3/28/2555

‘Spa at Terminal’ เปิดศึกธุรกิจสปาต้องแตกต่างเท่านั้นถึงอยู่รอด

| 1 ความคิดเห็น
ธุรกิจสปาเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างมากเมื่อหลายปีก่อน จนระยะหลังธุรกิจสปาเริ่มลดปริมาณลดลง เหลือแต่รายใหญ่ๆ ที่ยังคงสานต่อธุรกิจนี้ หรือไม่ก็ต้องเป็นธุรกิจสปาที่อยู่ตามโรงแรมเท่านั้นที่อยู่รอด ขณะที่ธุรกิจสปารายเล็กหรือกลางก็เริ่มหดหายกันไป เพราะสายป่านไม่ยาวพอ



เมื่อเร็วๆ นี้ “ผู้จัดการ 360 องศารายสัปดาห์” ได้พูดคุยกับสปา 2 แบรนด์ใหม่ในเครือ “ออนิกซ์ ฮอสพิทาลิตี้ กรุ๊ป” คือ แบรนด์ “บรีซ สปา” (Breeze Spa) และ “ไหม สปา” (Maai Spa) สปา 2 แบรนด์นี้ถือว่ามีฐานที่ดีกว่าสปารายอื่นๆ เพราะมี “ออนิกซ์ ฮอสพิทาลิตี้ กรุ๊ป” เป็นแบล็ก ซึ่ง “ออนิกซ์ ฮอสพิทาลิตี้ กรุ๊ป” มีแผนที่จะขยายสปา 2 แบรนด์นี้ออกไปยังนอกโรงแรมด้วย นับเป็นทิศทางการขยายธุรกิจที่น่าสนใจและยังเป็นการรองรับปัญหาการขยายโรงแรมที่อาจจะเพิ่มได้ยากกว่าการขยายธุรกิจสปา

“Spa at Terminal” เป็นธุรกิจสปารายใหม่ที่เข้ามาในตลาดสปา แม้จะเป็นน้องใหม่ในวงการแต่ก็ได้แบล็กดีอย่าง “สายการบินบิวซิเนสแอร์” สายการบินแบบชาร์ตเตอร์ไฟล์เป็นพันธมิตร

“Spa at Terminal” เกิดจากความชอบในการเข้าไปใช้บริการสปาของ “ศศิกานต์ ทัศนาธร” Managing Director ของ “Spa at Terminal” ด้วยการมองเห็นทิศทางว่าธุรกิจสปายังคงมีอัตราการเติบโตที่สูง เพราะกระแสการดูแลสุขภาพมีมากขึ้น และเป็นการดูแลลแบบทุกเพศ ทุกวัย

แต่การจะเปิดสปาใหม่ขึ้นมาจุดสำคัญ คือ ต้องมีความแตกต่างประกอบกับสามีมีหุ้นส่วนใน “สายการบินบิวซิเนสแอร์” จึงเกิดแนวคิดที่จะนำรายละเอียดเกี่ยวกับสายการบินมาใช้ในการตกแต่งสปา ไม่ว่าจะเป็นห้องที่เรียกแบบเลานจ์ การนำรถเข็นให้บริการบนเครื่องมาใช้เป็นที่วางอุปกรณ์ทำสปา การให้พนักงานแต่งตัวเหมือนกับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน การให้บริการที่เหมือนกับอยู่บนสายการบินเฟิร์สท์คลาส หรือแม้แต่ชื่อก็ยังคงกลิ่นอายให้นึกถึงสนามบิน

โดย “Spa at Terminal” เปิดให้บริการมาได้ 3 เดือนแล้วถือว่าผลตอบรับในช่วงที่ผ่านมาดีมาก โดยเฉพาะตลาดต่างชาติ ส่วนตลาดไทยก็เริ่มมีเข้ามา มีพื้นที่ 220 ตารางเมตรรองรับการบริการพร้อมกันได้ 26 ท่าน ใช้งบในการลงทุน “Spa at Terminal” 10 ล้านบาท เป็นงบการตลาดถึง 40% โดยการทำตลาดของ “Spa at Terminal” จะมุ่งเน้นลูกค้าที่มาใช้บริการในเซ็นทรัลพระราม 9 อนาคตจะบุกไปยังออฟฟิศบริเวณใกล้เคียง

