12/26/2558

ม.มหิดล ชี้! 3 กลุ่มธุรกิจมาแรง ปี' 59 แข่งขัน AEC

นักวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดโผกลุ่มธุรกิจที่คาดว่าจะมาแรงในปี 2559 ได้แก่ เทคโนโลยีทางการเงิน สุขภาพและการแพทย์ และอาหาร

โดยให้เหตุผลว่า ปัจจุบันพฤติกรรมผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญในด้านความสะดวกสบาย ความทันสมัยในด้านเทคโนโลยี่ซึ่งปัจจุบันมีการเติบโตสูง ประกอบกับกำลังเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ทำให้ตลาดเปิดกว้างมากขึ้น โดยแนะทางรอดให้กับผู้ประกอบ ธุรกิจ SMEs ว่าจะต้องเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ ทันสมัย ตามกระแสเทคโนโลยี ไม่ตกเทรนด์ หรือ กลุ่ม “สตาร์ทอัพ” (Start UP) หากต้องการให้ธุรกิจอยู่รอดได้นั้น ผู้ประกอบการ SMEs จำเป็นต้องสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับธุรกิจ
ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยหลักสำคัญ 4 ประการ คือ ความมุ่งมั่น ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การวางแผนธุรกิจ และ ต้องมีความกล้า ในการตัดสินใจและเรื่องการลงทุน 


โดย อาจารย์กิตติชัย ราชมหา อาจารย์ประจำภาควิชาผู้ประกอบการและนวัตกรรม วิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน (AEC) ทำให้ภาคการค้าเปิดกว้างขึ้น จึงทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นจะต้องปรับตัวและเตรียมความพร้อมในด้านการแข่งขันทางธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจมาแรง คือ กลุ่มธุรกิจที่มีการประยุกต์โดยนำเทคโนโลยีและนวตกรรมเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาสินค้าและบริการ รวมถึงการสร้างความสะดวกสบายผ่านการพัฒนาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี่ เช่น การเพิ่มช่องทางทำการตลาดผ่านแอปพลิเคชั่น (Application) ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตผ่านโทรศัพท์มือถือในยุคที่การเข้าถึงเทคโนโลยี่เปิดกว้างและสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องเกิดจากนักธุรกิจหน้าใหม่ แต่เกิดจากการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์โดยการประยุกต์เข้ากับเทคโนโลยีและนวตกรรมใหม่ๆ เน้นที่ความแตกต่าง การคิดค้นและพัฒนาสินค้าและบริการอยู่ตลอดเวลา เพื่อสร้างความแตกต่างและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำให้เกิดความมั่นใจได้ว่าสินค้าและบริการที่สร้างสรรค์ขึ้น จะสามารถสนับสนุนให้ธุรกิจก้าวขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งของอุตสาหกรรมนั้นๆได้ ทั้งนี้ ได้คาดการณ์กลุ่มธุรกิจที่จะมาแรงเป็นพิเศษในปี 2559 นั้นมี 3 กลุ่มธุรกิจ ดังนี้ 

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทางการเงิน (Financial Technology)

เหตุเพราะการทำธุรกิจและการใช้ชีวิตทุกวันนี้ล้วนเกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางการเงิน ดังนั้น การนำเสนอสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อสนับสนุนการทำธุรกรรมทางการเงินให้ง่ายขึ้น ย่อมเป็นโอกาสและความน่าสนใจใหม่สำหรับสตาร์ทอัพเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ และเมื่อพิจารณาข้อมูลย้อนหลังไป 3 ปี พบว่ามูลค่ามวลรวมของธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีเทคโนโลยีฟินเทคเกี่ยวข้อง (FinTech StartUp) เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มอัตราเติบโตแบบก้าวกระโดดในอนาคตอย่างชัดเจน

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการแพทย์ (Healthcare and Wellness)

เป็นอีกกลุ่มที่น่าจับตามองในปี 2559 เนื่องจากมีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิต ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการแพทย์ เช่น ยารักษาโรค อุปกรณ์การแพทย์ เทคโนโลยีทางการแพทย์ นวัตกรรมด้านสุขภาพ ล้วนเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจหลักที่ภาครัฐให้การสนับสนุน และส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการให้บริการสุขภาพของภูมิภาค (Medical Hub) โดยในปี 2557 ที่ผ่านมามีชาวต่างชาติเข้ารับบริการสุขภาพในประเทศไทยถึง 1.2 ล้านครั้ง สร้างรายได้เข้าประเทศ 107,000 ล้านบาท (ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา) 

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร (Food Innovation)

เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีความน่าสนใจและมีกระแสของการเติบโตไม่น้อยในปี 2559 ที่ใกล้เข้ามา เหตุเพราะเป็นกลุ่มธุรกิจที่ถือว่า ประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการแข่งขันในตลาดอาเซียน ซึ่งหากมีการประยุกต์เอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาเสริมด้วยแล้ว จะยิ่งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า นอกจากนี้ ความเข้มแข็งและมุ่งเน้นผลักดันส่งเสริมจากภาครัฐในอุตสาหกรรมด้านอาหารและนวัตกรรมอาหาร เป็นปัจจัยสำคัญอีกประการที่มีส่วนส่งผลต่อความสำเร็จและโอกาสเติบโตของอุตสาหกรรมด้านอาหารในปีหน้า เช่น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่มีการสนับสนุนกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย ทั้งในด้านการให้ความรู้เพิ่มเติมในการวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการเปิดตลาดต่างประเทศ โดยในปี 2557 ที่ผ่านมาจำนวนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหารและเครื่องดื่มมีมากกว่า 370,000 ราย สร้างมูลค่ารวมกว่า 628 ล้านบาท (ที่มา : สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม)


นอกจากนั้น อาจารย์กิตติชัย ยังได้ให้แนวคิดสำคัญ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการยุคใหม่ ตระหนักในการดำเนินธุรกิจ 4 ประการ คือ

1.ความมุ่งมั่นตั้งใจ (Entrepreneurial Intention)
ความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำธุรกิจ พร้อมที่จะยืนหยัดต่อสู้และมีทั้งความตั้งใจและเข้าใจธุรกิจที่ทำ และมีตัวชี้วัดเป็นความมุ่งมั่นในการนำเงินมาเริ่มลงทุนทำธุรกิจ
2.ความคิดริเริ่มธุรกิจ (Business-Idea Initiate)
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในด้านการทำธุรกิจเป็นต้นกำเนิดที่สำคัญของจุดขายของธุรกิจ โดยเฉพาะการคิดแบบนวัตกร (Innovator) ที่จะใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นตัวส่งเสริมธุรกิจให้มีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ความต้องการของตลาดมากขึ้น
3.ความรู้ด้านการวางแผนและสร้างตัวแบบธุรกิจที่มีความเป็นไปได้จริงและมีมูลค่าเพิ่ม (Value-Added Business Model and Plan)
ผู้ประกอบการยุคใหม่จะเป็นต้องมีความรู้ด้านการทำธุรกิจและปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น รู้กลุ่มลูกค้า ผลิตภัณฑ์ ความต้องการของตลาด คู่แข่งในตลาด เป็นต้น เพื่อใช้ในการร่างแผนธุรกิจ ซึ่งในปัจจุบันมีหน่วยงานทั้งรัฐบาลและเอกชนให้ความรู้ในเรื่องเครื่องมือของผู้ประกอบธุรกิจ (Business Model) อย่างแพร่หลาย
4.ความเป็นคนรักที่จะเสี่ยงและเผชิญหน้ากับความท้าทายต่างๆ (Risk and Challenge Lover)
โดยหลังจากการศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว ความใจสู้และกล้าเสี่ยงถือเป็นหัวใจสำคัญของคนทำธุรกิจ และเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการที่ต้องการประสบความสำเร็จไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ โดยการใช้ความใจสู้และกล้าเสี่ยงนั้น ต้องมีการศึกษาข้อมูลจากงานวิจัยและสถิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ

ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ปรับตัวให้เข้ากับสภาวะปัจจุบันได้แล้ว น่าจะสามารถครองพื้นที่ส่วนมากของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ได้ไม่ยากนัก

และเมื่อพิจารณาจากข้อมูลรายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เรียบเรียงโดย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ที่ผ่านมา พบว่า แนวโน้มตั้งแต่ปี2555 จนถึงปี 2557 มูลค่า GDP ของเอสเอ็มอีเริ่มปรับตัวสูงขึ้น โดยในปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 37 และในปี 2556 สัดส่วนมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของเอสเอ็มอี ปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 37.4และมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะเดียวกันแนวโน้มที่ผ่านมาก็เป็นที่น่าสังเกตว่าอัตราการขยายตัวของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยังคงสูงกว่าอัตราการขยายตัวของประเทศซึ่งจุดนี้แสดงถึงการเป็นกลไกขับเคลื่อนการเจริญเติบโต (Engine of Growth) ที่สำคัญยิ่งให้แก่ระบบเศรษฐกิจของประเทศ อาจารย์กิตติชัยกล่าว

สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU)
โทรศัพท์ 02-206-2000 หรือเข้าไปที่ www.cmmu.mahidol.ac.th


