประเมินเท่านั้น ในกรณีที่ให้ถึง 100% ของราคาประเมินนั้นถือว่าแทบจะไม่เกิดขึ้นเลยก็ว่าได้ (หรือถ้ามีอาจจะมาจากการประเมินราคาเพียง 70-80% ของราคาตลาด) โดยระยะเวลาการให้กู้ก็จะอยู่ระหว่าง 5-7 ปี โดยอัตราดอกเบี้ยก็จะเป็น MLR + ซึ่งอาจจะอยู่ระหว่าง 6-8% ต่อปีหรือมากกว่า ตามความเสี่ยงของธุรกิจที่ธนาคารกำหนดขึ้นจากการพิจารณาเกี่ยวกับลักษณะและการดำเนินการของธุรกิจ ซึ่งก็จะมีเรื่องบ่นจากผู้ประกอบการถึงเรื่องของระยะเวลาในการให้กู้กับอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดจากผู้ประกอบการ ในลักษณะเช่นเดียวกันกับการไม่ใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน และวงเงินที่ธนาคารสามารถให้กู้ได้ ไม่เพียงพอกับวงเงินที่ผู้ประกอบการต้องการเมื่อมีการคำนวณในเรื่องของการผ่อนชำระ

2. ไม่มีประสบการณ์แต่เล็งผลเลิศ

ถือเป็นปัจจัยอีกประการหนึ่งที่ผู้ประกอบการใหม่หลายรายมักจะได้รับคำปฏิเสธจากธนาคาร กล่าวคือในการเริ่มดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการโดยส่วนใหญ่แล้วมักจะมาจากความชอบส่วนตัวหรือแรงบันดาลใจจากที่ใดก็ตาม เช่น จากหนังสือเกี่ยวกับ SMEs, จากหนังสือพิมพ์, จากการไปเห็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ก็มักจะเกิดความคิดที่ว่า “ถ้าเป็นเรา...ก็น่าจะทำได้” เช่น ไปเห็นร้านกาแฟหรือร้านเบเกอรี่มีลูกค้าเต็มร้าน ก็คิดว่าถ้าเป็นตนเองก็น่าจะเปิดร้านกาแฟหรือร้านเบเกอรี่บ้างแล้วมีลูกค้าแน่นร้านเหมือนผู้อื่นได้ ทั้งๆที่ตนเองไม่ชอบกินกาแฟหรือไม่มีความรู้ในการทำเบเกอรี่มาก่อนเลย หรือได้ยินว่าในช่วงนี้รัฐบาลส่งเสริมในเรื่องของการส่งออกก็เลยคิดว่าจะเริ่มทำธุรกิจส่งออกทั้งๆที่ยังไม่เคยผลิตสินค้าใดๆมาก่อน หรือเคยทำธุรกิจส่งออก หรือแม้แต่ทำธุรกิจกับคนไทยด้วยกันเองเลย โดยรอความหวังว่ารัฐจะต้องเป็นผู้ให้การสนับสนุนแก่ตนเองในฐานะผู้ประกอบการ เป็นต้น โดยไม่มีการศึกษาให้รู้แจ้งเห็นจริงในธุรกิจที่ตนเองจะทำ หรือไม่เคยลองทำดูสักช่วงหนึ่งมาก่อนว่ามีปัญหาใดบ้างในการดำเนินการหรือเป็นไปตามประมาณการที่ตั้งไว้หรือไม่ ทั้งนี้อาจเนื่องจากสังคมไทยเป็นสังคมแบบ Me Too หรืออาจจะเรียกว่าธุรกิจส่วนใหญ่ในเมืองไทยจะมีลักษณะเป็น Me Too Business คือถ้าธุรกิจอะไรดี ฉันขอทำด้วย ทำให้เมื่อผู้ประกอบการติดต่อขอสินเชื่อกับทางธนาคาร และเจ้าหน้าที่สินเชื่อได้ทำการพิจารณาในเรื่องของของประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจ จะพบว่าผู้ประกอบการใหม่เหล่านี้ขาดความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริงเกี่ยวกับสินค้าหรือธุรกิจที่ตนเองจะเริ่มทำ หรือมักจะเป็นการเล็งผลเลิศหรืออาจเรียกได้ว่าเป็นความฝันของผู้ประกอบการคือคำว่า “ถ้าได้ตามที่คิด” คือ จะต้องมีลูกค้าจำนวนเท่าโน้นเท่านี้ จะมีรายได้เป็นเท่าโน้นเท่านี้ เป็นต้น โดยไม่เคยคิดว่าแล้วถ้าไม่ได้ตามที่คาดว่าไว้ตนเองหรือธุรกิจจะทำอย่างไร ในขณะที่การพิจารณาในการให้สินเชื่อโดยส่วนใหญ่จะตั้งบนพื้นฐานว่า “ถ้าไม่ได้ตามที่คาด” แล้วธุรกิจจะเป็นอย่างไร ผู้กู้หรือธุรกิจจะมีความสามารถในการผ่อนชำระคืนสินเชื่อกับทางธนาคารได้หรือไม่ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นแนวความคิดที่ดูแล้วสวนทางกันโดยสิ้นเชิงระหว่างผู้ขอกู้กับธนาคาร กล่าวคือผู้ประกอบการจะคิดเพียงแต่ว่าทำธุรกิจแล้วจะต้องได้รับผลกำไรไม่เช่นนั้นแล้วจะทำธุรกิจไปทำไม โดยจะไม่มีผู้ประกอบรายใดเลยที่มีความความคิดว่าจะมาขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อไปทำธุรกิจให้ขาดทุน เรียกได้ว่าผู้ประกอบการจะมีความคิดเป็น Best Case อยู่ตลอดเวลา ในขณะที่เจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคารจะมีแนวโน้มทางความคิดว่า ถ้าผู้ประกอบการได้รับสินเชื่อไปดำเนินธุรกิจแล้วไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดจะเป็นอย่างไร หรืออาจจะเรียกได้ว่าถ้าแย่ที่สุดจะเกิดอะไรขึ้น ซึ่งอาจเรียกว่ามีความคิดเป็น Worst Case หรืออย่างน้อยก็เป็นอย่างที่มันควรจะเป็นหรือมีความคิดเป็นแบบที่เรียกว่า Most Likely ซึ่งถ้าผู้ประกอบการที่ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อนในการทำธุรกิจที่ขอกู้เงินมาก่อน นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องของการที่มีแนวความคิดเกี่ยวกับการทำธุรกิจที่หลากหลายมากมาย อยากจะทำธุรกิจหลายๆอย่างพร้อมกัน เพราะเห็นว่าแต่ละธุรกิจที่ตนคิดขึ้นล้วนแล้วแต่สามารถเติบโตหรือสามารถสร้างผลกำไรเป็นอย่างมากสำหรับตนเอง รวมถึงกลัวการเสียโอกาสถ้าตนไม่ทำธุรกิจที่คิดไว้ในตอนนี้เพราะอาจมีผู้อื่นหรือคู่แข่งแย่งทำธุรกิจในลักษณะเดียวกันไปก่อน โดยเฉพาะการเล็งแต่ผลเลิศในการทำธุรกิจที่ตนเองยังไม่เคยทำแล้ว เจ้าหน้าที่สินเชื่อมักจะปฏิเสธการให้วงเงินสินเชื่อกับผู้ประกอบการในลักษณะนี้ แม้จะมีหลักทรัพย์ค้ำประกันครบถ้วนทุกอย่างเนื่องจากผู้ประกอบการจะไม่สามารถกำหนด หรือระบุแนวทางในการดำเนินธุรกิจตัวใดตัวหนึ่งที่ชัดเจนได้เนื่องจากความคิดในการทำธุรกิจที่มีจนมากมายเกินไป และการที่ธนาคารพิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ประกอบการดังกล่าวอาจไม่มีความสามารถในการบริหารธุรกิจให้อยู่รอดตลอดรอดฝั่ง ซึ่งจะเป็นผลทำให้เกิดหนี้เสียขึ้นได้ในอนาคต

3. ไม่มีรายได้ให้ปรากฏ

สิ่งนี้ก็ถือเป็นเป็นอีกปัจจัยหนึ่งซึ่งดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่พบเห็นได้สำหรับผู้ประกอบการ โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นรายที่เริ่มจะดำเนินการมาไม่นาน หรือได้ดำเนินการมาเป็นเวลาเนิ่นนานแล้วกล่าวคือ มักจะไม่มีการนำรายได้หรือรายจ่ายในการทำธุรกิจผ่านระบบธนาคาร โดยมักจะเป็นการซื้อขายกันด้วยเงินสดหักลบกลบหนี้กันแต่ละวัน โดยอาจเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในปัจจุบันนั้นมีอัตราที่ต่ำมาก การจะเข้าบัญชีธนาคารหรือไม่ก็มีผลเท่ากันแถมยังต้องเสียเวลาไปเข้าหรือเบิกถอนจากธนาคาร และยังไม่สะดวกที่จะทำการเบิกถอนในวันเสาร์-อาทิตย์อีกในขณะที่ตนเองต้องทำธุรกิจทุกวัน ที่ดีขึ้นมาหน่อยก็อาจจะเข้าบัญชีออมทรัพย์ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วก็จะเป็นบัญชีออมทรัพย์ในชื่อของเจ้าของ แต่ก็มักจะผสมปนเปกันกันไประหว่างค่าใช้จ่ายส่วนตัวกับค่าใช้จ่ายหรือรายได้จากการดำเนินธุรกิจเพราะถือว่าเป็นกระเป๋าเดียวกัน จะมีเพียงน้อยรายที่เปิดบัญชีในนามห้างร้านหรือชื่อธุรกิจที่ตนทำและแยกการใช้จ่าย ระหว่างรายได้หรือค่าใช้จ่ายทางธุรกิจกับรายได้หรือค่าใช้จ่ายส่วนตัวอย่างชัดเจน (ในส่วนของห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคลแล้วเกือบทั้งหมด มักจะเปิดบัญชีในนามห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทเพราะต้องมีการสั่งจ่ายเช็ค และมักจะมีระบบบัญชีที่มีระบบกว่าผู้ประกอบ SMEs โดยส่วนใหญ่ทั่วไป) หรือผู้ประกอบการบางรายกลัวว่าการนำเงินรายได้ของธุรกิจไปเข้าธนาคาร จะกลายเป็นหลักฐานให้สรรพากรรู้ว่าตนเองมีรายได้เท่าใดแล้วทำให้ตนเองต้องเสียภาษี ซึ่งอาจมาจากการที่ตนเองไม่แจ้งแบบการชำระภาษี หรือประกาศตัวว่าเป็นผู้ไม่มีรายได้ หรือเพื่อให้ตนเองเสียภาษีน้อยกว่าความเป็นจริงหรือไม่ต้องเสียภาษีเลย ทำให้เมื่อผู้ประกอบการเหล่านี้มีความจำเป็นไปติดต่อขอกู้เงินจากธนาคาร ซึ่งทุกธนาคารทั้งของภาครัฐและเอกชนซึ่งจะมีเงื่อนไขมาตราฐานในการขอกู้เงิน หรืออาจเรียกได้ว่าเป็น “ไฟท์บังคับ” ที่ธนาคารต้องขอเอกสารจากผู้ขอกู้เพื่อการพิจารณาสินเชื่อ กล่าวคือ ขอดูการเคลื่อนไหวทางการเงินกับธนาคารย้อนหลังอย่างน้อย 6 เดือน หรือขอดูบัญชีในสมุดคู่ฝากธนาคารหรือที่เรียกกันว่าขอดู Statement ย้อนหลังไป 6 เดือนว่าธุรกิจมีรายรับ-รายจ่ายและเงินคงเหลือหรือผลกำไรเป็นเท่าใด เพื่อพิจารณาว่ารายได้คงเหลือในการดำเนินธุรกิจสามารถผ่อนชำระคืนกับทางธนาคารตามวงเงินที่ขอกู้ได้หรือไม่ ซึ่งผู้ประกอบการที่ไม่ได้นำเงินจากธุรกิจเข้าระบบบัญชีธนาคารก็มักจะไม่สามารถแสดงให้เจ้าหน้าที่สินเชื่อเห็นได้ว่า ธุรกิจของตนมีรายได้ตามที่แจ้งให้เจ้าหน้าที่สินเชื่อทราบทราบเกี่ยวกับรายได้จากการทำธุรกิจ เช่น แม้ว่าธุรกิจหักลบกลบหนี้ระหว่างรายรับ-รายจ่ายแล้วมีกำไรจากการทำธุรกิจเหลือเดือนละ 50,000 บาท แต่ในบัญชีธนาคารมีเงินคงเหลือในแต่ละเดือนเพียงเดือนละ 5,000 บาท ก็เป็นการยากที่จะทำให้เจ้าหน้าที่สินเชื่อเชื่อได้ว่าธุรกิจที่ผู้กู้ทำจะมีรายได้เท่าที่ผู้กู้แจ้งให้ทราบ เพราะไม่หลักฐานในการยืนยันถึงรายได้จากการทำธุรกิจ ซึ่งเป็นสาเหตุของการถูกปฏิเสธในการให้กู้จากธนาคารของผู้ประกอบการโดยส่วนใหญ่ในปัจจุบัน เมื่อต้องไปขอกู้ในการขยายธุรกิจหรือขอเงินทุนหมุนเวียนทั้งที่ผู้ประกอบการมีหลักทรัพย์ค้ำประกันครบถ้วน มีประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจ และรายได้จากธุรกิจก็เกิดขึ้นจริงตามที่ผู้ประกอบการแจ้งให้กับเจ้าหน้าที่สินเชื่อทราบ แต่ผู้ประกอบการไม่สามารถแสดงหลักฐานถึงการเข้าออกของรายได้ให้ปรากฏก็มักจะได้รับคำปฏิเสธจากเจ้าหน้าที่สินเชื่อในการให้กู้ ที่ดีหน่อยก็อาจจะได้รับคำแนะนำว่าให้ผู้ประกอบการไปเดินบัญชีกับธนาคารซัก 6 เดือนแล้วค่อยมาดำเนินการขอกู้อีกครั้ง

4. ไม่มี Business Plan หรือแผนธุรกิจ

การมีหรือการจัดทำ Business Plan หรือแผนธุรกิจนี้ถือเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่จะมีผลให้ผู้ประกอบการสามารถกู้เงินจากธนาคารได้สำเร็จตามที่ต้องการ หรืออาจจะทำให้ได้รับคำปฏิเสธในกู้เงินจากทางธนาคารก็ได้เช่นเดียวกัน โดยเกือบทุกธนาคารถ้าเป็นการขอกู้เพื่อการทำธุรกิจทางธนาคารจะขอให้ผู้ประกอบการทุกรายจัดทำ Business Plan หรืออาจจะใช้คำพูดว่าเสนอโครงการเข้ามา ซึ่งถือเป็นเอกสารประกอบในการพิจารณาสินเชื่อว่าธุรกิจมีลักษณะในการดำเนินการอย่างไร รายรับ-รายจ่ายเป็นเท่าใด การลงทุนในธุรกิจ จุดคุ้มทุน ผลกำไรของธุรกิจเป็นเท่าใดโดยเฉพาะการดำเนินการของธุรกิจต่อไปในอนาคต (ซึ่งในรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดทำและความสำคัญของแผนธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ประกอบการ ซึ่งมีหลายเรื่องและหลายหัวข้อ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญโดยจะกล่าวถึงในโอกาสต่อไปในส่วนของความสำคัญของแผนธุรกิจ เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักจะจัดทำแผนธุรกิจเฉพาะตอนที่จะติดต่อขอกู้กับทางธนาคารเท่านั้น ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วแผนธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการมีความสำคัญ และความจำเป็นในการดำเนินธุรกิจมากกว่าที่จะไว้ใช้เฉพาะตอนจะขอกู้เงินกับธนาคารเสียอีก) ผู้ประกอบการส่วนใหญ่โดยเฉพาะรายเล็กจะมีปัญหาในเรื่องของการจัดทำแผนธุรกิจนี้มาก เรียกได้ว่าเป็นยาขมหม้อใหญ่สำหรับผู้ประกอบการเลยทีเดียวซึ่งมักจะเกิดจากว่าไม่รู้จะเขียนให้เป็นขั้นตอนที่ถูกต้องได้อย่างไร โดยอาจจะแจ้งให้กับทางเจ้าหน้าที่สินเชื่อทราบว่าถ้าจะให้อธิบายถึงธุรกิจของตนสามารถอธิบายได้ทุกขั้นตอน แต่ถ้าจะให้จัดทำหรือเขียนออกมาเป็นรูปเล่มตนเองไม่สามารถที่จะเขียนออกมาหรือจัดทำได้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ถ้าเขียนเองก็จะเขียนตามความเข้าใจของตนและส่วนใหญ่มักจะมีความสับสนในหัวข้อหรือรายละเอียดต่างๆ จนทำให้เจ้าหน้าที่สินเชื่อเมื่อพิจารณาจากรายละเอียดที่ระบุในแผนธุรกิจที่ผู้ประกอบการจัดทำอย่างไม่มีระบบ อาจพบว่าเป็นคนละเรื่องกับจากการสัมภาษณ์หรือการให้ข้อมูลของผู้ประกอบการไปเลยก็มี โดยเหตุผลของการจัดทำแผนธุรกิจตามที่กล่าวมาเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ธุรกิจจากผู้เกี่ยวข้องในการอนุมัติสินเชื่อ ซึ่งอาจอยู่นอกเหนือจากเจ้าหน้าที่สินเชื่อที่ได้พูดคุยสัมภาษณ์ผู้ประกอบการโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่สินเชื่อคนนั้นหรือคณะกรรมพิจารณาอนุมัติสินเชื่อของทางธนาคาร ดังนั้นเมื่อบุคคลเหล่านั้นได้อ่านข้อมูลของธุรกิจที่ขอกู้จากแผนธุรกิจที่จัดทำขึ้น ก็จะวิเคราะห์ตามรายละเอียดที่ปรากฏซึ่งอาจเป็นทั้งด้านบวกหรือด้านลบในการอนุมัติสินเชื่อก็ได้ เพราะบุคคลเหล่านั้นไม่ได้พูดคุยหรือรับรู้ข้อมูลจากผู้ประกอบการโดยตรง โดยในบางครั้งกรณีที่ผู้ประกอบการไม่ได้เขียนแผนธุรกิจด้วยตนเองโดยอาจว่าจ้างบุคคลหรือบริษัทที่รับจ้างทำแผนธุรกิจหรืออาจเรียกว่า “มืออาชีพ” ในการเขียนแผนเพื่อที่จะไปเสนอต่อธนาคารเพื่อขอกู้เงิน แต่ตนเองไม่เคยเข้าใจในรายละเอียดเกี่ยวกับแผนธุรกิจที่ว่าจ้างมืออาชีพเหล่านี้จัดทำขึ้นเลย ก็จะกลายเป็นว่าเมื่อถูกซักถามในรายละเอียดในแผนธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขต่างๆที่ปรากฏในเรื่องของการเงินก็มักจะไม่สามารถตอบคำถามดังกล่าวได้ ซึ่งจะกลายเป็นผลเสียยิ่งกว่าการไม่มีแผนธุรกิจเสียอีกสำหรับการพิจารณาจากเจ้าหน้าที่สินเชื่อ ซึ่งก็อาจจะมีผู้ประกอบการบางรายแย้งว่าข้อมูลหรือประมาณการในแผนธุรกิจจะใส่ข้อมูลอย่างไรก็ได้เพื่อให้ดูดีหรือจะกล่าวง่ายๆก็คือ “จะยกเมฆอย่างไรก็ได้” เพื่อให้ธุรกิจดูดีมีผลกำไร แต่ผู้ประกอบการจงอย่าลืมว่าเจ้าหน้าที่สินเชื่อที่พิจารณาสินเชื่อเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีความรู้ ความชำนาญ ในการพิจารณาสินเชื่อ ในการมองธุรกิจ ซึ่งไม่ใช่การพิจารณาอนุมัติสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการเฉพาะดูจากข้อมูลในแผนธุรกิจที่เสนอมาเท่านั้น แต่เจ้าหน้าที่สินเชื่อจะดูจากองค์ประกอบอื่นๆอีกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ตัวผู้ประกอบการ ประสบการณ์ ความเป็นไปได้ของธุรกิจ อัตราผลตอบแทนในตลาด ลักษณะรายรับ-รายจ่าย ผลกำไร รวมถึงองค์ประกอบอื่นๆในการอนุมัติหรือไม่อนุมัติสินเชื่อ ซึ่งผู้ประกอบการควรระลึกไว้ว่าการจัดทำ Business Plan หรือแผนธุรกิจที่ไม่ดีหรือไม่มีความสมบูรณ์เพียงพอ อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ท่านถูกปฏิเสธการให้กู้จากทางธนาคารได้ แม้ว่าท่านจะมีหลักทรัพย์ค้ำประกันครบถ้วน, มีความรู้และประสบการณ์ในการทำธุรกิจ หรือสามารถแสดงรายได้ให้ปรากฏได้ก็ตาม ดังนั้นผู้ประกอบการต้องทำความเข้าใจในแผนธุรกิจที่เขียนขึ้นเองหรือว่าจ้างผู้อื่นเขียนอย่างถ่องแท้ ก่อนที่จะไปติดต่อกับทางธนาคารถ้าท่านไม่ต้องการได้รับคำปฏิเสธ

5. มีประวัติหนี้ NPL

การเป็นหรือเคยมีประวัติว่าเป็น NPL (Non Performing Loan) นั้น ปัจจัยข้อนี้แทบจะถือได้ว่าเป็นปัจจัยหลักในการปฏิเสธการให้กู้จากธนาคารเกือบ 100% โดยทั้งที่จริงแล้วแม้ว่าผู้ประกอบการจะเคยเป็น NPL ตั้งแต่สมัยยุคฟองสบู่แตก ไม่ว่าจะเป็นหนี้การกู้บ้าน, บัตรเครดิต หรือหนี้อะไรก็ตาม แต่ในปัจจุบันได้เริ่มต้นทำธุรกิจหรือดำเนินธุรกิจต่อมาเป็นระยะเวลาพอสมควรแล้ว เริ่มมีรายได้เพียงพอที่จะสามารถชำระหนี้ที่เคยเป็นอยู่ได้ แต่ทว่าเนื่องจากประวัติของผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบข้อมูลเครดิตจะแสดงผลของชื่อผู้ประกอบการนั้นอยู่เสมอ ตราบใดที่ยังไม่มีการชำระหนี้ที่มีอยู่จนหมด ซึ่งเมื่อเจ้าหน้าที่สินเชื่อตรวจสอบข้อมูลของผู้ประกอบการในเรื่องของการใช้สินเชื่อหรือข้อมูลทางการเงิน เช่น Credit Bureau หรือบริษัทข้อมูลเครดิต จะปรากฏชื่อของผู้ประกอบการในฐานะลูกค้าที่เป็น NPL หรือเป็นหนี้เสีย โดยเฉพาะลูกหนี้ที่ไม่มีการติดต่อกับทางธนาคารเจ้าหนี้ หรือไม่เคยทำสัญญาประนีประนอมหรือสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยอาจคิดว่าถ้าธนาคารอยากยึดหลักประกันก็ให้ยึดไป หรือคิดว่าเอาไว้ให้มีเงินก่อนแล้วค่อยติดต่อเพราะกว่าจะพิพากษาคดีเสร็จก็หลายปี เมื่อเจ้าหน้าที่สินเชื่อตรวจพบข้อมูลของผู้ประกอบการในลักษณะนี้ก็จะปฏิเสธการให้กู้แทบจะทุกรายไป เพราะถือว่าผู้ประกอบการดังกล่าวเป็นผู้ไม่มีวินัยทางการเงินในการชำระคืนสินเชื่อกับทางธนาคาร ซึ่งก็อาจจะเกิดขึ้นได้กับสินเชื่อใหม่ที่ทางธนาคารจะให้กับผู้ประกอบการเช่นเดียวกัน โดยแม้ว่าบางธนาคารจะมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ว่าถึงผู้ประกอบการจะเป็นหนี้ NPL ก็สามารถติดต่อขอกู้ได้ แต่นั่นหมายความว่าผู้ประกอบการนั้นจะต้องได้ทำสัญญาประนีประนอมหรือทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และจะต้องได้ผ่อนชำระกับธนาคารเจ้าหนี้เดิมได้ตามสัญญามาเป็นระยะเวลาพอควร (ซึ่งมักจะไม่บอกไว้ในโฆษณาว่าคุณสมบัติของผู้ประกอบการที่เคยเป็น NPL ต้องเป็นอย่างนี้ถึงจะสามารถขอกู้ได้ และในการอนุมัติจะมีเงื่อนไขในการพิจารณาในเรื่องต่างๆจะมากกว่าผู้ประกอบการที่ไม่เคยเป็นหนี้ NPL อยู่หลายประเด็น) หรือบางครั้งในบางธนาคารก็อาจให้คำแนะนำโดยแจ้งให้กับผู้ประกอบการทราบว่า ให้ไปปิดหนี้หรือทำการชำระหนี้ที่เป็น NPL ให้หมดเสียก่อนธนาคารถึงจะสามารถให้ผู้ประกอบการกู้ตามที่ต้องการได้ ซึ่งดูแล้วก็ไม่เห็นจะสมเหตุสมผลเลยในการได้รับคำแนะนำแบบนี้ เพราะถ้าผู้ประกอบการมีเงินเพียงพอที่จะปิดหนี้หรือชำระหนี้ที่เป็น NPL แล้วก็ไม่มีความจำเป็นใดๆที่จะต้องมาขอกู้เงินจากธนาคาร เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วจำนวนเงินที่เพียงพอที่จะปิดหนี้หรือชำระหนี้ที่เป็น NPL เดิมให้หมดจะมากกว่าวงเงินสินเชื่อที่ขอกู้ใหม่จากธนาคารเสียอีก ดังนั้นผู้ประกอบการที่เป็น NPL หรือเคยเป็นถ้าต้องการกู้เงินจากธนาคารก็ต้องปรับปรุงคุณสมบัติให้เข้าเกณฑ์ หรือเรียกว่าต้องเอาตัวเองหรือเอาธุรกิจใส่ตระกร้าล้างน้ำเพื่อให้ประวัติของตนเองเปลี่ยนจากดำเป็นขาวหรืออย่างน้อยแค่เทาๆก็ยังดี มิฉะนั้นแม้ว่าท่านจะมีคุณสมบัติอื่นๆครบถ้วนแต่มีปัจจัยในเรื่องของ NPL เพียงเรื่องเดียว ท่านก็จะมีโอกาสได้รับการปฏิเสธจากทางธนาคารอยู่ในเกณฑ์สูงมากเลยทีเดียว

6. ไม่รู้ต้นทุนหรือไม่รู้รายได้

ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะกับผู้ประกอบการ “มือใหม่” ซึ่งจะไม่ค่อยปรากฏกับผู้ประกอบการที่ได้เคยทำธุรกิจมาแล้ว เนื่องจากไม่สามารถคำนวณต้นทุนในการเริ่มต้นธุรกิจได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน อาคาร เครื่องจักร อุปกรณ์ การตกแต่งปรับปรุง หรือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เช่น ค่าธรรมเนียม เงินเดือน ต้นทุนการผลิต ต้นทุนการซื้อสินค้า ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าประชาสัมพันธ์ เป็นต้น ทั้งก่อนเริ่มดำเนินธุรกิจ ช่วงเริ่มต้นธุรกิจ และช่วงที่เริ่มดำเนินการธุรกิจแล้ว ซึ่งโดยส่วนใหญ่การประมาณการเกี่ยวกับต้นทุนธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ดังกล่าว มักจะต่ำกว่าความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้นค่อนข้างมาก หรือจะเป็นในทางที่คิดต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในทางที่น้อยที่สุด ในขณะที่เมื่อเริ่มทำธุรกิจไปแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายมักจะเป็นไปในทางที่มากที่สุดอยู่เสมอหรืออาจจะเรียกว่า “งบบานปลาย” ทำให้เมื่อทางธนาคารพิจารณาเกี่ยวกับโครงการหรือธุรกิจที่ขอกู้แล้วเห็นว่าต้นทุนของธุรกิจที่ระบุไว้ดังกล่าว ต่ำเกินกว่าที่ธุรกิจในลักษณะดังกล่าวโดยทั่วไปจะดำเนินการได้จริงตามที่ระบุไว้ ทำให้ธนาคารอาจที่จะปฏิเสธการให้กู้แก่ผู้ประกอบการหรืออาจให้มีการปรับปรุงแก้ไขเกี่ยวกับประมาณการในการลงทุน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นไปในทางการปฏิเสธเนื่องจากการที่ผู้ประกอบการไม่สามารถกำหนดหรือคำนวณในด้านต้นทุนของธุรกิจอย่างถูกต้องได้ ย่อมแสดงว่าผู้ประกอบการรายนั้นไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับธุรกิจที่ตนเองจะทำ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาในการขาดเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจการในอนาคตได้ นอกจากนี้การไม่รู้ต้นทุนที่ถูกต้องยังส่งผลให้การคิดหรือคำนวณจำนวนเงินหรือวงเงินที่ใช้กู้เงินจากทางธนาคารผิดพลาดจากความเป็นจริง และบ่อยครั้งที่พบว่ามูลค่าหลักประกันของธุรกิจที่มีอยู่ ไม่เพียงพอกับการค้ำประกันวงเงินสินเชื่อเมื่อมีการคำนวณตามต้นทุนที่แท้จริงของธุรกิจได้ นอกจากเรื่องต้นทุนแล้วก็ยังเป็นเรื่องของรายได้ที่จะเกิดขึ้นในการทำธุรกิจ ว่าธุรกิจหรือบริการมีที่มาของรายได้ในลักษณะใด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของประมาณการทางการขาย ประมาณการเกี่ยวกับรายได้ ลักษณะเงื่อนไขต่างๆในการค้า เช่น ขายเงินสด ขายเงินเชื่อ การเข้ามาของรายได้ ความสม่ำเสมอของรายได้ที่เกิดขึ้นของธุรกิจ รวมถึงที่สำคัญอย่างยิ่งคือ การที่ไม่รู้ว่าลูกค้าที่จะซื้อสินค้าเป็นใครหรือไม่รู้ว่าลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจคือใครนั่นเอง โดยคิดว่าถ้าเริ่มดำเนินธุรกิจไปแล้วจะสามารถหาลูกค้าได้จากการดำเนินการของกลยุทธ์ทางการตลาดที่กำหนดไว้เหล่านี้เป็นต้น การที่ไม่รู้ถึงต้นทุนหรือการไม่รู้ถึงรายได้ของธุรกิจจึงกลายเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในโอกาสที่จะถูกปฏิเสธจากธนาคารหรือสถาบันการเงิน จากความไม่เชื่อถือในความสามารถในการบริหารธุรกิจของผู้ประกอบการ

7. ไม่รู้ข้อจำกัด

ถือเป็นปัจจัยที่อาจเกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการใหม่หรือเก่า ในการติดต่อขอกู้เงินจากทางธนาคาร ตัวอย่างเช่น ในเรื่องของธุรกิจที่ไม่ใช่ว่าทุกๆธนาคารไม่ว่าจะเป็นธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารของภาครัฐจะให้วงเงินกู้กับทุกๆธุรกิจหรือให้บริการทุกๆด้านทางการเงิน เช่น ธุรกิจที่ทำทางด้านการเกษตรพื้นฐานอาจติดต่อขอเงินกู้ได้เฉพาะจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์เท่านั้น เพราะธนาคารอื่นๆอาจจะปฏิเสธเนื่องจากไม่มีบริการเงินกู้เกี่ยวกับการเกษตรพื้นฐานดังกล่าว ในขณะที่ถ้าเป็นธุรกิจในรูปอุตสาหกรรมถ้าไปยื่นขอกู้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ก็จะได้รับการปฏิเสธจากทางธนาคารเพราะว่าไม่มีบริการให้กู้แก่ธุรกิจอุตสาหกรรม เป็นต้น โดยเฉพาะธุรกิจที่มีความคาบเกี่ยวระหว่าง 2 ลักษณะ เช่น มีทั้งลักษณะของเกษตรพื้นฐานและอุตสาหกรรมผสมผสาน อาจได้รับการปฏิเสธจากทั้งธนาคารที่มีบริการเงินกู้ทางการเกษตร และจากธนาคารที่มีบริการเงินกู้ทางอุตสาหกรรม เนื่องจากตีความว่าเป็นธุรกิจที่ไม่อยู่ในข่ายให้บริการก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต (แต่ทั้งนี้ปัจจุบันความคลุมเครือเกี่ยวกับการตีความของลักษณะของธุรกิจในการให้บริการเงินกู้ ค่อนข้างคลี่คลายลงหรือมีความชัดเจนขึ้น โดยการพิจารณาอาจจะมุ่งเน้นที่ตัวรายได้หลักของกิจการว่าเกิดขึ้นจากกิจกรรมหรือลักษณะการดำเนินการใดของธุรกิจเป็นสำคัญ รวมถึงการระบุถึงลักษณะการให้บริการเงินกู้แก่ประเภทธุรกิจที่ชัดเจนขึ้น) หรืออาจเป็นเรื่องบริการด้านการเงินอื่นๆ เช่น ธนาคารบางแห่งไม่สามารถออกเช็คได้แต่จะมีการให้ให้บริการเฉพาะตั๋วสัญญาใช้เงิน ดังนั้นสำหรับธุรกิจที่มีการใช้เงินหมุนเวียนทุกๆวัน อาจจะไม่สะดวกกับการกู้เงินหรือการใช้บริการทางการเงินกับธนาคารดังกล่าวที่มีบริการให้เฉพาะตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือการที่ทางธนาคารไม่มีความชำนาญหรือไม่สามารถให้บริการในบางประเภท เช่น การเปิด L/C หรือธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการค้าต่างประเทศ ก็อาจไม่เหมาะสมกับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับด้านการส่งออก ดังนั้นในการกู้เงินแล้วธุรกิจก็สมควรเลือกใช้บริการหรือติดต่อขอกู้เงินกับทางธนาคารที่คิดว่าน่าที่จะเหมาะสมกับธุรกิจของตนให้มากที่สุด เพราะมิฉะนั้นถึงแม้ว่าธนาคารเหล่านี้จะไม่ปฏิเสธและให้เงินกู้แก่ผู้ประกอบการ แต่ทว่าหลังจากดำเนินการธุรกิจไปแล้วช่วงหนึ่งก็จะพบกับความไม่สะดวกในการดำเนินการ และอาจต้องเปลี่ยนธนาคารหรือทำการ Refinance ในที่สุด อันเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายทั้งในการดำเนินการ และค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นอีกด้วย นอกจากในเรื่องเกี่ยวกับ “เงื่อนไข” บางอย่างเกี่ยวกับการพิจารณาการอนุมัติเงินกู้ให้กับผู้ประกอบการ ที่อาจจะไม่ได้เปิดเผยให้ทราบหรือประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าของทางธนาคารทราบโดยทั่วไป หรือเป็นข้อมูลหรือเงื่อนไขภายในที่เป็นที่รู้กันเฉพาะเจ้าหน้าที่อันอาจมาจากนโยบายที่กำหนดขึ้นเป็นการภายในจากทางธนาคารเอง ตัวอย่างเช่น ธนาคารบางแห่งจะไม่อนุมัติให้กับผู้ประกอบการที่เคยมีประวัติ NPL มาก่อน แม้ว่าลูกค้าดังกล่าวจะได้มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้หรือได้ทำการแก้ไขหนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ตาม เพราะถือว่าผู้ประกอบการอาจจะมีลักษณะของการขาดวินัยทางการเงินหรือพูดง่ายๆว่าธนาคารไม่ต้องการที่จะเสี่ยงกับลูกหนี้ที่เคยมีประวัติ NPL นั่นเอง หรือบางธนาคารก็อาจจะไม่อนุมัติให้กับผู้ประกอบการใหม่ที่ไม่เคยทำธุรกิจใดๆมาก่อนเลย เป็นต้น แม้ว่าจะได้มีการโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการสนับสนุนแก่ผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการใหม่หรือเคยมีประวัติ NPL ก็ตาม ซึ่งการรู้ถึงข้อจำกัดเกี่ยวกับการ “ให้กู้” หรือ “ไม่ให้กู้” ถือเป็นสิ่งจำเป็นในการที่ผู้ประกอบการควรจะรู้ก่อนไปดำเนินการติดต่อขอกู้กับธนาคารหรือสถาบันการเงินใดๆ เพราะจะทำให้ผู้ประกอบการทราบถึงโอกาสได้รับเงินกู้หรือไม่ถูกปฏิเสธจากทางธนาคาร หรืออาจจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ยื่นกู้ไม่ผิดที่” นั่นเอง อีกประการหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการต้องรู้เกี่ยวกับการให้กู้จากทางธนาคารหรือสถาบันการเงินก็คือ เรื่องของสัดส่วนของเงินกู้เมื่อเปรียบเทียบกับทุนที่ผู้ประกอบการมีอยู่ หรือเรียกกันว่าอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน หรือที่มักจะได้ยินกันอยู่เสมอว่า D/E Ratio ซึ่งในปัจจุบันแล้วโดยทั่วไปแล้วธนาคารมักจะกำหนดอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนสำหรับให้กู้แก่ผู้ประกอบการนี้ในระดับ 1 : 1 ความหมายก็คือธนาคารจะให้กู้เงิน 1 ล้านบาทถ้าผู้กู้มีเงินทุนของตนเอง 1 ล้านบาท แต่อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนดังกล่าวก็อาจยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมตามการพิจารณาของธนาคารสำหรับผู้ประกอบการหรือธุรกิจบางราย เช่น ประมาณ 2 : 1 หรือ 3 : 1 โดยขึ้นอยู่กับความน่าสนใจและศักยภาพของโครงการ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วอัตราส่วน 1 : 1 ถือเป็นเกณฑ์มาตรฐานในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อโดยทั่วไปในปัจจุบัน ทำให้ในกรณีที่ผู้ประกอบการต้องการลงทุนในธุรกิจในวงเงิน 5 ล้านบาท แต่ตัวผู้ประกอบการมีทุนของตนเองเพียง 1 ล้านบาท แล้วหวังว่าจะกู้เงินจากธนาคารอีก 4 ล้านบาทมาดำเนินการตามโครงการ โอกาสที่ผู้ประกอบการจะได้รับปฏิเสธจากทางธนาคารจึงมีอยู่สูงมากหรืออาจว่าได้รับการปฏิเสธเป็นที่แน่นอน ซึ่งในกรณีที่ยืดหยุ่นที่สุดอาจเป็นทางธนาคารให้กู้ในวงเงิน 3 ล้านบาท แต่ผู้ประกอบการต้องหาทุนมาเพิ่มอีก 1 ล้านบาทรวมเป็น 2 ล้านบาท เป็นต้น (ในอดีตก่อนหน้ายุคฟองสบู่แตกอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนสำหรับการให้กู้อยู่ในระดับ 2 : 1 หรือ 3 : 1 เป็นเกณฑ์พื้นฐาน ในบางโครงการหรือบางธุรกิจโดยเฉพาะด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อาจอยู่ถึงระดับ 10 : 1 หรือมากกว่าก็มี แต่ในปัจจุบันไม่มีการให้กู้ดดยใช้ระดับอัตราส่วนดังกล่าวอีกแล้ว ส่วนกรณีที่หลักประกันไม่เพียงพอต่อวงเงินสินเชื่อ โดยมีความจำเป็นต้องใช้บรรษัทสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) มาร่วมค้ำประกันสินเชื่อให้ผู้ประกอบการกับทางธนาคารจะไม่ขอกล่าวไว้ในที่นี้)

8. ไม่สามารถผ่อนชำระ

ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ธนาคารจะปฏิเสธการให้กู้แก่ผู้ประกอบการ ถ้าหากธนาคารได้พิจารณาแล้วว่าผู้ประกอบการหรือธุรกิจนั้นไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะผ่อนชำระเงินกู้ตามวงเงินที่ขอกู้ได้ ไม่ว่าจะเกิดจากการที่ธุรกิจมีกระแสเงินสดจากผลกำไรหรือผลการดำเนินการของธุรกิจ ที่ไม่เพียงพอหรือมียอดคงเหลือภายหลังการชำระเงินกู้แล้วคงเหลือน้อยเกินไปเกินกว่าที่จะใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจได้ กรณีที่เกิดขึ้นนี้สามารถแยกออกได้เป็นหลายกรณี ตัวอย่างเช่น ความแตกต่างระหว่างกำไรทางบัญชีที่มีความแตกต่างจากกำไรที่เป็นเงินสด โดยเฉพาะในธุรกิจที่มีลักษณะของการให้เครดิตการค้า ที่จะทำให้ส่วนใหญ่แล้วกำไรที่เกิดขึ้นทางบัญชีจะแตกต่างจากกำไรของเงินสดคือ มีมูลค่าที่ปรากฏของกำไรทางบัญชีส่วนใหญ่แล้วจะมีมากกว่ากำไรที่เป็นเงินสดที่ธุรกิจรับจริง เนื่องจากกระแสเงินสดถือเป็นสิ่งสำคัญในการพิจารณอนุมัติเงินกู้ เพราะเงินสดคือเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินการและความอยู่รอดของธุรกิจ โดยส่วนใหญ่ของการประมาณการในเรื่องของกำไรขาดทุนสำหรับธุรกิจของผู้ประกอบการ จะมาจากการประมาณเกี่ยวกับตัวเลขของรายรับเปรียบเทียบกับรายจ่ายของธุรกิจโดยแสดงไว้ในงบกำไรขาดทุน แต่มักจะไม่มีการจัดทำงบกระแสเงินสดเพื่อดูว่าเงินสดในกิจการมีจำนวนเท่าใด ซึ่งทำให้บ่อยครั้งที่พบว่าการดำเนินการของธุรกิจมีผลกำไรแต่กลับไม่มีกระแสเงินสดที่เพียงพอคงเหลือในธุรกิจ (ถือเป็นประเด็นสำคัญหนึ่งที่เกิดขึ้นกับระบบธุรกิจไทย เนื่องจากตามกฎหมายแล้วธุรกิจจะส่งเพียงงบการเงินหลักเพียง 2 ประเภท คือ งบดุล และงบกำไรขาดทุน โดยไม่ต้องจัดส่งงบกระแสเงินสด ยกเว้นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีความคุ้นเคยหรือไม่สามารถจัดทำงบกระแสเงินสดได้ ทั้งที่การดำเนินการและความอยู่รอดของธุรกิจขึ้นอยู่กับกระแสเงินสดของกิจการเป็นสำคัญ) หรือในอีกกรณีหนึ่งอาจเป็นผลมาจากการที่ธนาคารพิจารณาว่าธุรกิจหรือตัวผู้ประกอบการมีภาระหนี้สินอื่นๆอยู่เดิมทั้งที่เป็นจากธุรกิจหรือหนี้สินส่วนตัว ซึ่งเมื่อรวมค่าผ่อนชำระเงินกู้สำหรับธุรกิจใหม่หรือการขยายธุรกิจที่มีอยู่เดิม จะส่งผลให้ผู้ประกอบการหรือธุรกิจมีภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเงินกู้ในระดับที่เกินกว่าที่ภายหลังการชำระ จะสามารถดำเนินการหรือดำรงชีพได้โดยปกติ หรือกระแสเงินสดที่มีอยู่อาจจะอยู่ในระดับที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจได้ ถ้าเกิดเหตุการณ์บางประการขึ้นอันทำให้รายได้ต่ำกว่าประมาณการที่คาดคะเนไว้ เป็นต้น

9. ไม่มีการเตรียมตัว

ถือเป็นปัจจัยที่อาจจะไม่ส่งผลร้ายแรงถึงระดับที่จะถูกปฏิเสธจากทางธนาคาร แต่บางครั้งก่อให้เกิดความล่าช้าในการติดต่อหรืออนุมัติวงเงินกู้จากทางธนาคาร ตัวอย่างเช่น การไม่มีเอกสารประกอบต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น งบการเงิน ใบอนุญาติต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เอกสารเกี่ยวกับยอดขาย เอกสารเกี่ยวกับลูกค้า เอกสารเกี่ยวกับรายได้หรือรายจ่ายต่างๆ เพื่อใช้ประกอบในการพิจารณาการขอเงินกู้ เป็นต้น นอกจากนี้การไม่มีการเตรียมตัวในสิ่งที่เกี่ยวข้องหรือเอกสารประกอบกับการกู้เงิน เช่น สำเนาบัญชีธนาคารย้อนหลัง การกำหนดหรือจัดทำสัญญาจะซื้อจะขาย เงื่อนไขต่างๆในการโอนทรัพย์สิน การจัดทำมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่ส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการติดต่อหรืออนุมัติวงเงินกู้จากทางธนาคาร หรืออาจเป็นกรณีที่ไม่มีการจัดเตรียมแผนธุรกิจไว้ก่อนล่วงหน้า ทำให้เมื่อทางธนาคารเรียกแผนธุรกิจประกอบการขอกู้ผู้ประกอบการต้องเสียเวลาในการดำเนินการจัดทำแผนธุรกิจเพื่อใช้ประกอบการขอกู้ หรืออาจจะเป็นเรื่องของการประเมินราคาทรัพย์สินที่ต้องมีการติดต่อและดำเนินการว่าจ้างบริษัทประเมินราคาทรัพย์สิน เพื่อจัดทำรายงานประเมินราคาทรัพย์สินประกอบการพิจารณา เป็นต้น และในเรื่องบางอย่างนอกเหนือออกไป เช่น การที่ผู้ประกอบการไม่มีการเตรียมตัว หรือไม่ทำความเข้าใจในแผนธุรกิจที่จะนำเสนอต่อทางธนาคารหรือสถาบันการเงินอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ไม่ได้เป็นผู้จัดทำแผนธุรกิจเอง หรือใช้บุคคลภายนอกหรือมืออาชีพเป็นผู้จัดทำแผนธุรกิจให้ ทำให้เมื่อต้องตอบข้อซักถามหรือมีข้อสงสัยจากเจ้าหน้าที่ของธนาคาร ผู้ประกอบการก็ไม่สามารถชี้แจงประเด็นปัญหาต่างๆที่ถูกซักถามได้อย่างชัดเจน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ธนาคารพิจารณาได้ว่าผู้ประกอบการยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอเกี่ยวกับธุรกิจที่ตนดำเนินการ อันอาจเป็นสาเหคุในการถูกปฏิเสธในการกู้เงินก็เป็นได้

10. มีทัศนคติเชิงลบ

ถือเป็นปัจจัยประการหนึ่งที่อาจส่งผลให้ผู้ประกอบการไม่สามารถกู้เงินจากทางธนาคารได้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมาจากตัวผู้ประกอบการเองในเรื่องของทัศนคติ หรือการแสดงออกเกี่ยวกับการใช้บริการจากทางธนาคาร ซึ่งผู้ประกอบการอาจเคยมีประสบการณ์ที่เคยไปใช้บริการหรือติดต่อขอกู้เงินจากธนาคารอื่นมาก่อนหน้าแล้วได้รับการปฏิเสธในการให้กู้ เมื่อผู้ประกอบการเหล่านี้มาติดต่อขอกู้เงินกับธนาคารแห่งอื่นก็มักบ่นหรือตำหนิเกี่ยวกับธนาคารก่อนหน้าที่ปฏิเสธการให้กู้ว่าไม่มีความรู้เข้าใจในตัวธุรกิจของตน หรือเจ้าหน้าที่ธนาคารไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของธุรกิจ หรือจนถึงขั้นแสดงความเห็นว่าเจ้าหน้าที่ธนาคารโง่ไปเลยก็มี ซึ่งอาจรวมไปจนถึงการบ่นหรือตำหนิติเตียนเกี่ยวกับนโยบายต่างๆของทางธนาคารหรือระบบสถาบันการเงิน ว่าไม่มีความจริงใจในการให้การช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการ ทัศนคติหรือการแสดงออกด้านลบเหล่านี้ของผู้ประกอบการอาจจะส่งผลให้ธนาคารพิจารณาว่าผู้ประกอบการดังกล่าวมีลักษณะเป็น “บุคคลเจ้าปัญหา” หรือก็ “เพราะคุณเป็นอย่างนี้ ธนาคารนั้นถึงได้ปฏิเสธ” ซึ่งจะทำให้ไม่ผ่านการประเมินในแง่ของการพิจารณาด้าน Character เกี่ยวกับตัวผู้ประกอบการ ซึ่งจะทำให้อาจได้รับการปฏิเสธไปในที่สุดอันเนื่องมาจากทัศนคติเชิงลบของผู้ประกอบการนั่นเอง และบ่อยครั้งที่พบว่าผู้ประกอบการที่มีทัศนคติเชิงลบเหล่านี้ ได้เคยทำการติดต่อขอกู้เงินจากธนาคารมาแล้วหลายแห่ง และธนาคารทุกแห่งที่ได้เคยติดต่อก็ล้วนแล้วแต่ปฎิเสธการให้กู้แก่ผู้ประกอบการในลักษณะนี้มาทั้งสิ้น
ดังนั้นสามารถสรุปปัจจัยทั้ง 10 ประการทั้งหมดซึ่งอาจกล่าวรวมทุกปัจจัยได้ว่า “8 ไม่ 2 มี” ก็คือ

  1. ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน

  2. ไม่มีประสบการณ์แต่เล็งผลเลิศ

  3. ไม่มีรายได้ให้ปรากฏ

  4. ไม่มี Business Plan หรือแผนธุรกิจ

  5. มีประวัติหนี้ NPL

  6. ไม่รู้ต้นทุนหรือไม่รู้รายได้

  7. ไม่รู้ข้อจำกัด

  8. ไม่สามารถผ่อนชำระ

  9. ไม่มีการเตรียมตัว

  10. มีทัศนคติเชิงลบ


ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นเป็นปัจจัยหลักๆ ประมาณ 10 ประการอันจะเป็นสาเหตุที่จะทำให้ผู้ประกอบการ ถูกธนาคารปฏิเสธในการขอกู้เงิน แต่อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการพึงเข้าใจเป็นเบื้องต้นก่อนว่าธนาคารมิใช่องค์กรการกุศลหรือมูลนิธิที่จะทำกิจการโดยไม่หวังผลกำไร เพราะเงินที่ให้ผู้ประกอบการกู้ก็คือเงินของผู้ฝากเงินหรือของประชาชนทั่วไปซึ่งอาจรวมถึงเป็นเงินของผู้ประกอบการนั่นเอง ซึ่งธนาคารจะต้องบริหารความเสี่ยงในการให้สินเชื่อให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ เพื่อให้เกิดผลกำไรจากการลงทุนในการให้สินเชื่อของทางธนาคาร ดังนั้นก่อนที่ท่านซึ่งเป็นผู้ประกอบการจะไปติดต่อเพื่อขอกู้เงินกับธนาคาร ควรพิจารณาถึงปัจจัยในการที่ท่านจะถูกปฏิเสธก่อนว่าท่านมีคุณสมบัติของปัจจัยทั้ง 10 ประการข้างต้นประการใดประการหนึ่งแล้วหรือไม่
ทั้งหมดที่เีขียนออกมาเป็นบทความนี้ ถือว่าเป็นบทเรียนที่คุ้มค่ามาก เพราะทุกคำถามที่มักจะถามเข้ามา ก็มีคำตอบให้ทั้งหมดแล้วในเนื้อหาบทความนี้ทั้งหมด

 

ขอขอบคุณแหล่งที่มา :  อ.ศศิ คล่องพยาบาล  (สสว.)