กลุ่มเป้าหมายของ “Spa at Terminal” อาจจะแตกต่างจากสปาที่อื่นๆ คือ จับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มากับเอเยนซีที่เป็นพันธมิตรกับ “สายการบินบิวซิเนสแอร์” ซึ่งปัจจุบัน “สายการบินบิวซิเนสแอร์” มีเน้นทางบินอยู่ในประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ที่สำคัญการอยู่ในห้างเซ็นทรัลพระราม 9 ถือว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เพราะอยู่ในใกล้กับสถานฑูตจีน และนักท่องเที่ยวจีนซึ่งเป็นชาติที่นิยมการทำสปาก็มักมาพักใกล้ๆ บริเวณนี้

การที่ “Spa at Terminal” มีสายสัมพันธ์กับธุรกิจสายการบิน ลูกค้าอีกกลุ่มที่มองไว้ คือ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินทั้งของสายการบินตัวเอง และสายการบินอื่นๆ อย่าง สายการบินของรัสเซีย โดยมีการเสนอโปรโมชั่นดีๆ ให้กับสายการบินไปแล้ว

ปัจจุบัน “Spa at Terminal” เปิดให้บริการมาได้ 3 เดือนแล้วถือว่าผลตอบรับในช่วงที่ผ่านมาดีมาก โดยเฉพาะตลาดต่างชาติ ส่วนตลาดไทยก็เริ่มมีเข้ามาซึ่งตลาดไทยจะจับกลุ่มคนไทยที่รักการดูแลสุขภาพ หรือคุณพ่อคุณแม่ที่มารอรับลูกซึ่งมาพิเศษที่ห้างสรรพสินค้า อนาคตเตรียมขยายฐานลูกค้าคนไทยเพิ่มโดยจะมีการจับมือกับฟิตเนส เฟริ์ส ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจา ปัจจุบันสัดส่วนลูกค้าของ “Spa at Terminal” จะเป็นเอเชีย 40% ยุโรป 20% ไทย 40% ประมาณการณ์รายได้ปีแรกที่ 20 ล้านบาท

แม้ว่าสปาดังกล่าวจะมีจุดแตกต่างเรื่องดีไซน์แต่สิ่งที่ “Spa at Terminal” ไม่ทิ้ง คือ รูปแบบการนวดของไทย นอกจากนี้ การที่ทำธุรกิจด้านการบินทำให้มีโอกาสนำสินค้าจากประเทศต่างๆ เข้ามาให้บริการลูกค้าได้ด้วย ทำให้เกิดรูปแบบการนวดที่หลากหลายบขึ้น อย่าง การนวดแบบฝรั่งเศสก็จะใช้ครีมที่ผสมไวน์จากฝรั่งเศสมาใช้ในการนวด การนวดแบบเกาหลีจะนำโสมจากเกาหลีมาผสมรังนก

สำหรับราคาของการใช้บริการมีตั้งแต่ 250-5,000 บาท ที่ระดับราคามีตั้งแต่ถูกจนถึงแพงนั้น เนื่องจากต้องการให้ลูกค้าทุกระดับสามารถเข้ามาใช้บริการที่ “Spa at Terminal” ได้ ด้วยระดับราคาที่ไม่สูงจนเกินไปทำให้จับกลุ่มลูกค้าระดับซีและบีบวกได้

แนวทางการขยายสาขาในอนาคต “Spa at Terminal” จะขยายตัวไปยังเซ็นทรัลในต่างจังหวัด อย่าง ขอนแก่น อุบลราชธานี ฯลฯ คาดว่าปี 2556 น่าจะได้เห็น “Spa at Terminal” ในเซ็นทรัลสักแห่ง

แม้ว่าจะเป็นน้องใหม่ในวงการแต่ “ศศิกานต์” ก็ไม่มองว่าธุรกิจสปาจะต้องจบอยู่แต่ในประเทศไทย เธอพร้อมที่จะเข้าไปรับบริหารสปาให้กับเจ้าของสปาในต่างประเทศ โดยขณะนี้กำลังศึกษาการเข้าไปรับบริหารสปาที่ประเทศบาร์เรนอยู่คาดว่าปี 2556 น่าจะมีโอกาสได้เห็น โดยจะใช้ชื่อ “Spa at Terminal” เช่นเดียวกับในไทย

แหล่งที่มา : ASTVผู้จัดการรายสัปดาห์

1 ความคิดเห็น: