5/31/2554

"รองเท้ากันน้ำ" นวัตกรรมขายได้

[caption id="attachment_991" align="alignleft" width="350" caption="รองเท้ากันน้ำ"][/caption]

พฤติกรรมการเลือกซื้อรองเท้าของผู้บริโภควันนี้ นอกจากจะให้ความสำคัญเรื่องความสวยงามและความสะดวกในการสวมใส่เป็นเหตุผลลำดับต้นๆ ในการตัดสินใจซื้อ นวัตกรรมยังเป็นอีกปัจจัยที่ผู้บริโภคถวิลหาและนับวันจะปันใจให้มากขึ้น ส่งผลให้แบรนด์ผู้ประกอบการรองเท้าพยายามคิดค้นและพัฒนารองเท้าให้มีหน้าตาและจัดเต็มด้วยเทคโนโลยี เพื่อเข้าถึงความต้องการพฤติกรรมลูกค้ายุคใหม่

5/25/2554

ไอเดียชั้นวางหนังสือ ShelfShelf Floting Book Shelves

[caption id="attachment_850" align="alignleft" width="351" caption="ไอเดียชั้นวางหนังสือ"]ไอเดียชั้นวางหนังสือ[/caption]

ไอเดียชั้นวางหนังสือ ?ShelfShelf Floting Book Shelves?

ซึ่งตัวชั้นวางนั้นเขาดีไซน์ออกมาเลียนแบบกับหนังสือ โดยจะเป็นชั้นวางหนังสือแบบติดกำแพง โดยเมื่อเราเอาหนังสือเล่มอื่นวางก็จะเหมือนกับว่าหนังสือมันกำลังลอยอยู่เลยหละครับ
via:?dutchbydesign

ไอเดียมอบรักแด่สังคม 4 ขา

[caption id="attachment_830" align="alignleft" width="227" caption="ไอเดียมอบรักแด่สังคม"]
ไอเดียมอบรักแด่สังคม
[/caption]

ตีตลาดแตก...ผ่านเว็ปไซด์DogGetHome?

ไอเดียมอบรักแด่สังคม 4 ขาในแต่ละปีจะมีกลุ่มคนผู้ถือครองสิทธิ์ในการดูแลสัตว์เลี้ยงแสนรักไว้นับล้านรายทั่วโลกบนพื้นฐานของจุดปรสงค์เดียวกันคือ ?ความรัก? อาจบอกได้ว่าคนเราอาจต่างจิตต่างใจ บ้างเลี้ยงเพื่อแก้เหงา บางเลี้ยงเพราะสงสาร จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ความรักเป็นความรู้สึก...ที่อยู่นอกเหนือการควบคุม ซึ่งแต่ละคนย่อมมีการให้และการแสดงออกที่แตกต่างกันไป?แต่กลุ่มผู้รักสัตว์เลี้ยง หมา และแมว ต่างหยิบยื่นสิ่งสิ่งที่ดีที่สุดให้กับสังคม 4 ขา เพื่อต่างตอบแทนกันและกันบนนิยามแห่งคำว่า ?รัก? กับนิยามสั้นๆ คำนี้ จึงทำให้เกิดธุรกิจจากความรัก ?DogGetHome? บ้านหลังโปรดของสุนัข ไอเดียมอบรักแต่สังคม 4 ขา โดยมีคุณ รัตติยา อยู่ประเทศ เจ้าของไอเดีย รับสร้างบ้านให้เหมาะสมกับพฤติกรรมของสุนัขแต่ละสายพันธ์เข้าอยู่ แบบอบอุ่นใจผู้ให้ สบายใจผู้อยู่

 

เราได้มีโอกาสสัมภาษณ์ คุณรัตติยา ?อยู่ประเทศ ?เจ้าของไอเดีย ?DogGetHome? ที่จบการศึกษา วิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ?และปริญญาโท การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ?แต่ปัจจุบันรับทำบ้านน้องหมาเป็นอาชีพ ?มีหน้าที่หลักในส่วนของลูกค้าสัมพันธ์ ?ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุสร้างบ้านและแนะนำทั่วไปๆ ในการออกแบบบ้านให้เหมาะสมกับน้องหมา/แมว ทำการออกแบบบ้าน และประเมินราคาให้กับลูกค้าโดยเริ่มต้นทำธุรกิจผ่านทางเว็ปไซด์ doggethome

เเรงบันดาลใจ ที่ทำให้สนใจทำธุรกิจเกี่ยวกับ สุนัข / เเมว

รัตติยาบอกว่า ?ในหลายๆ บ้านที่เลี้ยงน้องหมา ?และเห็นว่าปัจจัย 4 เกือบทุกข้อ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค ?ทุกบ้านจะรู้และเลือกที่เหมาะสมให้กับพวกเค้า และที่สำคัญมีให้เลือกมากมายสารพัด ? รู้ว่าอาหารยี่ห้อเหมาะกับเค้า เครื่องนุ่งห่มก็หาที่ชอบมากมาย ?ส่วนยารักษาโรคเราก็มีหมอที่รักษาประจำอยู่แล้ว ?และที่อยู่อาศัยล่ะ กลางคืนเค้าควรนอนในบ้านกับเราหรือเปล่า ?มีหลายครอบครัวที่เลี้ยงเค้านอกบ้านเพื่อแยกสัดส่วนให้ชัดเจน ?แล้วจะหาที่อยู่อย่างไรให้เหมาะสมและดีกับเค้า กรงสุนัขก็ดีต่อเค้า เพียงแต่ว่ามันยังไม่โดนใจเพราะก็เหมือนๆ กันหมดและเมื่อผุอาจเป็นอันตรายต่อเค้าได้เพราะเหล็กจะมีความคมอยู่ เพราะอยากให้น้องหมาที่เรารักและเค้ารักเรามีความสุข มีบ้านสวยๆ และน่ารักในแบบที่เราชอบ ?เราจึงใส่ความต้องการของเราให้ทั้งหมดลงไปในการออกแบบบ้าน ?แต่ก็ไม่ลืมใส่ใจเรื่องความสำคัญและความเหมาะสมกับการเป็นบ้านของน้องหมา/แมว

ที่มา DogGetHome

[caption id="attachment_831" align="alignright" width="283" caption="ไอเดียมอบรักแด่สังคม"]ไอเดียมอบรักแด่สังคม[/caption]

รัตติยาตอบต่ออีกว่า โดยพื้นฐานงานช่างทางบ้านทำอยู่ก่อนแล้ว เริ่มจากคุณพ่อมีความรู้ด้านงานก่อสร้าง เครื่องไม้เครื่องมือที่บ้านก็งานช่างทั้งนั้น เลยซึมซับมาและก็ได้รับความรู้ทั่วไปๆ เกี่ยวกับงานช่างจากคุณพ่อมาด้วย เราเริ่มขายบ้านหลังแรกได้ตอนปลายปี 2547 แต่ก็ยังไม่มีงานมากนัก เพราะยังไม่ได้ทำตลาด ตอนนั้นลูกค้ารู้ได้จากที่เราเอารูปบ้านที่ทำให้น้องหมาที่บ้านไปโพสต์ไว้ในเว็บไซต์ ?โอกาสนั้นโชคดีที่ได้คุณปกาศิตมาช่วย เพราะเราเริ่มจากที่ทำให้น้องหมาที่บ้านอยู่แล้วเค้าชอบ ข้างบ้านเห็นก็ให้ทำให้บ้าง คุณปกาศิตก็เลยถ่ายรูปแล้วเอาไปโพสต์ในเว็บไซต์ (ซึ่งตอนนั้นยังไม่มีเว็บเป็นของตัวเอง) ? อาจจะไม่ดีสำหรับคนที่คิดจะเริ่มธุรกิจ เพราะการสำรวจตลาดถือเป็นเรื่องสำคัญ ทุกอย่างที่บอก ดูเหมือนง่าย แต่ก็เหนื่อยและใช้เวลานานกว่าจะลงตัว และก็ต้องอดทนด้วยเงินลงทุนตอนนั้นก็ยังไม่มี ?แต่พอช่วงเกือบปลายปี 2548 ได้ไปออกบูธ ตอนนั้นถือว่าเป็นการเริ่มต้นอย่างจริงจัง ?คุณประกาศิตได้ดูแล DogGetHome ในเรื่องรูปแบบบ้านน้องหมาที่จะไปแสดง มีการลงทุนเรื่องค่าเช่าพื้นที่ ?แผ่นพับ และ ป้ายต่างๆ ?ซึ่งผลตอบรับจากการออกบูธครั้งนั้นประสบความสำเร็จมาก มีลงสื่อสิ่งพิมพ์และรายการโทรทัศน์ หลายสื่อ เพราะเป็นธุรกิจที่ยัง Unseen จนทำให้ DogGetHome เป็นที่รู้จัก ?เมื่อเริ่มธุรกิจอย่างจริงจัง เงินลงทุนจะไปอยู่ที่วัตถุดิบต่างๆ ที่ต้องสต๊อคไว้ (ทำเริ่มแรกควรซื้อวัสดุมาให้พอดีกับที่มี Order ?เพราะเราอาจจะมีเงินทุนไม่มาก) ค่าแรงช่าง และเครื่องมือที่ต้องซื้อเพิ่ม โดยเริ่มแรกประมาณลงทุนอยู่ที่ ?50,000 กว่าบาท

 

ไอเดียการทำบ้านสุนัขเเต่ละหลัง

รัตติยาตอบเพิ่มว่า รูปแบบบ้านส่วนมากจะออกแบบตามที่ลูกค้าต้องการหรือลูกค้ามีแบบที่ชอบในใจอยู่แล้ว ทั้งนี้ยังมีรายละเอียดบางอย่างที่น้องหมา/แมว ?แต่ละตัวอาจมีไม่เหมือนกัน ซึ่งลูกค้าจะเป็นคนบอกเล่าให้เราฟัง เมื่อรวบรวมข้อมูลทั้งหมดเราก็จะออกแบบบ้านที่เหมาะกับน้องหมา/แมวและให้ตรงใจลูกค้า

สิ่งที่ต้องคำนึงในการออกแบบ คือ ต้องใส่ใจเรื่องความสำคัญของการเป็นบ้านสุนัข/แมว คือเค้าต้องอยู่แล้วปลอดภัยจากยุง จากสัตว์ร้ายที่หากินตอนกลางคืน และต้องทำความสะอาดได้บ่อยๆ ?เราต้องเข้าใจและรู้จักนิสัยของน้องหมา/แมวแต่ละตัว จะได้ออกแบบให้เหมาะสม ?ลูกค้าสามารถออกแบบได้เอง

ส่วนขั้นตอนการสั่งทำบ้าน ลูกค้าเลือกแบบบ้านจากในเว็บไซต์ หรือเลือกออกแบบเองตามการใช้งาน ?เลือกขนาดบ้านที่ต้องการสำหรับน้องหมา Option ของบ้านสุนัขเพิ่มเติม พัดลม มีให้เลือก 2 รุ่น คือ Honey well และ AIKO ?ติดโคมไฟกิ่งหน้าบ้าน ติดไฟแสงสว่างในบ้าน ปูฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาปูพื้นกระเบื้อง ?ลูกค้าระบุสีบ้านที่ต้องการ อย่าง สีหลังคา สีตัวบ้าน สีตัดขอบต่างๆ ** ภายในบ้านจะไม่ทาสี เป็นสีธรรมชาติจากวัสดุเดิมๆ โครงสร้างเป็นไม้เนื้อแข็ง คุณสมบัติ เป็นไม้ที่มีความเหนียวและแข็งแรง เหมาะที่จะนำมาใช้ทำโครงสร้างรับน้ำหนัก และใช้ในการก่อสร้างทั่วไป โดยเฉพาะงานไม้กลางแจ้ง ไม้เนื้อแข็งทั่วไปที่ใช้ได้ก็มี ไม้เต็ง ไม้แดง ไม้มะค่า ไม้ประดู่ ไม้ตะเคียน ไม้ยาง เป็นต้น

หลักการออกแบบบ้านหมา/แมว

รัตติยาตอบแบบเล่าให้ฟังว่า สุนัขกับที่อยู่อาศัยดูเหมือนจะไม่ใช่เรื่องสำคัญเพราะชินต่อสภาพการปล่อยให้สุนัขเดินไปเดินมาในบ้านนอกบ้าน นึกจะนอนตรงไหน กินตรงไหนก็ตามแต่ใจ เพราะสุดท้ายคุณก็คือผู้ที่ต้องทำความสะอาด มักจะเป็นปัญหายุ่งยากที่จะตามมา ในต่างประเทศ การมีบ้านสุนัขไม่ใช่เพื่อเจตนาจะเลี้ยงสุนัขให้อยู่ข้างในตลอดเวลา เพราะเช่นนี้จะทำให้พฤติกรรมของเค้าเปลี่ยนไปเป็นก้าวร้าว" ? ธรรมชาติของสุนัขจะอยากอยู่ใกล้ชิดกับเจ้าของโดยเฉพาะเมื่อตอนอายุได้ 2 - 5 เดือนแรกไม่ควรกักขังให้อยู่แต่ในกรงเด็ดขาดเพราะจะทำให้สุนัขขาดการปฏิสัมพันธ์กับผู้คน และสัตว์อื่นได้เป็นไปได้ควรจัดหาที่นอนให้อยู่ภายในบ้านหน้าห้องนอน หรือที่ๆ ใกล้ชิดเจ้าของ ? ?แต่เมื่อสุนัขโตขึ้นการฝึกสอนให้สุนัขเกิดความเคยชินและรักที่อยู่อาศัย การเข้า-ออกจากที่อยู่อาศัยเป็นเวลา ไม่ทำเลอะเทอะจะช่วยให้สุนัขรู้ดี ว่านั่นหมายถึงเวลาขับถ่ายของเสียเวลาทานอาหาร เวลานอน ซึ่งควรปฏิบัติและทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพราะเป็นวิธีที่จะช่วยทำให้สุนัขของคุณมีนิสัยที่ดี" หรือเวลาที่น้องหมามีกิจกรรมในบ้านหลังน้อย ?จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องศึกษาความเป็นอยู่ของน้องหมา รวมทั้งหลักในการออกแบบบ้านสุนัขตามสุขลักษณะที่ดีในทุกๆ กิจกรรมด้วยรูปแบบของบ้านโปร่งสบาย ไม่อับ อากาศถ่ายเทได้สะดวกขนาดของบ้าน ประตูและหน้าต่างต้องเป็นไปตามพฤติกรรมโดยรวมทั้งในขณะนอน ยืน หรือนั่ง ก็ต้องให้มีมุมมองและทัศนวิสัยที่ดีต่อการมองเห็นและระวังภัยของน้องหมาด้วย"

[caption id="attachment_832" align="alignleft" width="227" caption="ไอเดียมอบรักแด่สังคม"]ไอเดียมอบรักแด่สังคม[/caption]

รับ Made to Order

รัตติยาตอบเพิ่มต่อไปอีกว่า Made to Order มีมาตลอดแบบต่อเนื่อง มีบางช่วงที่แน่นแต่ส่วนมากจะพอดีๆ จะไม่ค่อยรับงานซ้อนๆ กันค่ะ หากต้องรอคิวก็จะแจ้งลูกค้าก่อน ยอดขายอย่างที่บอกว่าต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ?ถือเป็นรายได้ที่ดี ? บ้านที่ขายดีจะเป็น ?บ้านสุนัขพันธุ์โต / พันธุ์เล็ก แต่ส่วนมากสั่งทำบ้านน้องหมาพันธุ์ใหญ่มากกว่าเพราะต้องเลี้ยงนอกบ้าน ?ส่วนพันธุ์เล็กๆ ลูกค้าก็มักจะเลี้ยงในบ้านมากกว่า

 

 

ช่องทางการประหยัดงบทำการตลาดผ่านเว็บไซต์

รัตติยาตอบเพิ่มต่ออีกว่า เราเน้นที่จะทำการตลาดผ่านเว็บไซต์เพราะข้อดีของการตลาดบนเว็บไซต์ ก็คือประหยัดค่าใช้จ่าย ค่าเช่าสถานที่ ค่าสาธารณูปโภค ค่าจ้างพนักงาน รวมทั้งค่าการโฆษณาสิ่งพิมพ์ต่างๆ ประหยัดพลังงานเพราะลูกค้าสามารถเลือกดูได้จากทางอินเตอร์ก่อนที่ต้องสตาร์ทรถไปตระเวนหา และปัจจุบันเทคโนโลยีด้าน IT เข้ามามีผลอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตเราต้องใช้ประโยชน์ด้านอินเตอร์เน็ตให้คุ้มค่าที่สุด

ถ้าเขียนเองมีค่าใช้จ่าย เสียค่าเช่าพื้นที่ Hosting ปีละไม่ถึง 2,000 บาท ?และค่าจด Domain name รายปีละ 550 บาท ถ้าเป็นเว็บสำเร็จรูป จะขึ้นอยู่กับรูปแบบที่ต้องการด้วย หากมี Animation หรือลูกเล่นมากหน่อย ก็น่าจะราคาสูงเหมือนกัน แต่ถ้าทั่วๆ ไป ก็เริ่มต้นที่เกือบหน้าละ 1,000 บาท การตลาดบนเว็บไซต์ ยังสามารถเติบโตได้อีกมาก ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ใช้อินเตอร์เน็ตมากขึ้น หาข้อมูลหรืออยากรู้อะไรก็หาได้ แทบทุกบ้านจะต้องมีอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ ?แต่ก็จะมีทั้งข้อดี และข้อเสีย

อย่างข้อดี ?ก็คือประหยัดค่าใช้จ่าย ค่าเช่าสถานที่ ค่าสาธารณูปโภค ค่าจ้างพนักงาน รวมทั้งค่าการโฆษณาสิ่งพิมพ์ต่างๆ ประหยัดพลังงานเพราะลูกค้าสามารถเลือกดูได้จากทางอินเตอร์ก่อนที่ต้องสตาร์ทรถไปตระเวนหา ? ซึ่งทางเราเสียค่าเช่าพื้นที่ Hosting ปีละไม่ถึง 2,000 บาทส่วนข้อเสีย ลูกค้าไม่สามารถจับต้องและเห็นสินค้าจริงได้ ซึ่งเป็นพฤติกรรมของลูกค้าที่ต้องเห็นของก่อนการสั่งซื้อ ?และบางครั้งก็ยังเข้าไม่ถึงลูกค้าบางกลุ่ม แต่ทางทีมงานก็กำลังพยายามปรับปรุงการบริการให้คลอบคลุมทุกกลุ่มลูกค้า

ข้อเสนอเเนะนำ การทำธุรกิจบนเว็บไซต์

รัตติยาตอบสรุปอีกว่า อย่างที่ได้บอกไว้ว่าการทำธุรกิจบนเว็บไซต์มีข้อเสียตรงที่ลูกค้า ไม่เห็นสิ่งของ จับต้องไม่ได้ และบางคนก็กลัวไม่กล้าตัดสินใจสั่งซื้อ ข้อนี้ถือเป็นอุปสรรคของธุรกิจบนเว็บไซต์ ?ซึ่งทางเราก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก ก็พยายามสร้างความน่าเชื่อถือให้ได้มากที่สุด ตอนนี้เว็บมาสเตอร์ก็สร้างเป็นชุมชนออนไลน์ขึ้นในเว็บไซต์และมี Twitter ให้คอยติดตามข่าวสาร หรือความเคลื่อนไหวของ DogGetHome ?ได้ที่ ?www.doggethome.com ? โทร.081-9228875

และนี้ถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่เกิดจากวิสัยทัศย์และไอเดีย ที่น่าเป็นแบบอย่าง ถือเป็นหัวใจในการสร้างจุดแข็งให้กับสินค้าและบริการ หากรู้จักหยิบองค์ความรู้ที่สร้างสมมาใช้ ผลที่ได้รับก็คงตอบได้ว่าเป็น ?เม็ดเงินมหาศาล? ขอแค่คุณอย่าดูถูก หรือปฏิเสธความคิด หรือ ?ไอเดีย? ของตัวคุณเอง ??(ล้อมกรอบ)?ข้อแนะนำเรื่องขนาดตัวบ้าน?Small : Size 80 x 80 x 115 CM.(กว้างxยาวxสูง)เหมาะสำหรับสุนัขขนาดเล็กเช่น พุดเดิ้ล ปอมเมอเรเนียน ชิท์สุ ปั๊ก มินิเจอร์ ยอร์คเชียร์เทอเรีย เป็นต้นMedium : Size 100 x 100 x 135. เหมาะสำหรับสุนัขขนาดกลางเช่น บางแก้ว บีเกิล คอกเกอร์ ดัชชุน เป็นต้นLarge : Size 100 x 130 x 150 CM. เหมาะสำหรับสุนัขขนาดใหญ่เช่น โกลเด้นท์ ลาบราดอร์ ไซบีเรียนฮัสกี้ เป็นต้นExtra : Size 180 x 120 x 160 CM. เหมาะสำหรับสุนัขขนาดใหญ่พิเศษเช่น ร็อตไวเลอร์ เยอรมันเช็พเพอด เซนต์เบอร์นาร์ต เป็นต้น

ทำสัญญาแฟรนไชส์กันอย่างไร

ทุกคนที่คิดจะขายแฟรนไชส์ สิ่งแรกที่นึกถึงก็คือ อยากจะได้สัญญาแฟรนไชส์ เพื่อที่จะขายแฟรนไชส์ได้ทันที แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรและในสัญญาระหว่างกันนั้น ควรพูดถึงเรื่องอะไรกันบ้าง ซึ่งในเรื่องนี้จะมีคำตอบ

แต่ก่อนอื่น สิ่งที่เราทำผิดกันเสมอก็คือ ความต้องการหาสัญญามาเซ็นต์ก่อน ก่อนที่จะมีระบบแฟรนไชส์เสียอีก ซึ่งที่จริงแล้วสัญญาจะเป็นเรื่องทีหลังสุด ในการเตรียมระบบแฟรนไชส์? คุณควรมีระบบงานแล้ว มีคู่การทำธุรกิจเรียบร้อยแล้ว
อย่างไรก็ตาม มีผู้ที่ต้องการจะรู้ในเรื่องนี้เป็นจำนวนมากๆจึงให้ข้อแนะนำเป็นไกล์ไลน์ ?เพื่อให้ผู้กำลังจะทำแฟรนไชส์อยู่ หรือคิดว่าในอนาคต ใช้เป็นแนวทางของสัญญาแฟรนไชส์

วิธีการทำสัญญา
หน้าที่สัญญา จะเป็นงานของนักกฎหมายทนายความเป็นคนทำ เป็นคนร่าง ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้จะทราบดีกว่า ว่าเรื่องใด ข้อความใดในสัญญา ใช้บังคับตามกฎหมายได้ ข้อสัญญาใดบังคับไม่ได้? และทนายความแต่ละคนก็อาจจะมีประสบการณ์ ในการร่างสัญญาที่ถนัดกันคนละอย่าง ดังนั้นผู้ประกอบการที่ขายแฟรนไชส์ก็จะต้องเป็นผู้ให้แนวทางกับทนายความว่าต้องการให้สัญญาแฟรนไชส์ บังคับใช้ในเรื่องอะไรบ้าง แต่ปัญหาของทุกคนจะตอบเหมือนๆกัน คือ ?ไม่ทราบเหมือนกันว่า ควรจะมีเรื่องอะไรอยู่ในสัญญา?
รูปแบบสัญญาแฟรนไชส์นี้เป็นข้อแนะนำจากทนายความของบริษัท เบเคอร์ แอนด์ แมคแคนซี่ ที่จะนำมาปรับ และพูดถึงทีละประเด็น เพื่อช่วยให้มีความเข้าใจง่ายขึ้น

การให้สิทธ์
ในการขายแฟรนไชส์ คือการอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ต่างๆ ซึ่งก่อนที่คุณจะทำสัญญาเรื่องแฟรนไชส์ คุณจะต้องคิดว่าคุณมีสิทธิ์ หรือทรัพย์สินใดบ้างที่จะต้องให้แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ไปด้วย เช่น
-เครื่องหมายการค้า เป็นสิ่งที่แน่นอนที่คุณจะต้องมีข้อผูกพันที่จะต้องกล่าวถึงในสัญญาว่าคุณจะต้องอนุญาตให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ของคุณใช้เครื่องหมายโลโก้ของคุณ แค่ไหนและอย่างไร
-ไลเซ่นส์ คือสิทธิประโยชน์ที่ใช้เป็นผลในทางการค้าได้ เช่น เครื่องหมายการค้า ข้อมูลการค้า ที่ใช้เพื่อดำเนินธุรกิจนั้น คุณมีอยู่หรือไม่ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ต้องพูดถึง และอนุญาตให้ใช้ไลเซ่นส์ที่คุณมี
-ผลิตภัณฑ์ คุณอาจจะมีสินค้าที่ให้ผู้ซื้อของคุณเป็นผู้แทนจำหน่ายด้วย นี่ก็เป็นสิทธิ์อีกอย่างหนึ่งที่คุณจะต้องพูดถึงไว้ในสัญญา ว่าคุณจะให้แฟรนไชซี่ของคุณเป็นตัวแทนขายสินค้าของคุณในระดับใด

การแต่งตั้ง
คือการกำหนดอาณาเขต ที่คุณจะให้แก่แฟรนไชซี่ของคุณ ที่ในสัญญา ก็จะมีระบุว่า คุณจะอนุญาตให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้รับสิทธิการดำเนินธุรกิจ สิทธิใช้ทรัพย์สินทางปัญญา หรือการขายสินค้า ในอาณาเขตใด ภายใต้เงื่อนไขอย่างไร ซึ่งคุณต้องคิดก่อน และกำหนดเอาไว้ในสัญญา

ประเภทของการได้รับสิทธิ์
ผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์ของคุณจะได้รับสิทธิ์รูปแบบไหน เป็นสิทธิ์ได้เพียงรายเดียวในประเทศไทย หรือได้สิทธิ์ในภูมิภาค หรือได้สิทธิ์จำกัดแค่ในห้าง เป็นต้น
ซึ่งในสัญญา ควรจะต้องมีการระบุว่าแฟรนไชส์รายนี้ ได้รับสิทธิ์เพียงผู้เดียวหรือไม่ เช่นในกรณี ที่จะให้สิทธิ์ รายเดียวในภาคเหนือที่คลอบคลุม 10 จังหวัด คือเชียงใหม่,เชียงราย,แม่ฮ่องสอน ฯลฯ จะมีเงื่อนไขต่อไปตามที่จะตกลงกันเช่นไร เช่น ผู้ที่ได้สิทธิ์รายเดียวอาจต้องมีหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการให้ได้ตามข้อที่ตกลงกัน ในระยะเวลาที่กำหนด ก็ยังมีที่ไม่บรรลุวัตถุประสงค์(ทำยอดขายไม่ได้ตามเป้า) ก็จะยกเลิกสัญญาได้ เช่นนี้เป็นต้น

ข้อกำหนดเรื่องการเลือกสถานที่
โดยส่วนใหญ่แล้ว ธุรกิจแฟรนไชส์บริษัทแม่มักมีส่วนในการช่วยเลือกสถานที่ ดังนั้นในสัญญาอาจจะมีการกำหนดไว้ในเรื่องนี้ว่า บริษัทแม่จะมีส่วนในการช่วยเลือกสถานที่หรือไม่อย่างไร เนื่องจากผู้ขายแฟรนไชส์ที่ดีส่วนมากจะต้องไม่ทำให้ธุรกิจที่ตั้งขึ้นไม่ว่าจะเป็นของบริษัทแม่เอง หรือของบริษัทแฟรนไชซี่ล้มเหลว จึงมักมีความประสงค์ ในการมีส่วนในการเลือกสถานที่ตั้ง เพื่อเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจดำเนินกิจการไปได้

การโฆษณาส่งเสริมการขาย
การโฆษณาเพื่อส่งเสริมการขาย เป็นอันดับหนึ่งที่สำคัญที่มักจะสับสนกันที่ควรจะมีการพูดถึงในสัญญา โดยระบุว่าใครเป็นผู้ที่มีหน้าที่ในการส่งเสริมการขาย และการโฆษณา ใครเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย จะมีค่าใช้จ่ายส่วนรวมในการโฆษณาหรือไม่อย่างไร หรือมีค่าใช้จ่ายในการโฆษณาท้องที่ของร้านแฟรนไชซี่หรือไม่ เป็นการระบุให้เข้าใจตรงกัน

ระเบียบในการดำเนินธุรกิจ
ในธุรกิจแฟรนไชส์ จะต้องมีการกำหนดระเบียบในการดำเนินธุรกิจ เพื่อรักษามาตรฐานของร้าน ดังนั้นในสัญญาอาจจะมีการระบุคือ ระเบียบที่สำคัญที่ต้องปฏิบัติเอาไว้ โดยเฉพาะในเรื่องของ การให้ตรวจสอบการดำเนินงานร้าน เพื่อประเมินผลการดำเนินงานของร้าน เป็นต้น

ข้อกำหนดในการเก็บรักษา/และการควบคุมคุณภาพ
เรื่องการกำหนดให้ซื้อสินค้าจากบริษัทแม่ เป็นเรื่องที่มีปัญหาระหว่างกันเสมอ และในกฎหมายแฟรนไชส์ที่กำลังจะออกมาในเร็วๆนี้ ก็จะมีการกล่าวถึงในเรื่องนี้ด้วย ดังนั้นการทำสัญญาแฟรนไชส์ที่ระบุให้มีการซื้อสินค้าใด จะต้องอยู่ในขอบเขตเพื่อการคงรักษา ตัวมาตรฐานและคุณภาพเท่านั้น จะกำหนดให้ซื้อจากบริษัทแม่ทุกอย่าง หรือปราศจากเหตุผลที่เหมาะสมจะไม่สามารถทำได้
แต่ท่านสามารถระบุในเรื่องของวิธีการเก็บรักษาสินค้า หรือเครื่องมืออุปกรณ์ เพื่อช่วยในการรักษามาตรฐานด้วยได้
ส่วนการควบคุมคุณภาพนั้นมักจะมีอยู่ในคู่มือ ซึ่งข้อกำหนดของสัญญาเรื่องนี้ มักจะสอดคล้องกับแนวทางของการควบคุมคุณภาพต่างๆที่อยู่ในคู่มือ

การเลือกพนักงานและการอบรม
แน่นอนที่สุด การทำระบบแฟรนไชส์ จะต้องมีหน้าที่ในการฝึกฝนบุคคลากรจนกระทั่งสามารถดำเนินธุรกิจเหมือนกับบริษัทแม่ได้
ดังนั้นในสัญญาจะต้องมีการระบุถึงเรื่องนี้ว่า ใครจะเป็นผู้คัดเลือกพนักงาน กำหนดระยะเวลาของการฝึกฝน และความช่วยเหลือ ว่าจะมีอย่างไร และระยะเวลายาวนานเพียงใด ไม่เช่นนั้นแล้วจะมีกรณีพิพาทเกิดขึ้น ถึงความไม่ชัดเจนในเรื่องนี้

การโอนสัญญา
หากมีการทำธุรกิจแฟรนไชส์ไปแล้ว เกิดไม่อยากทำขึ้นมา ผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์จะมีสิทธิ์โอนต่อให้คนอื่นได้หรือไม่ ประเด็นนี้ผู้ขายแฟรนไชส์ควรคิดเอาไว้ก่อน แล้วระบุกฎเกณฑ์เรื่องนี้ไว้ในสัญญา และการโอนจะโอนได้ในเรื่องอะไรบ้าง

รายได้ค่าสิทธิ์
ในสัญญา ควรระบุคือ วิธีการชำระค่าสิทธิ์ รวมถึงวัน เวลา และอัตราค่าสิทธิ์ ที่แน่นอนเอาไว้
การชำระค่ารอยัลตี้ หรือค่าแฟรนไชส์ อาจจะมีการกำหนดในรูปแบบของเปอร์เซ็นต์ของยอดขาย หรือผลกำไร หรือกำหนดเป็นอัตราที่แน่นอนรายเดือน ซึ่งควรมีการบอกเอาไว้ และกำหนดให้ชัดเจนว่าคำนวณรายได้ จากอะไร จากรายได้สุทธิ หรือจากรายได้ที่ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายเป็นต้น
นอกจากนี้อาจจะมีการกำหนดเป็นสกุลเงินใดในการรับชำระ (ในกรณีที่ขายแฟรนไชส์ต่างประเทศ รวมถึงกำหนดด้วยว่าใครเป็นผู้ชำระภาษี)

สมุดบัญชี
ระเบียบในการลงแบบฟอร์มบัญชี ที่อาจจะมีการระบุให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ เก็บหลักฐานทางบัญชี อย่างพร้อมทุกข้อมูลและลงรายละเอียดรายรับ-รายจ่าย อย่างถูกต้องซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญ ที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ ควรจะปฏิบัติ ส่วนผู้ขายแฟรนไชส์ก็จำเป็นจะต้องมีระบบงานทางด้านรายงานทางการเงินที่ดี เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลต่างๆ รวมทั้งเป็นการช่วยเหลือผู้ซื้อแฟรนไชส์ให้มีระบบงานที่ดีขึ้นด้วย

สิทธิในการตรวจสอบบัญชี
แฟรนไชส์ส่วนใหญ่ จะมีการจ่ายค่ารอยัลตี้ฟีตามเปอร์เซ็นต์ หรือยอดกำไร ซึ่งส่วนนี้จะเป็นยอดเงินเท่าไร ก็อาจจำเป็นต้องมีการตรวจสอบบัญชีของผู้ซื้อแฟรนไชส์? สิ่งนี้อาจจะเป็นจุดอ่อนไหวที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ประสงค์ให้ตรวจสอบ ที่จะต้องมีการตกลงกันตั้งแต่เริ่มแรกและระบุในสัญญาว่า จะอนุญาตให้มีการตรวจสอบบัญชีในการทำธุรกิจ หรืออาจมีการแต่งตั้งผู้ตรวจสอบบัญชีพิเศษขึ้นมาอีกก็ได้

การแข่งขัน
เป็นปัญหาที่มักเกิดขึ้นเสมอ ที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ เมื่อซื้อแฟรนไชส์ไปได้ระยะหนึ่งเมื่อทำธุรกิจเองได้แล้ว ก็อาจอยากเป็นผู้ขายแฟรนไชส์เสียเอง หรือไม่อยากชำระค่ารอยอตี้ฟีอีกต่อไป ทำให้คู่ค้ากลายเป็นคู่แข่ง ซึ่งเป็นกรณีที่เกิดขึ้นเสมอ ดังนั้น สัญญาแฟรนไชส์ ก็อาจจะมีการทำความเข้าใจในประเด็นนี้โดยอาจจะมีเงื่อนไขระบุในการห้ามค้าแข่งในธุรกิจเดียวกัน ในระยะเวลาที่กำหนดเป็นต้น

การไม่เปิดเผยความลับ
การขายแฟรนไชส์ จำเป็นจะต้องถ่ายทอดวิชาเฉพาะธุรกิจนั้นๆให้ผู้ซื้อ เช่นร้านอาหาร อาจจะมีเคล็ดลับเรื่องสูตรอาหาร หรือกลยุทธพิเศษในเรื่องของการทำการตลาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเปิดเผยคู่มือในการทำธุรกิจที่มีรายละเอียดทุกอย่าง ที่เจ้าของแฟรนไชส์ได้ศึกษาขึ้นมา ด้วยประสบการณ์เป็นเวลานาน เมื่อได้ถ่ายทอดให้แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ไปแล้วอาจจะมีโอกาสที่จะถูกนำไปเปิดเผยได้ ดังนั้นในสัญญาควรมีการกำหนดในเรื่องนี้ ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่จะต้องรักษาความลับ แม้กระทั่งเลิกสัญญาต่อกันไปแล้ว

ระยะเวลาสัญญาแฟรนไชส์
แน่นอนว่าในการให้สิทธิแฟรนไชส์ จะต้องกำหนดระยะเวลา ของการให้สิทธิเอาไว้ จะเป็นกี่ปีผู้ขายแฟรนไชส์ อาจจะต่อกันครั้งละ 3 ปี 5 ปี หรือ 10 ปี ก็ตาม หากไม่ได้กำหนดไว้อาจจะเสมือนว่าจะได้สิทธิตลอดไป ซึ่งในกรณีที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ละเลยในการต่อค่าสิทธิ หรือประพฤติไม่เหมาะสม ก็จะแก้ไขได้ยากแต่ถ้ามีระยะเวลาก็อาจจะไม่มีการต่อสัญญาในรอบต่อไปได้

การเลิกสัญญา
ในสัญญาควรจะระบุในกรณีที่เลิกสัญญาเอาไว้ด้วยว่ามีกรณีใดบ้างที่จะเลิกสัญญาแฟรนไชส์อีกต่อกัน เช่น อาจจะเสียชีวิต หรือมีคดีผิดกฎหมาย หรือกรณีผิดสัญญาร้ายแรง เช่นไม่ชำระค่าสิทธิ เป็นต้น

ผลของการเลิกสัญญา
ผลของการเลิกสัญญาแล้วจะเป็นอย่างไรต่อไป ผู้ขายแฟรนไชส์ควรจะกล่าวถึงไว้ในสัญญาด้วย เช่นเมื่อเลิกสัญญาแล้วก็ไม่มีสิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้า เป็นต้น

เหตุสุดวิสัย
ในบางครั้งอาจมีสถานการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ภัยธรรมชาติ สงคราม เป็นต้น ก็อาจจะมีการกำหนดผ่อนผันสิทธิ และหน้าที่ของแต่ละฝ่ายในช่วงเวลาดังกล่าวได้

การอนุมัติและการอนุญาต
ในการทำธุรกิจแฟรนไชส์ จำเป็นต้องควบคุมมาตรฐานในการดำเนินงานให้เท่ากันทุกแห่ง ดังนั้นอาจจะมีการสับสนว่าเรื่องใดบ้างอนญาติให้แฟรนไชส์ดำเนินงานเองได้ เรื่องใดจะต้องขออนุญาตจากบริษัทแม่เสียก่อน ซึ่งจะทำให้มีความเข้าใจตรงกันและลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้น

เอกสารแนบท้าย
ในการทำสัญญา อาจมีข้อสัญญาหลายเรื่อง เป็นการอนุญาตให้ใช้สิทธิเครื่องหมายการค้า หรือเอกสารรายละเอียดอื่น ๆที่แนบท้าย ซึ่งอาจจะระบุอ้างอิงถึงเอกสารแนบท้าย และระบุว่าส่วนใดอยู่ภายใต้สัญญาฉบับนี้ด้วย
ในเรื่องของการค้าสัญญาระหว่างกันนี้ จุดที่ดีที่สุดก็คือ ควรจะมีความเป็นธรรม ที่ให้โอกาสอีกฝ่ายหนึ่ง ได้อ่านทบทวนโดยละเอียดและได้ต่อรองในข้อตกลงต่างๆ กันก่อน ซึ่งการทำสัญญา ถ้าผู้ขายแฟรนไชส์จะสร้างระเบียบต่างๆขึ้นมาโดยที่ดูเป็นการเอาเปรียบอีกฝ่ายหนึ่งขึ้นมาก็อาจจะไม่สามารถบังคับใช้ได้เลย เพราะอาจจะอยู่ในลักษณะของสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
อย่างไรก็ตาม เรื่องของการเขียนสัญญาย่อมเป็นหน้าที่ของนักกฎหมาย ทนายความ ซึ่งข้อแนะนำในเรื่องนี้เป็นเรื่องการให้แนวทางว่า ควรจะมีการระบุ และพูดถึงในเรื่องใดบ้าง ซึ่งอาจจะมีการเพิ่มเติมมากกว่านี้หรือน้อยกว่านี้ ก็ขึ้นกับความต้องการของผู้ขายแฟรนไชส์และลักษณะของแต่ละธุรกิจ และกรยอมรับของผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่มีจุดลงตัวซึ่งกันและกัน

Credit : โอกาสธุรกิจและแฟรนไชส์

5/24/2554

แฟรนไชส์ เอ็กซ์โป ปารีส

จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-23 มีนาคม 2554 ณ ศูนย์แสดงนิทรรศการ Porte de Versailles Exhibition Centre กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส (พาวิลเลียน 3) โดยในงาน ท่านจะได้พบกับแบรนด์ดังต่างๆ กว่า 450 แบรนด์จากกลุ่มธุรกิจกว่า 75 สาขา และพบกับผู้แสดงสินค้าต่างชาติมากกว่า 100 รายจาก 22 ประเทศ นอกจากนี้ ยังจัดให้มีโปรแกรมการนัดพบด้านมาสเตอร์แฟรนไชส์ ?Master Franchise Datings? สำหรับผู้ที่มีโครงการที่จะลงทุนในด้านธุรกิจแฟรนไชส์ที่ประสงค์จะนำเสนอโครงการและพบปะกับทางแบรนด์โดยตรง ?แฟรนไชส์ เอ็กซ์โป ปารีส? ถือเป็นเวทีทางการค้าที่สมบูรณ์แบบ เพื่อการค้นหาไอเดียใหม่ๆ อย่างฉับไว และเพื่อการค้นหาเทรนด์ซึ่งเป็นที่นิยมอยู่ในปัจจุบันทั้งหมดในตลาดโลก

นับเป็นปีที่สองแล้วที่งานจัดเริ่มขึ้นในวันอาทิตย์ ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อพบปะกันระหว่างแบรนด์สินค้ากับผู้มาเยี่ยมชม โดยในปี 2553 มีผู้เยี่ยมชมงานถึง 30,981 คน รวมตลอด 4 วัน หรือเพิ่มขึ้น 15.14% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

โปรแกรมของงานปี 2554 นี้ จะเต็มไปด้วยกิจกรรมต่างๆ มากมาย พร้อมกับการจัดการประชุมตามกลุ่มธีมของธุรกิจต่างๆ เพื่อสนับสนุนบรรดาผู้มุ่งหวังที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ในอนาคตและเพื่อตอบโจทย์แก่บรรดาผู้สร้างธุรกิจแฟรนไชส์ในอนาคต เหล่าผู้จัดงานจึงได้จัดตั้งโปรแกรมขึ้น ซึ่งประกอบด้วยการประชุมและการสัมมนาเชิงปฏิบัติการขั้นสูงที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ โดยการประชุมและการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ จะจัดยิ่งใหญ่มากขึ้นกว่าเดิม หลังจากที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในกลุ่มผู้สนใจสร้างธุรกิจในอนาคตในระหว่างงานแฟรนไชส์ เอ็กซ์โปครั้งที่ผ่านมา ซึ่งจุดประสงค์ในการจัดประชุมนี้คือ เพื่อช่วยให้บรรดาผู้เข้าเยี่ยมชมงานบรรลุเป้าหมายในโครงการที่วาดฝันไว้ นั่นก็คือ การสร้างธุรกิจให้กับตนเองและนอกจากนี้แล้ว บรรดาบุคคลสำคัญชั้นนำในธุรกิจแฟรนไชส์ต่างๆ ยังจะจัดการประชุมขึ้นในงานครั้งนี้ เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกัน อีกทั้งยังได้จัดให้มีการประชุมเพื่อการฝึกอบรมฟรีทุกวัน ซึ่งจัดโดยสถาบัน Ecole de la Franchise (การประชุมจัดขึ้นเป็นภาษาฝรั่งเศส) และโดย Master Franchise School (การประชุมจัดขึ้นเป็นภาษาอังกฤษ)
ประเทศแคนาดา แขกรับเชิญพิเศษ

ประเทศที่ได้รับเกียรติเป็นแขกรับเชิญพิเศษประจำงานแฟรนไชส์ เอ็กซ์โป ปารีส 2554 ได้แก่ ประเทศแคนาดา ซึ่งจะประจำการอยู่ที่พาวิลเลียนพิเศษตลอดงาน โดยแคนาดาเป็นประเทศที่มีธุรกิจแฟรนไชส์จากฝรั่งเศสจำนวนมาก อาทิแบรนด์ Yves Rocher, Maisons Mikit, La Bo?te ? Pizza ฯลฯ ที่ได้เข้าไปตั้งกิจการในแคนาดา ซึ่งทางผู้ประกอบการด้านแฟรนไชส์ของแคนาดาเองก็วางเป้าที่จะขยายธุรกิจทั่วฝรั่งเศสเช่นกัน

ข้อมูลเกี่ยวกับงานมหกรรมแฟรนไชส์ เอ็กซ์โป ปารีส

ตลอดสามทศวรรษที่ผ่านมา ?งานแฟรนไชส์ เอ็กซ์โป ปารีส? เป็นงานที่ส่งเสริมการเติบโตของเครือข่ายต่างๆ ในฝรั่งเศสและของหลายประเทศทั่วโลก โดยได้ช่วยให้บรรดาผู้ประกอบการนับพันๆ ราย สามารถสานฝันในการสร้างธุรกิจให้กลายเป็นจริงขึ้นมาได้ โดยเป็นเวทีการประชุมที่มีอิทธิพลเป็นอย่างมากในการผลักดันให้เหล่าผู้สร้างธุรกิจและบรรดาผู้ค้าปลีกได้มีโอกาสในการพบปะกับแบรนด์ของฝรั่งเศสและจากทั่วโลกมากกว่า 400 แบรนด์

เพื่อช่วยให้บรรดาผู้ที่ต้องการทำธุรกิจแฟรนไชส์ในอนาคตทั้งหลายได้บรรลุผลสำเร็จในการปั้นโครงการของตน "แฟรนไชส์ เอ็กซ์โป ปารีส? จึงได้รวบรวมเอาบรรดาผู้เชี่ยวชาญทั้งหมดมาไว้ในงาน เพื่อคอยช่วยเหลือกลุ่มผู้ต้องการทำธุรกิจเหล่านี้ ด้วยการให้การสนับสนุน คำแนะนำและข้อมูล ตลอดจนคอยให้ความช่วยเหลือในการค้นหาแหล่งเงินทุนที่จำเป็น

ด้วยการนำเสนอที่ไม่เหมือนใครจากแบรนด์ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง รวมทั้งแนวคิดในการลงทุนในตลาดใหม่ๆ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถทำการเปรียบเทียบได้ และวางแผนงานให้กับตนเองในการเสาะแสวงหาลู่ทางเพื่อลงทุนในแบรนด์ที่มีอยู่หลากหลาย และการเข้าร่วมในเครือข่ายแฟรนไชส์ก็คือหนทางที่ดีที่สุดที่ตรงกับเจตนารมย์ของผู้ประกอบการเหล่านี้
www.franchiseparis.com

สนใจข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ

Reed Expositions France

France Delaporte, International Communication and Exhibitor Relations Manager

โทรศัพท์: +33 (0)1 47 56 50 96

อีเมล: France.delaporte@reedexpo.fr

ข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ :

ฝ่ายการพาณิชย์ - UBIFRANCE สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส

แผนกข่าวและการสื่อสาร

โทร 0 2352 4119 อีเมล ratchaneekorn.mekchai@ubifrance.fr

 

5/22/2554

สร้างแฟรนไชส์ให้สำเร็จ

ในระบบธุรกิจแฟรนไชส์จะประกอบด้วยวิธีการหลายๆ ด้าน และไม่สามารถที่จะเน้นงานด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น การสร้างองค์ประกอบรวมในการทำธุรกิจที่ดี แกนหลักของระบบงานเป็นตัวนำ สามารถจะสร้างพื้นฐานการบริหารที่ดีขึ้นได้ หลักการต่างๆ ในรายละเอียดในแต่ละส่วนสามารถที่จะยึดเป็นหลักการดำเนินการดังนี้

1. สร้างระบบการบริหารงานหลายแบบ ในการวางระบบงานสาขาหรืออาจจะเป็นสาขาของบริษัทเองโดยตรงหรือระบบ แฟรนไชส์ และรวมถึงร่วมลงทุน Joint Venture ก็ตามควรจะมีวิธีการบริหารหลายรูปแบบ โดยไม่จำกัดการขยายงานในแบบเดียวเกินไป เพราะในแต่ละวิธีก็จะมีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกัน การวางงานในหลายรูปแบบจะได้ช่วยนำข้อดี ข้อเสียมาปรับปรุงระบบโดยรวมทั้งหมดได้ดียิ่งขึ้น

2. สร้างตัวอย่างสาขาให้เด่น ควรมีสาขาตัวอย่างที่ดี พร้อมให้การบริหารงานทั้งระบบ และมีความเด่นด้านการตลาดเพื่อเป็นแบบที่สมบูรณ์ที่สุด

3. เน้นระบบ MIS ให้รัดกุม วางทีมงานรับผิดชอบเฉพาะและพัฒนาข้อมูลการวิเคราะห์อย่างต่อเนื่อง

4. สร้างระบบการอบรมให้เป็นมาตรฐาน เพื่อช่วยพัฒนาบุคลากรและควบคุมมาตรฐานของธุรกิจได้ในระยะยาว

5. คัดเลือกแฟรนไชซีที่ช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้จริง ไม่เน้นในการระดมทุนแต่สนับสนุนบุคคลที่จะขยายสาขาที่รักงานที่จะลงทุนจริงจัง

6. การจัดการอุปกรณ์ในการทำงาน ต้องให้ได้มาตรฐานและมีการบำรุงรักษาตลอด

7. การวางองค์กรการบริหารให้สามารถมีตำแหน่งที่เติบโตได้ในองค์กร และรองรับกับงานที่ขยายตัวรวดเร็วได้ดี

8. การวางแผนงานโฆษณาการประชาสัมพันธ์ จำเป็นต้องลงรายละเอียดในแผนงานอย่างชัดเจน

9. สร้างมาตรฐานการวัดคุณภาพของงานทุกขั้นตอน เพื่อง่ายต่อการตรวจสอบและการปฏิบัติ

10. ลิขสิทธิ์ จดลิขสิทธิ์ในทุกๆ ด้านให้ครอบคลุมมากที่สุด

11. สำรวจกลุ่มลูกค้าประชากร การขยายสาขาจะต้องมีการสำรวจกลุ่มลูกค้าหรือประชากร ทั้งในส่วนพฤติกรรมการจับจ่าย เส้นทางคมนาคม พื้นที่รอบข้างอย่างละเอียดเพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุน

12. ทีมงาน จัดทีมงานให้เพียงพอต่อความรับผิดชอบงานสาขาและร้านค้า Franchise เพื่อสร้างความสะดวกในการทำธุรกิจจริงๆ ให้แก่ผู้ลงทุน

13. เชื่อมั่นในสินค้า บริการ และระบบงาน ผู้บริหารต้องมีความเชื่อมั่นและไม่ควรเปลี่ยนแปลงระบบงานต่างๆ ง่ายเกินไป เพราะจะทำให้เกิดความสับสนในการบริหารสาขาได้

14. สร้างทีมงานเพื่อพัฒนาสินค้า บริการ มีการกำหนดขอบเขตงานให้เกิดความแตกต่าง และสนองความต้องการของลูกค้าได้ตลอดเวลา

15. เงินทุนสำรอง หาเงินลงทุนสำรองในกรณีฉุกเฉิน การลงทุนเพิ่มการขยายงาน การใช้จ่ายที่ไม่คาดคิด เช่น กรณีกฎหมาย ภาษี ฯลฯ

16. การควบคุมระบบงาน การวางงานระบบส่วนบัญชี การเงิน จัดซื้อบุคคล ต้องมีการควบคุมอย่างใกล้ชิด เพราะหน่วยงานเหล่านี้ จะเป็นตัวเสริมธุรกิจให้เดินหน้าอย่างต่อเนื่องได้

ที่มา: อ.พีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์

 

5/19/2554

Franchise Pilot Project ร้านต้นแบบแฟรนไชส์

ถ้าจะกล่าวถึงการเริ่มธุรกิจแบบแฟรนไชส์นั้น ร้านต้นแบบ หรือ Pilot Project ถือว่าเป็นการเริ่มต้นระบบธุรกิจแบบแฟรนไชส์ ที่สำคัญยิ่ง เพราะจะเป็นจุดหลักในการเป็นต้นร่างของ โครงการ ที่เป็นภาพที่ เห็นเด่นชัดที่สุด เป็นแหล่งข้อมูล ในการจดบันทึก ทั้งตัวเลขและ วิธีการบริหารร้านต่าง ๆ รวมทั้งเป็นกรณีศึกษา ในการสร้างระบบ แฟรนไชส์ที่สมบูรณ์แบบต่อไป

นอกจากนี้ Pilot Project ยังมี ประโยชน์อีกมากมาย เช่น เป็นร้านตัวอย่าง เป็นสถานที่ฝึกงานของ แฟรนไชซี่ได้อีกด้วย เมื่อตัดสินใจที่จะขยายธุรกิจ ในรูปแบบแฟรนไชส์แล้ว ควรอย่างยิ่ง ที่จะต้องทำ Pilot Project จะเป็นเหมือนแผนที่ ที่จะบอกถึงทาง ที่จะต้องเดินทางไปให้บรรลุเป้าหมาย จะบอกถึงอุปสรรคต่าง ๆ ที่คาดไม่ถึง

ขั้นตอนของการทำ Pilot Project มีดังต่อไปนี้คือ


1. วัตถุประสงค์

มีความสำคัญอย่างยิ่งก่อนทำโครงการ ควรที่จะร่าง วัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายของโครงการ ตรงกับความต้องการ ของธุรกิจอย่าง ถูกต้อง เช่น ระบุว่าต้องการทำโครงการต้นแบบ ร้านอาหารซึ่งระบบเที่นี้ไม่เพียงพอ ควรที่จะระบุว่าเป็นร้าน อาหารประเภท ไหน ตั้งอยู่ทำเลอะไร ใครเป็นลูกค้า ชนิดของอาหาร รวมทั้ง จะมีเอกลักษณ์หรือภาพลักษณ์อาหารแบบไหนด้วย สามารถเขียน ง่าย ๆ สั้น ๆ ว่าต้องการ ทำโครงการร้านต้นแบบ อาหารไทย ลักษณะฟาสท์ฟู้ด เน้นกลุ่มคนรุ่นใหม่ เช่น ร้านบัวบาน เป็นต้น

2. Who is Pilot Project

สิ่งที่ต้องกำหนดต่อไปก็คือ ร้านต้นแบบควรจะบริหารงานโดยใคร ถ้าจะให้โครงการสมบูรณ์จริง ๆ ควรที่จะคัดเลือกผู้ที่จะมาดำเนิน งานร้านต้นแบบนี้ โดยคัดเลือกจากผู้บริหารในบริษัท เป็นผู้ดำเนินงานแล้วให้ลงทุน ร่วมไม่เกิน 25% ก็ได้หรือแบ่งเปอร์ เซ็นต์จากผลกำไร ให้นอกเหนือจากเงินเดือนจะทำให้ Pilot Project แสดงภาพของ Franchisee ได้ชัดเจนมากขึ้น เกิดภาพ แห่งการเรียนรู้ทั้ง 2 ฝ่าย คือฝ่ายบริหารที่เป็นเจ้าของบริษัท และฝ่ายแฟรนไชซี่

3. Corporate Identity

เอกลักษณ์หรือภาพลักษณ์ของร้าน ความจำเป็นของเอกลักษณ์ ของร้านมีความสำคัญอยู่ตรงที่จะสร้างแรงดึงดูดจูงใจให้ลูกค้า มาใช้บริการได้มากน้อยแค่ไหน ร้านที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว จะได้เปรียบมาก สามารถสร้างพลังในการที่จะต่อสู้กับ คู่แข่ง ได้อย่างสมน้ำสมเนื้อและไม่หนักแรง

เช่น ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือกาลนาน ที่ซีคอนแสควร์ สร้างเอกลักษณ์ได้ดีมาก คือ ร้านจะให้สีเข้ม และมี เรือขนาดใหญ่ อยู่หน้าร้าน อาหารรสชาติตรงใจวัยรุ่นที่ชอบรส แซ่บ ๆ แบบก๋วยเตี๋ยวเรือ ร้านดูสะอาดน่าเข้ามาก Theme ของร้านสามารถดึงดูดให้คนสนใจได้อย่างดี Sentimental Perception โทนสีของร้านจะใช้สีทึบดูขรึม ให้อารมณ์แบบไทยโบราณ

ในบางธุรกิจสีของร้าน อาจใช้สีที่ร่างเริง อยู่เสมอเช่น ร้าน เซเว่นอีเลฟเว่น ใช้สีเขียวแดง ร้านแมคโดนัลด์ ใช้สีโลโก้เป็น แดงเหลือง ซึ่งจะทำให้ผู้ที่จ้องดูแล้วเรียกน้ำลายได้ เป็นอย่างดี

เรื่อง?Corporate Identity จะต้องคำนึงถึงเรื่อง ดังต่อไปนี้

-?ป้าย (Signs) ทั้งหน้าร้านและในร้าน ควรมีสีสรร ที่ตรงกับ Concept ของธุรกิจ

-?การตกแต่ง (Decoration) ควรผสมผสานกับสินค้า และการให้ บริการในร้าน อย่างเหมาะสมและกลมกลืน

4. Location

ทำเลที่ตั้ง ในการทำธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง เป็นตัวบอกถึงความสำเร็จ หรือล้มเหลวของธุรกิจได้มาก เพราะถ้าทำเลที่ตั้งไม่ดีแล้ว ยากมากที่ จะประสบความสำเร็จ คิดจะใช้ฝีมืออย่างเดียวคงจะสู้คู่แข่งที่ทำเล ดีกว่านี้ จะค่อนข้าง หนักแรงมากทำให้ผลกำไรลดลง อย่างมาก หรือ ไม่มีกำไรเลยก็ได้

ดังนั้น ถ้าไม่มีทำเลที่ดีแล้ว อย่าเพิ่งเริ่มธุรกิจจะดี กว่า ทำเลธุรกิจในปัจจุบันมักจะอยู่ 2 จุดใหญ่ คือ ไม่เข้าห้างสรรพ สินค้า พลาซ่า ก็อาคารพาณิชย์ ซึ่งมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน แต่ยุคนี้ควรจะมองทำเลใน ห้างสรรพสินค้า หรือพลาซ่าจะดีกว่า

ถูก คือ ถูกเงิน และถูก Concept ถูกเงินคือค่าใช้จ่ายด้านค่าเช่าของ อาคารและพื้นที่ ควรอยู่ที่ 10-15% ของยอดรายรับ ซึ่งถ้าค่าเช่า เป็นแสนบาทต่อเดือน จะต้องคำนึงถึงยอดรายรับที่ 1 ล้าน ถึง 1.5 ล้านบาทต่อเดือนเลยทีเดียว ส่วนคำว่าถูก Concept หมายถึงจะ ต้องอยู่ในทำเลที่เหมาะสมกับธุรกิจ เช่น โรงเรียนกวดวิชาควรจะ อยู่ในทำเลใกล้สถานศึกษา ไม่ควรอยู่ในสถานเริงรมย์อย่าง RCA เป็นต้น

สวย หมายถึง ตัวอาคารหรือพื้นที่เช่า ควรมีรูปร่างทรงสี่เหลี่ยม ง่ายต่อการตกแต่ง และการออกแบบ เห็นง่ายไปมาสะดวก มี Direction ชัดเจน เช่น อยู่ใกล้อนุสาวรียชัยฯ ใกล้ร้านแมคโดนัลด์ เป็นต้น

ดี จะต้องอยู่กับผู้ให้เช่าที่ดี มีความมั่นคงและอยู่ในจุดที่มีคน พลุกพล่าน เช่น ใกล้ตลาด หรือ อยู่ ในพลาซ่า ซึ่งเป็นทำเล ที่เศรษฐกิจ ตกต่ำมากเท่าไรก็ตาม ผู้บริโภคก็ จะต้องไปใช้ บริการตรงนั้น

5. ระบบการจัดการ

จะต้องมีระบบการจัดงานของร้านต้นแบบ ให้มีระบบที่สามารถพึ่ง ตนเองได้ เช่น มีระบบการจัดสินค้า และบริการที่ดี มีระบบบัญชีแบบ Small Business ที่สามารถรู้กำไรขาดทุนของร้างได้ทุกเดือน หรือสามารถทำงบดุลได้เอง ควรมีระบบบริหารงานบุคคลภายใน ร้านได้มีกฎระเบียบการบริหารให้พนักงานในร้านปฏิบัติตาม และข้อสำคัญมาก ควรมีการจดบันทึกการทำงานแบบ Dairy Report ทุกวัน

ควรมีการบันทึกควบคู่กับการถ่ายรูปทุกขั้นตอนการ ทำงาน ปัญหาอุปสรรคการดำเนินงาน แนวทางการแก้ปัญหาไว้ อย่างละเอียด ควรเริ่มตั้งแต่การเตรียมการ ตกแต่งร้าน การจัดสินค้า กิจกรรมทางการตลาดต่าง ๆ รวมถึงขั้นตอนการดำเนินงานทุก ขั้นตอนของร้าน เพื่อให้มีผลกำไร รวมทั้งการสนับสนุนจากสำนัก งานใหญ่ จะต้องมีอะไรบ้าง การคิดค่าใช้จ่าย ค่ารอยัลตี้ จะคิดอย่างไร ตัวเลขการคืนทุนภายในกี่ปี

โดยปกติแล้ว Pilot Project จะต้องดำเนินการอย่างน้อย 1 รอบบัญชี คือ 1 ปี แล้วนำ มาเปรียบเทียบตัวเลขและวิเคราะห์ ความเป็นไปได้ของโครงการว่า ตรงกับธุรกิจที่ดำเนินการอยู่หรือไม่ สามารถดำเนินงานในระบบนี้ ต่อไปอย่างไร

6. มาตรฐานของ Pilot Project

ในการสร้างร้าน Pilot Project ควรที่จะสร้างมาตรฐานขึ้นมา ตั้งแต่การออกแบบตกแต่ง ระบบงานต่าง ๆ ระบบเทคโนโลยี (IT) ทุกวันนี้ระบบคอมพิวเตอร์มีความสำคัญมากในการทำธุรกิจแบบ SMEs เพราะจะช่วยประหยัดเวลาและช่วงการดำเนินงานไม่ให้ ผิดพลาด
ดังนั้นร้านที่มีมาตรฐาน ควรจะมีการนำเอาระบบ IT เข้า มาช่วยในการบริหารงานต่าง ๆ และจะทำให้แฟรนไชซอร์ สามารถ ควบคุมดูแลการทำงาน ของแฟรนไชซี่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้คำว่า มาตรฐานควรจะมีทีม AUDIT ที่จะเข้าไป ตรวจสอบ การทำงานของแฟรนไชซี่ด้วย
ซึ่งการมี AUDIT แฟรน ไชซี่ นั้นมีวัตถุประสงค์ 2 ข้อด้วยกันคือ
6.1. ช่วยตรวจดูระบบและการทำงานตลอดจนคุณภาพมาตรฐาน ของสินค้า และบริการของธุรกิจ ตรงตามที่กำหนดหรือไม่
6.2. ตรวจสอบเพื่อช่วยแฟรนไชซี่ให้พัฒนาและสร้างมาตรฐานได้ ตรงตามที่กำหนด รวมทั้งช่องตรวจสอบการทุจริตที่พนักงานในร้าน อาจมีต่อแฟรนไชซี่ได้

 

3 ปัจจัยการเสียเปรียบเมื่อซื้อแฟรนไชส์

1.ต้องสูญเสียอิสระภาพในการดำเนินธุรกิจ เพราะแนวคิดของการทำแฟรนไชส์คือการดำเนินธุรกิจตามวิธีที่ได้รับการพัฒนาจากแฟรนไชซอร์ การดำเนินธุรกิจตามรูปแบบที่กำหนดไว้เท่านั้นที่จะเป็นเครื่องรับรองความสำเร็จของแฟรนไชซี ดังนั้นแฟรนไชซีจึงไม่มีอิสรภาพเต็มที่ต่อการตัดสินใจ

ด้วยเหตุที่แฟรนไชซีเป็นเจ้าของกิจการ และเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง การปฏิบัติงานและตัดสินใจหลายๆ เรื่อง จึงเป็นความรับผิดชอบอย่างเลี่ยงไม่ได้ ด้วยจุดนี้ที่ทำให้ผลเสียในด้านการสูญเสียการควบคุมโดยตรงเกิดขึ้นได้มาก หากระบบต่างๆ ของแฟรนไชส์ไม่ดีพอ หรือยากต่อการปฏิบัติ เพราะหากแฟรนไชซีไม่สามารถปฎิบัติได้อย่างที่แฟรนไชซอร์ทำแล้วละก็ตามธรรมชาติผู้รับผิดชอบก็ต้องหาหนทางอื่นที่จะทำ เนื่องจากต้องรับผิดชอบทำให้การทำงานเกิดการเบี่ยงเบนออกจากมาตรฐานต่างๆ ได้

ดังนั้น การพัฒนาธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องลดข้อจำกัดต่างๆ ในการปฎิบัติงานให้แก่บุคคลที่จะเข้ามาดำเนินธุรกิจให้สามารถปฏิบัติตามได้โดยง่าย และมีความสำเร็จ ในทุกๆ แง่มุมของธุรกิจ เช่น ควรขายสินค้าอะไรที่ราคาเท่าใด หรือเมื่อไหร่ที่จะเสนอขายสินค้าลดราคาและอื่นๆ นอกจากนี้แฟรนไชซียังไม่สามารถตัดสินใจกระทำการใดๆ เพียงลำพังที่อาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณะของแฟรนไชส์ หรือของแฟรนไชซีอื่นๆ

2.ไม่มีหลักประกันความสำเร็จ ถึงแม้จะมีโอกาสสูงในการประสบความสำเร็จจากการซื้อแฟรนไชส์แต่อาจกล่าวได้ว่าไม่มีหลักประกันที่แน่นอนในเรื่องนี้ เนื่องจากความเสี่ยงทางธุรกิจสามารถเกิดขึ้นได้โดยปกติ นอกจากนี้ อาจพบว่าแฟรนไชซีอาจประสบความล้มเหลวด้วยสาเหตุเงินทุนที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจ ขาดวิสัยทัศน์หรือทำเลที่ตั้งแหล่งระบายสินค้าไม่เหมาะสม สาเหตุของความล้มเหลวที่แฟรนไชซีไม่สามารถปฏิบัติตามระบบของแฟรนไชซอร์ได้ อย่างไรก็ดีสาเหตุของความล้มเหลวแบ่งออกได้เป็น 2 สาเหตุหลักๆ คือสาเหตุจากตัวแฟรนไชซีเองและสาเหตุจากระบบแฟรนไชซอร์

ในด้านตัวของแฟรนไชซีนั้นโดยทั่วไปก็มักจะพบว่าคุณสมบัติของแฟรนไชซีที่ถูกเลือกเข้ามาเพื่อประกอบธุรกิจแฟรนไชส์นั้นๆ มีความสามารถไม่ตรงหรือไม่มากพอ หรืออีกทางหนึ่งอาจได้รับการอบรมจากแฟรนไชซอร์ไม่ดีพอด้วยก็อาจเป็นได้ ซึ่งหากสาเหตุของการล้มเหลวเป็นไปในแนวนี้ทางแก้ก็สามารถทำได้ด้วยการให้การอบรม และระบบการสนับสนุนที่ใกล้ชิดซึ่งหากแฟรนไชซียังคงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแผนของการดำเนินธุรกิจได้ ความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลงจึงต้องเกิดขึ้น

ในด้านของระบบแฟรนไชส์โดยทั่วไปมักมาจากระบบการดำเนินธุรกิจที่เดิมแฟรนไชซอร์ให้มานั้นไม่สามารถนำไปใช้ได้อย่างง่าย ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากระบบนั้นต้องการคุณสมบัติพิเศษมากเกินไปหรือไม่ได้รับการพัฒนาให้มีรูปแบบที่ง่ายขึ้น แต่ยังคงขึ้นอยู่กับตัวบุคคลมากเกินไป ดังนั้น การแก้ไขจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาระบบการดำเนินงานต่างๆ รวมถึงการอบรมใหม่ ซึ่งหากการเปลี่ยนแปลงทำได้ยาก แน่นอนความสำเร็จของระบบแฟรนไชส์นั้นๆ ก็จะไม่เกิดขึ้น

3.ค่าใช้จ่ายสูง แฟรนไชซีจำเป็นจะต้องเสียค่าใช้จ่ายล่วงหน้าเพื่อการได้มาซื้อสิทธิในการประกอบกิจการ นอกจากนี้แฟรนไชซียังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น เงินลงทุนเพื่อตกแต่งร้านค้าและค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายเป็นประจำสำหรับบริการสนับสนุนที่ได้รับจากแฟรนไชซอร์เมื่อรวมค่าใช้จ่ายเหล่านี้เข้าด้วยกัน จะพบว่าคิดเป็นจำนวนเงินที่สูง ดังนั้นเงินจำนวนนี้จะคุ้มค่าต่อการลงทุนก็ต่อเมื่อแฟรนไชซีได้รับผลตอบแทนที่สูงเช่นกัน อย่างไรก็ดีนับว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจเซ็นสัญญาที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายใดๆ

อยากซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ทำไงดี

ช่วงนี้มีคนถามเข้ามามากว่า ถ้าจะต้องตัดสินใจซื้อลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องทำตัวอย่างไร ทำตัวไม่ถูก กลัวกลัว กล้ากล้า

นี่แหละที่เขาว่า วิญญาณการเป็นเถ้าแก่ เริ่มเข้าสิง เลือดนักลงทุนพุ่งกระฉูด มีคำพูดชุดหนึ่ง ที่อยากแบ่งมาให้อ่านกันเป็นการเร่ง ปฏิกิริยา สารเคมีด้านบวกให้ คึกคักคึกคัก เข้าไปอีก
เขาบอกว่า ใครคือผู้ประกอบการนักบุกเบิก ตัวจริง จะมีลักษณะอย่างนี้.................

?การสร้างกิจการที่เติบโตมากับมือของแต่ละท่านนั้นมีเส้นทางที่แตกต่าง
จากประสบการณ์และด้วยความคิดและมุมมองที่กว้างไกล
ถึงแม้ว่าจะมีความแตกต่างในลักษณะของธุรกิจ
แต่ส่วนใหญ่มักจะมีสิ่งที่เหมือนกันอย่างหนึ่งเสมอ
คือความกล้า ที่จะเสี่ยงในเรื่องที่ไม่คุ้นเคย
นำเอาความคิด และสิ่งที่ตนเชื่อมั่นเป็นแนวทาง
ด้วยหัวใจและความเข้มแข็งที่พร้อมจะพบอุปสรรคและความล้มเหลว
ด้วยสายตาที่มองทอดยาว เห็นในสิ่งที่คนอื่นไม่เห็น
สร้างโอกาสบนขีดความสามารถสูงสุดของตน
คิดและลงมือกระทำในความฝัน ที่มีพื้นฐานของความเป็นไปได้
พร้อมเสมอที่จะรับรู้ความยากลำบาก เพื่อทดลองความคิดของตน
และรักที่จะทำในสิ่งที่ตนเองเชื่อมั่น?


คำตอบการจะลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์นั้นก็เช่นเดียวกัน ต้องมั่นใจก่อนว่าธุรกิจที่ต้องการลงทุนตอนนี้? เรารักชอบที่จะอยู่กับบรรยากาศการทำงาน
ดังกล่าวไปอีกยาวนาน มีความพอใจในตัวองค์กรที่เป็นเจ้าของแฟรนไชส์พอที่จะทำงานด้วยกันในฐานะผู้ร่วมลงทุนในด้านความคิด และเขาจะสนับสนุนเราตลอดรอดฝั่งได้จริง? ลองไปสังเกตการณ์หน่อยว่าร้านสาขาของเขาที่เป็นระบบแฟรนไชส์นั้นที่ดำเนินการแล้วดี ร่ำรวยอู้ฟู่นั้นเป็นอย่างไร แล้วก็แวะคุยกับร้านที่จะปิดมิปิดแหล่ดูด้วยว่าเขากำลังแก้ไขกันอย่างไร เห็นให้รอบด้าน

ทุกอย่างมีทั้งด้านดีและด้านลบ แต่มองและประเมินตัวเองเป็นหลักว่าเราน่าจะเป็นแบบตัวอย่างไหน ศึกษาตัวเลขกำไรขาดทุนที่มีการวางแผนกันว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน พิจารณาจากข้อมูลที่มีแต่อย่ามีมากจนเกินเหตุจนไม่รู้จะตัดสินใจอย่างไร?? ?มีเยอะครับที่ในที่สุดคิดมาก??????ตัดสินใจไม่ได้
สุดท้ายนอนอยู่บ้านเหมือนเดิม บางทีถ้าจนหนทางจริงๆหาผู้รู้นั่งปรึกษา หรือเข้าอบรมเพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจอีกหน่อยก็ยังดีเหมือนกัน คุยกับครอบครัวดูก่อนตัดสินใจ ไม่แนะนำเรื่องดูหมอนะครับ เพราะธุรกิจไม่ดีขึ้นมา หมอดู ก็ช่วยไม่ได้นะครับกรณีนี้

จุดสำคัญที่สุด คือพื้นที่ที่จะไปเปิดร้าน มีการศึกษาชัดเจน เพราะแฟรนไชส์จะดีแค่ใหนแต่ทำเลไม่ดี ร้านนั้นก็เป็นร้านร่อแร่ได้ทันที และคำถามสุดท้ายที่ควรจะมีไว้คือ ถ้าต้องเลิกกันต้องทำอย่างไรบ้าง คิดออกมาเป็นข้อๆได้ยิ่งดี ขั้นที่หนึ่งทำอย่างไร?? สองทำอย่างไร??? ? และคิดว่า?ตัวเองจะทำอย่างไรด้วย แต่บอกไว้ก่อนนะครับว่า ให้คิดเองในใจ ไม่ต้องถามเจ้าของแฟรนไชส์เขาหรอกนะครับ เพราะถ้าเป็นผมเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์คงบอกคนถามว่า ถ้าคุณคิดอย่างนี้ก็กลับไปขายเต้าฮวยดีกว่านะครับ.

Credit: Peerapong.com

FranchiseBA: The Best Sectors for 2011

[caption id="attachment_598" align="alignleft" width="300" caption="The Best Sectors for 2011"][/caption]

C + DQ > I + PU. That?s the formula for?franchise growth in Argentina for 2011. Consumption + Demand for Quality will trump Inflation + Political Uncertainty. That?s the tone of today?s iEco analysis of the local outlook for franchises in Argentina.?Andr?s Mazzeo says thatfood and clothing franchises will continue to be the Top 2 sectors with the greatest potential, while more Argentine brands will?pursue an export model, a trend?InvestBA identified last year (Can It Go Both Ways?).

8 ข้อควรคิดก่อนซื้อแฟรนไชส์

1.พิจารณาเงื่อนไขหลักๆ ของข้อตกลง ควรขอรายละเอียดเกี่ยวกับข้อตกลงของแฟรนไชส์ และอาจขอให้มีการชี้แจงเงื่อนไขหลักๆ ที่สำคัญ เช่น ค่าใช้จ่ายต่างๆ เงินรายงวด ระยะเวลาของสัญญา สิทธิในขอบเขตการประกอบการอื่นๆ ทั้งนี้ถ้าหากเป็นไปได้ควรเปรียบเทียบกันระหว่างแฟรนไชส์ที่คล้ายกันหลายๆ บริษัทด้วย

2.กฎหมายแฟรนไชส์ หลักเกณฑ์แฟรนไชส์ที่เป็นกฎหมายนั้นสำหรับประเทศไทยยังไม่ชัดเจนและไม่มีสภาพบังคับอย่างกฎหมายเหมือนในต่างประเทศ ดังนั้น ในการเสนอขายแฟรนไชส์สิ่งที่ต้องบอกต้องถามกันก็คือ ธุรกิจนั้นเป็นอย่างไร รายได้เท่าไร กำไรมากน้อยแค่ไหน ปัญหาของการทำธุรกิจนั้นมีอะไรบ้าง ยากไหม หนทางแก้ไขเป็นอย่างไง งบประมาณลงทุนเท่าไหร่ กี่ปีจึงจะคุ้มทุน แฟรนไชซอร์ทำธุรกิจนี้มากี่ปี แล้วมีแฟรนไชซีแล้วกี่ราย ที่ทำแล้วเลิกมีบ้างไหม เพราะอะไร

สิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ป้องกันมิให้เกิดปัญหาในการตกลงกัน ซึ่งในบางประเทศได้มีการวางกฏกติกามารยาทให้แฟรนไชซอร์เปิดเผยข้อมูลบางอย่างก่อนที่จะทำสัญญาแฟรนไชส์หรือก่อนแฟรนไชซีจะลงทุน ซึ่งรายละเอียดจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ โดยมีองค์กรที่เรียกว่า International Institute For The Unification of Private Law หรือเรียกสั้นๆ ว่า UNIDROIT ได้รวบรวมศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลในธุรกิจแฟรนไชส์ และยกร่างกฎหมายแม่แบบเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้

ดังนั้น การลงทุนระบบแฟรนไชส์ทั้งตัวแฟรนไชซอร์และแฟรนไชซี่จะต้องมีการศึกษาสัญญาอย่างละเอียด และควรหาคำปรึกษาด้านกฎหมายเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้ การสิ้นสุดสัญญาอันเนื่องมากจากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ข้อผูกมัดของแฟรนไชซอร์ ข้อจำกัดต่างๆ, สิทธิในขอบเขตการประกอบการ, การระงับข้อพิพาท และสิทธิต่างๆ ของแฟรนไชซี

3.สิทธิที่ให้ตามสัญญา บรรดาเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร หรือโนว์ฮาวทั้งหลายนี้ถือเป็นหัวใจของธุรกิจแฟรนไชส์ จะต้องติดมากับแฟรนไชส์เสมอ แต่บางครั้งก็ติดจะติดมามากบ้างน้อยบ้าง แต่บางแฟรนไชส์ก็มีมาทั้งหมดอันนี้แล้วแต่ๆ ละธุรกิจ โดยที่แฟรนไชซอร์ต้องบอกให้ชัดเจนว่าให้สิทธิอะไรแก่แฟรนไชซีบ้าง ขอบเขตที่ให้ใช้ได้มากน้อยแค่ไหน มีข้อจำกัดอะไรบ้าง ถ้าสิ่งเหล่านี้แฟรนไชซอร์ได้มาจากต่างประเทศอีกต่อหนึ่ง ก็ต้องบอกให้ชัดว่าที่ได้มามีข้อจำกัดหรือเงื่อนไขอย่างไรบ้าง

4.ข้อตกลงเกี่ยวกับสินค้าและบริการ สินค้าหรือบริการที่ต้องซื้อมาเข้าร้านเมื่อเป็นแฟรนไชซีแล้วนั้น มีข้อผูกมัดอะไรหรือไม่ เช่น ต้องซื้อจากแฟรนไชซอร์เท่านั้น จะไปซื้อเองจากคนอื่นไม่ได้ หรือถ้ายอมให้ซื้อจากคนอื่นก็ต้องเป็นคนที่แฟรนไชซอร์กำหนด อย่างบางแห่งบังคับว่าแฟรนไชซีจะต้องเช่าที่จากแฟรนไชซอร์ หรือต้องเป็นที่ๆ แฟรนไชซอร์หามาเท่านั้น ซึ่งอาจจะเป็นที่ของแฟรนไชซอร์เอง หรือที่แฟรนไชซอร์ไปเช่ามาเพื่อจะปล่อยเช่าเอากำไรอีกต่อหนึ่งก็ได้ หรือบังคับว่าต้องจ้างคนของแฟรนไชซอร์ตกแต่งร้าน เป็นต้น

การเปิดเผยข้อบังคับเหล่านี้จะต้องให้แฟรนไชซีรับทราบก่อนการดำเนินการทางธุรกิจ เช่น การตั้งราคาสินค้า นโยบายของแฟรนไชซีในเรื่องราคาของสินค้า หรือบริการที่ขายในร้านแฟรนไชส์เป็นอย่างไร เช่น แฟรนไชซอร์จะกำหนดราคาขายให้หรือไม่ หรือแฟรนไชซีมีสิทธิกำหนดราคาได้เอง ถ้ากำหนดจะกำหนดอย่างไร กำหนดราคาตายตัวเลย หรือกำหนดราคาขั้นสูงหรือขั้นต่ำ นอกจากนี้แฟรนไชซอร์ที่ได้รับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนจากผู้ผลิตสินค้า หรือบริการที่นำมาขายให้กับแฟรนไชซี ที่เรียกว่า ?ค่าคอมมิชชั้นหรือคิกแบ็ค (Kick Back)? จะต้องเปิดเผยด้วย

5.การโอนสิทธิแฟรนไชส์ หากแฟรนไชซีจะโอนกิจการของตนให้ผู้อื่นทำได้ไหม การโอนกิจการให้คนอื่นมีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง แฟรนไชซีหาผู้รับโอนเองได้หรือไม่ หรือต้องได้รับความยินยอมจากแฟรนไชซอร์ก่อน ต้องชดใช้อะไรให้แฟรนไชซอร์หรือไม่ สิ่งเหล่านี้ต้องเปิดเผยให้ผู้สนใจทราบล่วงหน้า

6.เงื่อนไขการต่ออายุแฟรนไชส์หรือหลักเกณฑ์ต้องบอกก่อนล่วงหน้านานเท่าไร หรือเมื่อได้รับแจ้งว่าแฟรนไชซีต้องการต่อสัญญา แฟรนไชซอร์ต้องตอบกลับภายในเวลาเท่าใด ข้อมูลเหล่านี้จะได้ช่วยประกอบการตัดสินใจลงทุนของแฟรนไชซีว่าจะคุ้มค่าหรือไม่

7.พื้นที่ที่ได้สิทธิทำแฟรนไชส์ ส่วนใหญ่จะกำหนดไว้ชัดเจนในสัญญา เช่น ระบุว่าในรัศมี 2 กิโลเมตรจากร้านของแฟรนไชซี แฟรนไชซอร์จะไม่อนุญาตให้คนอื่นมาเปิดร้านแฟรนไชส์แข่งขัน การกำหนดขนาดของพื้นที่คงต้องอาศัยสถิติและตัวเลขพอสมควรว่ากลุ่มลูกค้าเป้าหมายของร้านแฟรนไชส์นั้นจะมีมากน้อยแค่ไหน พื้นที่ที่กำหนดคงต้องต้องมีระยะห่างมากพอที่ร้านนั้นจะมีกำไรอยู่ได้

8.สิทธิบอกเลิกสัญญา แฟรนไชซอร์ที่จะบอกเลิกสัญญาได้มีในกรณีใดบ้าง เช่น ถ้าแฟรนไชซีไม่ได้ทำผิดอะไรเลยจะสามารถบอกเลิกได้หรือไม่ และแฟรนไชซีจะบอกเลิกได้ไหม ในกรณีใดบ้าง และถ้าบอกเลิกจะเกิดผลอะไรบ้าง เช่น ร้านที่เปิดมาแล้ว สินค้าที่เหลืออยู่ พนักงานในร้าน

แฟรนไชซีที่เลิกสัญญาไปแล้วยังมีหน้าที่ต้องทำอะไรอยู่อีกหรือไม่ ปกติในธุรกิจแฟรนไชส์มักจะกำหนดให้แฟรนไชซียังต้องรักษาความลับในธุรกิจแฟรนไชส์นั้นต่อไปอีกระยะหนึ่ง การห้ามแฟรนไชซีทำธุรกิจประเภทเดียวกันแข่งกับแฟรนไชส์นั้น อาจกำหนดช่วงระยะเวลาที่ห้าม รวมทั้งพื้นที่ที่ห้ามทำธุรกิจแข่งขัน เงื่อนไขในเรื่องเหล่านี้ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษเพราะอาจผิดกฎหมายป้องกันการผูกขาดได้ ในประเทศไทยก็คือ พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542

ประเทศไทยแฟรนไชซอร์ไม่มีกฎหมายบังคับ หากถึงขั้นหลอกลวงกันก็คงถือเป็นของกลฉ้อฉล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งหากถึงขนาดนั้นก็บอกล้างสัญญาแฟรนไชส์ได้ อย่างไรก็ดีคาดว่าต่อไปกฎหมายในระบบแฟรนไชส์นี้คงจะมีขึ้นในประเทศไทยแน่นอน มีคนเคยกล่าวว่าสัญญาคือกฎหมายที่ใช้บังคับในระหว่างคู่สัญญาด้วยกัน แต่การทำสิ่งใดโดยเจตนาบริสุทธิ์ ไม่คิดแต่จะเอาเปรียบคนอื่นเขามองเห็นคู่สัญญาอีกฝ่ายเป็นเพื่อน หรือพันธมิตรทางธุรกิจเป็นสิ่งที่ทำได้โดยไม่ต้องอาศัยสัญญาที่เป็นตัวหนังสือ

อะไรคือ Knowhow ในธุรกิจแฟรนไชส์

ในธุรกิจระบบแฟรนไชส์ที่ต้องมีระบบการตลาดที่สามารถสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จัก  มีการยอมรับตราสินค้าในตลาดอย่างดีแล้ว?? ยังจะต้องมี การเข้าใจในรูปแบบของแนวคิดทางธุรกิจอย่างดี เพื่อจะได้สร้างและพัฒนาจุดเข็งที่เป็นจุดเด่นของแต่ละธุรกิจขึ้นมา

การที่เราต้องเข้าใจถึงการควบคุมการทำงานของร้านที่อยู่ในระบบงาน จะสร้างกลไกในการควบคุมและป้องกันการผิดพลาดในแง่ต่างๆได้?? ป้องกันการเลียนแบบ และยังสร้างความเป็นมาตรฐานของระบบงานและสินค้า ช่วยให้ธุรกิจสามารถเก็บข้อมูลเพื่อการบริหารงานได้คล่องตัว สำนักงานใหญ่สามารถที่จะควบคุมหรือบริหารงานต่างๆจากข้อมูลที่ได้รับ อาจจะแบ่งวิธีการควบคุมงานสาขาหรือระบบร้านที่เป็นแฟรนไชส์ที่เราสามารถแบ่งรูปแบบ การควบคุมได้ดังนี้

1. 'Know-how Control' เป็นการควบคุมวิธีการสำคัญในการผลิต? แนวทางการควบคุมเกิดจากวิธีการ? โดยสร้างให้เกิดความสะดวกต่อสาขา? หรือแฟรนไชส์มากที่สุด? โดยแบ่งการควบคุมรูปแบบนี้ออกเป็นส่วนย่อย? ดังนี้

- การควบคุมวิธีการผลิต? (Production know how) : จะควบคุมลักษณะการผลิต? เช่น? สูตรผสมอาหาร? หรือที่เรียกว่า เรซิพี (Recipe) โดยการสร้างส่วนผสมที่เป็นวัตถุดิบต่าง? เป็นส่วนประกอบการผลิต เป็นหัวเชื้อ ส่วนผสม ซึ่งเป็นตัวสร้างความแตกต่างไม่เหมือนใคร? และยังเป็นการแก้ปัญหาเรื่องมาตรฐานได้อีกด้วย? ถือเป็นส่วนสำคัญที่ควบคุมสาขาได้ดี
- การควบคุมแหล่งวัตถุดิบ? หรือแหล่งสินค้า? (Material Sources ,Distribution Center) : มีการจัดการตั้งแต่ การจัดเตรียมการจัดส่งจนถึงการผลิต? โดยการควบคุมการจัดส่งและการผลิตให้สินค้าที่เป็นวัตถุดิบหายาก ไม่มีขายทั่วไป ไม่เกลื่อนตลาด
- การควบคุมด้วยรูปแบบการบริหาร : (Management? Control) : การวางส่วนการสนับสนุนสินค้าหรือสาขาของตนอย่างมีรูปแบบ? ประกอบด้วยทีมงานที่มีประสิทธิภาพ? การสร้างทีมงานจากส่วนกลางที่พร้อมนั้น? เป็นเรื่องที่ทำได้เฉพาะร้านสาขาเท่านั้น? ร้านที่มีสาขาเดียวคงทำไม่ได้แน่? ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างระบบการควบคุมอย่างหนึ่งเน้นการให้ความสะดวกต่อการบริหารงานระบบสาขา

2. 'Procedures Control' การควบคุมขั้นตอนในการดำเนินงาน? โดยการวางรูปแบบการปฏิบัติงานให้เป็นรูปแบบเดียวกัน? และออกแบบให้สอดคล้องกับทีมงาน? สามารถแบ่งได้เป็น
- Working Process : เป็นการควบคุมวิธีการทำงานในแต่ลพขั้นตอนอย่างละเอียด? ซึ่งต้องมีรูปแบบของคู่มือการปฏิบัติงาน(Manual)ที่ชัดเจน
- Training : การฝึกคน? เป็นการวางแผนการฝึกหัดพนักงานให้ได้ตามรูปแบบที่วางไว้
- Support Facilities : คือหน่วยงานที่รองรับการปฏิบัติงานต่างๆ เช่น ทีมงานด้านการตลาด? ด้านตรวจสอบคุณภาพ? หรือฝ่ายจัดซื่อกลาง? เป็นต้น
การวางรูปแบบดังกล่าว จะทำให้ร้านสาขาต้องอาศัยพึ่งดากับบริษัทแม่ ที่ให้ประโยชน์ต่อการทำงานการบริหารธุรกิจได้จริง การขาดการสนับสนุนจากหน่วยงานกลางแทบจะเรียกได้ว่า ไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้เลย

3. 'Identification Items and Brandname' เป็นการควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการสื่อภาพพจน์ของร้านหรือสินค้า รวมถึงตราสัญลักษณ์ โดยถือเป็นลิขสิทธิ์ที่ต้องปกป้องมิให้ใครมาเลียนแบบได้ การใช้วิธีนี้แสดงว่าสินค้าบริการมีตราที่ได้รับการยอมรับและลูกค้าต้องการเป็นอย่างมาก ดังนั้นการควบคุมก็เป็นไปได้ไม่ยาก

จะเห็นได้ว่าการจะควบคุมให้ระบบงานแบบแฟรนไชส์นั้นอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน แฟรนไชส์ซอร์เจ้าของระบบก็ต้องมีอะไรเป็นจุดเด่น จนสามารถสร้างความสะดวกให้กับลูกข่าย สร้างความสำเร็จบนพื้นฐานของความเชี่ยวชาญที่มีอยู่แล้วได้จริง การที่จะควบคุมโดยไม่มีอะไรเป็นจุดเด่นชัดเจน ในที่สุดก็จะไม่สามารถควบคุมได้ไปเอง สิ่งนี้เป็นธรรมชาติของการทำระบบงานแฟรนไชส์ ถ้าไม่แน่จริง ก็จะไม่พบกับของจริง ไม่โตจริง และสุดท้ายก็ล้มพับจริง นี่แหละแฟรนไชส์.

 

แฟรนไชส์ ไม่ใช่แค่แต่งงาน

มีคนบอกผมอยู่เรื่อยครับว่า แฟรนไชส์ก็เหมือนการแต่งงานเพราะการอยู่ร่วมกันของเจ้าของธุรกิจกับผู้ลงทุนที่เข้ามาเป็นสมาชิกในระบบแฟรนไชส์ ต้องอยู่ร่วมกันประนีประนอมต่อกันอย่างคู่สมรสที่ดีเหมือนช้อนส้อมที่ต้องมีกระทบกันบ้างแต่ต้องต่างคนต่างช่วยเหลือประคองอาหารเข้าปาก อะไรจะปานนั้น แต่ผมว่ามันน่าจะมีอะไรมากกว่านั้น เพราะถ้าเปรียบเทียบกับการแต่งงาน วันนี้คู่สมรสอัตราเสี่ยงค่อนข้างสูง และบางคู่ก็อยู่ก่อนแต่งซะส่วนมาก

ซึ่งระบบแฟรนไชส์ทำอย่างงั้นไม่ได้ เอ ไม่รู้ผมคิดมากไปหรือเปล่าครับ

แฟรนไชส์เป็นระบบธุรกิจที่จะต้องประสานประโยชน์ รวมกลุ่มและมีความสัมพันธ์ด้านธุรกิจใกล้ชิด อาศัยระบบงานเป็นตัวหลัก ในการดำเนินการ มีข้อปฏิบัติชัดเจน ต่างคนต่างเคารพต่อหน้าที่และสานประโยชน์ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง

บริษัทที่เป็นบริษัทแม่เจ้าของธุรกิจหรือแฟรนไชส์ซอร์ก็ต้องอาศัย ผู้ร่วมลงทุนในระบบที่เรียกว่าแฟรนไชส์ซี ในการสร้างยอดขายสร้างการเติบโตของระบบธุรกิจ ในขณะเดียวกันก็ต้องคอยช่วยเหลือประคองให้ธุรกิจของสมาชิกประสพความสำเร็จ อย่างใกล้ชิด การช่วยเหลือต้องมีการจัดเตรียมทีมงานและวิธีการเฉพาะในกรณีต่างๆ เช่น ถ้ายอดขายไม่ถึงตามคาดหมายเนื่องจากมีคู่แข่งมาเปิดใกล้ร้าน ต้องแก้ไขกันอย่างไรมีทีมงานที่จะช่วยส่งเสริมการขายคอยกระตุ้นลูกค้าในพื้นที่ได้เลย เตรียมพร้อมทั้งสื่อ ใบปลิว กิจกรรมเร่งยอดต่างๆ อย่างนี้ถึงจะเรียกว่า ระบบการช่วยเหลือร้านค้าในระบบแฟรนไชส์

การทำธุรกิจแฟรนไชส์ ผู้ที่มาลงทุนก็ไม่ได้คาดหวังเพียงว่า จะมีอาชีพเฉพาะเรื่องราวที่ดำเนินอยู่อย่างเดียว ไม่ใช่ซื้อแฟรนไชส์ไก่ มาก็รู้แต่เรื่องทอดไก่ อย่างเดียว อย่างนี้มันก็ไม่สมกับเป็นการสร้างนักธุรกิจ เมื่อมีระบบแฟรนไชส์ที่ดีแล้ว บริษัทแม่ก็ต้องมีการอบรมให้ความรู้ด้านการจัดการ การตลาด การบริหารงานด้านอื่นเพิ่มขึ้นด้วย เป็นการพัฒนาบุคลากรไปด้วย แฟรนไชส์ซีก็รู้สึกถึงความเอาใจใส่และเชื่อมั่นในองค์กรมากขึ้น คุณภาพของระบบงานก็จะมีการพัฒนาไม่หยุดอยู่กับที่

สิ่งที่ผมพูดถึงนั้นไม่ใช่ฝันไป เราจะเห็นได้จากระบบงานที่เป็นระบบ ดีลเลอร์หรือร้านตัวแทนขายสินค้าทั่วไป อย่างที่ยกตัวอย่างได้ เช่น ดีลเลอร์ร้านอุปกรณ์ก่อสร้าง ธุรกิจด้านรถยนต์ แม้กระทั่งร้านจำหน่ายรถจักรยานยนต์ บริษัทแม่มีกิจกรรมส่งเสริมความรู้ให้กับ ร้านค้าสมาชิกอย่างต่อเนื่อง นี่คือรูปแบบระบบช่วยเหลือในรูปแบบแฟรนไชส์ที่เห็นได้ ว่าไม่เกินเลยเกินไป การสร้างระบบความสัมพันธ์อย่างนี้จะต้องมีเพื่อเสริมสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขององค์กร ความเข้มข้นของกิจกรรมอาจจะแตกต่างกันตามลักษณะธุรกิจและผลตอบแทนที่จะได้

อย่างไรก็ตามต้องเน้นย้ำว่า ธุรกิจระบบแฟรนไชส์ เป็นการสร้างธุรกิจที่เข้มแข็งจากการสร้างตลาดและภาพพจน์สินค้าที่ดี หลังจากนั้นก็มีการสร้างความต่อเนื่องด้วย ระบบงาน ที่ทำให้ธุรกิจสามารถขยายตัวเป็นร้านสาขาอย่างเป็นระบบมีมาตรฐาน สุดท้ายระบบธุรกิจแบบนี้จะยืนนานได้ต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างหมู่สมาชิก กับบริษัทแม่ที่เป็นแฟรนไชส์ซอเป็นอย่างดี จึงจะทำให้ธุรกิจยืนนาน นี่แหละคือ รักยืนนานของงานแฟรนไชส์ที่มากกว่า การแต่งงานอีกนะครับ เห็นด้วยใหมล่ะครับ.

 

Credit By : Peerapong.com

 

5/16/2554

แฟรนไชส์ไก่ทอด 'ชิกกี้ชิก' ขอแจ้งเกิดใหม่ ชูเสี่ยงต่ำ กำไรน่าลุ้น

ไก่ทอด แบรนด์ ?ชิกกี้ชิก? (CHICKY CHIC) เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่ พ.ศ.2549 ในรูปแบบขายอาชีพกึ่งแฟรนไชส์ เคยมีสาขาคีออสกว่า 400 จุดทั่วประเทศ แต่เพราะขาดความจัดเจนในการบริหารสาขา จนล้มหายตายจากไปจำนวนมาก เหลือแค่ประมาณ 150 จุดในปัจจุบัน

ทว่า ล่าสุดแบรนด์นี้ขอกลับมาแจ้งเกิดอีกครั้ง โดยยกเครื่องระบบบริหารใหม่ พร้อมชูจุดขายเป็นช่องทางอาชีพที่ออกแบบให้ง่ายต่อการลงทุน ใช้พื้นที่และงบประมาณน้อย รายได้น่าสนใจ เหมาะสำหรับคนกำลังมองหาอาชีพที่ไม่ต้องรับความเสี่ยงมากเกินไป

ธนินวัฒน์ พรพัฒน์เดชอุดม ผู้จัดการทั่วไปอาวุโส บริษัท เอ็มดี 79 จำกัด เจ้าของแบรนด์ไก่ทอด ?ชิกกี้ชิก? ที่พกประสบการณ์พัฒนาระบบแฟรนไชส์ ในบริษัทยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่งของเมืองไทยกว่า 20 ปี เข้ามารับหน้าที่ปรับระบบใหม่นับแต่ต้นปี พ.ศ.2554 ที่ผ่านมา เล่าว่า เดิมปัญหาสำคัญของชิกกี้ชิก คือ เน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ ทำให้ดูแลคุณภาพสาขาไม่ทั่วถึง อีกทั้ง ทำเลและผู้ลงทุนบางรายไม่เหมาะสมกับธุรกิจ ทำให้หลายรายต้องยุติกิจการ ดังนั้น ได้ปรับกลยุทธ์ใหม่ให้มีระบบดูแลชัดเจน

กล่าวคือ เน้นการปล่อยอาชีพรูปแบบกึ่งแฟรนไชส์ที่ใช้งบลงทุนน้อย ความเสี่ยงต่ำ รายได้น่าสนใจ แต่ผู้ลงทุนต้องมียอดขายน่าพอใจ ไม่เช่นนั้นจะถูกยกเลิกสัญญา ซึ่งเป็นระบบที่กระตุ้นให้ผู้ลงทุนต้องเอาใจใส่ในอาชีพอย่างจริงจัง

สำหรับรูปแบบลงทุน มี 3 รูปแบบ คือ คีออสรถเข็น แบบฟู้ดคอร์ส และแบบร้าน Stand alone โดยเบื้องต้นจะเน้นปล่อยสาขาแบบคีออส กำหนดงบลงทุน ได้แก่ 1.ค่าการตลาดต่อจุดขาย 5,000 บาท 2.ค่าอุปกรณ์ย่อยประมาณ 4,000 บาท(สามารถเลือกซื้อเองได้หลายรายการ) 3.ค่าเช่าตู้แช่แข็ง 500 บาทต่อเดือน(ไม่เอาตู้แช่ไม่ต้องจ่าย) 4.เงินประกันอุปกรณ์ 25,000 บาท (คืนเมื่อเลิกและคืนอุปกรณ์โดยหักค่าซ่อมแซมให้ใช้งานได้ปกติ) 5.ค่าวัตถุดิบแรกเริ่ม(ตามยอดสั่งประมาณ8,000บาท) เบ็ดเสร็จงบลงทุนเบื้องต้น ประมาณ 45,000 บาท แต่จ่ายจริงประมาณ 20,000 บาท เนื่องจากจะได้เงินคืน 25,000 บาท หากยกเลิกสัญญาระหว่างกัน

ทั้งนี้ มีเงื่อนไขว่า ...........







 

 

 

 

 

ขอขอบคุณเนื้อหาข่าวคุณภาพ จาก ผู้จัดการออนไลน์

ติดตามอ่านเนื้อหาฉบับเต็มได้ที่ :?link :?http://www.manager.co.th/SMEs/ViewNews.aspx?NewsID=9540000043295

5/15/2554

SMEs การขยายอย่างไร้ขีดจำกัด คือบ่อเกิดของความหายนะ

สัญญาณของความหายนะเรื่องที่หนึ่งคือ เวลาที่ไม่เพียงพอ ในอดีตนายก่อร่างเป็นคนขยันมาก ๆ ดูแลงานอย่างใกล้ชิด ติดตามอย่างต่อเนื่องเมื่อมีการขยายงานอย่างมากมาย ทั้งในธุรกิจเดิมและธุรกิจใหม่ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้นายก่อร่างดูแลไม่ทั่วถึง บางธุรกิจไม่ได้ดูเลย ขาดการตรวจสอบ ขาดการควบคุมที่ดี

สัญญาณของความหายนะเรื่องที่สองคือ ผู้บริหารที่ช่วยทำงานระดับสูงโตไม่ทัน หรือความสามารถยังมีไม่เพียงพอ ทำให้ธุรกิจของนายก่อร่างมีปัญหา เนื่องจากเขาใช้นโยบายกระจายอำนาจการทำงาน เมื่อเริ่มต้นธุรกิจในแต่ละบริษัทนั้นดีมาก แต่มอบหมายให้คนที่มีความสามารถไม่เพียงพอ และมีการกระจายอำนาจมากเกินไป ขาดการดูแลเอาใจใส่พัฒนาผู้บริหาร ทำให้ธุรกิจนั้นถดถอยไม่ประสบความสำเร็จ

สัญญาณของความหายนะเรื่องที่สามคือ ความโลภ นายก่อร่างเป็นหัวหน้าที่ไว้ใจลูกน้องมาก ๆ เชื่อในความดี ความจริงใจที่เขามีให้จะได้รับการตอบรับกลับมาเท่ากัน เหมือนกันแต่แล้วผลที่ได้กลับไม่เป็นดังหวัง ผู้บริหารหลายคนเห็นนายก่อร่างโต รวย ได้รับการยอมรับมากมายเลยเกิดความโลภต้องการเป็นเหมือนกัน เริ่มมองหาโอกาสให้ตัวเองเช่น สินค้าใหม่ ๆ ที่ต่างประเทศนำมาเสนอ ก็นำออกไปทำเอง และยังดึงคน ดึงลูกค้าออกไปด้วย นอกจากนี้ตัวเองยังคงอยู่ที่เดิมคอยส่งผลประโยชน์ออกไปเรื่อยๆอย่างต่อ เนื่อง และไม่ใช่ผู้บริหารคนเดียวทำ มีหลายคน หลายระดับ จะขอยกตัวอย่างระดับล่างเช่น เขารู้จักลูกค้าดีอยู่แล้ว ?ขอลาออกไปตั้งธุรกิจของตัวเอง และยังกลับมาขอซื้อสินค้าราคาพิเศษ เป็นเครดิต และนำไปขายลูกค้าของบริษัทอีกทีหนึ่งเป็นต้น ท่านผู้อ่านลองคิดดูว่าโอกาสใหม่ ๆ ถูกฉกฉวยเอาไปหมด กำไรถูกเบียดเบียนไปอีกด้วย เหลือแต่สิ่งที่ไม่ดีทิ้งไว้ให้ แล้วนายก่อร่างจะเหลืออะไร

สัญญาณของความหายนะเรื่องที่สี่คือ ในการที่ผู้บริหารระดับสูงต้องการแย่งสิทธิในการจำหน่ายสินค้าไปทำเอง ต้องมีการปล่อยข่าวทำร้ายบริษัทเดิมก่อนจะได้เกิดความชอบทำ หรือจะต้องทำอย่างไรก็ได้ที่ทำให้บริษัทเก่าอยู่ไม่ได้ถึงจะได้สินค้าไป อย่างถูกต้อง และนี่ก็เป็นอีกเรื่องที่นายก่อร่างได้รับการกระทำโดยไม่รู้ตัว ทั้งในแง่ของบริษัทและในแง่ของส่วนตัวเช่น นายก่อร่างถูกปล่อยข่าวว่ามีเด็กอยู่ในบริษัททั้งที่เขาไม่เคยมีเลย แต่มีผู้บริหารหลายคนมีแล้วโยนให้เขาเป็นแพะเพื่อหลอกภรรยาตัวเอง เป็นต้น ด้วยอุปนิสัยที่เป็นคนมองโลกในแง่ดีทำให้เขานึกไม่ถึงว่าจะถูกกระทำได้ถึง ขนาดนั้น

สัญญาณของความหายนะเรื่องที่ห้าคือ ความหลงตัวเอง ความเชื่อที่คิดว่าตัวเองเก่งที่สุดความเชื่อที่คิดว่าตัวเองสุดยอด ความประมาท ความหลงใหลในความสำเร็จ ก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้นายก่อร่างพลาดในหลาย ๆ เรื่อง

สิ่งที่เล่ามาเหล่านี้เป็นสัญญาณของความหายนะที่เกิดจากภายในองค์กร แต่ยังมีสัญญาณที่เกิดจากภายนอกองค์กรอีกด้วยเช่น มีหลายธนาคารเจ๊ง สถาบันการเงินถูกปิดหลายสิบแห่ง ตลาดหุ้นเกิดความเสียหายอย่างมาก และการลดค่าเงินบาท นายก่อร่างมีทั้งศึกภายในและภายนอกจะเหลืออะไรได้อีกนอกจากเกิดความสูญเสีย อย่างประเมินค่าไม่ได้ และผู้หวังดีที่จริงใจทั้งหลายของนายก่อร่างไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อ คุณแม่ ภรรยา พี่น้องและครูอาจารย์ต่างก็เป็นห่วงว่านายก่อร่างจะยังคงสามารถดำรงชีวิต อยู่ได้หรือไม่ แต่ด้วยกำลังใจจากคนใกล้ชิดจริง ๆ และความช่วยเหลือทำให้เขายังคงมีชีวิตอยู่จนถึงทุกวันนี้ เขายังคงเป็นนักสู้จริง ๆ เขายังไม่ย่อท้อ ให้อภัยคนอื่น อดทน และยังต่อสู้ต่อไป โดยยังคงคิดว่าจะสามารถกลับมาได้เพราะเขาคิดว่า ความพยายาม ความสามารถ ประสบการณ์ ความจริงใจ จะสามารถช่วยเขาฟันฝ่าอุปสรรคที่นับวันมีมากขึ้นๆ และกลับมาดำรงชีวิตที่ดีได้ และเขาตั้งใจนำความสำเร็จ ความผิดพลาดที่ผ่านมา นำมาเป็นกรณีศึกษาสำหรับ SMEs คนอื่น ๆ จะได้ไม่ผิดพลาดเหมือนกับตัวเอง ถ้ามีโอกาสจะคอยแนะนำให้คำปรึกษาเพื่อนนักธุรกิจ SMEs คนอื่น ๆ ให้มีโอกาสที่ดีกว่า และจะแนะนำให้คนอื่น ๆ มองเห็นความสำเร็จที่แท้จริง ไม่ใช่การเจริญเติบโตเพียงอย่างเดียวคือความสำเร็จ แท้จริงแล้วความสำเร็จจะคู่กับความพอดีกับกำลังของตัวเอง ความพอเพียง จะสามารถทำให้เราควบคุมความสำเร็จนั้นได้ มีความสุขกับความสำเร็จที่ยั่งยืนและยาวนานได้จริง ๆ

 

โดย : สสว.

ร้านข้าวสารเคลื่อนที่ & ดิลิเวอร์รี่ ส่งถึงบ้านท่าน

วันนี้อะไร ๆ ก็เป็นไปได้ ใครจะคิดว่าร้านขายข้าวสารก็สามารถทำตลาดแบบดิลิเวอร์รี่ และกลายเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ได้เจ้าของความคิดนี้คือบริษัท นาดีมาร์เก็ตติ้ง จำกัด เพิ่มยอดขายข้าวสารด้วยการรับตัวแทนจำหน่าย

ร้านข้าวสารเคลื่อนที่ & Delivery โดยรับข้าวสารจาก ?หจก.วิรัชทุ่งสง? ธุรกิจของตระกูล หนึ่งในผู้ประกอบธุรกิจจำหน่ายข้าวสารมานานกว่า 30 ปี และถือเป็นผู้จำหน่ายข้าวสารรายใหญ่ ในภาคใต้ จำหน่ายสินค้าที่จังหวัดนครศรีธรรมราช บนเนื้อที่กว่ายี่สิบไร่ มีสินค้าให้เลือกหลายชนิด หลายเกรด ไม่ว่าจะเป็นข้าวหอมมะลิ หอมปทุม ขาวตาแห้ง เสาไห้ ข้าวกล้อง ฯลฯ คัดเลือกมาจากแหล่งผลิตข้าวคุณภาพดีที่สุดที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ทางภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง นำมาบรรจุถุงจำหน่ายปลีก-ส่ง ในแบรนด์ ?พวงแก้ว ห้าทิศ และ สร้อยฟ้า?? ?หอมอร่อยแล้วบอกต่อ?? หนึ่งในกลยุทธ์เพิ่มฐานลูกค้าที่บริษัทเชื่อว่าดียิ่งกว่าการโฆษณา บวกกับความสะดวกสบายในการจำหน่ายแบบส่งกับมือ ให้ถึงบ้าน และราคาไม่แพง น่าจะทำให้ขายได้ง่ายขึ้น โดยใช้เงินลงทุนซื้อรถพร้อมตกแต่ง 5 แสนกว่าบาท

คุณธนกรณ์ จันทร์บุรีวงศ์ ผู้จัดการ หจก.วิรัชทุ่งสง ทายาทสืบทอดกิจการรุ่นที่สอง

?ครอบ ครัวเราประกอบอาชีพขายข้าวสารมาตั้งแต่ผมจำความได้หรือเมื่อประมาณ 30 กว่าปีมาแล้ว สมัยรุ่นคุณพ่อ (คุณวิรัช จันทร์บุรีวงศ์) ซึ่งเป็นผู้บุกเบิก เริ่มจากซื้อพริกแห้ง หอม กระเทียมล่องมาขายที่นครศรีธรรมราชก่อน ต่อมา (ปี พ.ศ.2521) คุณพ่อก็เริ่มนำข้าวหอมมะลิ จากภาคอีสานมาจำหน่ายที่ภาคใต้ด้วย โดยมองว่าเป็นสินค้าที่จำเป็นและขายได้ ที่สำคัญยังไม่มีใครนำมาขายในตอนนั้น ทำให้ขายง่ายและขายดีมาก ซึ่งทุกวันนี้ร้านแรกของเราที่ตักขายเป็นกิโลก็ยังอยู่?
หลัง จากที่ประความสำเร็จในการสร้างแบรนด์ ทั้งพวงแก้ว? ห้าทิศ? สร้อยฟ้า จนกระทั่งติดตลาดในภาคใต้ คุณธนกรณ์ และคุณสุภาวิณี? จันทร์บุรีวงศ์? จึงมองหาช่องทางขยายฐานผู้บริโภคกลุ่มใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น เพื่อตอกย้ำแบรนด์สินค้าให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย โดยเริ่มเจาะตลาดกลุ่มลูกค้าในกรุงเทพฯและปริมณฑล ก่อนจะขยายไปยังพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ

[caption id="attachment_401" align="alignleft" width="360" caption="ข้าวสารเคลื่อนที่"][/caption]

ร้านข้าวสารเคลื่อนที่ & Delivery ส่งถึงบ้าน

คุณ ฐนพล ลัญฉประสิทธิ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท นาดีมาร์เก็ตติ้ง จำกัด กล่าวว่า คุณภาพสินค้าของบริษัท เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคในตลาดอยู่แล้ว เพียงแต่เพิ่มคอนเซ็ปต์ของแผนการตลาดเป็นรูปแบบใหม่ที่ไม่เหมือนใคร
เพื่อ ขยายฐานกลุ่มผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น ไม่ใช่แชร์ข้าวสาร แต่เป็นทำธุรกิจขายข้าวสารจริง ๆ ลักษณะของการเปิดรับตัวแทนจำหน่ายพร้อมให้สิทธิ์การขายเพียงรายเดียวในแต่ละ เขตพื้นที่ โดยสามารถสร้างโอกาสเพิ่มรายได้ให้กับตัวแทนจำหน่ายถึง 4 ช่องทาง คือ ขายปลีก ขายส่ง ขายตรง (ดิลิเวอร์รี่) และฝากขาย

รูปแบบการตลาดจะเป็นลักษณะการผสมผสานระหว่าง ขายปลีก ขายส่ง ขายตรง และฝากขาย ผนวกเข้ากับระบบบริหารจัดการแบบแฟรนไชส์ กล่าวคือตัวแทนมีหน้าที่ขายสินค้าซึ่งเป็นข้าวสารในแบรนด์ของเราคือตราพวง แก้ว ห้าทิศ และสร้อยฟ้า ส่วนการวางแผนด้านการตลาดและการประชาสัมพันธ์ และอุปกรณ์ส่งเสริมการขาย ทางบริษัทจะเป็นผู้ดำเนินการให้ทั้งหมด รูปแบบดิลิเวอร์รี่ของเราก็ไม่ใช่ระบบการสั่งซื้อผ่าน Call Center ซึ่งค่อนข้างล่าช้าและไม่มีจุดดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค แต่เป็นธุรกิจร้านข้าวสารเคลื่อนที่ & Delivery ส่งถึงบ้านท่าน รายแรกของประเทศไทย?

ขายปลีก ขายส่ง ขายตรงและฝากขาย? 4 ช่องทางสร้างรายได้มากมายและยั่งยืน

1. รายได้จากการขายปลีก โดยหน่วยรถข้าวสารเคลื่อนที่ขายในเขตของตนเองเพียงรายเดียวที่ได้รับอนุญาต จากทางบริษัท สามารถเคลื่อนที่เข้าหากลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจน แปลกใหม่น่าสนใจ ลูกค้าสะดวกซื้อ
2.รายได้จากการขาย ส่ง โดยตัวแทนมีสิทธิ์ที่จะส่งสินค้าข้าวสารให้กับร้านอาหารทุกร้านทั้งร้านใหญ่ ร้านเล็ก ภัตตาคาร ในเขตที่ตัวเองได้รับมอบหมายแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งมีโอกาสเพิ่มตัวเลขยอดขายอย่างมากมายในอนาคต
3. รายได้จากการขายตรง โดยตัวแทนสามารถเปิดรับสมัครสมาชิกซื้อสินค้าราคาพิเศษและบริการส่งถึงที่ (บ้าน) ซึ่งแน่นอนตัวแทนมีโอกาสนำเสนอสินค้าตัวอื่น ๆ โดยตรงกับลูกค้า และสามารถอธิบายถึงคุณภาพของสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่าการขาย มีความสนิทสนมกับลูกค้าในระบบขายตรง มีโอกาสรักษาเป็นลูกค้าประจำยั่งยืนตลอดไป หรือได้ลูกค้าเพิ่มจากการบอกต่อ
4. รายได้จากการฝากขายหรือขายขาด (สดหรือเครดิต) โดยตัวแทนมีสิทธิ์จะนำ Display Shelf โชว์สินค้าของบริษัทที่ Design สวยงามไปติดต่อวางจำหน่ายตามร้านขายของชำ มินิมาร์ทล็ก ๆ ตามหมู่บ้าน ชุมชน? สหกรณ์? อพาร์ทเม้นท์? คอนโด และที่อื่น? ๆ ตามที่ตัวแทนจำหน่ายเห็นสมควรที่มีโอกาสเพิ่มยอดการขายในเขต ที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งเปรียบเสมือนตัวแทนเพิ่มพนักงานช่วยขายสินค้าให้ตลอด 24 ชั่วโมง

ตาถึง..ใจถึง..มือถึง คุณสมบัติสำคัญของเถ้าแก่ใหม่

บริษัท กำหนด 1 ตัวแทนต่อ 1 เขตพื้นที่จำหน่ายหรืออาจมากกว่านั้น ถ้าตัวแทนจำหน่ายมีศักยภาพพอ แต่ต้องเป็นคนในพื้นที่เท่านั้น เพราะจะรู้จักทุกซอก ทุกมุมดี และมีความสนิทสนมคุ้นเคยกับกลุ่มลูกค้าเป็นอย่างดี ผู้ที่จะมาร่วมลงทุนต้องมองเห็นถึงความเป็นได้ของธุรกิจนี้ ต้องมีความพร้อมด้านเงินลงทุนและเงินทุนสำหรับหมุนเวียนพอสมควร เพราะธุรกิจนี้ใช้รถยนต์เป็นหลักในการขายสินค้า

ข้อมูลการลงทุนเพื่อขอเป็นตัวแทนจำหน่าย

บริษัท บริษัท นาดีมาร์เก็ตติ้ง จำกัด
ธุรกิจ ร้านข้าวสารเคลื่อนที่ &ดิลิเวอร์รี่ ส่งถึงบ้านท่าน
ประเภทธุรกิจ ร้านขายข้าวสารเคลื่อนที่
เงินลงทุน ประมาณ 500,000 - 600,000 บาท
กำไร ประมาณ 5-20% จากราคาขาย (ขึ้นอยู่กับชนิดสินค้า)
ที่อยู่ บ้านกลางเมืองลาดพร้าว-วังหิน เลขที่ 199/24 หมู่ 14 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร 10230
โทรศัพท์ 0-2539-7871, 08-5966-5063
E-mail: nadee_rice@hotmail.com, nakornsi1@hotmail.com

งบประมาณการลงทุนเบื้องต้น

รถกระบะ Mini-Truck DFM (1100 cc) 285,000 บาท
เปลี่ยนโช้คอัพและเสริมแหนบ 7,500 บาท
ตกแต่งหลังคาและชั้นวางข้าวสาร พร้อมติดสติกเกอร์โฆษณาบนรถ? 123,500 บาท
เงินทุนหมุนเวียนสินค้าเบื้องต้น 60,000 บาท
ค่าอุปกรณ์ส่งเสริมการขายเบื้องต้น 60,000 บาท

5/14/2554

เหยือกกรองน้ำแบบพกพา ?บริต้า? มิติใหม่น้ำดื่มรับไลฟ์สไตล์คนเมือง


ปัจจุบันเรื่องกรองน้ำถือเป็นของใช้ประจำบ้านที่มีใช้กันอย่างแพร่หลาย การพัฒนานวัตกรรมเครื่องน้ำขึ้นมาเพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งให้กับผู้บริโภค ในการเพิ่มความสะดวกสบาย เช่นเดียวกับเครื่องกรองน้ำภายใต้แบรนด์ BRITA ได้พัฒนาเครื่องกรองน้ำที่มีคุณสมบัติเด่นเป็นแบบพกพา ช่วยให้คุณสามารถพกพาไปใช้ที่ไหนก็ได้อย่างสะดวกสบาย ไม่ต้องมีขั้นตอนการติดตั้งที่ยุ่งยาก?? ? ? ?? ? ? ?ดร.มนู ลีนะวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อควาอินโนเทค (ประเทศไทย) จำกัด ผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์กรองน้ำแบรนด์ ?BRITA? เล่าว่า สำหรับเครื่องกรองน้ำ BRITA มีคุณสมบัติเป็นเหยือกกรองน้ำแบบพกพา สามารถนำไปใช้ที่ไหนก็ได้ และที่สำคัญทุกคนสามารถเปลี่ยนไส้กรองได้ด้วยตัวเอง สามารถตอบโจทย์ ความต้องการของผู้บริโภคคนไทยในยุคนี้ได้เป็นอย่างดี เพราะด้วยสภาพสิ่งแวดล้อม มลพิษในอากาศ ภัยอันตรายต่างๆมากมายจากสารเคมี ทำให้ผู้บริโภคในทุกวันนี้จะห่วงใย ใส่ใจกับสุขภาพมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะน้ำดื่ม ที่มีความจำเป็น และสำคัญอย่างยิ่งกับการมีสุขภาพที่ดี ประกอบกับในเมืองไทยเองยังไม่มีสินค้าที่เป็นที่คู่แข่งที่ชัดเจน

นายมนู ลีนะวงศ์ ผู้จัดจำหน่ายกรองน้ำแบรนด์ ?BRITA?
โดยบริษัทฯ ได้ประเดิมเปิดตลาด เหยือกกรองน้ำแบบพกพา บริต้า ในปลายปีที่ผ่านมา ด้วยการวางจำหน่ายสินค้า 2 โมเดลแรก คือ เหยือกกรองน้ำแบบพกพารุ่น Marella และ Aluna ในราคาเริ่มต้นที่ 1,590 บาท เดือน ซึ่งเหยือกกรองน้ำนั้นเมื่อเทียบราคากับการซื้อน้ำดื่มขวดถือว่าถูกกว่ามาก เพราะถ้าใช้เหยือกกรองน้ำบวกราคาไส้กรองที่ต้องเปลี่ยนทุก 2 เดือนแล้ว ราคาค่าน้ำจะอยู่ที่ประมาณ 1.50 บาท ต่อ ลิตร? ? ? ?? ? ? ?สำหรับกลุ่มเป้าหมายหลัก ของเหยือกกรองน้ำ บริต้า วางไว้ที่ กลุ่มคนทำงาน แม่บ้าน แม่ เด็ก และครอบครัวสมัยใหม่ ในระดับ B, B+ และ A ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และตามหัวเมืองใหญ่ๆ ทุกภูมิภาคของประเทศ เพราะกลุ่มคนเหล่านี้ในปัจจุบันจะมีไลฟ์สไตล์ที่ใส่ใจดูแลสุขภาพ และนิยมสรรหาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะมาช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นตลอดเวลา

เหยือกสีต่างๆ ให้เลือก
ในช่วงแรกของการทำตลาด ทางบริษัทฯมุ่งเน้นพื้นที่ในกรุงเทพ พัทยา และชลบุรี เป็นจังหวัดนำร่อง จากนั้นมีแผนการที่จะขยายไปยังเมืองใหญ่ๆ โดยการแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายในต่างจังหวัด อาทิ ภูเก็ต เชียงใหม่ เป็นต้น ซึ่งจากการทำการตลาดอย่างเข้มข้น และจุดขายที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้หลากหลายช่องทาง คาดว่าในปีแรก จะสามารถสร้างยอดขายได้ทั้งสิ้น 20,000 เครื่อง หรือคิดเป็นยอดขายกว่า 35 ล้านบาท? ? ? ?? ? ? ??อย่างไรก็ตาม จากการวางตลาดในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาพบว่า บริต้า ได้รับการตอบรับจากกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างดี ดังนั้นบริษัทจึงมีแผนขยายช่องทางจำหน่ายให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น โดยการเดินสายโรดโชว์ แนะนำสินค้า ตามออฟฟิศ สำนักงานชั้นนำ ในเขตกรุงเทพ รวมถึงเพิ่มช่องทางขายทางอินเตอร์เน็ต เพื่อเจาะเข้าถึงลูกค้าให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งเชื่อมั่นว่าภายใน 3 ปี นี้ บริต้า จะเป็นที่รู้จัก พร้อมเป็นผู้นำในตลาดเครื่องกรองน้ำขนาดพกพา? นายมนู กล่าวทิ้งท้าย

สำหรับแผนการส่งเสริมการขายและตลาด ได้ตั้งงบประมาณในปีแรกไว้เบื้องต้นที่ 4 ล้านบาท เพื่อโปรโมทผลิตภัณฑ์พร้อมทั้งจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายต่างๆ อาทิ ห้างสรรพสินค้าชั้นนำในเครือเซ็นทรัล ห้างสรรพสินค้าในเครือเดอะมอลล์ รวมถึง ท็อปส์ มาร์เก็ตเพลส (TOPS Marketplace) จำนวน 14 สาขา อินเด็กซ์ลิฟวิ่งมอลล์ (Index Living Mall) จำนวน 3 สาขา ร้าน LoFt 2 สาขา และ UFM Fuji Super 2 สาขา? ? ? ?? ? ? ?นายมนู เล่าว่า ก่อนจะมาทำธุรกิจตัวนี้ ตนเองได้รับหน้าที่ในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง ของบริษัท เครื่องปรับอากาศชั้นนำของเมืองไทยไทยแห่งหนึ่ง ทำให้ตนได้สะสม ประสบการณ์ ในด้านการบริหาร การตลาด การจัดการ ได้เรียนรู้ในด้านการขาย การพัฒนา ฝึกอบรมบุคลาการแบบมืออาชีพมายาวนานกว่า 6 ปี แต่เมื่อถึงจุดอิ่มตัว ทำให้เริ่มรู้สึกเบื่อกับการเป็นมือปืนรับจ้าง อยากที่จะมีธุรกิจเป็นของตัวเอง จึงเริ่มหันมามองหาธุรกิจใหม่ๆ ที่คิดว่าเหมาะสมกับตัวเอง

จากประสบการณ์ในการทำงาน ที่ผ่านมา ทำให้ได้มีโอกาสรู้จักและทดลองใช้สินค้าในต่างประเทศหลายแบบ และมองหาสินค้าที่ประเทศไทยยังไม่มีใครเคยทำมาก่อน จึงได้มารู้จักกับเหยือกกรองน้ำดังกล่าว ซึ่งรู้สึกถูกใจกับคุณภาพจึงได้ลองนำสินค้ามาให้ญาติพี่น้อง คนในครอบครัว และเพื่อนๆได้ทดลองใช้ ซึ่งทุกคนที่ได้ทดลองใช้ ต่างติดใจ และชื่นชอบในตัว เหยือกกรองน้ำ กันเป็นอย่างมาก? ? ? ?? ? ? ?เมื่อการสำรวจตลาด ความพึงพอใจต่อคุณภาพของ เหยือกกรองน้ำจนเป็นที่พึงพอใจ แล้ว จึงเกิดไอเดียนำสินค้าดังกล่าวเข้ามาเปิดตลาดในประเทศไทย จากนั้นจึงได้ปรึกษากับครอบครัว คิดก่อตั้งบริษัท อควาอินโนเทค ขึ้นมาเพื่อจัดจำหน่ายเหยือกกรองน้ำ ในตลาดเมืองไทยขึ้นมา โดยใช้เงินลงทุนในเบื้องต้นไปกว่า 5 ล้านบาท ด้วยความเชื่อมั่นในคุณสมบัติ ประสิทธิภาพของของเหยือกกรองน้ำดังกล่าว และประกอบกับไม่มีคู่แข่ง น่าจะประสบความสำเร็จตรงจุดนี้ และจากการเปิดตัวได้ 6 เดือนผลตอบรับก็มาดีในระดับที่น่าพอใจ คาดว่าจะคืนทุนไม่ยาก

โทร. 02-249 -3067 , 08-1611 - 3691

www.aquainnotech.com

เครดิต : ผู้จัดการออนไลน์ :?หมวด SMEs /?เถ้าแก่ SMEs

หรือ เข้าชมได้ที่ Link :?http://manager.co.th/SMEs/ViewNews.aspx?NewsID=9540000058339

[nggallery id=1]

5/13/2554

ธุรกิจ แฟรนไชส์ 2011

เปิดผลสำรวจ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงทุนแฟรนไชส์ เกาะติดธุรกิจที่ได้รับความนิยมและหล่นร่วง พร้อมการเจาะลึกถึงสถานการณ์และแนวโน้มในปี 2554 ด้านที่ปรึกษาระดับแนวหน้าแนะผู้ประกอบการเตรียมพร้อมรับมือ จี้รับออกกฏเกณฑ์ดูแลก่อนสายเกินแก้

เมื่อแฟรนไชส์เป็นทางเลือกของทั้งผู้ประกอบการที่คิดจะขยายธุรกิจ อย่างรวดเร็วและนักลงทุนหรือผู้ที่ต้องการหารายได้จากธุรกิจในแบบที่ไม่ต้อง นับหนึ่งด้วยตัวเอง ด้วยเหตุนี้ การติดตามภาพรวมของธุรกิจแฟรนไชส์ว่ามีทิศทางความเคลื่อนไหวและแนวโน้ม อย่างไร จึงเป็นประโยชน์ของทั้งสองฟากดังกล่าว ซึ่งการนำเสนอเนื้อหาในครั้งนี้เป็นการมองภาพรวมตลอดทั้งปีของปี 2553 ที่ผ่านมา และปี 2554 โดยเน้นไปในส่วนของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสนใจในการลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ กับสถานการณ์และแนวโน้มของธุรกิจ

* ชี้ปัจจัยส่งอิทธิพลต่อการลงทุน

จากผลสำรวจปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสนใจในการลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ในปี 2553 โดยกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา เอ็น ซี กรุ๊ป พบว่า ธุรกิจที่มีผู้สนใจลงทุนเป็นอันดับหนึ่งคือ ธุรกิจเบเกอรี่ โดย ปัจจัยแรกคือ สิ่งแวดล้อมทางการตลาดเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยกระตุ้น ซึ่งที่เห็นกันอยู่คือเบเกอรี่จากต่างประเทศที่เข้ามาสร้างกระแสให้เกิดการ ตื่นตัวมากขึ้น อย่าง คริสปี้ครีม ซึ่งส่งผลให้ตลาดในหัวเมืองใหญ่หันมาสนใจธุรกิจโดนัทมากขึ้น ปัจจัยที่สองคือ เงินลงทุนไม่สูง เฉลี่ย 2-3 ล้านบาทเท่านั้น ปัจจัยที่สามคือการคืนทุนที่ค่อนข้างรวดเร็ว โดยใช้เวลาประมาณ 2 ปีกว่าเท่านั้น ประกอบกับรูปแบบร้านที่ดูดีเป็นการสะท้อนภาพลักษณ์เชิงสังคมให้กับผู้ลงทุน

อันดับสองคือ ธุรกิจเครื่องดื่ม ซึ่ง กาแฟยังเป็นตัวนำ โดยจากแบบสอบถามพบว่าคนอายุไม่เกิน 40 ปี ประมาณ 27% มีความสนใจมาก แต่กระแสในระยะนี้แผ่วลงไปบ้างทำให้ตกอันดับจากเดิมที่เคยอยู่ในอันดับที่ หนึ่ง เพราะนักลงทุนให้ความเห็นว่ามีร้านกาแฟที่เปิดอยู่เป็นจำนวนมากแล้วในตลาดมี การแข่งขันสูง ทำให้อัตราผลกำไรที่เคยสูงกลับลดต่ำลง นอกจากนี้ ยังหาความแตกต่างของแต่ละรายไม่ได้ทำให้ไม่รู้ว่าจะเลือกแบบไหนดี รวมทั้ง ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบที่ดีคือเมล็ดกาแฟพันธุ์อาราบิก้ามีราคาสูงขึ้น

อันดับสามคือ ธุรกิจร้านก๋วยเตี๋ยว ซึ่ง นักลงทุนมีความต้องการชัดมาก แต่เนื่องจากยังไม่มีรูปแบบร้านที่ดีกว่าร้านรถเข็นหรือเหมาะสมกับความ ต้องการของนักลงทุน เพราะจากข้อมูลการสำรวจพบว่า 90% ของนักลงทุนที่สนใจในธุรกิจแฟรนไชส์จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี จากเดิมที่นักลงทุนกว่า 30% มีความรู้ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ดังนั้น เมื่อนักลงทุนมีการศึกษาสูงจึงต้องการลงทุนให้คุ้มกับเงินลงทุน เวลา และสถานะ นอกจากนี้ ยังพบว่า 26% ของผู้สนใจลงทุนเคยทำธุรกิจมาก่อน และ47% เป็นพนักงาน ชี้ให้เห็นว่าคุณภาพของนักลงทุนสูงขึ้น แฟรนไชส์ขนาดเล็กจึงไม่ค่อยได้รับความนิยม

ด้านพีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์ ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทฯ เปิดเผยอีกว่า ส่วนธุรกิจเด่นที่ได้รับความสนใจตามมา คือ ธุรกิจไอศกรีม และธุรกิจอาหารไทย สำหรับธุรกิจไอศกรีมซึ่งนำโดย ?สเวนเซ่นส์? มีผู้สนใจลงทุนมาก จึงส่งผลต่อภาพรวมของธุรกิจไอศกรีม แต่เพราะการลงทุนกับสเวนเซ่นส์ใช้เงินลงทุนสูง ขณะที่ ?ไอเบอรี่? ซึ่งเป็นของคนไทยก็ลดการกระตุ้นในเรื่องของแฟรนไชส์ รวมทั้ง รายอื่นๆ ที่เคยผลักดันอย่างแรงก็ลดลงเช่นกัน เช่น ดรีมโคน เป็นต้น เนื่องจากโดยภาพรวมของธุรกิจนี้มีการแข่งขันรุนแรง ส่วนการที่ธุรกิจอาหารไทยได้รับความสนใจเป็นเพราะรายที่เปิดอยู่มีการเติบโต ดี เช่น เชสเตอร์กริลล์ สามารถขยายแฟรนไชส์ได้เป็นร้อยสาขา ขณะที่ นักลงทุนเห็นว่าเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำ เพราะผู้บริโภคตัดสินใจซื้อง่าย

สำหรับธุรกิจที่ได้รับความนิยมลดลง คือธุรกิจการศึกษา จาก เดิมที่ได้รับความนิยมในอันดับต้นๆ คือประมาณอันดับหนึ่งหรือสอง เหตุผลแรก เป็นเพราะนักลงทุนเห็นว่าบางแห่งลงทุนสูงบางแห่งลงทุนไม่สูง ไม่สามารถหาเหตุผลในการลงทุนได้ และผลตอบแทนไม่เป็นไปตามที่คิด รวมทั้ง มีปัญหาให้เห็นเป็นระยะ เช่น มีการปิดตัวของผู้ประกอบการ เป็นต้น เหตุผลที่สอง มาจากความยากในการทำธุรกิจ เช่น ไม่สามารถหาบุคลากรมาดำเนินการ และเหตุผลที่สาม มาจากการที่สภาพตลาดเปลี่ยนไป เนื่องจากระบบการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการสอบเอ็นทรานซ์มีความสับสน ทำให้ความต้องการของผู้บริโภคต่างจากเดิมเด็กนักเรียนเปลี่ยนไปเน้นเรียน เฉพาะวิชา ไม่เรียนหลายๆ วิชา

นอกจากนี้ คือธุรกิจแฟชั่น เช่น ร้านเสื้อผ้า ร้านเครื่องประดับ และร้านเครื่องสำอาง สำหรับธุรกิจร้านจำหน่ายเครื่องสำอาง ได้รับความนิยมลดลงจากเดิมที่เคยอยู่ในอันดับที่สาม เพราะนักลงทุนเห็นว่าไม่สามารถแยกความแตกต่างของตัวผลิตภัณฑ์ระหว่างสินค้า ทั่วไปที่ผลิตในประเทศกับสินค้าที่มีแบรนด์ และมีการหิ้วของจากต่างประเทศเข้ามาขายมาก รวมทั้ง ผู้บริโภคในปัจจุบันไม่มีความภักดีต่อแบรนด์ ทำให้ร้านที่เปิดเป็นแฟรนไชส์แข่งขันไม่ได้ ขณะที่ ธุรกิจร้านเสื้อผ้า ได้รับความนิยมลดลงเพราะสภาพเศรษฐกิจส่งผลให้ผู้บริโภคใช้จ่ายกับเสื้อผ้า น้อยลงเช่นเดียวกับเครื่องประดับ ส่วนธุรกิจบริการอื่นๆ มีรูปแบบของธุรกิจ (concept) ไม่แข็งแรง เช่น ร้านซักรีด เป็นต้น

* ฟันธง ?ร้านอาหาร? มาแรง ?บริการ? หลากหลาย

ส่วนผลสำรวจสถานการณ์แฟรนไชส์ในปี 2553และแนวโน้มในปี 2554พบว่า อัตราการเติบโตของธุรกิจในปี 2553จะอยู่ที่ 11.7% โดยมีมูลค่าตลาดรวมของธุรกิจกว่า 1.6 แสนล้านบาท มีธุรกิจแฟรนไชส์ 563 ราย และจากการคาดการณ์ในปี 2554 ธุรกิจแฟรนไชส์น่าจะมีอัตราการเติบโต 15% หรือมีมูลค่าตลาดรวมไม่น้อยกว่า 1.7แสนล้านบาท มีธุรกิจแฟรนไชส์เพิ่มเป็นประมาณ 600-650 ราย เพราะมีทั้งแฟรนไชส์รายใหม่และรายเก่าที่พัฒนาตัวเอง ซึ่งการเติบโตของธุรกิจจะเน้นไปที่ธุรกิจขนาดใหญ่ โดยมีความโดดเด่นอยู่ที่ ?ธุรกิจอาหาร? เป็นหลัก เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจเอื้ออำนวยทำให้มีอัตราผลกำไรสูงขึ้นและมีรายที่ปรับตัวไปอยู่ในระดับที่สูงขึ้น เช่น แฟรนไชส์อาหารญี่ปุ่น

นอกจากนี้ ?ธุรกิจบริการ? จะมีรูปแบบหลากหลายมากขึ้น เช่น แฟรนไชส์ธุรกิจรับสร้างบ้าน ซ่อมบ้าน ซ่อมรถ คาร์แคร์ กำจัดแมลง ร้านซักรีด ร้านหยอดเหรียญ และคอนวีเนี่ยนสโตร์ เนื่องจากการมีความพร้อมในการออกแบบรูปแบบธุรกิจแฟรนไชส์และสถานการณ์โดยรวม ที่เหมาะสม ประกอบกับ ที่ผ่านมาความสำเร็จจากผู้นำเป็นตัวจุดประกายและตัวกระตุ้นให้เกิดการตื่น ตัว เช่น พีดีเฮ้าส์แฟรนไชส์ธุรกิจรับสร้างบ้าน ที่สามารถขยายได้กว่า 10 สาขา โดยใช้เงินลงทุนในธุรกิจสาขาละ 3-4 ล้านบาทหรือโมลิแคร์แฟรนไชส์ธุรกิจคาร์แคร์ พรู้ฟโค้ทแฟรนไชส์ธุรกิจรับซ่อมบ้าน

ขณะที่ แฟรนไชส์ธุรกิจซักรีดรายเด่นๆ จะกลับมาใหม่ แฟรนไชส์ธุรกิจตู้หยอดเหรียญจะเปลี่ยนรูปแบบ เช่น จากธุรกิจขายเครื่องกรองน้ำจะเกิดเป็นธุรกิจบริการจัดส่งน้ำดื่ม เป็นต้น รวมทั้ง ธุรกิจเอ็นเตอร์เทนจะได้รับการตอบรับ และธุรกิจเสื้อผ้าระดับราคากลางๆ จะมีแนวโน้มดีขึ้น

สำหรับธุรกิจที่อาจจะมีความยากลำบากในปี 2554 คือธุรกิจประเภทบริการความงาม เช่น สปา ศูนย์ลดความอ้วน ร้านตัดผม คาดว่าจะมีอัตราการขยายตัวต่ำ เพราะตลาดอิ่มตัวจากการที่ได้มีการลงทุนไปมากแล้วก่อนหน้านี้ และนักลงทุนบางส่วนที่ไม่ประสบความสำเร็จจากการดำเนินธุรกิจนี้จะหันไปสนใจ ธุรกิจอื่น โดยเฉพาะธุรกิจอาหารซึ่งเป็นธุรกิจพื้นฐาน

ทั้งนี้ ปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจแฟรนไชส์ที่สำคัญยังมาจากการผลักดันของ ธนาคารต่างๆ ที่นำร่องโดยธนาคารกสิกรไทยซึ่งตั้งวงเงินสินเชื่อถึง 3,000 ล้านบาทเพื่อให้สินเชื่อธุรกิจแฟรนไชส์ตั้งแต่ 1-12 ล้านบาทโดยไม่ต้องมีสินทรัพย์ค้ำประกัน นับเป็นแคมเปญที่ตอบโจทย์ความต้องการของนักลงทุนได้อย่างดี นอกจากนี้ธนาคารอื่นๆ กำลังเตรียมสินเชื่อให้กับธุรกิจแฟรนไชส์เช่นเดียวกัน เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารออมสิน เป็นต้น รวมทั้ง การจัดทำไมโครไฟแนนซ์ของไปรษณีย์ไทยจะช่วยให้แฟรนไชส์ขนาดเล็กหรือไมโครแฟรน ไชส์เติบโตตามไปด้วย

ที่ปรึกษาธุรกิจแฟรนไชส์แนะนำและเตือนว่า ในด้านของนักลงทุนควรจะต้องศึกษาหาความรู้ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน เนื่องจากการทำธุรกิจต้องใช้เวลาลงไปคลุกคลีไม่น้อย ซึ่งถ้าธุรกิจไม่สามารถก้าวไปได้จะทำให้เสียทั้งเงินและเวลา ส่วนด้านของผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจ ต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ในปีหน้า เนื่องจากเมื่อภาพรวมของธุรกิจมีการเติบโตก็จะเกิดปัญหาเรื่องบุคลากร จึงต้องให้ความสำคัญด้วยการเน้นพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ ไม่เช่นนั้น จะเกิดปัญหาการถดถอยของธุรกิจขึ้นได้จากการขาดความมั่นใจ และยากที่จะรื้อฟื้นให้กลับมาเหมือนเดิม เพราะธุรกิจแฟรนไชส์ต้องอาศัยความเชื่อมั่นเป็นหลักยึดระหว่างผู้ขายและผู้ ซื้อแฟรนไชส์

อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดการกระจายตัวของการลงทุน แต่หากภาครัฐไม่มีการกำหนดกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขในการกำกับดูแลจะก่อให้เกิด ปัญหาที่ยากจะแก้ไข ดังนั้น ภาครัฐจึงควรมีการป้องกันไม่ให้เกิดการผิดพลาดทั้งที่เกิดจากความไม่ตั้งใจ และตั้งใจจะหลอกลวงของผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของแฟรนไชส์ เพื่อให้ธุรกิจแฟรนไชส์เติบโตไปได้อย่างราบรื่น

Some Interesting McDonald's Franchise History

[caption id="attachment_329" align="alignleft" width="300" caption="mcdonal"][/caption]

The first mcdonalds franchise was given to Nathan Fox in 1953 and opened in Phoenix Arizona. This was thirteen years after the McDonald brothers opened their first McDonald's restaurant. Dick and Mack had begun their McDonald's legacy with a restaurant in San Bernardino California in 1940 with a menu that has 25 items on it.

5/09/2554

ช้างน้อย กุญชร ณ อยุธยา สมองขั้นเทพ !?ของอะเดย์

 



หากนึกถึงภาพบริษัท เดย์ โพเอทส์ จำกัด เจ้าของนิตยสารแนว ๆ อย่างอะเดย์ หลายคนคงจะมีภาพของวงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ หรือ โหน่ง-อะเดย์ ผุดขึ้นมาในหัวไปพร้อมกัน เหตุว่าศาสดาเด็กแนวคนนี้ได้สร้างตำนาน 'อะเดย์' ขึ้นมาเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว ด้วยการให้ผู้อ่านที่อยากร่วมลงทุนกับหนังสือของเขาส่งเงินมาร่วมหุ้น จนทุกวันนี้บริษัทนี้กลายเป็นบริษัทสื่อที่มีแบรนด์น่าสนใจอย่าง นิตยสารอะเดย์, แฮมเบอร์เกอร์, อะเดย์ บุลเล็ตติน, สำนักพิมพ์อะบุ๊ค, รายการโทรทัศน์ดิ ไอดอล และรายการทีวีแชมเปี้ยน !

การเดินทางของ ?อะเดย์? ที่กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ นอกจากจะมาจากแคแร็กเตอร์เฉพาะตัวของโหน่ง-อะเดย์แล้ว ความสำเร็จนี้ส่วนหนึ่งต้องยกให้กับคนอีกหลายคนที่เป็นมันสมองภายในบริษัทนี้ เหมือนกับเล่าปี่ในวรรณกรรมสามก๊กที่คิดอยากรวมประเทศจีน จำต้องมีกุนซือคู่ใจอย่างขงเบ้ง และเพื่อนร่วมเป็นร่วมตายอย่างกวนอู และเตียวหุย?

เหมือนกับศูนย์บัญชาการ ?อะเดย์? สุดฮิปที่ถนนสุขุมวิท 63 ที่มีมันสมองร่วมกันคิดให้อะเดย์ก้าวไปข้างหน้าเรื่อย ๆ

หนึ่งในนั้นคือ คนรุ่นใหม่ที่มีชื่อว่า ช้างน้อย กุญชร ณ อยุธยา?ในตอนนี้เขาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายโฆษณาของบริษัท เดย์ โพเอทส์ จำกัด

?ผมเป็นผู้อำนวยการฝ่ายโฆษณา งานของผมคือทำอย่างไรก็ได้ให้หนังสือของเราขายโฆษณาได้เยอะ ๆ คือพูดง่าย ๆ ว่า ถ้าวงจรนี้มีคนอยู่ 3 กลุ่ม คือ บริษัทเรา คนอ่าน และสปอนเซอร์ที่สนับสนุนเราอยู่ ฝั่งกอง บ.ก.เขามีหน้าที่ทำอะไรก็ได้ให้มีคนอ่านเยอะ ๆ ทำหนังสือดี ๆ ส่วนฝั่งเราทำอย่างไรก็ได้ให้หนังสือเราเป็นหนังสือที่มีโฆษณาเยอะ ๆ เป็นเหมือนสามเหลี่ยมที่จะต้องเกื้อหนุนจุนเจือกัน?

?ปกติสูตรการทำโฆษณา ถ้าตามใจโฆษณาเยอะ ๆ จะทำให้คนอ่านเสียศรัทธาไป หรือถ้าหนังสือที่ตามใจคนอ่าน ฮาร์ดคอร์ ก็จะแนวเกินไป หนังสืออะเดย์ต้องประสานสองสิ่งนี้เข้าด้วยกัน ต้องเป็นหนังสือที่ดีด้วย วัยรุ่นอ่านแล้วโอเค และโฆษณาก็ต้องมี สามารถเลี้ยงตัวเองได้ด้วย ต้องมีสองอย่างผสมกลมกลืนเข้าด้วยกัน ยกตัวอย่าง อะเดย์ที่วันนี้พูดถึง แบรนดิ้ง พื้นฐานแบรนด์ดีมาแต่แรก สิ่งที่เกิดเป็นอะเดย์ในทุกวันนี้ เพราะความดิบ เรื่องที่พี่โหน่ง-วงศ์ทนง (เจ้าของอะเดย์) ระดมเงินจากคนอ่าน ส่งมาคนละพันสองพันจนเป็นสองล้าน แล้วเกิดเป็นอะเดย์ขึ้นมา เรื่องนี้เล่าได้ตลอดเวลา?

?แบรนด์ของอะเดย์จะหวงเนื้อหวงตัวระดับหนึ่ง ยกตัวอยˆางเช่น จะเห็นว่านิตยสารอะเดย์ไม่เคยให้ผลิตภัณฑ์อะไรขึ้นปกเลย ทำให้เกิดความรู้สึกว่า อะเดย์เป็นแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ เพราะแน่นอน บ.ก.ต้องดูแลผลประโยชน์ของคนอ่าน การที่มีโฆษณามาก ๆ โดยไม่มีเนื้อจะทำให้หนังสือของเราด้อยคุณค่าลงไป บ.ก.กับฝ่ายโฆษณาต้องคานอำนาจ ฝั่งหนึ่งบอกว่า หนังสือต้องดี ไม่มีอะไรมาแปดเปื้อนเยอะ ส่วนอีกฝั่งบอกว่า พี่?ถ้าไม่มีเงิน แล้วองค์กรจะอยู่ได้อย่างไร เราต้องมาคุยแล้วหาจุดร่วมตรงกลาง ต้องใช้ศิลปะการต่อรองเพื่อหาทางออกร่วมกัน?

อะเดย์จัดการกับโฆษณาอย่างไร ?

?คนนอกอาจมองว่า ?อะเดย์? มีคนอ่านเยอะแล้ว โฆษณาวิ่งเข้าหา จะบอกว่าไม่จริง เพราะคนซื้อโฆษณาเขายึดคัมภีร์ที่สำคัญคัมภีร์หนึ่งนั่นคือ ระบบเรตติ้ง ซึ่งเขาวัดความนิยมจากคนทั่วประเทศ วันนี้เราอยู่กรุงเทพฯอาจจะบอกว่าอะเดย์ดัง ไปเดินตลาดโคราชและถามคนโคราชว่า ใครดัง ? แล้วคนที่เป็นเอเยนซี่ก็ซื้อตามเรตติ้ง ซึ่งเรตติ้งเนี่ยก็ไม่ได้มีแต่อะเดย์เสมอไป เพราะฉะนั้นเขาจะเลือกเบอร์หนึ่งซึ่งก็ไม่ง่ายหรอกที่เราจะขายโฆษณา เราเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ค่อนข้างเป็นทางเลือก จนวันนี้ทางเลือกก็อาจจะกลายเป็นทางหลักแล้ว ซึ่งก็ต้องไฟต์ เราไม่ได้เป็นหนังสือที่แมสมีทุกอย่างครบ ถ้ามองในเชิงทั้งประเทศแล้วไม่ใหญ่ เราจึงต้องทำหนังสือของเราให้ดูแปลกและเด่นเสมอ?

นอกจากแปลกและเด่นแล้ว ความเป็น ?อะเดย์? ในยุคนี้ ช้างน้อยบอกว่า ความ ?แรง? มาจากโซเชียลเน็ตเวิร์ก

?สิ่งหนึ่งที่ทำให้เครือเรามีพลัง สิ่งนี้เรียกว่า โซเชียลมีเดียอย่างเฟซบุ๊ก หรือทวิตเตอร์ เมื่อก่อน ที่เราสื่อสารกับคนอ่าน เรามีโอกาสแค่เดือนละครั้ง สัปดาห์ละครั้ง คนไม่เปิดอ่านก็จบเลย พลาดการเสพสื่อ แต่พอมีเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ทำให้ทุกอย่างเร็วมาก รู้ว่าแฟนหนังสือเราที่แน่นอนมีกี่คน เราจะขยับทำอะไรก็เชื่อว่ามีพลัง ตอนนี้มีแฟนเพจเฟซบุ๊กของอะเดย์อยู่ประมาณแสนห้า?

?บ.ก.ของแต่ละเล่ม อย่างเช่น พี่ก้อง (ทรงกลด บางยี่ขัน บ.ก.นิตยสารอะเดย์ หรืออย่างพี่โหน่งเอง มีความสามารถพิเศษในการปั้นแบรนด์ของตัวเอง ทวิตแต่ละครั้งมีคนติดตามอยู่ตลอดเวลา คนเหล่านี้พอจับผูกเข้าด้วยกันเป็นโครงข่ายที่แข็งแรงมาก อย่างปีที่แล้วงาน ?อะเดย์ เลเจนด์? เราเปิดให้คนมาสำรองที่นั่ง 500 ที่นั่งจากเฟซบุ๊กก่อน แค่ 10 นาทีก็เต็มแล้ว ซึ่งถ้าเป็นเมื่อก่อนต้องรอให้ลงหนังสือ ดีไม่ดีได้บัตรแล้วก็ไม่มาอีก (หัวเราะ) พอมีโซเชียลเน็ตเวิร์กทำงานร่วมกับหนังสือได้ดีมาก แถมการเชื่อมโยงกับคนเขียนหนังสือก็ใกล้ชิดกัน ใครอยากคุยกับพี่ก้อง ทรงกลด ก็ทวีตไปสิ กลายเป็นจุดเด่นของเราไปเลย อย่างเฟซบุ๊กของเรามีแฟนประมาณแสนหก ลองไปเช็กดูวิทยุบางคลื่น คนตามอยู่เป็นหลักหมื่นเอง ซึ่งที่จริงวิทยุน่าจะพูดดังกว่าหนังสือ?

แม้อินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นสื่อใหม่กำลังกระทบธุรกิจหนังสือ แต่ช้างน้อยบอกว่า อินเทอร์เน็ตแบบเดิม ๆ กำลังจะตาย !

?ในความคิดของผม ผมว่าอินเทอร์เน็ตกำลังจะตาย กำลังจะตายในความหมายที่ว่า ถ้าเป็นเว็บไซต์อะเดย์ เปิดไปมีข้อมูลให้อ่าน กำลังจะตาย ส่วนที่มาแรงที่สุดในตอนนี้คือ ทวิตเตอร์กับเฟซบุ๊ก แต่สเต็ปต่อไปคงไม่ใช่อินเทอร์เน็ตที่เป็นธรรมดา คงจะมาในรูปของแอปพลิเคชั่น อย่างของเราก็กำลังพัฒนาอะเดย์แอปพลิเคชั่นกันอยู่ อินเทอร์เน็ตทำให้คอนเทนต์ที่เป็นหนังสือขายไม่ออกเลย แต่ถ้าเป็นแอปพลิเคชั่นเก็บเงินได้ ขายโฆษณาได้ แล้วคนสมัยนี้เวลาเสพสื่อ เขาไม่เน้นความยาวของคอนเทนต์ ซึ่งเฟซบุ๊กกับทวิตเตอร์อาจจะเป็นคำตอบ ทวิตสัก 5 เรื่อง สนใจสักเรื่องอาจจะไปซื้อหนังสือหรือโหลดแอปฯอะเดย์ในไอแพดก็ว่ากันไป?

ส่วนธุรกิจอีเวนตŒก็ดูน่าสนใจมากทีเดียว?

?ต้องบอกว่าเม็ดเงินในตลาดโฆษณา อะเดย์เป็นหนังสือหน้าโฆษณาขายให้เต็มยังไงก็มีอยู่เท่านี้ เราจะทำอย่างไรเอาแบรนด์อะเดย์ไปแตะกับอะไรสักอย่างแล้วเพิ่มมูลค่า คำตอบคือการทำอีเวนต์ เราขายโฆษณาหน้าละ 4-5 หมื่นบาท เราทำอีเวนต์งานหนึ่งเป็นหลักล้าน เป็น การเพิ่มมูลค่าของเรา ลูกค้าก็ได้ฐานแฟนหนังสือของเราด้วย ตัวอยˆางเช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เขาโปรโมต เส้นทางตามรอยไดโนเสาร์ จะมีคนไปไหม ? ร้อนก็ร้อน แต่พอได้กระบอกเสียงจากอะเดย์ แฟนหนังสือของเราเปิดใจ เปิดสมัครแป๊บเดียวก็เต็มหมดแล้ว?

และนี่คือหนึ่งในมันสมองขั้นเทพ ! จากกองบัญชาการของออฟฟิศที่ ?แนว? ที่สุดแห่งหนึ่งของฟ้าเมืองไทย !

 

'ทำเล' ก็ใช่ แต่ทำไมถึง 'เจ๊ง'



'ทำเลดีมีชัยไป กว่าครึ่ง' เป็นคำกล่าวที่สะท้อนมุมมองพื้นฐานทางการตลาดว่า ทำเลเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จของกิจการ ทว่าคอลัมน์กรณีศึกษาฉบับนี้อาจจะทำให้ผู้ประกอบการมือใหม่หรือผู้ที่กำลังคิดที่จะลงทุนทำธุรกิจส่วนตัว และกำลังมองหาทำเลที่ใช่ให้กับตัวเองอยู่นั้นต้องปรับเปลี่ยนมุมมองและทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของทำเลเสียใหม่ว่า ทำเลดี ไม่ได้มีชัยเสมอไป

อาจารย์ธนพล วีราสา ได้เล่าถึงกรณีศึกษาของลูกศิษย์ท่านนี้ว่า เป็นคนรุ่น gen-Y (เจเนอเรชั่นวาย) และมีความฝันคืออยากที่จะเปิดร้านเบเกอรี่เล็กๆ ในลักษณะ coffee shop น่ารักๆ บรรยากาศสบายๆ สำหรับหนุ่มสาววัยทำงาน

และเพื่อทำความฝันให้เป็นจริงจึงลงทุนเช่าพื้นที่ชั้น 2 ของลาวิลล่า ซึ่งคอมมิวนิตี้มอลล์แบบ lifestyle ของคนรุ่นใหม่ ที่ประกอบไปด้วยสถานที่ออกกำลังกาย ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายเสื้อผ้า เครื่องประดับ ร้านอาหาร ร้านขายขนม ร้านกาแฟ ร้านขายยา จุดเด่นของ คอมมิวนิตี้มอลล์แห่งนี้คือตั้งอยู่บนทำเลทองเพราะอยู่ในชุมชนย่านธุรกิจคือ อยู่ตรงข้ามซอยอารีย์ อยู่ในจุดทางขึ้นลงสถานีรถไฟฟ้าอารีย์ และละแวกใกล้เคียงของห้างแห่งนี้ประกอบไปด้วย สำนักงานของธนาคารกสิกรไทย สำนักงานไอบีเอ็ม พหลโยธินเพลส อาคารชินวัตร และสำนักงานขนาดกลางและเล็กอีกเป็น จำนวนมาก

การตัดสินใจของลูกศิษย์ท่านนี้ถูกต้องตามตำราการตลาด และสอดคล้องกับเป็นทำเลที่มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายคือคนหนุ่มสาววัยทำงาน สินค้าและบริการที่ให้จะเป็นเครื่องดื่มร้อน-เย็น ทั้งกาแฟ ชา น้ำผลไม้ปั่น ขนมอบต่างๆ โดยจะเน้นเครื่องดื่มและขนมเป็นหลัก เพราะคาดหวังว่าลูกค้าจะใช้ร้านของเธอเป็นจุดนัดพบระหว่างเพื่อนๆ หรือใช้เป็นจุดพักคลายร้อน แต่ร้านนี้เปิดได้ราวๆ 1 ปีก็ปิดตัวลงไป เพราะยอดขาย ไม่ได้รับการตอบรับจากกลุ่มเป้าหมายดังที่คาดการณ์ไว้ก่อนเริ่มกิจการ

อาจารย์ธนพลกล่าวถึงความน่าสนใจของกรณีศึกษานี้อยู่ที่ภายหลังจากร้านของลูกศิษย์ท่านนี้ปิดตัวลงไป มีคนมาเซ้งร้านโดยได้เปิดให้บริการเป็น coffee shop แบบเดียวกันนี้ สินค้าและบริการก็ประกอบไปด้วยเครื่องดื่ม ขนมอบ ไอศกรีม และอาหารจานเดียวง่ายๆ ดังที่ลูกศิษย์ได้เคยทำมาก่อน แต่ผลตอบรับแตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง ร้านนี้เป็นหนึ่งในร้านประเภทอาหารเครื่องดื่มที่อยู่ภายในวิลล่ามาร์เก็ตแห่งนี้ที่ได้รับความนิยมอย่างมากจากลูกค้า และยังคงขายดิบขายดีจนถึงวันนี้ ดูได้จากในระยะแรกของการเข้ามาดำเนินกิจการมีพนักงานประมาณ 2 คน แต่ตอนนี้นี้มีพนักงานประจำร้าน 6-7 คน โดยเฉพาะในช่วงเย็นๆ จะมีลูกค้าค่อนข้างแออัดเพราะพื้นที่ของร้านไม่ได้กว้างขวางมากนัก มีโต๊ะนั่งภายในอยู่ราวๆ 5-6 โต๊ะ บางวันลูกค้าล้นออกมานอกร้าน ซึ่งเจ้าของร้านได้จัดเพิ่มโต๊ะให้นั่งทานอยู่นอกร้านสไตล์ชิลๆ 2-3 โต๊ะ

อาจารย์ธนพลได้ตั้งข้อสังเกตในกรณีศึกษานี้ว่า ทำเลดีมีชัยไปกว่าครึ่งก็จริง แต่หัวใจและปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ หรือการอยู่รอดของกิจการไม่ได้อยู่ที่ทำเล แต่อยู่ที่คุณค่าของตัวสินค้าและบริการที่สื่อไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และความแตกต่างที่เด่นชัดในตัวสินค้าและบริการที่นำเสนอ สำหรับร้านเบเกอรี่ที่เป็น coffee shop ตัวเบเกอรี่เป็นส่วนที่สำคัญมากกว่าทำเล ถ้าเป็นเค้กหรือขนม หรือเครื่องดื่มของร้านทำเองจะต้องไม่เหมือนที่อื่น ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบ รสชาติ และคุณภาพ ของส่วนผสม ถ้าอยากมาทานต้องมาซื้อที่นี่เท่านั้น ไม่ใช่เค้กหรือขนมที่หาทานที่ไหนก็ได้ ซึ่งเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จของร้านเบเกอรี่ที่เราเห็นอยู่อย่างเช่น Coffee Bean by Dao, กัลปพฤกษ์, Sweet Pea หรือ Love at First Bite ที่เชียงใหม่ ตราบใดที่สินค้ายังไม่มีความโดดเด่นพอ ต่อให้มีบรรยากาศหรือการออกแบบร้านดีแค่ไหน ก็ยากที่ลูกค้าจะกลับมาใหม่เป็นครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3

นอกจากนี้ การออกแบบบริการในร้านก็เป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะร้านสวยแต่บริการ ไม่ได้เรื่องนี้ก็ไม่มีประโยชน์ ทำอย่างไรให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกเป็นกันเอง และผ่อนคลายเมื่อได้มาที่ร้านของเรา เป็นโจทย์ที่ ผู้ประกอบการจะต้องคิดและออกแบบบริการให้มีคุณค่าดังกล่าวให้ได้ เมื่อสินค้าและบริการที่เราออกแบบสามารถสร้างคุณค่าที่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายต้องการได้แล้ว เขาจะยินดีจ่ายเงินซื้อเค้กหรือขนม และกลับมาใช้บริการของเราอย่างแน่นอน เมื่อเราสร้างคุณค่านี้ให้เกิดขึ้นได้แล้ว เราก็ทำการตลาดโดยตรงไปยังกลุ่มเป้าหมายได้เลย โดยอาศัยสื่อการตลาดที่ไม่ต้องลงทุนสูง เช่น webblog หรือบล็อกคอลัมน์ใน lifestyle แมกาซีน หรือ targeted แมกาซีน เป็นเครื่องมือในการสร้าง word of mouth ให้เกิดขึ้นต่อไป

คอลัมน์ กรณีศึกษา SMEs

 

5/06/2554

ขายผ่านแค็ตตาล็อกสุดเวิร์ก

 

เซเว่นฯ กวักมือเรียก SME แจม

เชื่อว่าถ้าใครเป็นสาวก 7-Eleven คงจะต้องเคยเห็นและรู้จักเจ้าตัว 7-Catalog เป็นอย่างดี เพราะมีวางจำหน่ายให้กับลูกค้าที่เข้าเซเว่นฯ และจัดส่งให้กับลูกค้า ผู้มีอุปการคุณที่สนใจ อยากสั่งซื้อของใช้ต่างๆ ครบวงจรได้อย่างสะดวกสบายเพื่อเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง

โดยโครงการ Catalog Order นี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ พ.ศ.2544 ด้วยเจตนารมณ์ และวิสัยทัศน์ของผู้บริหารระดับสูงของ 7-Eleven ที่มุ่งมั่นจะตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย ไปพร้อมๆ กับตอบสนองกับวิถีชีวิต ที่ต้องการความ สะดวกสบายมากยิ่งขึ้นของลูกค้า อีกทั้ง เพื่อข้ามข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่จำหน่ายสินค้าที่มีอยู่อย่างจำกัดภายในร้าน 7-Eleven เอง

นายอำพา ยงพิศาลภพ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) บอกว่า 7-Catalog ได้อยู่คู่สังคม ไทยมาอย่างยาวนาน และพร้อมเป็นอย่าง ยิ่งสำหรับการพัฒนาเติบโตขึ้นอีกระดับ เพื่อมุ่งตอบสนองความต้องการและ Life Style ที่หลากหลายของลูกค้า โดยในปีนี้ 7-Catalog ได้อยู่รับใช้ลูกค้ามาครบ 10 ปีแล้ว

ที่ผ่านมา 7-Catalog มียอดขายที่พัฒนาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีอัตราเติบโต เป็นที่น่าพอใจ ด้วยเหตุที่ตลาดที่อยู่ในช่วง ของการขยายตัว ประกอบกับการใช้กลยุทธ์ ในการสร้างช่องทางการตลาดที่หลากหลาย โดยปัจจุบันมีการทำการตลาดผ่านทาง Mail Order, ผ่านช่องทางร้านสาขาในร้านเซเว่นฯ กว่า 5,000 สาขา รวมไปถึง Web Site พร้อมด้วยความสามารถในการให้บริการลูกค้าผ่าน Call Center 0-2711-7755 ตลอด 24 ชั่วโมง

?รายได้ของ 7-Catalog ในปี 2553 ที่ผ่านมา มีอัตราการเติบโตสูงถึง 56% คิดเป็นมูลค่ารายได้กว่า 1,800 ล้านบาท ถือเป็นการเติบโตสูงสุดในรอบ 10 ปีที่ดำเนิน ธุรกิจมา จากปกติจะเติบโตปีละประมาณ 30-35% โดยปัจจุบันยอดขายในต่างจังหวัดอยู่ที่ 52% และ กทม. 48% และได้ตั้งเป้าว่าปีนี้ยอดขายในต่างจังหวัดจะเพิ่มเป็น 55% และในกทม.ลดเหลือ 45% แต่มั่นใจว่าทั้งสองกลุ่มอย่างไรก็จะมีอัตรา การเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน?



ผู้ช่วยเอ็มดีคนเดิม บอกต่อว่า สินค้ากลุ่มหลักๆ ที่ 7-Catalog นำเสนอให้ลูกค้า จะเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับความสวย ความงาม และสินค้าที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่เกิดจากการพัฒนาต่อยอดและเกี่ยวพันกับ SME ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าที่ทาง 7-Catalog และ 7-Eleven ให้การสนับสนุนมาอย่างยาวนาน และต่อเนื่อง

?เราเป็นบริษัทของคนไทย จึงมุ่งเน้น ในการให้การสนับสนุนกับสินค้าของคนไทย โดยเฉพาะสินค้า SME ซึ่งเป็น SME ซึ่งสะท้อนถึงขีดความสามารถในการพัฒนาสินค้าได้อย่างน่าสนใจ และเมื่อเรานำเสนอ สินค้า SME ร่วมกับสินค้าที่น่าสนใจจากแหล่งที่มาที่หลากหลาย ก็สามารถทำให้ 7-Catalog มีส่วนประสมของสินค้าที่ค่อนข้าง ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี?

ทั้งนี้ กลุ่มสินค้าที่มีสัดส่วนยอดขาย มากสุดใน 7-Catalog คือ กลุ่มความสวย ความงาม อยู่ที่ 35% รองลงมาคือ ของเล่น 25-30% ของใช้ 20-25% และอื่นๆ อีก 15% โดยช่องทางในร้านเซเว่นฯ เป็นช่องทางหลักที่มียอดจำหน่ายสูงสุด คิดเป็นสัดส่วนได้กว่า 70% ที่เหลืออีก 30% มาจาก ช่องทางคอลเซ็นเตอร์ เว็บไซด์ รวมถึง โซเชี่ยลมีเดีย โดยยอดการซื้อต่อบิลในร้าน เซเว่นฯ นั้น จะอยู่ที่ 700 บาท และการสั่งซื้อผ่านคอลเซ็นเตอร์ อยู่ที่ 1,400 บาท

สำหรับทิศทางการทำตลาดของ 7-Catalog ในปีนี้ จะมุ่งเน้นไปที่การเข้าถึงลูกค้าด้วยช่องทางการจำหน่ายที่หลากหลาย และเน้นในด้านการสร้างความผูกพันกับลูกค้าผ่านสื่อต่างๆ ที่มีอยู่ ด้วยกลยุทธ์การ สื่อสาร 2 ทาง เน้นให้ลูกค้ามีปฏิสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น Call Center, Web Site รวมไปถึง Social Networking เพื่อให้การสั่งซื้อและการให้บริการ มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยได้ตั้งเป้ารายได้เติบโตขึ้นอีกอย่างน้อย 30% หรือคิดเป็นมูลค่าได้กว่า 2,200 ล้านบาท ในขณะที่กลุ่มสินค้านั้น ยังคงไว้ที่ 1,700 รายการ โดยกว่า 60% เป็นสินค้าที่มียอด จำหน่ายต่อเนื่อง ส่วนอีก 40% จะต้องมีการพัฒนาใหม่

นอกจากนี้ 7-Catalog ยังเอาใจลูกค้าด้วยการทุ่มงบกว่า 2 ล้านบาท โดยการจัดกิจกรรม ?ช้อปรับโชค ครบรอบ 10 ปี กับ 7-Catalog? ขึ้นอีกด้วย โดยกิจกรรม นี้ เริ่มขึ้นตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 7 พ.ค.นี้

?เพื่อร่วมฉลองครบรอบ 10 ปีที่เรา ได้รับใช้ลูกค้ามาอย่างยาวนาน เราจึงได้จัด กิจกรรมนี้ขึ้น เพื่อเป็นการขอบคุณลูกค้าของเรา ซึ่งจริงๆ แล้ว ก็เป็นการจัดกิจกรรม ต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา โดยรางวัล มีมูลค่ารวมกว่า 1 ล้านบาท ซึ่งกติกาก็ง่ายๆ คือ เพียงซื้อสินค้าของ 7-Catalog ผ่านช่องทางใดๆ ของเราก็ได้ โดยไม่จำกัด มูลค่าการซื้อ ก็มีสิทธิ์ร่วมชิงรางวัลทันที ก็ขอเชิญลูกค้าที่น่ารักของเราร่วมฉลองครบรอบ 10 ปี ร่วมกับเราด้วย ทั้งนี้ 7-Catalog ถือเป็นภาพสะท้อนหนึ่งซึ่งแสดง ถึงความต้องการที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าของกลุ่มซีพี ออลล์ โดยเป็นการผสมผสานการตลาดแนวใหม่เข้ากับสินค้า SME และสินค้าอื่นๆ มาผนวกกับความแข็งแกร่งของช่องทาง การส่งมอบสินค้าผ่านร้าน 7-Eleven ได้เป็นอย่างดี? นายอำพา กล่าวทิ้งท้าย

เปิดบทเรียนพลาด 'เอ้-นนทวัชร์' ล้มได้ ก็ยืนใหม่ได้

เปลี่ยนวิธีคิด ก็พลิกวิกฤต อีกกรณีศึกษาจาก M Herb ที่กล้าเปลี่ยน เพื่อความสำเร็จ

อีกเรื่องที่ ?Case Study? จะนำเสนอดังต่อไปนี้ มีเป้าหมายอยู่เป้าหมายเดียว คือ ต้องการให้สติ และกำลังใจกับผู้ประกอบการที่ล้มหรือเกือบล้มทั้งยืน จากความรุนแรงทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมา ว่าล้มได้ก็ยืนขึ้นมาใหม่ได้ เป็นเรื่องของเครื่องสำอางสมุนไพรแบรนด์หนึ่ง ซึ่งกลับมาประสบความสำเร็จได้ จากที่เคยล้มมาแล้วอย่างยับเยิน น่าศึกษาว่า ยืนขึ้นมาใหม่ได้อย่างไร ?For Us by M Herb? เป็นแบรนด์เครื่องสำอางสมุนไพรไทยของบริษัท เอ็ม เฮิร์บ โปรดักส์ ที่บริหารโดย ?เอ้?- นนทวัชร์ อานันพรท์จินดา ในวันนี้ ต้องบอกว่าเป็นเครื่องสำอางสมุนไพรไทยอีกแบรนด์หนึ่ง ที่ประสบความสำเร็จสูง สวนกระแสเศรษฐกิจ วัดได้จากยอดขายในปี 2552 ที่เมื่อนำมาเทียบกับปี 2549 ก็พบว่าสูงขึ้นเกือบ 1,000% อีกทั้งยังได้รับการจัดอันดับ ติด 1ใน 5 ของกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่วางขายอยู่ในระบบเซเว่น แคตตาล็อก ออน เชลล์ ของร้าน 7-11 แต่เชื่อหรือไม่ว่าเมื่อ 7 ปีที่แล้ว แบรนด์นี้เคยล้มมาแล้วอย่างยับเยิน อะไรคือกลวิธี และปัจจัย ที่เปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่เคยล้มเหลว ให้กลับมาประสบความสำเร็จได้ คงต้องกลับไปดูตั้งแต่วันแรกที่เริ่มก่อตั้งธุรกิจ ย้อนกลับไปเมื่อปี 2547 เป็นช่วงที่ตลาดเครื่องสำอางสมุนไพรไทยสำหรับผู้ชายยังมีช่องว่าง

นนทวัชร์ ซึ่งในตอนนั้น ยังเป็นผู้ประกาศข่าวของช่อง 3 ได้เห็นถึงช่องว่างทางการตลาดนี้ จึงสร้าง แบรนด์ M Herb เครื่องสำอางสมุนไพรไทยสำหรับผู้ชายขึ้น ?ตอนนั้นด้วยความที่เป็นผู้ประกาศข่าว ทำงานเยอะ มีเวลาพักผ่อนน้อย ทำให้มีอาการผมร่วง หน้าก็เป็นสิว ผมเลยลองซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยมาใช้ ปรากฏว่าสิวก็หาย และผมก็หยุดร่วง ก็รู้สึกทึ่งกับคุณสมบัติ อีกทั้งการที่เป็นพิธีกรตามงานอีเวนต์ต่างๆ ทำให้มีโอกาสได้ร่วมงานกับทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมบ่อยๆ ทำให้มองเห็นตลาด มองเห็นช่องทางในการทำธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทย เมื่อ 7 ปีที่แล้ว ยังไม่มีใครทำตลาดตรงนี้เลย ผมจึงเป็นเจ้าแรกในไทย ที่ทำเครื่องสำอางสมุนไพรไทยสำหรับผู้ชาย โดยใช้ชื่อแบรนด์ว่า M Herb for Men

ด้วยความที่เราเป็นเจ้าแรก กระแสตอบรับเลยดีมาก มีคนติดต่อเรื่องขอซื้อแฟรนไชส์เข้ามาตลอด เปิดตัวได้ 3 เดือน เราก็ขายแฟรนไชส์ไปแล้ว 20 แห่งทั่วประเทศ ทั้งๆ ที่ไม่ได้อยู่ในแผน ตอนนั้นทำงานแบบลูกทุ่ง ไม่รู้จักวางแผนการตลาด ไม่รู้จักการบริหารสต็อก จากที่เคยห่วงว่าของจะขายไม่ได้ กลายเป็นว่าขายได้ จนมีไม่พอขาย ของสต็อกไม่มี วัตถุดิบไม่มี เพราะเราทำผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสมุนไพร ซึ่งบางชนิดจะออกตามฤดูกาล ต้องมีการสต็อกวัตถุดิบตรงนี้ไว้ ผมเริ่มทำงานเดือนมิถุนายน พอเดือนกันยายน แฟรนไซส์กระจายครบ 20 แห่งแล้ว แต่พอเดือนพฤศจิกายนของเริ่มหมด แฟรนไซส์มันก็ขยายไปเรื่อยๆ ของเดิมยังซัพพอร์ตไม่พอ ก็มีออเดอร์ใหม่เข้ามาอีกแล้ว

การบริหารจัดการก็ยังไม่ดี แฟรนไชส์บางที่ขายได้ บางที่ก็ยังขายไม่ดี เนื่องจากคนที่รับไปขายไม่ได้มีประสบการณ์ในการขาย แต่อยากทำธุรกิจ เพราะเห็นช่องว่างทางตลาด ปรากฏว่าพอถึงเดือนธันวา ของไม่มีขายแล้ว วัตถุดิบไม่มี แพ็คเก็จจิ้ง กับสติ๊กเกอร์ที่สั่งไปก็ไม่มา เนื่องจากไม่เคยทำธุรกิจ เลยไม่รู้เลยว่าช่วงเดือนธันวาคม เป็นช่วงที่ของขายดีมาก เพราะมีทั้งวันพ่อ และวันปีใหม่ เจ้าอื่นเขาเตรียมสต็อกล่วงหน้า แต่เราไม่มีเลย กว่าของที่สั่งไปจะได้ ก็เดือนกุมภาพันธ์ไปแล้ว ซึ่งตอนนั้นมันส่งของไม่ทัน กระแสความต้องการของลูกค้าก็จางไปแล้ว พอเราไม่มีของ ลูกค้าก็หันไปซื้ออย่างอื่นแทนจากแฟรนไชส์ที่เคยมีเยอะ ก็ค่อยๆ หายไป เพราะเราไม่มีของจะส่งให้เขาขาย ทั้งๆ ที่ช่วงนั้น เป็นโอกาสที่ดีมากๆ นอกจากจะเป็นเจ้าแรกในเครื่องสำอางสมุนไพรไทยของผู้ชายโดยตรงแล้ว ยังได้รับเลือกให้นำผลิตภัณฑ์ไปดูแลนางงามจักรวาล เราเลยพัฒนาสูตรสำหรับผู้หญิงขึ้นมาโดยเฉพาะ แล้วขายควบคู่กันไปกับสูตรของผู้ชาย การที่เรายังไม่พร้อม แต่กลับต้องมาทำผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 สูตรควบคู่กันไป ยิ่งทำให้เราไปไม่รอด ทั้งๆ ที่ตอนนั้นโอกาสเปิด เป็นจังหวะที่ดีมาก ตลาดให้การยอมรับ แต่เพราะขาดประสบการณ์ ทำให้เราไม่ประสบความสำเร็จ อีกทั้งพอเราทำตลาดไปได้สักระยะ กระแสMetrosexual ก็เริ่มเข้ามาในเมืองไทย เพราะมีเดวิด เบ็คแฮม เป็นต้นแบบของผู้ชายที่ดูแลตัวเอง พอกระแสตรงนี้เข้ามา แบรนด์อื่นๆ ที่เป็นแบรนด์ยักษ์ใหญ่ เลยหันมาทำผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับผู้ชายบ้าง

พอแบรนด์ใหญ่กระโดดเข้ามาในสนามนี้ กำลังในการทำงานมันผิดกัน เราเองเป็นแค่ SMEs รายเล็ก จะเอาอะไรไปสู้กับเขาได้ ทั้งเรื่องเงินทุนในการผลิตสต็อกสินค้า และเงินทุนในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เมื่อเห็นว่ามันฝืนทำต่อไปไม่ไหว ผมก็ต้องยอมรับ และถอยออกมา? แต่การถอยออกมาในครั้งนั้น ไม่ใช่การยอมแพ้ แต่เป็นการถอยออกมา เพื่อมองดูความผิดพลาดของตัวเอง ที่ทำให้เงินเก็บจำนวนหลักล้านมลายหายไปในชั่วพริบตา ช่วงที่ถอยมาตั้งหลัก เราก็มาวิเคราะห์ตัวเอง ว่ามีความผิดพลาดในด้านไหนบ้าง ถือว่าการลงทุนที่ผ่านมาเป็นประสบการณ์ ถ้าลงทุนไป แล้วหายไปเลย อันนั้นคือเจ๊งถาวร เจ๊งโดยสมบูรณ์แบบ แต่ผมไม่อยากเป็นอย่างนั้น เลยฮึดสู้ขึ้นมาใหม่

จากการกลับมามองตัวเอง ก็พบว่าเพราะเราขาดประสบการณ์ในการทำธุรกิจ ไม่มีความรู้ เลยคิดว่าต้องหาตัวช่วยที่มีความเป็นมืออาชีพ จึงไปเข้าร่วมโครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการใหม่ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการของ สสว. (สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม) ก็ได้คำแนะนำมาว่า ในการทำธุรกิจต้องมีความพร้อม มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ ทุ่มเท และที่สำคัญ คือ ต้องมีเวลา ถึงจะยืนอยู่ได้ในโลกของธุรกิจ พอกลับมาสำรวจตัวเอง ก็พบว่าเพียงสิ่งเดียวที่เราขาดไป ก็คือเรื่องของเวลา เนื่องจากตอนนั้น ยังทำงานเป็นผู้ประกาศข่าวช่อง 3 อยู่ แล้วยังเป็นพิธีกรกว่า 10 รายการ เวลาในแต่ละวันก็หมดไปกับการทำงานประจำแล้ว การบริหารงานมันก็ได้แค่บางส่วน ตอนนั้นเป็นช่วงที่ต้องตัดสินใจ ว่าจะหันกลับไปทำอาชีพเดิมที่เรามีความถนัด หรือจะออกมาจับธุรกิจเต็มตัว

สิ่งที่ผมคิดตอนนั้น ก็คือ อาชีพผู้ประกาศข่าวมีความมั่นคงก็จริง แต่หากวันหนึ่งผมเป็นอะไรไป ใครจะมาอ่านข่าวแทนผมได้ แต่ถ้าผมทำธุรกิจแล้วประสบความสำเร็จ วันหนึ่งถึงไม่มีผม คุณแม่ หรือน้องสาว ก็ยังเข้ามาดูแลบริหารงานตรงนี้ต่อไปได้ เนื่องจากคุณพ่อเสียชีวิตไปแล้ว ผมเลยนึกถึงครอบครัวเยอะ เลยตัดสินใจลาออกจากช่อง 3 แล้วหันมาทุ่มกับธุรกิจเต็มตัว ก็เริ่มจากการไปอบรม เพื่อวางแผนในการทำธุรกิจ จากนั้นก็นำแบรนด์เดิมมาวิเคราะห์ ตอนแรกผมตั้งใจจะเปลี่ยนชื่อแบรนด์ใหม่ไปเลย แต่ทางกรมส่งเสริมฯ ก็แนะนำมาว่า ไม่ควรเปลี่ยนไปเลย เพราะแบรนด์ M Herb For Men มีมูลค่าในตัวอยู่แล้วในระดับหนึ่ง ก็เลยนำผลิตภัณฑ์จากแบรนด์เดิมมาพัฒนาใหม่ เพราะผมมองว่าตัวผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยนั้น เรามาถูกทางแล้ว เพราะฉะนั้นต่อยอดดีกว่า แทนที่จะเปลี่ยนแบรนด์ก็พัฒนาจาก M Herb For Men มาเป็น For Us by M Herb ซึ่งชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าสำหรับทุกคน เป็นการขยายฐานลูกค้าให้กว้างขึ้นด้วย? นนทวัชร์ กล่าว

เมื่อได้ชื่อแบรนด์ใหม่แล้ว ต่อมาคือการกำหนดราคาขายใหม่ จากเดิมที่เคยมีราคาอยู่ที่ 200-2,000 บาท ก็เปลี่ยนเป็นเริ่มต้นที่ราคา 49 บาท และแพงสุดไม่เกิน 500 บาท ?กรมส่งเสริมฯ ถามผมว่าเคยได้ยินไหมคำว่า กำไรน้อย แต่ไม่น้อย กำไรมาก แต่ไม่มาก ซึ่งหมายถึงของกำไรน้อย แต่ขายได้ปริมาณมาก กับของที่ได้กำไรมาก แต่ขายได้ในปริมาณน้อย สินค้าที่ตั้งราคาแพง อาจจะได้กำไรดีในช่วงแรก แต่ในระยะยาวไม่มีใครการันตีได้ เพราะต้องแข่งขันกับสินค้าแบรนด์ที่มีราคาพอๆ กัน จึงถูกจัดให้ไปอยู่ในกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน ในระยะยาวจะแข่งขันได้ยาก ส่วนสินค้าที่ได้กำไรน้อย อาจจะแค่ 3 บาทต่อชิ้น แต่ถ้าขายได้ 100,000 ชิ้นทุกๆ เดือน มันก็กลายเป็นกำไรที่มากขึ้นมาเช่นกัน ตอนแรกผมเองก็ไม่มั่นใจกับทฤษฏีนี้ แต่เมื่อมาถึงวันนี้ ก็พิสูจน์ได้แล้วว่า กลยุทธ์นี้ได้ผลในระยะยาวจริงๆ ถึงเศรษฐกิจไม่ดี ก็ไม่มีผลกระทบอะไร กลับจะยิ่งดีต่อสินค้าด้วยซ้ำ เพราะเป็นเครื่องสำอางที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว เช่น เดย์ครีม ไนท์ครีม แชมพู หรือสบู่ ถึงเศรษฐกิจไม่ดี คนเราก็ใช้ผลิตภัณฑ์พวกนี้อยู่ดี ดังนั้นยิ่งราคาถูก ผู้บริโภคก็ยิ่งตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น?

หลายคนอาจจะตั้งคำถามว่า ราคาของที่ลดลง มีผลต่อคุณภาพสินค้าหรือไม่ นนทวัชร์ยืนยันว่าคุณภาพสินค้ากลับดีกว่าเดิม เพราะมีนวัตกรรม และคิดค้นสูตรใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ภายใต้การพัฒนาในแล็บของตัวเองอย่างเช่น นวัตกรรมที่รวมเอาเดย์ครีม ไนท์ครีม และอายครีมไว้ด้วยกัน ในครีมเพียงกระปุกเดียว ไฮไลท์จะอยู่ที่ตัวอายครีม เพราะมีอณูเล็กที่สุด โจทย์คือต้องซัพพอร์ทผิวหน้าได้ทั้งกลางวัน กลางคืน อีกทั้งยังต้องซัพพอร์ททั้งผิวหน้าที่บอบบางของผู้หญิง และผิวหน้าที่หยาบของผู้ชายได้ด้วย ?ด้วยคุณสมบัติขนาดนี้ ผมขายราคา 380 บาท ซึ่งผมมั่นใจว่าคุณภาพสู้กับครีมราคา 1,200 ได้สบาย และ สิ่งที่ผมมั่นใจมากที่สุด ก็คือ ในโลกนี้ไม่มีใครสามารถทำผลิตภัณฑ์คุณภาพแบบนี้ ในราคาเท่านี้ได้แน่นอน

[caption id="" align="alignleft" width="200" caption="M-herb"][/caption]

การที่ผมขายในราคาถูกขนาดนี้ได้ ก็เพราะว่าผมไม่มีต้นทุนด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ไม่มีต้นทุนด้านการตลาด ไม่มีต้นทุนด้าน Consult รวมถึงไม่มีต้นทุนในเรื่องการพัฒนาระบบต่างๆ ซึ่งต้นทุนเหล่านี้มหาศาล แต่ผมได้รับการซัพพอร์ทจากทั้งกระทรวงอุตสาหกรรม และจาก สสว. ต่างจากการทำตลาดในช่วงแรก ที่ไม่มีหน่วยงานไหนมาซัพพอร์ท ต้นทุนการผลิตก็สูง เพราะยังไม่รู้แหล่งที่ซื้อของ ไม่รู้แม้กระทั่งสามารถเครดิตไว้ก่อนได้ จ่ายเงินสดตลอด แถมยังซื้อแพงกว่าคนอื่น ทำให้ราคาของต้องแพงตามไปด้วย ผิดกับในปัจจุบัน จึงสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ในราคาที่ไม่สูงได้?

กลยุทธ์ต่อมา คือ การปรับเปลี่ยนแพ็คเก็จจิ้งใหม่ทั้งหมด ในทุกผลิตภัณฑ์ เพื่อลบภาพเดิมของ M Herb for Men และสร้างจุดแข็งเพิ่มเติมให้แก่ผลิตภัณฑ์ ?เรื่องการออกแบบแพ็คเกจจิ้ง ก็เป็นอีกคอร์สหนึ่งที่ผมไปอบรมมา ซึ่งพบว่าจุดอ่อนของแพ็คเกจจิ้งบ้านเราคือ อธิบายวิธีการใช้ และคุณสมบัติของสินค้าไม่ละเอียด ผมจึงนำจุดด้อยตรงนี้ มาปรับใช้ ดูแล้วอาจจะเห็นว่าทำไมตัวหนังสือเยอะจัง แต่มันคือข้อมูล คือเรื่องราวที่ทำให้เห็นว่ากว่าจะมาเป็นผลิตภัณฑ์แบบนี้ มันมีขั้นตอนอะไรบ้าง และมีจุดอ่อน จุดเด่นอย่างไร เราบอกทั้ง 2 ด้าน เพื่อให้ผู้บริโภคได้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับตัวเองมากที่สุด ซึ่งมีทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และรูปภาพประกอบ?

ส่วนกลยุทธ์สุดท้าย เป็นกลยุทธ์สำคัญที่นนทวัชร์ บอกกับตัวเองว่าคิดถูก และเดินมาถูกทาง นั่นคือ เรื่องช่องทางการจัดจำหน่าย ?ในช่วงแรกที่รีแบรนด์สินค้าออกมาจำหน่ายใหม่ ตลาดก็เงียบไปเกือบ 1 ปี เราเลยรุกตลาดโดยการผลักดันให้สินค้าเข้าไปขายใน 7-11 ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลย สมมติว่าส่งของไปเดือนธันวาคม กว่าจะได้เงินกลับมาก็ต้องเป็นเดือนมีนาคม และต้องมีค่าบริหารจัดการให้กับทางร้าน 7-11 เราก็เรียนรู้ ลองผิดลองถูกมาเรื่อย จนตอนนี้สินค้าเราวางขายทางหน้าร้าน 7-11 กว่า 4,000 สาขาทั่วประเทศ และจำหน่ายผ่านระบบเซเว่น แคตตาล็อก ออน เชลล์ อีกกว่า 5,000 จุด ซึ่งเมื่อสั่งสินค้าแล้วสามารถรับของได้เลย สินค้าของเราขายดีติด 1-5 อันดับในกลุ่มเครื่องสำอางที่ขายผ่านระบบ เซเว่น แคตตาล็อก ออน เชลล์

ส่วนเรื่องการขายแฟรนไชส์ได้ยกเลิกไป และเปลี่ยนมาใช้เป็นระบบตัวแทนจำหน่าย กว่า 200 จุดทั่วประเทศ จะมีแคตตาล็อกสินค้า ให้แต่ละคนเอาไปขาย โดยมากจะเป็นผู้ที่ใช้สินค้าแล้วติดใจ กลุ่มนักศึกษา หรือคนทำงานที่อยากมีรายได้พิเศษ ถือเป็นการกระจายรายได้ ซึ่งตรงนี้ก็ยังเปิดรับอยู่? และเนื่องจากผลิตภัณฑ์ For Us by M Herb ถูกพัฒนาสูตรขึ้น เพื่อผิวของคนที่อยู่ในภูมิภาคร้อนชื้น ไม่เหมาะกับผิว และสภาพอากาศในโซนอื่น จึงไม่มีการส่งออกสำหรับผลิตภัณฑ์ตัวนี้ ส่วนเรื่องยอดขายในปีนี้ นนทวัชร์ตั้งเป้าไว้ที่ 50 ล้านบาท

โดยจะรุกตลาดด้วยการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่โทนเนอร์เซรั่ม พร้อมเปิดตัว ?ตอง?-ภัทรมัย โปรตระนันทน์ พรีเซ็นเตอร์คนแรกของผลิตภัณฑ์ รวมถึงแคมเปญใหม่ๆ อย่างการซื้อผลิตภัณฑ์ครบ 5 ชิ้น แลกฟรี 1 ชิ้น ไม่ว่าใครจะมองว่าเศรษฐกิจแย่ ปัญหาการเมืองที่วุ่นวาย หรือปัจจัยภายนอกต่างๆ ล้วนส่งผลให้การทำธุรกิจในช่วงนี้ต้องติดลบ ถึงกับมีคำพูดที่ว่า ให้อยู่นิ่งๆ เป็นดีที่สุด แต่นนทวัชร์ไม่คิดเช่นกัน เขามองว่าในทุกวิกฤตมีโอกาส เพียงแต่ว่าใครที่จะมองเห็น ธุรกิจในกลุ่ม SMEs ก็เช่นกัน แต่แค่ความมุ่งมั่น ตั้งใจ และกล้าที่จะลงมือทำ คงไม่เพียงอีกต่อไปในโลกของการแข่งขัน ที่สำคัญ คือ ความพร้อม การยอมรับการเปลี่ยนแปลง และองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่จะเป็นกลยุทธ์สำคัญและเป็นปัจจัยบ่งชี้ ว่าธุรกิจของคุณจะประสบความสำเร็จ หรือต้องพบกับความล้มเหลว

แหล่งข้อมูล : ข้อมูลโดย นิตยสาร SMEs Plus ฉบับมิถุนายน 2553

Product Review