โดย : BisnesCafe.com | คาเฟ่ของคนรักธุรกิจ

เปิดโผ 10 ธุรกิจดาวรุ่ง-ดาวร่วง ปี 2559 พร้อมแนะ SME ลุยตลาด AEC

เปิดโผ 10 ธุรกิจดาวรุ่ง-ดาวร่วง ปี 2559 พร้อมแนะ SME ลุยตลาด AEC


โดยจากผลสำรวจของ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เผยผลสำรวจ 10 ธุรกิจ ดาวรุ่ง ดาวร่วง ในปี 2559 

จากการทำการสำรวจ 10 ธุรกิจ น่าสนใจ ดาวรุ่งและ 10 ธุรกิจ ดาวร่วง พบว่า  ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ , บูติคโฮเทล และสายการบินต้นทุนต่ำ คือ ธุรกิจดาวรุ่ง แต่สำหรับธุรกิจ รถทัวร์-รถไฟ , ร้านกาแฟสด รวมทั้ง ร้านบุฟเฟ่ต์ อย่างหมูกะทะ คือ ธุรกิจดาวร่วง ส่วนภาพรวมของธุรกิจ SMEs มองว่ายังไม่พร้อมที่จะเข้าสู่ AEC 
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เผยผลสำรวจความคิดเห็นทิศทางเศรษฐกิจ และการคาดการณ์ผลประกอบการปี 2559 โดยเก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการ SME กว่า 580 รายทั่วประเทศ พบว่า กลุ่มผู้ประกอบการที่มองแนวโน้มดีขึ้น คาดการณ์ว่ายอดขายโดยเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้น 16.3% ซึ่งกลุ่มนี้สามารถปรับตัวได้ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ส่วนกลุ่มที่ระบุว่าแนวโน้มจะแย่ลงนั้น มองว่ายอดขายเฉลี่ยจะลดลง 10.8%

โดยในปี 2558 ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการ 63.2% ระบุว่า ผลประกอบการต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ 14.4% ดีกว่าที่คาดหวังไว้ โดยขณะที่ 22.4% มองว่าผลประกอบการจะใกล้เคียงที่คาดการณ์

ส่วนแนวโน้มผลประกอบการในปี 2559 พบว่า 34.6% ระบุว่าดีขึ้น 52.5% ใกล้เคียงกับปี 2558 และ อีก 12.9% แย่ลง โดย ใน ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเริ่มปรับตัวรับสภาพเศรษฐกิจได้แล้ว และเชื่อว่าปีหน้าผลประกอบการของตัวเองจะดีขึ้น หรืออย่างน้อยสามารถประคองตัวให้ใกล้เคียงกับปีนี้ได้

สำหรับ 10 อันดับธุรกิจดาวรุ่ง ประจำปี 2559 จะเป็นธุรกิจที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนยุคปัจจุบันที่ต้องการความสะดวกสบายและดีต่อสุขภาพ โดยจะเน้นที่ไปที่ความคุ้มค่าในสินค้าหรือบริการ และเป็นมิตรกับต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนตลาดออนไลน์ถือเป็นช่องทางตลาดที่โดดเด่นในปี 2559 เนื่องจากการเปิดใช้เทคโนโลยี 4จึงทำให้การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสะดวกและเร็วยิ่งขึ้น แต่ในทางกลับกันก็จะส่งผลถึงการแข่งขันในตลาดออนไลน์สูงขึ้นเช่นกัน มาดูกันว่าธุรกิจดาวรุ่ง ประกอบไปด้วยธุรกิจไหนที่น่าสนใจกันบ้าง

โดยธุรกิจดาวรุ่ง 10 อันดับแรก ในปี 2559 ประกอบด้วย

1. อาหารเพื่อสุขภาพ
2. บูติกโฮเต็ลโฮมสเตย์โรงแรมราคาประหยัด
3. สายการบินต้นทุนต่ำ
4. ร้านขายอุปกรณ์กีฬาออนไลน์
5. การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
6. การสอนภาษาอังกฤษ
7. จักรยานและอุปกรณ์
8. การดูแลสุขภาพ
9. แอปพลิเคชันบนมือถือ และ
10. การขนส่งระยะสั้น / BTS / MRT

ส่วนธุรกิจดาวร่วง นั้นจากการประเมินธุรกิจแล้วส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากการที่ธุรกิจได้เกิดขึ้นมากแล้วและไม่ตรงกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มองว่าตลาดใกล้เต็ม หรือ มีผู้ประกอบเกิดขึ้นมากแล้ว จับกลุ่มลูกค้าระดับกลางทั่วไป ทำให้ความน่าสนใจลดลง ไม่มีแรงจูงใจ เท่าที่ควร มาดูกันว่าธุรกิจดาวร่วง มีธุรกิจอะไรบ้าง    

ธุรกิจที่เป็นดาวร่วง 10 อันดับ ในปี 2559 ได้แก่

1. รถทัวร์/รถไฟ
2. ร้านกาแฟสด
3. ร้านบุฟเฟต์ราคาถูก (เช่น หมูกระทะ)
4. ร้านอินเทอร์เน็ต
5. เสื้อผ้าแฟชั่นราคาถูก
6. ร้านโชวห่วย
7. อาหารทะเลแปรรูป
8. สายการบินทั่วไป
9. ร้านซ่อมคอมพิวเตอร์ และ
10. ร้านขายโทรศัพท์มือถือมือสอง

สำหรับธุรกิจดาวร่วงนั้น ควรที่จะทำตลาดโดยเน้นไปที่ตลาดเฉพาะกลุ่มแบบเจาะจง เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับรู้ถึงแนวทางการทำธุรกิจที่ชัดเจน เช่น การมุ่งเน้นไปที่ตลาดบน (ตลาดไฮเอนด์) หรือจับกลุ่มตลาดล่าง โดยเน้นไปที่สินค้าหรือบริการราคาถูก ซึ่งน่าจะทำให้ได้รับความนิยมมากกว่า


ทั้งนี้ กลุ่มผู้ประกอบการที่มองแนวโน้มดีขึ้น คาดการณ์ว่ายอดขายโดยเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้น 16.3% ซึ่งกลุ่มนี้สามารถปรับตัวได้ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ส่วนกลุ่มที่ระบุว่าแนวโน้มจะแย่ลงนั้น มองว่ายอดขายเฉลี่ยจะลดลง 10.8%

สำหรับปี 2558 ผู้ประกอบการ 63.2% ระบุว่า ผลประกอบการต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ 14.4% ดีกว่าที่คาดหวังไว้ ขณะที่ 22.4% มองว่าผลประกอบการจะใกล้เคียงที่คาดการณ์ นายเกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผู้ช่วยรองอธิการบดีสายงานวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ระบุว่า ผู้ประกอบการ คาดว่า แนวโน้มผลประกอบการในปี 2559 34.6% ระบุว่าดีขึ้น 52.5% ใกล้เคียงกับปี 2558 และ อีก 12.9% แย่ลง โดย ใน ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SMEs) เริ่มปรับตัวรับสภาพเศรษฐกิจได้แล้ว และเชื่อว่าปีหน้าผลประกอบการของตัวเองจะดีขึ้น หรืออย่างน้อยสามารถประคองตัวให้ใกล้เคียงกับปีนี้ได้

ในภาพรวมเศรษฐกิจในปี 2559 คาดว่าจะมีอัตราเติบโต GDP อยู่ที่ 3.14% ส่วน GDP SME ปี 2559 คาดว่าจะอยู่ที่ 2.84% โดยการเติบโตของ GDP SME ยังต่ำกว่า GDP ประเทศ เหตุผลเพราะการฟื้นตัวของผู้ประกอบการระดับกลางและเล็กมักจะช้ากว่ารายใหญ่ ทำให้จะเห็นการฟื้นตัวจริงๆ ของ เอสเอ็มอี (SMEs) ในช่วงไตรมาส ปี 2559 หรือไปถึงไตรมาส ปี 2560 เป็นต้นไป

ในด้านปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดสำหรับ เอสเอ็มอี (SMEs) ในปี 2559 คือ การขาดแรงงานฝีมือรุนแรงกว่าประเทศเพื่อนบ้านถึง เท่า นักศึกษาจบใหม่ที่ออกมาจากภาคการศึกษาไม่ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน เห็นได้จากภาษาอังกฤษที่ประเทศไทยด้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านมากไม่ว่าจะเป็น มาเลเซีย หรือฟิลิปปินส์

ส่วนความพร้อมของเอสเอ็มอีไทย (SMEs Thaiในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2559 พบว่ามีผู้ประกอบการเพียง 11.4% เท่านั้น ที่ระบุว่าพร้อมที่จะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผู้ที่ยังไม่พร้อมคิดเป็น 75.2% และอีก 13.4% ไม่สนใจจะเตรียมความพร้อม โดยคาดว่า ต้องใช้เวลาในการปรับตัว ถึง ปี เนื่องจาก การขาดความรู้เกี่ยวกับโอกาสทางการตลาดของอาเซียน ด้าน นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คาดการณ์ว่า

ธุรกิจดาวรุ่งในปี 2559 คือ

ธุรกิจที่เป็นดาวร่วง ปี 2559 คือ

2. ธุรกิจแปรรูปสินค้าการเกษตร จากราคาตกต่ำ และปัญหาภัยแล้ง ,
4. ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

โดยเน้นไปที่เทรนด์ธุรกิจความงามและสุขภาพสปา คือเทรนด์ธุรกิจที่ยังคงร้อนแรงต่อเนื่องจากนี้ไปอีก ปี และแนวโน้มธุรกิจโลจิสติกส์กำลังจะเป็นดาวรุ่ง

โดย : BisnesCafe.com | คาเฟ่ของคนรักธุรกิจ